In Thailand
สภาวัฒนธรรมจ.เพชรบูรณ์ประชุมขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการของสภา
เพชรบูรณ์-ที่ห้องประชุมพระพุทธมหาธรรมราชา ชั้น 2พุทธอุทยานเพชบุระ สภาวัฒนธรรม จ.เพชรบูรณ์ประชุมขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการของสภา ประจำปีงบประมาณ 2566
วันที่ 26 ธันวาคม 2565 ที่ห้องประชุมพระพุทธมหาธรรมราชา ชั้น 2พุทธอุทยานเพชบุระ อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ ดร.วิศัลย์ โฆษิตานนท์ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ ครั้งที่1/2566 โดยมีนางยุวดี มีบุญ วัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ ที่ปรึกษา รองประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ คณะกรรมการสภาวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ ที่ปรึกษาสภาวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ ประธานวัฒนธรรมอำเภอ 11 อำเภอ และผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมโดยพร้อมเพรียงกัน
ประธานได้แจ้งให้ที่ประชุมได้รับทราบว่าประเพณีอุ้มพระดำน้ำ ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ประจำปี 2565 สาขาแนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม ประเพณีและงานเทศกาล การจัดทำปฎิทินการท่องเที่ยวของจังหวัดเพชรบูรณ์ทั้ง 12 เดือน การรายงานผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรมของสภาวัฒนธรรม จ.เพชรบูรณ์ ประจำปีงบประมาณ 2565 เช่นโครงการเชิดชูปราชญ์ชาวบ้านและภูมิปัญญาท้องถิ่นให้แก่ผู้มีผลงานที่ได้รับการยอมรับของชุมชนและท้องถิ่น การอนุรักษ์วัฒนธรรมอาหารสืบสานการกินอยู่วิถีชุมชนคนบึงสามพัน โครงการสภาวัฒนธรรมสัญจรในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานของสภาวัฒนธรรมในพื้นที่่่่่่่
การจัดประกวดโต๊ะหมู่บูชาพระพุทธมหาธรรมราชาและการจัดเก็บข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของจังหวัดเพื่ออนุรักษ์ สืบสาน พัฒนาต่อยอดทั้งหมด 26 เรื่อง เช่น รำโจ๋ง ประเพณีก่อเจดีย์ทรายกลบธาตุ ฯลฯ ในโอกาสนี้ที่ประชุมรับทราบที่กรมส่งเสริมวัฒนธรรมได้จัดสรรงบประมาณให้แก่สภาวัฒนธรรม จ.เพชรบูรณ์ จำนวน 45,000 บาทและสภาวัฒนธรรมอำเภอ 11 อำเภอๆละ 5,000 บาทเพื่อไว้ดำเนินการบริหารสภาวัฒนธรรม รวมทั้งพิจารณาแผนปฏิบัติการของสภาวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ ประจำปีงบประมาณ 2566
นอกจากนี้ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้กล่าวถึงความคืบหน้าในการขับเคลื่อนงานด้านวัฒนธรรมของจังหวัดเพชรบูรณ์ที่สภาวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ได้เข้าไปมีส่วนร่วมและผลักดันในห้วงที่่ผ่านมา ทั้งการจัดทำศูนย์บริการนักท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ อำเภอศรีเทพ เพื่ออำนวยความสะดวกในการให้บริการและเตรียมความพร้อมสู่การยกระดับให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีมาตรฐานในระดับสากลในฐานะแหล่งมรดกโลกในอนาคต การจัดสร้างพิพิธภัณท์มะขามหวานจังหวัดเพชรบูรณ์
เพื่อบอกเล่าเรื่องราวความเป็นมา ภูมิปัญญา และการพัฒนาต่อยอดการปลูกมะขามหวาน พืชเศรษฐกิจที่่่สร้างมูลค่ามหาศาลแก่จังหวัดเพชรบูรณ์ การก่อสร้างศูนย์วัฒนธรรมหมู่บ้านไทยทรงดำหรือลาวโซ่งที่่บ้านลำตะคล้อ อำเภอบึงสามพัน และการดำเนินการสร้างศูนย์วัฒนธรรมชาติพันธุ์ม้งทับเบิกที่่่อำเภอหล่มเก่า เพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรมอันดีงามของคนม้ง การดำรงชีพ ภูมิปัญญาและวิถีชีวิตของชนเผ่าที่มีอัตลักษณ์อันโดดเด่น
มนสิชา คล้ายแก้ว