Biz news
'ซิเนอร์เจีย แอนิมอล'เผยธนาคารไม่มีแผน ลงทุนป้องกันความโหดร้ายต่อสัตว์
กรุงเทพมหานคร: 7 ธันวาคม 2564: รายงานฉบับใหม่ซึ่งเผยแพร่วันนี้โดยองค์กรพิทักษ์สัตว์สากล ซิเนอร์เจียแอนิมอล และกิจการเพื่อสังคม Shifting Values แสดงให้เห็นว่า ธนาคารและนักลงทุนที่ประเมินทั้งหมดเกือบครึ่งหนึ่งไม่มีนโยบายประกอบการตัดสินใจการให้เงินกู้และการลงทุน เพื่อป้องกันการปฏิบัติที่โหดร้ายต่อสัตว์รายงานฉบับนี้เผยแพร่พร้อมเว็บไซต์ bankforanimals.org ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มอินเตอร์แอคทีฟ ประเมินนโยบายการลงทุนของธนาคารกว่า 69 แห่งและนักลงทุนจาก 19 ประเทศใน 5 ทวีป (เอเชีย ยุโรป อเมริกาเหนือ โอเชียเนียและอเมริกาใต้) ร้อละ 90 ของจำนวนดังกล่าวได้คะแนนต่ำกว่าครึ่งของคะแนนรวม โดยเกณฑ์การประเมินมี 21 ข้อเช่น การห้ามการตัดหรือขลิบอวัยวะและการขังสัตว์ไว้ในกรง การทดลองกับสัตว์ และการค้าสัตว์ป่า เกือบครึ่งของสถาบันที่ประเมินไม่ผ่านเกณฑ์เลยสักข้อ
“เรากำลังผลักดันให้ธนาคารใช้นโยบายที่มีประสิทธิภาพกว่าเดิม เพื่อป้องกันการปฏิบัติที่โหดร้ายที่สุดสำหรับสัตว์สิ่งนี้สำคัญต่อสัตว์มาก และยังเป็นกลยุทธ์ในการลดความเสี่ยงสำหรับสถาบันการเงินด้วย” Merel van der Markผู้จัดการฝ่ายการเงินและสวัสดิภาพสัตว์ของซิเนอร์เจีย แอนิมอล กล่าว ซิเนอร์เจีย แอนิมอล เป็นองค์กรพิทักษ์สัตว์สากลซึ่งดำเนินงานในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา (Global South) เพื่อบรรเทาความทุกข์ทรมานของสัตว์ในฟาร์มปศุสัตว์และส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคที่มีความเห็นอกเห็นใจมากขึ้น Merel กล่าวเพิ่มว่า การมีส่วนเกี่ยวข้องกับการลงทุนในฟาร์มปศุสัตว์อาจเป็นความเสี่ยงต่อชื่อเสียงของธนาคาร
โครงการ Banks for Animal ประเมินธนาคารในประเทศไทยสามแห่ง ได้แก่ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงไทยและธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารทั้งสามแห่งไม่ผ่านเกณฑ์เลยสักข้อ ซึ่งหมายความว่าธนาคารเหล่านี้ไม่มีนโยบายใดเลยที่ตรงกับเกณฑ์ 21 ข้อ
“เป็นเรื่องน่ากังวลที่ธนาคารเหล่านี้ โดยเฉพาะธนาคารที่ใกล้ชิดกับภาคปศุสัตว์อย่างมาก เช่นธนาคารสำหรับพื้นที่ชนบทหรือธนาคารเพื่อการกสิกรรมหลายๆ แห่งยังขาดนโยบายด้านสวัสดิภาพสัตว์ เช่น นโยบายที่งดให้สินเชื่อกับกิจการที่กักขังสัตว์ในกรงคับแคบ และตัดอวัยวะสัตว์โดยไม่ใช้ยาชาหรือยาแก้ปวด มีอีกหลายอย่างที่ทำได้เพื่อปรับปรุงเรื่องนี้ ” Merel กล่าว
ปัจจุบัน ธนาคารที่มีนโยบายการลงทุนที่คำนึงถึงสวัสดิภาพสัตว์มากที่สุด 5 ธนาคารได้แก่ ธนาคารดัตช์ Triodosและธนาคาร de Volksbank โดยทั้งสองสถาบันมีคะแนนสูงถึงร้อยละ 95 ของคะแนนรวม อันดับที่สามได้แก่ธนาคารAustralian Ethical (ร้อยละ 74 ของคะแนนรวม) อันดับที่สี่ ธนาคาร ABN Amro (ร้อยละ 57 ของคะแนนรวม)และอันดับที่ห้า ธนาคาร ING Group (ร้อยละ 55 ของคะแนนรวม)
