Biz news

ซิเนอร์เจียแอนิมอลส่งต่อมื้อนี้เพื่ออนาคต ผนึกสถานศึกษาเพิ่มเมนูแพลนต์เบส



กรุงเทพมหานคร: 21 ธันวาคม 2564: โครงการมื้อนี้เพื่ออนาคตเจาะตลาดประเทศไทยเป็นประเทศล่าสุด โครงการนี้ดำเนินงานโดยซิเนอร์เจีย แอนิมอล โดยมีเป้าหมายที่จะร่วมมือกับสถาบันการศึกษา เช่น โรงเรียน มหาวิทยาลัย ตลอดจนบริษัทและสถาบันของรัฐ เพื่อช่วยเสิร์ฟมื้ออาหารที่ดีกว่าต่อสิ่งแวดล้อม โดยการเพิ่มเมนูแพลนต์เบสในร้านอาหารและโรงอาหารของสถาบัน พร้อมทั้งให้การสนับสนุนจากนักกำหนดอาหารและเชฟโดยไม่มีค่าใช้จ่าย แนวคิดของโครงการคือเสิร์ฟอาหารแพลนต์เบส 100 เปอร์เซ็นต์ อย่างน้อยหนึ่งวันต่อสัปดาห์เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของมนุษย์โครงการรับประกันว่ารสชาติอร่อยและสารอาหารตรงหลักโภชนาการแน่นอน

“สุขภาพของมนุษย์และความยั่งยืนเป็นสองปัญหาที่เราพยายามแก้ไขในประเทศไทย” กล่าวคุณจันจรี เชียรวิชัยผู้จัดการโครงการมื้อนี้เพื่ออนาคต “คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแนะนำว่าการลดการบริโภคผลิตภัณฑ์จากสัตว์และการเพิ่มการบริโภคอาหารแพลนต์เบสเป็นวิธีที่ดี เพื่อรับมือกับสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง”

โครงการ Alimentando el Mañana หรือโครงการมื้อนี้เพื่ออนาคต เริ่มต้นจากประเทศโคลอมเบียในปี 2019 และประสบความสำเร็จในการประสานงานกับ 11 องค์กรในกลุ่มประเทศลาตินอเมริกา โดยมีศักยภาพในการเสิร์ฟอาหารแพลนต์เบสกว่า 1.1 ล้านมื้อต่อปี โคลอมเบียเป็นประเททดลองที่มีผลตอบรับดี และขณะนี้ซิเนอร์เจีย แอนิมอลกำลังขยายโครงการสู่ประเทศไทยและประเทศอื่นๆ โครงการมื้อนี้เพื่ออนาคต เริ่มต้นในอินโดนีเซียและอาร์เจนตินาในปี2021 เช่นเดียวกัน “งานวิจัยเผยว่าคนไทยกังวลเรื่องสิ่งแวดล้อมมากที่สุด เราหวังว่าคนไทยจะเห็นถึงการเชื่อมโยงระหว่างอาหารที่เรากินกับรอยเท้านิเวศจากอาหาร เราเล็งเห็นว่าประเทศไทยมีแนวโน้มที่โครงการนี้จะประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก” คุณจันจรี กล่าว

