EDU Research & ESG

‘ม.เกษตร’เปิดหลักสูตรKUCAREครั้งแรก อบรมผู้นำองค์กรรัฐ-เอกชนสู่ธุรกิจยั่งยืน



กรุงเทพฯ-‘ม.เกษตร’ เปิดหลักสูตร KU CARE ครั้งแรกของประเทศอบรมผู้นำองค์กรรัฐ-เอกชน สู่ธุรกิจยั่งยืน ภายใต้แนวคิด BCG- SDGs

เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2565 ที่ห้องประชุมชั้น 6 อาคาร 4คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผศ.ดร.กมลพรรณแสงมหาชัย หัวหน้าศูนย์วิจัยเพื่อพัฒนาขีดความสามารถทางธุรกิจภาควิชาการจัดการเทคโนโลยีและการปฏิบัติการ คณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในฐานะผู้อำนวยการหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้นําระดับสูงด้านธุรกิจที่ยั่งยืน KU Change AgentReadiness Executive Program หรือ KU CARE ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รศ.ดร.ศศิวิมล มีอำพลคณบดีคณะบริหารธุรกิจ ดร.วิฑูรย์ สิมะโชคดี ประธานที่ปรึกษาหลักสูตรฯและผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมสีเขียวของกระทรวงอุตสาหกรรม และ

นางชนาพรรณ จึงรุ่งเรืองกิจ นายกสมาคมศิษย์เก่าคณะบริหารธุรกิจในฐานะผู้ร่วมจัดหลักสูตรฯร่วมกันแถลงเปิดตัวโครงการหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้นําระดับสูงด้านธุรกิจที่ยั่งยืน KU Change Agent Readiness Executive Program หรือ KU CAREโดยโครงการหลักสูตร KU CARE เปิดให้ผู้นำประเทศผู้นำองค์กรภาครัฐและเอกชนที่ทำหน้าที่กำหนดวิสัยทัศน์องค์กรมาร่วมอบรมเพื่อกำหนดแนวทางการขับเคลื่อนธุรกิจอย่างยั่งยืนภายใต้แนวคิด Bio-Circular-Green หรือ BCGให้สอดคล้องกับภารกิจเร่งด่วนที่เกี่ยวข้องกับพันธสัญญาหรือความยั่งยืนSustainable Development Goals หรือ SDGs คือเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ของสหประชาชาติ

ผศ.ดร.กมลพรรณ แสงมหาชัย กล่าวว่าการสร้างสรรค์หลักสูตรสำหรับผู้บริหารระดับสูงมาจากความท้าทายของโลกในด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจึงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนโดยผู้นำองค์กรต้องเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง โดยหลักสูตร KU CAREจะมีวิทยากรระดับประเทศที่เป็นที่ยอมรับในระดับชาติและต่างประเทศมาร่วมให้ความรู้ในการยกระดับธุรกิจชีวภาพ(Bio-based Model)ให้เป็นธุรกิจหมุนเวียน (Circular Model)เพื่อทำให้ประเทศพัฒนาไปสู่เศรษฐกิจสีเขียวอย่างแท้จริง

“หลักสูตรนี้เน้นการสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงเราไม่เปลี่ยนไม่ได้แล้วเพราะเกิดวิกฤตค่อนข้างเยอะจุดเด่นของหลักสูตรคือสร้างการเปลี่ยนแปลงโดยเริ่มจากผู้บริหารระดับสูงขององค์กรก่อน ถ้าผู้บริหารระดับสูงเปลี่ยนได้เชื่อว่าทั้งองค์กรมีโอกาสที่จะเปลี่ยนโดยรูปแบบของหลักสูตรเรียนตามประสบการณ์ให้วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิระดับท็อปของประเทศมาแชร์ประสบการณ์ร่วมกันในเรื่องความยั่งยืนการทำธุรกิจที่เป็นในรูปแบบรักษ์โลก โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิระดับท็อปของไทยและแวดวงธุรกิจ อาทิ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กิตติพงศ์ กิตยารักษ์ผู้อำนวยการสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน)ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร ประธานสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง ดร. ไพรินทร์ ชูโชติถาวร
ประธานกรรมการและกรรมการอิสระ GPSCและผู้บริหารระดับสูงจากหลายองค์กรที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับ

สำหรับคุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรมเป็นผู้บริหารระดับสูงขององค์กร ถ้าเป็นหน่วยงานภาครัฐ ระดับรองอธิบดีขึ้นไป และภาคเอกชนผู้นำรุ่นใหม่มี อายุ 40 ปีขึ้นไปเป็นหลักสูตรที่อยากให้ทุกคนมาช่วยกันคิดสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นประโยชน์ให้กับประเทศและโลกใบนี้ แต่ละรุ่นรับ 80-100 คน ระยะเวลาในการอบรมประมาณ 3 เดือน เริ่มหลังสงกรานต์ 2566 ถึงปลายก.ค.2566เรียนทุกวันศุกร์ช่วงบ่าย ที่สโมสรราชพฤกษ์ ค่าบำรุงหลักสูตรท่านละ195,000 บาท ถ้าสมัครก่อนสิ้นเดือน ก.พ.2566 ลดราคา 15%เปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ทางเว็บไซต์ KUCARE.INFO และเฟซบุ๊กKUCARE