เพิ่มความโปร่งใสของภาคการเงินเป้าหมายของโครงการ Banks for Animal คือการเพิ่มความโปร่งใสในภาคการเงิน ส่งเสริมให้สถาบันการเงินเอกชนปรับปรุงนโยบายของตน เพื่อให้มีแนวทางปฏิบัติที่ดีขึ้นด้านสวัสดิภาพสัตว์ และสนับสนุนการเปลี่ยนไปสู่ระบบอาหารจากพืช
นโยบายที่ส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์และอาหารจากพืชเป็นแนวทางประกอบการตัดสินใจของแต่ละธนาคารว่าจะนำเงินไปลงทุนในกิจการใด หากสถาบันการเงินมีนโยบายด้านสวัสดิภาพสัตว์ที่เคร่งครัด ก็ไม่ควรลงทุนในการปฏิบัติหรือกิจกรรมที่ถือว่าโหดร้ายที่สุดต่อสัตว์
โครงการเช่นเดียวกันนี้ได้เกิดขึ้นแล้วกับประเด็นทางสังคมอื่นๆ เช่น สิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม “หากเป็นเรื่องนโยบายเกี่ยวกับเชื้อเพลิงฟอสซิลหรือการตัดไม้ทำลายป่า ธนาคารก้าวหน้าไปกว่านี้มากแล้ว เราหวังว่ารายงานฉบับนี้จะกระตุ้นให้พวกเขาพัฒนานโยบายเพื่อสัตว์ด้วยเช่นกัน” Merel กล่าว
แพลตฟอร์มอินเตอร์แอคทีฟเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ส่งข้อความเรียกร้องนโยบายที่ดีขึ้นจากธนาคารเว็บไซท์ www.banksforanimals.org รวบรวมบัญชีโซเชียลมีเดียของธนาคารและแบบฟอร์มการติดต่ออื่นๆผู้ใช้สามารถส่งข้อความถึงสถาบันเหล่านี้ เพื่อเรียกร้องนโยบายที่ดีขึ้นหรือแสดงความยินดีกับสถาบันที่มีมาตรฐานดีอยู่แล้ว
นอกจากนี้เว็บไซต์ยังนำเสนอข้อมูลการจัดอันดับล่าสุด ว่าธนาคารแต่ละแห่งได้คะแนนเท่าไรบ้างในด้านนโยบายสวัสดิภาพสัตว์ รวมถึงระบบการเปรียบเทียบธนาคาร ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ต่อผู้คนในการตัดสินใจเลือกธนาคารที่จะใช้บริการ
“ธนาคารนำเงินของเราไปลงทุน พวกเขาเก็บเงินที่ลูกค้าฝากไว้ในบัญชี และในขณะเดียวกันก็ให้สินเชื่อแก่ธุรกิจและบุคคลต่างๆ ในรูปแบบของเงินกู้ เงินกู้เหล่านี้อาจนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์หลากหลาย บางกิจกรรมอาจทำร้ายสัตว์อย่างมาก” Merel อธิบายเว็บไซต์นี้เป็นการพัฒนาร่วมกันระหว่าง Tech to the Rescue, Gerere และ Netguru "เว็บไซต์นี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการบริการสังคม มีจุดมุ่งหมายเพื่อแสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์และสร้างโลกที่ดีขึ้นได้" Jacek Siadkowski กรรมการผู้จัดการ Tech To The Rescue กล่าว
แพลตฟอร์มนี้เผยแพร่โดยใช้ใบอนุญาตโอเพนซอร์ส หมายความว่าโค้ดของแพลตฟอร์มนำไปปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมในบริบทอื่นๆ ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมนวัตกรรมในหน่วยงานภาคส่วนที่สาม