EDU Research & ESG

2โรงเรียนจับมือลงนามบันทึกข้อตกลง ร่วมมือด้านการจัดการเรียนการสอน



ศรีสะเกษ-ณ หอประชุมโรงเรียนอนุบาลศรีสะเกษ โรงเรียนอนุบาลศรีสะเกษ จับมือโรงเรียนสตรีสิริเกศ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการจัดการเรียนการสอน และการฝึกอบรมภาษาจีน และโครงการห้องเรียนภาษาจีน (Chinese Program)

วันที่ 27 ธันวาคม 2565  เวลา 09.00 น. ณ หอประชุมโรงเรียนอนุบาลศรีสะเกษ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ นายวิทยา วิรารัตน์ นายกสมาคมครูและผู้ปกครองโรงเรียนอนุบาลศรีสะเกษ ที่ปรึกษาโครงการห้องเรียนภาษาจีนโรงเรียนอนุบาลศรีสะเกษ เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง ว่าด้วยความร่วมมือด้านการจัดการเรียนการสอนและการฝึกอบรมภาษาจีน ระหว่าง โรงเรียนสตรีสิริเกศ และโครงการห้องเรียนภาษาจีน (Chiese Program) โรงเรียนอนุบาลศรีสะเกษ โดยมี นายรัตนชาติ ดาวัลย์ ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนสตรีสิริเกศ นายสุรชาติ ทอนศรี ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลศรีสะเกษ ดร. ภูมิภัทร มาลี ผู้อำนวยการโรงเรียนสตรีสิริเกศ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง ว่าด้วยความร่วมมือด้านการจัดการเรียนการสอนและการฝึกอบรมภาษาจีน พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร คณะครู โรงเรียนสตรีสิริเกศ และโรงเรียนอนุบาลศรีสะเกษ ร่วมพิธีในครั้งนี้

          

นายสุรชาติ ทอนศรี ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลศรีสะเกษ กล่าวว่า โรงเรียนอนุบาลศรีสะเกษ เริ่มเปิดสอนวิซาภาษาจีนตั้งแต่ปีการศึกษา 2549 โดยมีคุณครูไทยสอนร่วมกับครูอาสาสมัครชาวจีน ตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ห้องเรียนละ 1 คาบต่อสัปดาห์ และจัดการเรียนรู้วิชาภาษาจีนเพื่อการสื่อสารเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีครูอาสาสมัครชาวจีนจากสำนักงานส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีน (Hanban) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเดินทางมาสอน ภาษาจีนร่วมกับครูไทยทุกปีการศึกษา เพื่อสร้างทัศนคติที่ดีต่อการเรียนภาษาและวัฒนธรรมจีน ปูพื้นฐานด้านภาษาและวัฒนธรรมจีน และสร้างผลงานการแข่งขันทักษะ และวัฒนธรรมในระดับประเทศ และ ให้นักเรียนมีความเป็นเลิศในการใช้ภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร สามารถนำความรู้ด้านภาษาและวัฒนธรรมไปใช้ในชีวิตประจำวัน พร้อมทั้งมีคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสำนึในความเป็นไทย และมีคุณลักษณะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 กระทั่งในปีการศึกษา 2561 โรงเรียนอนุบาลศรีสะเกษ มีความพร้อมในการจัดการเรียนรู้ภาษาจีนทั้งด้านบุคลากรเป็นครูเจ้าของภาษา และครูผู้สอนที่มีวุฒิด้านภาษาจีน และการสอนภาษาจีนโดยตรง ด้านหลักสูตรด้านการจัดการเรียนรู้และการวัดและประเมินผล ด้านสื่อ/หนังสือ/ตำราเรียนดยมีการจัดทำแบบเรียนของห้องเรียนพิเศษภาษาจีน

เพื่อให้เหมาะสมกับศักยภาพและความพร้อมของนักเรียน รวมทั้งจัดหาแบบเรียนที่ตรงกับตัวชี้วัดและมาตรฐานของหลักสูตรและเป็นประโยชน์การเรียนรู้ของนักเรียน และด้านห้องเรียนและสภาพแวดล้อมที่มีความพร้อม และบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ โรงเรียนอนุบาลศรีสะเกษ จึงเสนอขอเปิดห้องเรียนภาษาจีน (Chinese Program) ขึ้นในปีการศึกษา 2562 โดยเริ่มจากชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 1 ห้องเรียน ห้องเรียนละ 36 คน และเลื่อนชั้นจนกระทั่งถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในปีการศึกษา 2567 โดยได้รับอนุมัติให้จัดตั้งห้องเรียนพิเศษ จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1 เมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2561 ตามประกาศสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1 เรื่อง การเปิดห้องเรียนพิเศษในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

      

ด้านนายวิทยา วิรารัตน์ นายกสมาคมครูและผู้ปกครองโรงเรียนอนุบาลศรีสะเกษ ที่ปรึกษาโครงการห้องเรียนภาษาจีนโรงเรียนอนุบาลศรีสะเกษ กล่าว่า ตนเห็นความสำคัญของด้านภาษาจีน จึงได้ผักดันให้โรงเรียนอนุบาลศรีสะเกษ ซึ่งได้เริ่มทำการเรียนการสอนมาเป็นเวลา 4 ปีแล้ว โดยเริ่มจากชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มและชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถ้าถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรามีนักเรียนอยู่ประมาณ 200 คน ซึ่งนักเรียนรุ่นนี้จะสามารถสื่อสารภาษาจีน พูดได้ ฟังได้ และในอนาคตต้องเขียนได้ด้วย และนักเรียนรุ่นนี้หลังจากจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนอนุบาลศรีสะเกษแล้ว ก็สามารถเข้าศึกษาต่อระดับชั้นมัธยมศึกษา ที่โรงเรียนสตรีสิริเกศได้เลย

ซึ่งวันนี้เราได้มีการลงนาม MOU ด้วยกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยจะมีการยกชั้นขึ้นไปต่อยอดที่นั่นทั้งหมด เพราะฉะนั้นตนคิดว่าเด็กรุ่นนี้จะได้เปรียบกว่าเด็กรุ่นอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านภาษาซึ่งมีทั้งการสอนภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาจีน ซึ่งทางโรงเรียนอนุบาลศรีสะเกษ ได้มีการเน้นห้องภาษาจีนเป็นอย่างมาก ทำให้เด็กสามารถเรียนรู้ได้เร็ว เพราะฉะนั้นเราต้องเริ่มจากพื้นฐานด้านประถมศึกษาก่อน แล้วจึงจะเข้าสู่ระดับชั้นมัธยมศึกษา และต่อไปในอนาคตเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัย ซึ่งตนคิดว่าในอนาคตภาษาจีนจะมีความสำคัญต่อลูกหลานของเรามาก เพราะฉะนั้นการเรียนรู้ภาษาจีนจึงเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับเด็กทุกวันนี้เป็นอย่างมาก

ลักขณา กงแก้ว / ศรีสะเกษ