Biz news

แม็คโครร่วมปศุสัตว์รับเทรนด์เนื้อมาแรง รุกพัฒนาผู้เลี้ยงโคนมสู่โคเนื้อคุณภาพสูง



กรุงเทพฯ-บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) ร่วมลงนาม MOU กับ กรมปศุสัตว์ บริษัท พรีเมี่ยมบีฟ และ ธ.ก.ส. พัฒนาโคเนื้อคุณภาพสูงจากฝูงโคนม สร้างโอกาสเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมไทย เฉลี่ย 10,000-20,000 บาทต่อตัว รองรับความต้องการบริโภคเนื้อวัวคุณภาพภายในประเทศ ตอกย้ำการเป็น Beef Destination พร้อมวางแผนต่อยอดสู่การส่งออกไปยังภูมิภาคอาเซียน

นางสาวธีราพร ธีรทีป ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารสินค้าอาหารสด บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน)  กล่าวว่า ปัจจุบันแนวโน้มการบริโภคเนื้อวัวคุณภาพสูงมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทั้งในกลุ่มผู้ประกอบการร้านอาหาร กลุ่มลูกค้าทั่วไป ต่างให้ความไว้วางใจกับการเลือกซื้อเนื้อวัวที่วางจำหน่ายในสาขาของแม็คโคร เพราะคุณภาพและความหลากหลาย โดยเฉพาะเนื้อโคขุนจากเกษตรกรไทยที่ได้รับการยอมรับไม่แพ้เนื้อนำเข้าจากต่างประเทศ และตลาดยังมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้ แม็คโคร จึงร่วมกับ กรมปศุสัตว์  พัฒนาเนื้อโคขุนหลากหลายสายพันธุ์อย่างต่อเนื่อง รวมถึงพัฒนาเนื้อวัวคุณภาพสูงจากฝูงโคนม โดยได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความเข้าใจ (MOU) ร่วมกัน พร้อมด้วย บริษัท พรีเมี่ยมบีฟ และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ซึ่งเป็นการผนึกกำลังช่วยเหลือส่งเสริมเกษตรกรไทยให้มีอาชีพที่มั่นคงและมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น

“โครงการนี้เป็นการเพิ่มขีดความสามารถให้กับกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม และกลุ่มเอสเอ็มอีผู้ผลิตอย่าง พรีเมี่ยมบีฟ ในการพัฒนาโคเนื้อคุณภาพสูงให้เพียงพอต่อความต้องการบริโภคภายในประเทศ รวมถึงส่งออกไปยังภูมิภาคอาเซียน โดยผ่านกระบวนการเลี้ยงขุนในฟาร์มและผลิตในโรงงานผลิตที่ได้รับรองมาตรฐานจากกรมปศุสัตว์ รวมถึงการทำการตลาด เพิ่มช่องทางการจำหน่ายให้กับเกษตรกร ผ่านสาขาของแม็คโคร ซึ่งจะทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงวัวมีรายได้เพิ่มขึ้น เฉลี่ย 10,000-20,000 บาทต่อตัว”

ในปัจจุบันการเลี้ยงโคนมประสบปัญหา เรื่องการเกิดใหม่ของลูกวัวเพศผู้ ที่ไม่สามารถให้นมได้ รวมถึงโคนมเพศเมียที่มีปัญหาเรื่องการให้นมน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ทำให้เกษตรกรหยุดเลี้ยงและขายออกให้พ่อค้าคนกลาง หรือตลาดล่างในราคาที่ต่ำ ซึ่งโครงการนี้จะเข้าไปพัฒนาคุณภาพเนื้อวัวคุณภาพสูงจากฝูงโคนม โดยนำคุณลักษณะเด่นของโคนมที่มีเลือดสายพันธุ์เมืองหนาวสูง (สายพันธุ์โฮลสไตน์ฟรีเซี่ยน) ทำให้เนื้อวัวมีความละเอียดหอมนุ่มเป็นธรรมชาติตามคุณลักษณะของสายพันธุ์เมืองหนาว เมื่อนำมาพัฒนาต่อยอดด้วยการเลี้ยงแบบขุนด้วยธัญพืชที่มีคุณภาพ จะช่วยพัฒนาเนื้อจากโคนมให้มีคุณภาพดี มีมูลค่าเพิ่มขึ้น

“สิ่งที่ผู้บริโภคนิยมเนื้อโคขุนไทยมากขึ้นและกลายเป็นกระแสดังในโลกออนไลน์ เนื่องจากมีกลิ่นหอม และรสชาติที่เข้มข้น นิยมนำมาบริโภคในหลายเมนู อาทิ  สเต๊ก บาบีคิว สตูว์ ปิ้งย่าง ชาบู ซึ่งแม็คโครได้สนับสนุนและพัฒนาผลผลิตจากเกษตรกรผู้เลี้ยงโคขุน 5 สายพันธุ์ ประกอบด้วย บราห์มัน, ลูกผสมชาโรเลย์, วัวนมขุน, ลูกผสมไทย-แองกัส, และลูกผสม ไทย-วากิว ภายใต้แบรนด์ ‘โปรบุชเชอร์’ ครอบคลุมเกษตรกรผู้เลี้ยงโคขุนไทยมากกว่า 10,000 ครัวเรือน ตอกย้ำการเป็น Beef destination ที่ลูกค้าพูดถึงเรา” นางสาวธีราพร กล่าวทิ้งท้าย

