Think In Truth

สงกรานต์ : มรดกทางวัฒนธรรมแห่งความอบอุ่น-ศรัทธา โดย : ฟอนต์ สีดำ



สงกรานต์ มิได้เป็นเพียงเทศกาลแห่งความสนุกสนาน แต่คือประเพณีเก่าแก่ที่ฝังรากลึกในวิถีชีวิตไทยมาอย่างยาวนาน เป็นภาพสะท้อนแห่งความรัก ความกตัญญู และสายใยระหว่างครอบครัว ชุมชน และศาสนา "น้ำ" ซึ่งถือเป็นหัวใจของสงกรานต์นั้น ไม่ได้มีไว้เพื่อสาดเล่นเท่านั้น แต่ยังเป็นสัญลักษณ์แห่งการชำระล้างสิ่งไม่ดีออกไป เพื่อเริ่มต้นสิ่งใหม่ด้วยความบริสุทธิ์ ทั้งกาย ใจ และวิญญาณ ที่สำคัญไปกว่านั้นคือเป็นการกำหนดวันเริ่มต้นแห่งกระบวนการผลิต ของปีถัดไป ด้วยการราดน้ำเพื่อการเพิ่มความชื้นในอากาศ ซึ่งในเดือนถัดไปก็จะเข้าประเพณีจุดบั้งไฟเพื่อให้ควันบั้งไฟซึ่งเป็นเกลือดูดความชื้นในอากาศ ตกลงมาเป็นฝน เพื่อเข้าสู่ประเพณีซำฮะ และการแรกนาขวัญต่อไป

ความหมายและจารีตปฏิบัติในเทศกาลสงกรานต์

สงกรานต์มีรากศัพท์มาจากภาษาสันสกฤต "สังกรานต์" แปลว่า การก้าวขึ้น การเปลี่ยนผ่าน หรือการย้ายของดวงอาทิตย์จากราศรีมีนสู่ราศีเมษ ซึ่งตรงกับช่วงเวลาหน้าร้อนในเดือนเมษายน เป็นสัญญาณของการเริ่มต้นปีใหม่ตามคติไทยโบราณ ซึ่งในทางปฏิทินโบราณไทย ถือว่าเป็นวันเปลี่ยนศกราชใหม่หรือเปลี่ยนปีนักษัตร ซึ่งเดิมใน ภาษาไทยหรือภาษาโบราณที่ออกเสียภาษาบลูว่า สงกรานต ซึ่ง “สง” หมายถึงการอาบน้ำด้วยการใช้มือวักน้ำขึ้นมาราดบนตัวให้เปียก ส่วนคำว่า “กราน” แปลว่าย้ายที่อยู่หรือย้ายตำแหน่ง คำว่า “สงกรานต์” อาจจะเป็นภาษาสันสกฤต ที่นำมาเขียนภายหลัง เพียงเพื่อที่จะเคลมว่าสงกรานต์ ไทยได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย เท่านั้น ทั้งที่ประเทศไทยมีประเพณีปฏิบัติตามจารีตหรือฮีตสิบสองเดือน ซึ่งถือปฏิบัติกันมาก่อนสมัยพุทธกาล ที่ระบุไว้ในพระสูตร ว่าด้วยเรื่องประวัติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่พระเจ้าสุทโทธนะ เสด็จไปทำพิธีแรกนาขวัญ ในปฐมฌาณสูตร ซึ่งถ้าหากวิเคราะห์จาก “วันวิสาขบูชา” ที่มีพระจันทร์เต็มดวง พระจันทร์ก็ไม่เต็มดวงในประเทศอินเดีย แต่พระจันทร์เต็มดวงอยู่ในตำแหน่งประเทศไทย ดังนั้น พระเจ้าสุโทธนะจึงทำพิธีแรกนาขวัญในประเทศไทย ประเพณีสงกรานต์ที่ถือปฏิบัติกันมา จึงเป็นประเพณีตามฮีตสิบสอง หรือจารีตสิบสองเดือน

ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเป็นระยะเวลา 3 วัน ได้แก่

  • วันมหาสงกรานต์ (13 เม.ย.) เริ่มต้นเทศกาลด้วยพิธีชำระบ้านเรือน วัดวาอาราม และรูปเคารพ เพื่อต้อนรับการเปลี่ยนปีนักษัตย์ ซึ่งทางอีสานเรียกว่าวันล่อง ซึ่งถือเป็นวันที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนย้ายจากราศีมีนมาประจำที่ราศีเมษ และเปลี่ยนนางสงกรานต์เพื่อถือพานศรีษะของท้าวกบิลพรหม เคลื่อนย้ายรอบเขาพระสุเมรุ โดยไม่ให้ตกลงมายังพื้นโลก
  • วันเนา (14 เม.ย.) เป็นวันแห่งความสงบ งดเว้นการทะเลาะวิวาท เตรียมตัวสำหรับปีใหม่  "เนา” หมายถึ่งร้อยด้ายให้ตดอยู่หรือแปลว่าอยู่  ซึ่งวันนี้ในวันสงกรานต์นั้นหมายถึงวันที่พระอาทิตย์อยู่ในตำแหน่งราศีเมษแล้ว
  • วันเถลิงศก (15 เม.ย.) ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ ทำบุญตักบาตร รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่เพื่อขอพร วันนี้จึงเป็นวันฉลองในการเปลี่ยนปีนักษัตย์ใหม่นั่นเอง ถ้าจะบอกว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ไหม ก็ถือว่าใช่ เพราะเป็นวันที่เปลี่ยนปีนักษัตย์ แต่ด้วยเราเปลี่ยนวันขึ้นมีใหม่ตามปฏิทินสากล ตามนาฬิกากรีนีช ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งมีความห่างของระยะเวลาจากประเทศไทยในรอบปี สามเดือน วันขึ้นปีใหม่สากลจึงห่างจากวันสงกรานต์หรือวันขึ้นปีใหม่ไทยถึงสามเดือน จึงกำหนดเอาวันสงกรานต์ในวันที่ 13-15 เมษายน ตามปฏิทินสากล

ในแต่ละปี รัฐบาลจะประกาศ “วันสงกรานต์” อย่างเป็นทางการ เพื่อให้ประชาชนรับรู้ถึงวันเริ่มศักราชใหม่ และเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การคาดการณ์น้ำฝนหรือฤกษ์ทำการเกษตร ซึ่งถือเป็นมรดกทางภูมิปัญญาโบราณที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ โดยดั้งเดิมแล้ว โดยโบราณจะถือเอาวันแรม 15 ค่ำ เดือน 4 เป็นวันมหาสงกรานต์ หรือวันล่อง วันขึ้น 1 ค่ำเดือน 5 เป็นวันเนา และ วันขึ้น 2 ค่ำ เดือน5 เป็นวันเถลิงศก ซึ่งจะตรงหรือไม่ตรงกับวันที่ 13-15 เมษายน ก็ได้ แต่เพื่อให้การกำหนดวันสงกรานต์ให้เป็นไปตามปฏิทินสากล จึงกำหนดเอาวันที่ 13 - 15 เมษายน วันสงกรานต์

ตำนานนางสงกรานต์: ภูมิปัญญาผ่านนิทานพื้นบ้าน

ตำนานท้าวกบิลพรหมและธรรมบาลกุมาร เป็นเรื่องเล่าที่สอดแทรกคติธรรม ความเฉลียวฉลาด และความเสียสละ โดยมีลูกสาวทั้ง 7 ของท้าวกบิลพรหม หรือที่เรียกว่า “นางสงกรานต์” ผลัดเวียนกันอัญเชิญเศียรของบิดาเวียนรอบเขาพระสุเมรุในแต่ละปี

นางสงกรานต์แต่ละองค์จะมีลักษณะเฉพาะ ทั้งชื่อ สีของเครื่องแต่งกาย ยานพาหนะ อาหารที่โปรด และสัญลักษณ์ในพระหัตถ์ สื่อถึงนิมิตและคำทำนายของปีนั้น ๆ

