In News
นครปฐมรับวัคซีน6.3หมื่นโด้สพร้อมฉีด
นครปฐม- ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข จังหวัดนครปฐม โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม กลุ่มภารกิจหน่วยสนับสนุน งาน Inventory Control ซึ่งจังหวัดนครปฐมได้รับวัคซีนระยะที่ 1 (Sinovac)จำนวน 63,500 โด๊ส พร้อมลงพื้นที่ ฉีดกลุ่มแรก31,750 คนแล้ว
วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม ได้ทำการส่งมอบวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19)ให้แก่โรงพยาบาลในสังกัดจังหวัดนครปฐม เพื่อดำเนินการฉีดให้แก่กลุ่มเป้าหมายต่อไปรับมอบวัคซีน COVD-19 จาก องค์การเภสัชกรรม จำนวน 3,500 dose ผ่านขนส่ง DKSHซึงจะได้กระจายให้กับ รพ.ทุกแห่งทั้งนี้ได้กำชับให้ จนท.ผู้เกี่ยวข้อง ดูแลอุณหภูมิในการขนส่ง ให้อยู่ระหว่าง 2-8 องศาเซลเซียส ตลอดการขนส่ง
ซึ่งการรับมอบดังกล่าว เป็นการแบ่งกลุ่มตามแผนการฉีดวัคซีนโควิด-19 ของประเทศไทยว้คซีน sinovac ฉีดได้ในกลุ่มอายุ 18-59 ปื ในหญิงตั้งครรภ์หรือผู้ที่เคยแพ้วัคซีนมาก่อน กลุ่มผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปจะต้องรอฉีด AstraZeneca โดยวันนี้ได้มีการดำเนินการจัดส่งไปยังโรงพยาบาลในจังหวัดนครปฐม ดังนี้
รพ.สามพราน 280 Dose
รพ.บางเลน 200 Dose
รพ.ห้วยพลู 100 Dose
รพ.หลวงพ่อเปิ่ล 10Dose
รพ.นครชัยศรี 100 Dose
รพ.พุทธมณฑล 100 Dose
โดย Timeline การกระจายและฉีดวัคซีนโควิด 19 (Sinovac) ระยะที่ 1 ของนครปฐม24 n.w. 64
วัคซีนส่งถึงไทย 200,000 โด๊ส เก็บที่คลังวัคซีน DKHS
รอผลตรวจ lot release. 28 n.w. 64 พร้อมส่งวัคซีนไปรพ.นฐ/รพช. 8 แห่ง 28 ก.w. 64 แจ้งกลุ่มเป้าหมาย. วันที่ 1 มี.ค. 64 เริ่มฉีดวัคซีนเข็ม 1ขั้นตอนเมื่อเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิค 19 ที่โรงพยาบาลใช้เวลา 5-7 นาที รอดูอาการ 30 นาที. ฉีดวัคซีนเข็ม 2 ขั้นตอนเมื่อเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด 19 ที่โรงพยาบาล ใช้เวลา 5-7 นาที รอดูอาการ 30 นาทีเฝ้าระวังอาการ ภายหลังการได้รับวัคซีน ครบ 30 วันหากพบอาการผิดปกติควรให้รีบพบแพทย์โดยทันที
เดือนมีนาคมบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า 2,500 โด๊ส หรือ 1,250 คน เจ้าหน้าที่ ที่สัมผัสผู้ป่วย 1,000 โด๊ส หรือ 500 คน รวม 3,500 โด๊ส หรือ 1,750 คน เดือนเมษายน บุคลากรทางการแพทย์ 8,000 โด๊ส หรือ 4,000 คน ผู้ที่มีโรคประจำตัว 20,000 โด๊ส หรือ 10,000 คน รวมเป็น 28,000 โด๊ส หรือ 14,000 คน และเดือนพฤษภาคม บุคลากรทางการแพทย์ 2,000 โด๊ส หรือ 1,000คน ผู้ที่มีโรคประจำตัว 30,000 โด๊ส หรือ 15,000 คน รวม32,000 โด๊ส หรือ 16,000 คน ยอดรวมบุคลากรทางการแพทย์ และสาธารณสุขด่านหน้า 12,500 โด๊ส หรือ 6,250 คน เจ้าหน้าที่สัมผัสผู้ป่วย 1,000 โด๊ส หรือ 500 คน ผู้ที่มีโรคประจำตัว 50,000 โด๊ส หรือ 25,000 คน ยอดรวม 63,500 โด๊ส หรือ 31,750 คน