Biz news

‘พรีเมี่ยม บีฟ’กับเส้นทางเติบโตของ เอสเอ็มอีไทยก้าวไปสู่อาเซียน



กรุงเทพฯ-เคียงข้างเพื่อนคู่คิดธุรกิจอย่าง “แม็คโคร”จากธุรกิจของคนตัวเล็ก หรือ เอสเอ็มอี วันนี้ “พรีเมี่ยม บีฟ” เติบโตขึ้นอย่างน่าปลื้มใจ หลังเดินในเส้นทางแห่งโอกาสที่มี แม็คโคร เป็นเพื่อนคู่คิด

“สุริยศักดิ์ ภูธิปฐิติพงศ์” ประธานบริษัท พรีเมี่ยม บีฟ จำกัด กล่าวว่า “ปัจจุบันพรีเมี่ยม บีฟ ได้ขยับจากธุรกิจเอสเอ็มอี ขนาดเล็กมาสู่ขนาดกลาง ด้วยรายได้ 25-30 ล้านบาทต่อเดือน โดยมากกว่า 50% มาจากการได้ร่วมงานกับแม็คโคร !”

ด้วยช่องทางแห่งโอกาสที่เขาและสมาชิกผู้เลี้ยงโคขุนในเมืองไทยได้รับ จนพัฒนาศักยภาพและมองเห็นเส้นทางการเติบโตชัดเจน ไม่ว่าจะเป็น องค์ความรู้ทางด้านการตลาด โดยเฉพาะ ความต้องการของผู้บริโภคเนื้อ กุญแจสำคัญที่จะช่วยต่อยอดให้เอสเอ็มอีผลิตสินค้าได้ตอบโจทย์ลูกค้าทุกกลุ่ม 

“พรีเมี่ยม บีฟ ได้ผลิตสินค้าประเภทเนื้อวัวตัดแต่งคุณภาพจากโคขุนในประเทศ โดยเราค่อยๆ เรียนรู้ตลาด ความต้องการของผู้บริโภค ก็พัฒนากันมาเรื่อย อย่างช่วงแรกผู้บริโภคต้องการเนื้อวัวจากไม่กี่ชิ้นส่วน  แต่เมื่อเริ่มวางจำหน่ายที่แม็คโครภายใต้แบรนด์ โปรบุชเชอร์ แม็คโครก็เข้ามาช่วยด้านการจัดการ และร่วมกันคิดว่า จะทำอย่างไรให้ผู้บริโภคหันมานิยมเนื้อวัวในส่วนอื่นๆ มากขึ้น เราก็ปรับวิธีการตัดแต่ง เปลี่ยนขนาดบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสม กลายเป็นจุดแข็งที่เนื้อนำเข้าไม่สามารถทำได้ ประกอบกับราคาที่ดึงดูด ทำให้สินค้าจาก  พรีเมี่ยม บีฟ เติบโตอย่างต่อเนื่อง จนปัจจุบันมีขายในแม็คโครมากกว่า 100 สาขาทั่วประเทศ”

และไม่เพียงแค่ในประเทศไทย พรีเมี่ยม บีฟ ยังได้ส่งออกสินค้าไปขายยังภูมิภาคอาเซียน ผ่านสาขาของแม็คโครใน เมียนมา และกัมพูชา ซึ่งก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้บริโภคในท้องถิ่นด้วย

นับว่าเป็นหนึ่งในเอสเอ็มอี ที่เข้ามาเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับแม็คโคร ปัจจุบันมีสมาชิกเกษตรกรผู้เลี้ยงในเครือข่ายมากกว่า 1,000 ครัวเรือน  สร้างรายได้ให้เกษตรกรเพิ่มขึ้น 10,000 - 20,000 บาทต่อตัว โดยร่วมกับแม็คโคร และหน่วยงานภาครัฐ อาทิ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ต่อยอดองค์ความรู้ต่างๆ พัฒนาระบบ รวมทั้งพัฒนาการเลี้ยงและการลงทุนด้านเครื่องจักรเพื่อให้มีมาตรฐาน 

โดยพรีเมี่ยม บีฟ  เลือกชูจุดเด่นที่แตกต่าง ก็คือพัฒนาคุณภาพเนื้อวัวตั้งแต่ต้นน้ำ นั่นคือ 1.สายพันธุ์เลือดผสมยุโรปตอบโจทย์เรื่องของความนุ่ม ชั้นไขมันที่แทรกอยู่ในเนื้อ 2.การใช้ธัญพืชในการเลี้ยงเพื่อให้ได้โปรตีนที่เหมาะสมกับช่วงวัยของวัว 3.ระยะเวลาขุนที่เหมาะสม 10-12 เดือน และ 4.วัวที่ใช้แปรสภาพจะมีอายุไม่เกิน 3 ปี ซึ่งสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ตั้งแต่สายพันธุ์ไปจนถึงผู้เลี้ยง รวมทั้งพัฒนาเทคนิคการเพิ่มคุณภาพตามความต้องการของตลาด อาทิ การทำเนื้อดรายเอจ ที่กำลังเป็นกระแสนิยม

สุริยศักดิ์” บอกเล่าถึงเป้าหมายที่เขาตั้งไว้ เมื่อครั้งตัดสินใจเปลี่ยนอาชีพจากวิศวกร มาสู่เกษตรกร นั่นคือ “การผลักดันวงการเนื้อโคขุนไทยให้โดดเด่น มีเอกลักษณ์ คุณภาพดีไม่แพ้เนื้อนำเข้าจากต่างประเทศ” ซึ่งเป้าหมายนั้นกำลังแจ่มชัดขึ้นเรื่อยๆ

ใครจะคิดว่า “โอกาส” ที่เอสเอ็มอี ธุรกิจรายเล็กได้รับ จะกลายเป็นความยิ่งใหญ่ที่เกิดขึ้นในวันนี้ของ พรีเมี่ยม บีฟ และเกษตรกรเครือข่ายอีกนับพัน