In News
เขตรักษาฯป่าฤาไนเตือนผู้ใช้ถนนผ่านป่า ระวัง!!ถูกช้างป่าปล้นพืชผลการเกษตร
ฉะเชิงเทรา-หัวหน้าป่าอ่างฤาไนพร้อมหมอล็อคลงพื่นที่แนะนำผู้ใช้ถนนเส้น 3259 ถนนผ่านพื้นป่าฤาไนจากท่าตะเกียบฉะเชิงเทรา-วังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว ให้หลีกเลี่ยงโขลงช้างป่าออกหากินพืชผลทางการเกษตร
นายวีระพงศ์ โคระวัตร หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไนย เปิดเผิยว่า หลังจากที่มีช้างป่าหลายตัวที่ผ่านการ สั่งสอน เลียนแบบ และแข่งขัน เพื่อที่จะได้กินพืชผลทางการเกษตรโดยเฉพาะอ้อยที่ขนส่งบนถนนทางหลวงเส้น 3259 ถูกช้างป่าดักปล้นเป็นประจำ จึงส่งผลให้
นายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้มอบหมายให้นายภัทรพล มณีอ่อน นายสัตวแพทย์ประจำกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ลงพื้นที่ที่มีช้างและสัตว์ป่า เพื่อจัดระบบสวัสดิภาพ คุณภาพชีวิตของช้างป่าในถิ่นอาศัย ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการให้สอด คล้องกับพฤติกรรมและความต้องการของช้างป่าที่เรียนรู้ เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน เป็นพื้นที่หนึ่งที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด ตอนนี้จะมีช้างป่าจำนวนหลายตัว กระจายตั้งด่านตามจุดต่างๆ บ้างก็รวมตัวกัน จับคู่สอนกัน ในการดักรื้อค้น รถขนพืชเกษตรกรรม
ซึ่งส่วนใหญ่เข้าใจและยอมให้ คิดว่าเล็กๆน้อยๆ เป็นการทำบุญเสียด้วยซ้ำ แต่สิ่งนั้นเองกลับทำให้ช้างป่าที่เรียนรู้โดยเงื่อนไขอยู่เสมอพฤติกรรมเสีย ตอนเย็นมื้อแรกของวัน หิวมาก พอได้ยินเสียงเครื่องยนต์และแรงสั่นสะเทือนของรถพ่วงขนาดใหญ่ ก็มาดักรอ พอรถจอดก็รื้อของออกมากิน อย่าวสบายใจ ช้างตัวอื่นเห็นเพื่อนกิน ก็เอาด้วย ตัวไหนดีหน่อยก็แบ่งโซนกัน ตัวไหนขี้เกียจหน่อยก็ไปแทง ทำร้ายตัวอื่น ตัวไหนใจดี ก็สอนตัวอื่นๆให้ทำตาม จึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่สี่ปีที่แล้วมี 1 ตัว เพิ่มมาเป็น 11 ตัว (ตัวหลักๆ 4 ตัว) และถ้าไม่ทำอะไรเลย โอกาสที่ช้างป่าออกนอกพื้นที่ก็จะมีมากขึ้นเรื่อยๆ นาน
นายวีระพงศ์ โคระวัตร หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤๅไน พร้อมหมอล็อตจึงร่วมกันลงพื้นที่และวางอแผน ปรับยุทธวิธีในการจัดการสถานการณ์ช่วงฤดูนี้ที่มีรถขน อ้อยและมันสำปะหลัง ด้วยการจัดเจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำและปฎิบัติจริง (Workshop) ผู้ที่สันจรบนถนนเส้นนี้ทั้งขาประจำและขาจร รวมและช้างป่าด้วย ด้วยการจัดชุดเจ้าหน้าที่สองชุดได้แก่
ชุดแรก (lecture) ประจำอยู่หน้าด่านทางเข้าทั้งสองทาง แจ้งเหตุการณ์ว่ามีช้างป่าอยู่ข้างหน้า ให้ความรู้ คำแนะนำ เกี่ยวกับการปฎิบัติ เมื่อเจอช้างป่าบนถนน (การปฎิบัติเมื่อเจอช้างป่าบนถนนของป่าแต่ละพื้นที่จะไม่เหมือนกันเสียทั้งหมด)และที่สำคัญ ห้ามจอดรถให้อาหารช้างป่า
ชุดสอง (practical) เป็นชุดเคลื่อนที่เร็ว เพื่อบริหารจัดการสถานการณ์ ในการอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยของผู้สัญจร และชิงจังหวะเพื่อไม่ส่งเสริมให้ช้างป่าเสียพฤติ กรรม (ช้างดักหน้า หยุดรถ ช้างเดินมาข้างรถ หน้าโล่ง เคลื่อนรถผ่านไปช้าๆ)
สิ่งที่น่าประทับใจที่ผู้สัญจรและผู้ประกอบการให้ความร่วมมือ และปฎิบัติตามคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่เป็นอย่างดี (เปลี่ยนจากความคิดว่าทำบุญและกินเล็กๆน้อยๆไม่เป็นไร) รวมถึงยังเอื้ออาทรต่อรถขนาดเล็ก ด้วยการเป็นตัวกั้นให้ขับผ่านช้างป่าไปได้ เมื่อสิ้นสุดฤดูกาลขนอ้อย มันสำปะหลัง เหตุการณ์ก็จะเบาลง ซึ้งเจ้าหน้าที่ก็ทำงานกันอย่างขะมักเขม้น ไม่เกนื่อยไม่ท้อซึ่งเป็นที่ชื่นชมของชาวบ้านที่ผ่านไปมาและยังรู้สึกปลอดภัยที่เห็นเจ้าหน้าที่คอยดูแลสิ่งที่เห็นนี้เป็นการจัดการสถานอการณ์เฉพาะหน้า และใช้เหตุการณ์ในการสร้างความเข้าใจกับประชาชน ที่เกิดจาก “ช้างเรียนรู้เรา เราเรียนรู้ช้าง...เรียนรู้ไปด้วยกัน” เจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชกล่าว
ชวลิต ด้วงเงิน/ผู้สื่อข่าวภูมิภาคฉะเชิงเทรา