คุณจันจรีกล่าวเพิ่มว่า ความพิเศษของโครงการคือ องค์กรที่เข้าร่วมสามารถใช้บริการจากผู้เชี่ยวชาญด้านการปรุงอาหารและนักกำหนดอาหารโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ และโครงการให้คำมั่นว่า ค่าใช้จ่ายทั้งหมดของเมนูใหม่จะเท่าเดิมหรือประหยัดกว่าเดิม นอกจากนี้ ซิเนอร์เจีย แอนิมอล จะเป็นผู้จัดงานอีเว้นท์และกิจกรรมเพื่อสร้างความตระหนักรู้ในหมู่พนักงาน คุณครู นักเรียน และผู้ปกครองเพื่อให้แน่ใจว่า เมนูมีความเหมาะสมทางโภชนาการและถูกปากนักเรียน โครงการทำงานร่วมกับนักกำหนดอาหารและเชฟที่ผ่านการรับรอง ผู้ให้การฝึกอบรมกับพ่อครัวของสถาบัน นอกเหนือจากนั้นโครงการมื้อนี้เพื่ออนาคต มีแนวปฏิบัติที่ให้ความสำคัญกับการใช้วัตถุดิบท้องถิ่น ส่งเสริมอาหารแพลนต์เบสดั้งเดิม ตลอดจนรังสรรค์อาหารจานโปรดของท้องถิ่นขึ้นใหม่เป็นอาหารจากพืช โดยไม่กระทบต่อรสชาติอันเป็นเอกลักษณ์ส่งเสริมวิถีการบริโภคที่ยั่งยืนและดีต่อสุขภาพมากขึ้นในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา (Global South)ปริมาณการบริโภคผลิตภัณฑ์จากสัตว์ต่อคนในประเทศไทยเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี นับตั้งแต่ปี 2015 จนถึง ปี 2019 อ้างอิงจากหนังสือยุทธศาสตร์กรมปศุสัตว์ปี 2020 - 2024 รายงานครอบคลุมเนื้อสดและเนื้อแปรรูป เนื้อปรุงสุก ไข่ไก่ นมวัว และ
ผลิตภัณฑ์นมวัว “การปฏิบัตินี้ตรงกันข้ามกับคำแนะนำด้านการบริโภคแบบยั่งยืนและดีต่อสุขภาพ” คุณจันจรีกล่าว

แม้ว่าประเทศไทยจะผลิตผักและผลไม้ในปริมาณมากและหลากหลาย แต่โดยเฉลี่ยแล้ว ผู้ชายไทยบริโภคผักและผลไม้เพียง 268 กรัมต่อวัน และผู้หญิงไทย 283 กรัมต่อวัน ในขณะที่ คำแนะนำขั้นต่ำขององค์การอนามัยโลก (WHO) คือ 400กรัมต่อคนต่อวัน การบริโภคผลไม้และธัญพืชไม่ขัดสีไม่เพียงพอและการบริโภคโซเดียมสูงเป็นสาเหตุหลักของ การเสียชีวิตทั่วโลก โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตจากอาหาร รองลงมาคือ โรคมะเร็งและโรคเบาหวานชนิดที่ 2

นอกจากจะดีกว่าต่อสุขภาพ การรับประทานอาหารที่มีผักมากขึ้นและผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้อยลง ยังมีความยั่งยืนมากกว่าข้อมูลล่าสุดแสดงให้เห็นว่า การเปลี่ยนวิถีการบริโภคของประเทศไทยเป็นอาหารจากสัตว์มากขึ้น มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ข้อมูลจากองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ในปี 2018 เผยว่าภาคเกษตรกรรมของประเทศไทยมีส่วนทำให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 61.29 ล้านตัน (CO2eq) โดยร้อยละ 23.8 เกี่ยวข้องกับการปศุสัตว์

ในประเทศไทย การเผาป่า เพื่อเตรียมที่ดินสำหรับการเกษตรเชิงเดี่ยว โดยเฉพาะข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ซึ่งมีความต้องการทางตลาดสูงมากในไทยได้ปล่อยมลพิษสู่อากาศ​ คุณภาพอากาศในบางส่วนของภาคเหนือของประเทศไทย สูงกว่ามาตรฐานสากลถึง 40 เท่า ประเทศไทยต่อสู้กับ ปัญหามลพิษทางอากาศ มาหลายปี“ไม่ต้องสงสัยเลยว่าระบบอาหารปัจจุบันกำลังทำร้ายสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของเรา นาฬิกากำลังเดินแต่เรายังพอมีโอกาสที่จะย้อนเข็มนาฬิกา หากเราเริ่มเปลี่ยนวิถีการบริโภคเดี๋ยวนี้” คุณจันจรีกล่าว “นี่คือเหตุผลที่เรารู้สึกตื่นเต้นมากที่ได้เริ่มทำงานกับสถาบันในไทยที่มุ่งมั่นเพื่ออนาคตของเราบนโลกใบนี้”เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการได้ที่ https://www.nourishingtomorrowthai.org