H&B News

กินเจนี้ดียังไง : งานวิจัยเผยดีต่อสุขภาพ เพราะเป็น'อาหารแพลนต์เบสต์'



กรุงเทพมหานคร-30 กันยายน 2565 : งานวิจัยล่าสุด โดยผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยบาธ (Universityof Bath) สหราชอาณาจักรเผยว่าผลิตภัณฑ์อาหารแพลนต์เบส (อาหารจากพืช)ดีต่อสุขภาพและยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าเนื้อสัตว์ ผู้เขียนงานวิจัยได้ทบทวนงานวิจัยถึง 43ฉบับเกี่ยวกับผลกระทบของอาหารแพลนต์เบสที่มีต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมโดยให้ความสนใจเรื่องผลิตภัณฑ์อาหารที่เลียนแบบรสชาติของเนื้อสัตว์เป็นหลักรวมถึงทัศนคติของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์เหล่านี้

“งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าเนื้อแพลนต์เบสที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเลียนแบบเนื้อสัตว์ดีต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมมากกว่าเนื้อสัตว์ และยังเป็นที่สนใจในกลุ่มคนที่อยากลดการบริโภคนมและเนื้อสัตว์อีกด้วย” ชิสากัญญ์อารีพิพัฒน์ ผู้จัดการโครงการท้าลอง 22 วันจากซิเนอร์เจีย แอนิมอลกล่าว ซิเนอร์เจียแอนิมอลเป็นองค์กรพิทักษ์สัตว์ระดับสากลที่ทำงานเพื่อส่งเสริมการบริโภคที่ยั่งยืนและดีต่อสุขภาพมากกว่าเดิมในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย

ผักใบเขียว VS เนื้อแดง
เมื่อเทียบผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างเบอร์เกอร์แพลนต์เบสและเบอร์เกอร์เนื้อวัวแล้วบทวิจารณ์พบว่าอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของเนื้อแพลนต์เบสรวมถึงการใช้น้ำและที่ดินแทบจะเป็นศูนย์เมื่อเทียบกับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ที่มาจากสัตว์ งานวิจัยเผยว่า เมื่อเปรียบเทียบโดยตรงกับเบอร์เกอร์เนื้อวัวเบอร์เกอร์แพลนต์เบสปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่าถึงร้อยละ 98

“งานวิจัยนี้สำคัญมากเพราะเราได้ข้อสรุปทางวิทยาศาสตร์ว่าเราต้องเริ่มยุติการบริโภคเนื้อสัตว์เพื่อปกป้องอนาคตของโลกเราและสาธารณสุข” ชิสากัญญ์กล่าวการปศุสัตว์เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุด ถึงร้อยละ 57ของก๊าซเรือนกระจกจากการผลิตอาหารทั่วโลกแบบประเมินสารอาหารของสหราชอาณาจักรที่ใช้วิเคราะห์ในงานวิจัยเผยว่าร้อยละ 40
ของผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ถูกจัดให้อยู่ในหมวดหมู่ ‘ดีต่อสุขภาพน้อยกว่า’ เมื่อเทียบกับเพียงร้อยละ 14จากอาหารแพลนต์เบส 

“เป็นอีกครั้งที่ผลสรุปนี้สนับสนุนงานวิจัยอื่นๆ เกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพจากการบริโภคเนื้อสัตว์ในขณะที่การบริโภคเนื้อแดงและนมวัวเชื่อมโยงกับโรคภัยร้ายแรงต่างๆ เช่น มะเร็งบางชนิด
และเบาหวานประเภทที่สองงานวิจัยหลายฉบับยังชี้ให้เห็นว่าการบริโภคอาหารแพลนต์เบสมีประโยชน์มากมายต่อร่างกายของเรา”ชิสากัญญ์กล่าว

มื้ออาหารที่ยั่งยืนเท่ากับร้านค้าที่ยั่งยืน

นอกจากนักวิจัยจะทบทวนผลกระทบของการรับประทานอาหารแบบต่างๆ ต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมแล้วยังได้วิเคราะห์ทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่ออาหารแพลนต์เบสอีกด้วย โดยเผยว่าเกือบร้อยละ 90ของผู้บริโภคที่ซื้อเนื้อแพลนต์เบส เช่น เบอร์เกอร์ ไส้กรอก และเนื้อบดแพลนต์เบสต์ ก็ยังบริโภคเนื้อสัตว์อยู่

“ถึงแม้ว่าเนื้อแพลนต์เบสจะไม่ดีต่อสุขภาพเท่ากับอาหารจากพืชที่ไม่ผ่านการแปรรูปงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์เหล่านี้ก็ยังดีต่อสุขภาพมากกว่าเนื้อสัตว์และยังช่วยให้ผู้คนปรับเปลี่ยนไปสู่วิถีการบริโภคที่ดีต่อสุขภาพกว่าเดิมและไม่ทำร้ายสัตว์” ชิสากัญญ์อธิบาย

งานวิจัยชี้เพิ่มว่ามีเพียงร้อยละ 49ของผู้บริโภคที่ซื้อเบอร์เกอร์แพลนต์เบสจะเลือกซื้อเนื้อสัตว์ปกติหากหาซื้อเบอร์เกอร์แพลนต์เบสไม่ได้

“ในประเทศไทย โครงการท้าลอง 22 วันของซิเนอร์เจียแอนิมอลเชิญชวนผู้คนให้หันมาลองรับประทานอาหารแพลนต์เบสและให้คำแนะนำจากนักกำหนดอาหารมืออาชีพโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย” ชิสากัญญ์กล่าว