  1. นางสงกรานต์ทุงษะเทวี: เป็นนางสงกรานต์ประจำวันอาทิตย์ ทรงพาหุรัด ทัดดอกทับทิม ทรงอาภรณ์ด้วยแก้วปัทมราช (แก้วทับทิม) เป็นเครื่องประดับ ภักษาหารคืออุทุมพร (ผลมะเดื่อ) พระหัตถ์ขวาทรงจักร พระหัตถ์ซ้ายทรงสังข์ เสด็จมาบนหลังครุฑ
  2. นางสงกรานต์โคราคะเทวี: เป็นนางสงกรานต์ประจำวันจันทร์ ทรงพาหุรัด ทัดดอกปีบ ทรงอาภรณ์ด้วยแก้วมุกดาเป็นเครื่องประดับ ภักษาหารคือเตลัง (น้ำมัน) พระหัตถ์ขวาทรงขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายทรงไม้เท้า เสด็จมาบนหลังพยัคฆ์ (เสือ)
  3. นางสงกรานต์รากษสเทวี: เป็นนางสงกรานต์ประจำวันอังคาร ทรงพาหุรัด ทัดดอกบัวหลวง ทรงอาภรณ์ด้วยแก้วโมรา ภักษาหารคือโลหิต พระหัตถ์ขวาทรงตรีศูล พระหัตถ์ซ้ายทรงธนู เสด็จมาบนหลังวราหะ (สุกร)
  4. นางสงกรานต์มณฑาเทวี: เป็นนางสงกรานต์ประจำวันพุธ ทรงพาหุรัด ทัดดอกจำปา ทรงอาภรณ์ด้วยแก้วไพฑูรย์ ภักษาหารคือนมเนย พระหัตถ์ขวาทรงเข็ม พระหัตถ์ซ้ายทรงไม้เท้า เสด็จมาบนหลังคัทรภะ (ลา)
  5. นางสงกรานต์กิริณีเทวี: เป็นนางสงกรานต์ประจำวันพฤหัสบดี ทรงพาหุรัด ทัดดอกมณฑา (ยี่หุบ) ทรงอาภรณ์ด้วยแก้วมรกต ภักษาหารคือถั่วงา พระหัตถ์ขวาทรงขอช้าง พระหัตถ์ซ้ายทรงปืน เสด็จมาบนหลังคชสาร (ช้าง)
  6. นางสงกรานต์กิมิทาเทวี: เป็นนางสงกรานต์ประจำวันศุกร์ ทรงพาหุรัด ทัดดอกจงกลนี ทรงอาภรณ์ด้วยแก้วบุษราคัม ภักษาหารคือกล้วยและน้ำ พระหัตถ์ขวาทรงขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายทรงพิณ เสด็จมาบนหลังมหิงสา (กระบือ)
  7. นางสงกรานต์มโหธรเทวี: เป็นนางสงกรานต์ประจำวันเสาร์ ทรงพาหุรัด ทัดดอกสามหาว (ผักตบชวา) ทรงอาภรณ์ด้วยแก้วนิลรัตน์ ภักษาหารคือเนื้อทราย พระหัตถ์ขวาทรงจักร พระหัตถ์ซ้ายทรงตรีศูล เสด็จมาบนหลังมยุรา (นกยูง)

ตามความเชื่อ หากนางสงกรานต์ปรากฏในลักษณะยืนหรือนั่ง จะสะท้อนถึงความเจ็บไข้และเภทภัย แต่หากนอนลืมหรือนอนหลับตา จะบ่งบอกถึงความสงบสุขและความเจริญของบ้านเมือง

เอกลักษณ์สงกรานต์ในแต่ละภูมิภาค

แม้สงกรานต์จะเป็นประเพณีเดียวกันทั่วประเทศ แต่แต่ละภูมิภาคกลับมีวิถีปฏิบัติที่แตกต่างกันออกไปอย่างน่าสนใจ สะท้อนความหลากหลายทางวัฒนธรรมไทย

ภาคเหนือ – ปเวณีปี๋ใหม่เมือง

มีประเพณี “ดำหัว” ขอพรจากผู้ใหญ่ การทำตุง การก่อเจดีย์ทราย และการยิงปืนไล่สิ่งชั่วร้าย ในวัน "สังขานล่อง" มีการสรงน้ำพระและเล่นสาดน้ำที่เรียกว่า “วันปากปี๋”

ภาคอีสาน – บุญเดือนห้า

เน้นการรวมญาติ ทำบุญอุทิศให้บรรพบุรุษ เล่นสะบ้า ฟังเทศน์สวดมนต์ มีการร้องเพลง "เจรียงตรษ" และสรงน้ำพระพร้อมรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ในหมู่บ้าน

ภาคกลาง – สงกรานต์มอญ และสงกรานต์พระประแดง

มีขบวนแห่สวยงาม การแสดงมหรสพพื้นบ้าน เช่น ลิเก รำวง และพิธีค้ำโพธิ์ การเล่นสะบ้า การแห่ข้าวแช่ รวมถึงการสรงน้ำพระพุทธรูปที่สนามหลวง

ภาคใต้ – วันว่างแห่งศรัทธา

จัดขึ้น 3 วัน เริ่มจากการลอยเคราะห์ ทำขวัญข้าว รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ และอัญเชิญเทวดารักษาเมืองใหม่ใน "วันเบญจา"

ดนตรีและการละเล่น: ความสุขที่เคล้าศิลปวัฒนธรรม

สงกรานต์ยังเป็นเวทีสำคัญของการแสดงศิลปะและดนตรีพื้นบ้าน ที่สร้างความสนุกสนานและเชื่อมโยงผู้คนเข้าด้วยกัน เช่น