ด้าน ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ กล่าวว่าหลักสูตรนี้ถือว่าเป็นหลักสูตรผู้บริหารระดับสูงครั้งแรกของม.เกษตรศาสตร์ที่เชื่อมโยงหลักการบริหารและการดำเนินธุรกิจเข้ากับการเป็นม.เกษตรศาสตร์ โดยม.เกษตรศาสตร์พูดถึงความยั่งยืนมานานแล้วปัจจุบันเราใช้คำว่าเกษตรศาสตร์สร้างสรรค์ศาสตร์แห่งแผ่นดินสู่สากลเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนอยู่ในวิสัยทัศน์ของเรา เราเน้นเรื่องการเกษตรทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

“ตอนนี้พูดถึงความยั่งยืนระดับโลก เราจึงถอดมาเป็นการใช้งานปัจจุบัน ม.เกษตรศาสตร์ มีวิชาที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนในทุกสาขาวิชามีวิทยาลัยบูรณาการศาสตร์ เราวัดเรื่อง SDGs ในระดับมหาวิทยาลัยพบว่าเราอยู่ในระดับต้นๆทางด้าน SDGs ของโลกก็ว่าได้ Green Universityซึ่งเกี่ยวข้องกับความยั่งยืนเราอยู่ในอันดับ1ของประเทศเราพยายามปลูกฝังนักศึกษาในเรื่องนี้ตลอดเวลาเรามีรองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิตและพัฒนาความยั่งยืนโดยเฉพาะมาทำเรื่องนี้อย่างจริงจังเราเป็นหลักในการร่วมกับมหาวิทยาลัยอื่นๆทำเรื่องความยั่งยืนม.เกษตรศาสตร์มีนิสิต 70,000 คน ที่อนาคตจะเป็นผู้นำขององค์กรต่างๆเป็นเจ้าของกิจการ เป็นผู้นำภาครัฐและเอกชนเพราะฉะนั้นในมหาวิทยาลัยผมจะสร้างบรรยากาศของความยั่งยืนในทุกมิติ ผมต้องเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง

“ม.เกษตรศาสตร์กำลังทำเรื่องการพลิกโฉมการเปลี่ยนแปลงหลายๆเรื่อง อาทิการใช้นวัตกรรมมายกระดับสินค้าที่เกี่ยวข้องกับ BCG ให้เข้มแข็งขึ้นหลักสูตรนี้ถ้าเปิดเมื่อไหร่อยากให้ทุกคนมาเรียนรู้การพลิกโฉมการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนของประเทศ ผมยินดีสนับสนุนและคิดว่าจะส่งรองอธิการบดีมาเรียน 1คน”อธิบการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าว

อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวต่อว่า ถ้าโฟกัสเรื่อง SDGsและ BCG หลักสูตร KU CAREเป็นหลักสูตรแรกที่จะพัฒนาผู้นำระดับสูงเพื่อให้เข้าใจเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งเราเป็นมหาวิทยาลัยที่โดดเด่นมากๆด้าน BCG การเกษตร อาหาร ชีวภาพและสิ่งแวดล้อมเมื่อผู้นำมาอบรมในหลักสูตรนี้เป้าหมายการเปลี่ยนแปลงเขาต้องกลับไปทำในองค์กรตัวเองให้ยั่งยืน เป็น BCG ก่อน และเป็นผู้นำการถ่ายทอดภาคเอกชน ภาครัฐ NGOต่อไปประเทศไทยจะเป็นประเทศที่เข้มแข็งในด้านนี้ในอนาคตโดยหลักสูตรนี้จะมีรุ่นต่อๆไป

“ผมคิดว่าเราต้องเป็นผู้นำระดับโลกแทนที่จะอบรมในประเทศเท่านั้นต่อไปเราจะต้องเป็นหนึ่งที่เป็นประเทศหลักในด้านนี้ เรามีชื่อเสียงด้านนี้และเชิญนานาชาติมาอบรมกับเราที่ผ่านมานานาชาติหรือระดับโลกยังไม่มีการจัดอบรมหลักสูตรแบบนี้ผมว่าน่าจะเป็นหลักสูตรที่โดดเด่นของโลกถ้าเราทำเป็นภาษาอังกฤษและถ่ายทอด เพราะทุกคนอยากเรียนรู้เรื่องนี้และประเทศไทยก็โดดเด่นด้านนี้ เพราะเรามีฐานจากการเกษตรชีวภาพเราต่อยอดด้านนี้ทำให้เกิดความยั่งยืนรวมถึงโครงการของในหลวงรัชกาลที่ 9 ก็โดดเด่น แม้แต่ SDGsฐานส่วนหนึ่งก็มาจากประเทศไทย อาทิ เศรษฐกิจพอเพียงเรื่องความยั่งยืนที่เราใช้กันอยู่เราจะต้องสร้างเรื่องนี้ให้มีอิมแพคต่อโลกมากขึ้น

