EDU Research & ESG
วิทยาลัยเอกชนโคราชออกโรงโต้เดือด! ไม่เคยคิดปิดเพราะงบรัฐอุดหนุนน้อย
นครราชสีมา-วิทยาลัยเทคโนโลยีมารีย์บริหารธุรกิจ หรือ MBACโคราชออกโรงโต้เดือด! สื่อเสนอข้อมูลบิดเบือน ไม่เคยคิดปิดสถานศึกษาเหตุเพราะนักศึกษาน้อย พร้อมเดินหน้าพัฒนาโรงเรียนให้ทุกยอมรับ ล่าสุดส่งนักศึกษาโกอินเตอร์ญี่ปุ่นแล้ว 30 คนย้ำยืนยันเดินหน้า พัฒนาการศึกษาสู่สากล
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีที่มีการนำเสนอข่าว "วิกฤตโรงเรียนเอกชนทั่วประเทศ ขาดงบประมาณ จ่อปิดตัว ลงหลายแห่ง " ผ่านสื่อมวลชนช่องหนึ่งโดยใช้ภาพของทางวิทยาลัยฯ ประกอบข่าวและนำเสนอคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริงของทางวิทยาลัยฯ ส่งผลให้ประชาชนเกิดความเข้าใจผิดและเกิดความเสียหายต่อภาพลักษณ์และชื่อเสียง ของวิทยาลัยฯ นั้น
ล่าสุดเมื่อวันนี้ 22 มี.ค.66 ที่ผ่านมา วิทยาลัยเทคโนโลยีมารีย์บริหารธุรกิจ ชุมชนบ้านพักรถไฟ อ.เมือง จ.นครราชสีมา คณะผู้บริหารวิทยาลัยเทคโนโลยีมารีย์บริหารธุรกิจ นำโดย ดร.สมยศ ชิณโคตร ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีมารีย์บริหารธุรกิจ พร้อมด้วยนายสมเกียรติ ชินโคตร รอง ผอ.ฝ่ายแผนงานและความร่วมมือฯ และนายชาญวิทย์ ทับสุพรรณ ผู้ทรงคุณวุฒิ อดีตผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ และอดีต ผอ.สำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน(ผอ.สช.)ได้ออกมาแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนถึงเ เรื่องที่เกิดขึ้นว่า "วิทยาลัยเทคโนโลยีมารีย์บริหารธุรกิจ หรือ MBAC ยังคงมีสถานะทางการเงินที่มั่นคง มีผลประกอบการและงบประมาณที่เพียงพอ สามารถพัฒนาการจัดการเรียนการสอนได้อย่างเต็มที่ โดยได้รับงบประมาณ เพื่อจัดการศึกษา จากภาครัฐ และ จากค่าเทอมของนักเรียน นักศึกษา ซึ่งปัจจุบันมีนักเรียน นักศึกษาทั้งในระดับ ปวช. และ ปวส. จำนวน เกือบ 1,000 คน ซึ่งเพียงพอในการบริหารจัดการวิทยาลัยฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดร.สมยศ ชิณโคตร ผอ.วิทยาลัยเทคโนโลยีฯ กล่าวว่า โรงเรียนเอกชนทุกโรงก็พยายามที่จะพัฒนาตนเองให้มีคุณภาพ อย่างวิทยาลัยฯ ของเราก็ลดลงแต่ไม่มาก เรายังยืนยันว่าเราเป็นสถานศึกษาที่มีคุณภาพ เพราะเราเองได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทาน 3 ปีต่อเนื่องและรางวัลโล่พระราชทาน และยังเป็นสถานศึกษาคุณธรรมต้นแบบจากศูนย์คุณธรรม สำนักงานวัฒนธรรมจ.นครราชสีมา เราเปิดมาอย่างเข้าปีที่ 25 แล้วผลิตนักศึกษาไปแล้วกว่า 5,000 คนหรือ 23 รุ่น ปีนี้คาดว่าจะมีนักศึกษามาเรียนเพิ่มอีกกว่า 600 คน ส่วนกรณีที่เป็นข่าวนั้น ทางวิทยาลัยฯ ได้รับผลกระทบอย่างมาก แต่เราจะใช้วิกฤติให้เป็นโอกาสคือ การสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้ปกครองและเด็ก ๆ ซึ่งขณะนี้มีนักศึกษาเรียนอยู่รวม 822 คน ลดลงจากปีที่แล้วไม่ถึง 20 คน และครู บุคลากรรวม 52 คน ที่นี่ครู อาจารย์ทุกคนมีคุณภาพ มีการพัฒนาเทคโนโลยี พัฒนาครู อาจารย์ พัฒนาอาคารสถานที่ ซึ่งเราได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลต่อปีกว่า 10 ล้านบาทซึ่งเพียงพอต่อการบริหารจัดการและพัฒนา เราพอใจในส่วนนี้ ขอยืนยันกับผู้ปกครองและนักเรียนนักศึกษาว่าวิทยาลัยฯของเราเดินหน้าจัดการศึกษาที่มีคุณภาพต่อไป ดร.สมยศ กล่าว.
ด้านนายสมเกียรติ ชินโคตร รอง ผอ.ฝ่ายแผนงานและความร่วมมือวิทยาลัยฯ กล่าวว หลักสูตรการเรียนการสอนของวิทยาลัยฯ จะเน้นให้นักเรียน นักศึกษา ได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง โดยนำนวัตกรร ทางการศึกษาสมัยใหม่ ตลอดจนเทคโนโลยีดิจิทัล เข้ามาใช้ในการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะความชำนาญในวิชาชีพ รองรับโลกยุคใหม่ในอนาคต โดยเป้าหมายสำคัญที่กำลังจะดำเนินการคือ การพัฒนาทักษะใ นักเรียน นักศึกษา สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ 100% เพื่อรองรับการทำงานในต่างประเทศ ทั้งนี้ปัจจุบันท วิทยาลัยฯได้ลงนาม MOU กับโรงเรียนสอนภาษาญี่ปุ่นเซน จ.อุดรธานี รับนักเรียน นักศึกษา ที่จบการศึกษาไปทํางานที่ประเทศญี่ปุ่นทุกปีการศึกษา และยังมีความต้องการนักเรียน นักศึกษา ของเราอีกเป็นจำนวนมาก
ขณะที่นายชาญวิทย์ ทับสุพรรณ ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยฯและอดีตผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า วิทยาลัยฯ มีเป้าหมายส่งผู้สำเร็จการศึกษาไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นทุกปีการศึกษา โดยเฉพาะทางด้านอาหารและภาคการเกษตร จึงได้ลงนามความร่วมมือผลิตนักวิชาชีพกับทางวิทยาลัยฯ แห่งนี้ โดยหากนักเรียนผ่านคุณสม การประเมินทักษะวิชาชีพจากทางบริษัทฯ แล้ว ก็จะรับเข้าทำงานทันทีหลังจากสำเร็จการศึกษา นอกจากนี้ยังมีแผนที่จะเชื่อมโยงกับผู้ประกอบการในอีกหลายๆ แห่งทั้งในประเทศ และต่างประเทศ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเลือกสถานประกอบการที่ตนเองสนใจเข้าทำงาน