In News

ศบค.ประกาศ28จว.พื้นที่ควบคุมสูงสุด



ศบค.ประกาศข้อกำหนดลงในราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 16) เพื่อแก้ไขและระงับยับยั้งสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19มีผลตั้งแต่ 4 ม.ค. 64 เวลา 06.00 น. เป็นต้นไปและยังได้ประกาศคำสั่ง ศบค. เรื่อง พื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ออกข้อกำหนดลงในราชกิจานุเบกษา ลงวันที่ 3 มกราคม 2564 ให้ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ตามที่ได้มีกาะกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องถิ่นทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2563 และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉะกเฉินดังกล่าวออกไป เป็นคราวที่ 8 จนถึงวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2564 เนื่องจากมีการระบาดระลอกใหม่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ขยายขอบเขตการแพร่โรคออกเป็นวงกว้างกระจายไปในหลายพื้นที่และตรวจยืนยันติดเชื้อรายใหม่โดยเฉพาะกรณีที่มีการติดเชื้อภายในประเทศมีจำนวนเพิ่มขึ้นในแต่ละวัน ประกอบกับมีการเดินทั้งงของบุคคล จากเขตพื้นที่สถำนการณ์ที่กำหนดให้เป็นเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดซึ่งโดยส่วนใหญ่ยังไม่ปรากฏอาการ ของโรคเป็นเหตุให้เชื้อโรคแพร่ออกไปในลักษณะที่เป็นกลุ่มก้อน นอกจำกนี้ พนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งปฏิบัติงานเพื่อควบคุมโรคพบว่า มีผู้ติดเชื้อโรคบางส่วนปกปิดข้อมูลการเดินทางทำให้ขั้นตอน การสอบสวนโรคเกิดความล่าช้าและเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องจนส่งผลให้เกิดเป็น การระบาดระลอกใหม่ขึ้นเป็นวงกว้าง รัฐบาลจึงมีความจำเป็นที่ต้องกำหนดและบังคับใช้บรรดามาตรการต่าง ๆ เพื่อเข้าแก้ไขและระงับยับยั้งสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวนี้ อำศัยอำนาจตามความใน มาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ นายกรัฐมนตรีจึงออกข้อกำหนด และข้อปฏิบัติแก่ส่วนราชการทั้งหลาย ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ การห้ามใช้อาคารหรือสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่โรค

ข้อ ๒ การห้ามจัดกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรค

ข้อ ๓ การปิดสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่โรค ให้ผู้ว่าราชกำาคล้ายสถานบริกำร ผับ บาร์ คาราโอเกะ ที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่สถานกำรณ์ ที่กำหนดให้เป็นเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุด

ข้อ ๔ เงื่อนไขการเปิดดำเนินการ ในเขตพื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดให้เป็นเขตพื้นที่ ควบคุมสูงสุด ให้สถานที่ กิจกำร หรือกำรท ำกิจกรรม ดังต่อไปนี้เปิดด ำเนินกำรได้ภำยใต้เงื่อนไข เงื่อนเวลำ และกำรจัดระบบและระเบียบต่าง ๆ ที่ก ำหนด ( ๑ ) การจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม ให้จัดระเบียบการเข้าใช้บริการ จำนวนผู้นั่งบริโภค ในร้าน การจัดสถานที่ให้เป็นไปตามแนวปฏิบัติและมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด โดยอาจให้เป็นลักษณะของการนำกลับไปบริโภคที่อื่น โดยให้ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 กระทรวงมหาดไทยและศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข ร่วมกันพิจารณาประเมิน กำหนดรูปแบบและก ากับการดำเนินการตามข้อปฏิบัติและมาตรการดังกล่าวของแต่ละพื้นที่จังหวัด ให้มีความเหมาะสม (๒) การจำหน่ายสุรา สำหรับร้านอาหารหรือสถานที่ซึ่งจำหน่ายสุรา ห้ามการบริโภคสุรา และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในร้าน (๓) ห้างสรรพสินค้ำ ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ ศูนย์แสดงสินค้ำ ศูนย์ประชุม หรือสถานที่จัดนิทรรศการ ร้านสะดวกซื้อ ซุปเปอร์มำร์เก็ต หรือสถานประกอบการอื่นที่มีลักษณะ คล้ายกัน ให้เปิดทำการได้ตามเวลาปกติของสถานที่นั้น ๆ ภายใต้การดำเนินการมาตรการป้องกันโรค ที่ทางรำชการกำหนดอย่างเคร่งครัด

ข้อ ๕ มาตรการที่เหมาะสมกับสถานการณ์ในพื้นที่

ข้อ ๖ การตรวจคัดกรองการเดินทางข้ามจังหวัด

ส่วนบัญชีรายชื่อจังหวัดที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด 28 จังหวัดตามแนบท้ายคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด -19) ที่ ๑ /๒๕๖๔ ลงวันที่ ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๔

๑. กรุงเทพมหานคร ๒. จังหวัดกาญจนบุรี ๓. จังหวัดจันทบุรี ๔. จังหวัดฉะเชิงเทรา ๕. จังหวัดชุมพร ๖. จังหวัดชลบุรี ๗. จังหวัดตราด ๘. จังหวัดตาก ๙. จังหวัดนครนายก ๑๐. จังหวัดนครปฐม ๑๑. จังหวัดนนทบุรี ๑๒. จังหวัดปทุมธานี ๑๓. จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ๑๔. จังหวัดปราจีนบุรี ๑๕. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๑๖. จังหวัดเพชรบุรี ๑๗. จังหวัดราชบุรี ๑๘. จังหวัดระนอง ๑๙. จังหวัดระยอง ๒๐. จังหวัดลพบุรี ๒๑. จังหวัดสิงห์บุรี ๒๒. จังหวัดสมุทรปราการ ๒๓. จังหวัดสมุทรสงคราม ๒๔. จังหวัดสมุทรสาคร ๒๕. จังหวัดสุพรรณบุรี ๒๖. จังหวัดสระแก้ว ๒๗. จังหวัดสระบุรี ๒๘. จังหวัดอ่างทอง รวมทั้งสิ้น ๒๘ จังหวัด