“สถานการณ์ปัจจุบันธุรกิจหรือสินค้าส่งออกถ้าเราไม่ทำให้เป็นธุรกิจสีเขียว หลายประเทศจะปิดกั้น อาทิ อเมริกา ยุโรปอย่างประมงป่าไม้ถ้าใช้ทรัพยากรไม่ยั่งยืน เขาก็ปิดกั้นเราหรืออย่างเกษตรถ้าเราทำให้โลกร้อนมากๆ
ก็อาจทำให้ถูกแบนได้ในอนาคตกลายเป็นการกีดกันทางการค้าซึ่งเราปฏิเสธไม่ได้เราจึงต้องเรียนรู้และยกระดับสินค้าให้มีมูลค่าสูงขึ้นเพราะฉะนั้นองค์กรใหญ่ของไทยต้องปรับตัวอย่างเร่งด่วน

“ล่าสุดผมลงนามความร่วมมือร่วมกับ 32 บริษัทระดับโลกเรื่องทำบริษัทให้กลายเป็น Circular Economy Companyหรือเศรษฐกิจหมุนเวียน ร่วมกับสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม(มอก.)กระทรวงอุตสาหกรรม ได้ทุนวิจัยจากกระทรวงวิทย์ฯทำคู่มือการใช้ประโยชน์เรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียน คิดว่าเดือนส.ค.66จะได้คู่มือที่เกิดจาก 32 บริษัท เอามาใช้ได้จริง โดยจะพาหลักสูตร KUCARE ไปดูงานด้วย นอกจากนี้จะต้องมีเวิร์กชอปเอามาแชร์และเป็นโมเดลต้นแบบ

“ทั้งนี้องค์กรที่อยากเน้นให้มาเรียนหลักสูตรนี้ คือ 1.ภาคธุรกิจชูธงว่าประเทศไทยมีสินค้าที่เป็น BCG เน้นความยั่งยืน และเพิ่มมูลค่า2.สถาบันการศึกษา สอนคนให้เข้าใจ เรื่อง SDGs และ BCG และ3.ผู้กำหนดนโยบาย หน่วยงานภาครัฐที่มีบทบาท อาทิกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม มาเรียนรู้ว่าเอกชนจะทำได้ไหมหรือทำไม่ได้ตรงไหนเพราะการออกนโยบายควรรู้ว่าเอกชนทำได้หรือไม่ได้ตรงไหนทั้งนี้หากทำองค์กรให้เป็น BCG ได้ สิ่งที่เกิดขึ้นคือคนไทยไม่มีความเหลื่อมล้ำ มีการศึกษาดี เท่าเทียม อยู่ดีกินดีสมบูรณ์แบบและทำให้โลกเป็นหนึ่งเดียวไม่มีปัญหามลภาวะ”อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กล่าว

 

ด้าน นางชนาพรรณ จึงรุ่งเรืองกิจ กล่าวว่าภาคอุตสาหกรรมและครัวเรือนจะเกิดผลกระทบอะไรกับสิ่งแวดล้อมที่ตามมา จากเดิมคิดว่าสิ่งที่เราทำถูกต้องแล้ว ดีแล้วพอเวลาผ่านไปโลกร้อนขึ้น สิ่งที่เราทำไม่ถูก เกิดมลพิษทั้งหมดต้องเปลี่ยนให้กลายเป็นสีเขียว

“เรื่องความยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้อย่างไรจะเกิดได้ต่อเมื่อคุณเป็นผู้รอดเท่านั้น ทำให้เกิดเป็นสีเขียวในการทำสีต่างๆให้กลายเป็นสีเขียว ต้องทำอุตสาหกรรมทั้งประเทศทั้งโลก ต้องพยายามไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง หรือทิ้งไว้ข้างหลังน้อยที่สุดแต่ในกระบวนการถามว่าเราจะทำได้อย่างไรสิ่งที่เราคิดได้เอามาบรรจุในหลักสูตร KU CARE

“หลายคนได้เรียนรู้จากโลกออนไลน์แต่ยังไม่เพียงพอในการทำธุรกิจ การที่คุณเอาตัวเองมาอยู่ในหลักสูตรนี้แล้วเจอคนที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกันเท่ากับว่าอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่จะมีเพื่อนฝูงเข้ามาช่วยเหลือและนำพาในฐานะปัจเจกบุคคลหรือในฐานะบริษัทองค์กรเข้าไปเปลี่ยนตัวเองให้กลายเป็นสีเขียวได้ จริงๆ BCGเกี่ยวกับเรื่องความยั่งยืน แทบจะเป็นเนื้อหาใหม่ หลักสูตรใหม่ม.เกษตรศาสตร์ เป็นที่แรกๆที่จัดและการันตีได้ว่าเป็นเนื้อหาที่มีคุณภาพอย่างแน่นอนเหมาะกับผู้นำองค์กรทุกท่าน ทั้งภาครัฐและเอกชน”นางชนาพรรณกล่าว