ผู้เชี่ยวชาญทั้งสี่คนต่างเน้นย้ำว่าผู้นำ คือผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการประกอบและหลอมรวมชิ้นส่วนต่างๆ ของอนาคตการทำงานแบบไฮบริดเวิร์กเข้าด้วยกัน ผู้นำจำเป็นต้องสร้างการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานและการเปลี่ยนแปลงเชิงนวัตกรรมขึ้นภายในองค์กรอย่างชัดเจนเพื่อการเดินหน้าต่อไป กระนั้นยังแสดงออกถึงการเอาใจใส่และความเห็นอกเห็นใจต่อการพยายามที่พนักงานอาจเผชิญอยู่ อาทิ การขาดการสื่อสารแบบตัวต่อตัว ตลอดไปจนถึงเส้นแบ่งที่ลางเลือนระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว

นอกจากนี้ ผู้นำยังต้องพยายามสร้างความไว้วางใจกับพนักงานและยอมรับทัศนคติ (mindset) ที่ขับเคลื่อนด้วยผลลัพธ์เพื่อหลีกเลี่ยงการตกหลุมพรางของการจัดการที่เรียกว่าไมโครแมเนจเม้นต์ หรือการบริหารจัดการที่จับตามองในทุกรายละเอียดปลีกย่อย

ความตั้งใจมุ่งมั่น 2: การสร้างโครงสร้างการทำงานแบบไฮบริดโดยไตร่ตรอง

ในปัจจุบัน องค์กรธุรกิจไม่สามารถเข้าถึงไฮบริด เวิร์กจากเพียงจุดยืนด้านการบริหารจัดการและด้านเทคนิคแล้วใช้รูปแบบ one-size-fits-all ได้ ในทางกลับกัน นายจ้างจำเป็นต้องใช้เวลาในการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับความชอบของพนักงานและความจำเป็นในการให้ความช่วยเหลือเพื่อให้พวกเขาประสบความสำเร็จในการสภาพแวดล้อมการทำงานจากระยะไ

ในการร่วมกันออกแบบสถานที่ทำงาน (workplace) แบบไฮบริดที่ครอบคลุม ผู้เชี่ยวชาญแนะนำแนะนำให้มีการสื่อสารแบบเปิดเผย (open communication) ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง โดยผู้เชี่ยวชาญย้ำถึงความจำเป็นในการหาจุดสมดุลระหว่างการทำงานที่ยืดหยุ่นและการมีระบบระเบียบ ที่มาในรูปแบบของเวลาที่ทุ่มเทให้กับการประชุมทีม หรืออื่นๆ ฯลฯ เพื่อรักษาวัฒนธรรมและการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม

ความตั้งใจมุ่งมั่น 3: ทำให้การสร้างวัฒนธรรมเป็นไปโดยรอบคอบ

ผู้เชี่ยวชาญยังเรียกร้องให้มีความพยายามที่รอบคอบมากขึ้นในการสร้างวัฒนธรรมและการเรียนรู้รวมถึงการพัฒนา เพื่อรักษาและจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และการทำงานร่วมกัน ผู้เชี่ยวชาญยังเตือนถึงความเสี่ยงของการแบ่งวัฒนธรรมระหว่างพนักงานที่ทำงานที่บ้าน และพนักงานในสำนักงาน ซึ่งอาจนำไปสู่ความตึงเครียดในพลังการทำงานภายในออฟฟิศและการรับรู้ถึงความไม่สมดุลระหว่างทั้งสองกลุ่ม

ข้อเสนอแนะหนึ่งคือ ให้นายจ้างเปลี่ยนงบประมาณที่ประหยัดจากค่าใช้จ่ายสำนักงานในแต่ละวัน และลงทุนซ้ำในกิจกรรมที่ทุ่มเทและสม่ำเสมอเพื่อการมีส่วนร่วมทางสังคมในหมู่พนักงาน อาทิ การรับประทานอาหารกลางวันร่วมกันในทีม หรือการฝึกอบรมแบบที่โต้ตอบกันได้ ซึ่งช่วยสร้างโอกาสเพิ่มเติมสำหรับการแลกเปลี่ยนความคิดแบบออร์แกนิก ตลอดจนโอกาสในการส่งเสริมความไว้วางใจและความสัมพันธ์ในการทำงานที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นระหว่างสมาชิกในทีม

สำหรับข้อมูลเชิงลึกและคำแนะนำเพิ่มเติม สามารถดาวน์โหลดเอกสารข้อมูลเชิงลึก Leading the Next Hybrid Workforce ฉบับเต็มโดยเดลล์ เทคโนโลยีส์ได้ ที่นี่ โดยตั้งแต่ปี 2009 เดลล์ เทคโนโลยีส์ ได้จัดทำโครงการ Connected Workplace เพื่อให้พนักงานสามารถออกแบบรูปแบบการเตรียมพร้อมการทำงานในอุดมคติ ซึ่งรวมถึงการทำงานจากระยะไกล ชั่วโมงการทำงานที่ยืดหยุ่น และการแบ่งปันงาน