  • เพลงพวงมาลัย และ เพลงระบำบ้านไร่ ในภาคกลาง ที่เต็มไปด้วยลีลาเกี้ยวพาราสี
  • เพลงบอก ในภาคใต้ ที่ใช้สื่อสารและประชาสัมพันธ์
  • เจรียงตรษ ของภาคอีสาน ที่เดินสายอวยพรและสร้างบุญ
  • เพลงไทยลูกทุ่ง อย่าง "สงกรานต์บ้านนา" หรือ "เทพีสงกรานต์ลืมทุ่ง" ที่นำเสนอภาพวิถีชีวิตของคนชนบทในบรรยากาศสงกรานต์

กิจกรรมอย่างชักเย่อ มอญซ่อนผ้า ลิงชิงหลัก หรือแม้แต่การแสดงหนังตะลุง ลำตัด มโนราห์ ล้วนเป็นส่วนสำคัญที่สร้างชีวิตชีวาให้กับประเพณี

ถนนสายสงกรานต์: สู่มิติใหม่แห่งการท่องเที่ยว

หนึ่งในนวัตกรรมทางวัฒนธรรมของไทยที่เป็นที่รู้จักทั่วโลก คือ “ถนนสายสงกรานต์” โดยเริ่มต้นที่ถนนข้าวสารในปี พ.ศ. 2535 ซึ่งกลายเป็นต้นแบบให้อีกหลายจังหวัดทั่วประเทศตั้งชื่อถนนเล่นน้ำของตนเอง เช่น

  • ถนนข้าวยำ (ปัตตานี), ถนนข้าวหมาก (นราธิวาส) , ถนน ข้าวสาร(กรุงเทพฯ) , ถนนข้าวแช่(ปทุมธานี) , ถนนข้าวสุก(อ่างทอง)
  • ถนนข้าวเหนียว (ขอนแก่น), ถนนข้าวแคบ (ตาก) , ถนนข้าวต้ม(นครนาก) , ถนนข้าวตอก(สุโขทัย) , ถนนข้าวปุ้น(นครพนม)

และยังมีถนนที่มีชื่อข้าวต่างๆ อยู่อีกหลายจังหวัด ถนนเหล่านี้ไม่เพียงเป็นพื้นที่แห่งความสนุก หากแต่เป็นเวทีแสดงอัตลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่นต่อสายตาโลก ที่สื่อถึงวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชาวนาที่ต้องอาศัยฤดูกาลต่างๆ เพื่อการผลิต จึงเป็นสิ่งยืนยันได้อย่างชัดเจนว่า สงกรานต์ไม่ใช่ประเพณีคลายร้อนด้วยการเล่นสาดน้ำ แต่เป็นวัฒนธรรมที่เป็นจารีตที่ต้องปฏิบัติในกระบวนการผลิตตามฤดูกาลซึ่งมีความสำคัญต่อวิถีชีวิตของคนไทย และทั้งภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง

คุณค่าทางวัฒนธรรมและสังคม

ประเพณีสงกรานต์เป็นมากกว่าการเล่นน้ำ คือการ "กลับคืนสู่รากเหง้า" ที่สะท้อนคุณค่าหลายมิติ ได้แก่

  • ต่อบุคคล: เป็นโอกาสในการเริ่มต้นใหม่ ตรวจสอบตนเอง และแสดงออกถึงความสำนึกในคุณธรรม
  • ต่อครอบครัว: เป็นวันรวมญาติ สร้างความอบอุ่น และแสดงความกตัญญูต่อผู้ใหญ่
  • ต่อชุมชน: เสริมสร้างความสามัคคีผ่านกิจกรรมร่วมกันในวัดหรือพื้นที่สาธารณะ
  • ต่อสิ่งแวดล้อม: สนับสนุนการทำความสะอาดพื้นที่ทั้งกายภาพและจิตใจ
  • ต่อศาสนา: ยึดโยงกับพุทธศาสนาอย่างแนบแน่นผ่านการทำบุญ สรงน้ำพระ และปฏิบัติธรรม

ประเพณีสงกรานต์คือ "ขุมทรัพย์ทางวัฒนธรรม" ที่สืบทอดจากบรรพบุรุษ เป็นทั้งความทรงจำของอดีต ความภาคภูมิใจในปัจจุบัน และรากฐานแห่งความยั่งยืนของอนาคต ในฐานะคนไทย เราทุกคนมีหน้าที่ร่วมกันอนุรักษ์ สืบทอด และพัฒนาเทศกาลสงกรานต์ให้ดำรงอยู่ต่อไปด้วยหัวใจที่เข้าใจในแก่นแท้ มิใช่เพียงเปลือกนอกของความสนุกเท่านั้น

 

ขอขอบพระคุณภาพจากสหกรณ์ออมทรัพย์กรมป่าไม้ จำกัด