Travel Sport & Soft Power

'ปศุสัตว์-สหกรณ์โคกก่อ'ฉีดวัคซีนโคนม



มหาสารคาม-ปศุสัตว์จ.มหาสารคาม ร่วมกับสหกรณ์โคนมโคกก่อ จัดพิธีเปิด (Kick off) โครงการรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อยและการทำลายเชื้อโรคในพื้นที่เสี่ยงในโคนม

วันที่ 4 มีนาคม 2564 สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดมหาสารคาม ร่วมกับสหกรณ์โคนมโคกก่อจัดพิธีเปิด(Kick off) โครงการรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย   และการทำลายเชื้อโรคในพื้นที่เสี่ยง ในโคนม รอบที่ 2 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 จังหวัดมหาสารคามโดยมี นายนพดล พินิจ ปศุสัตว์จังหวัดมหาสารคาม เป็นประธานในพิธี ณ ศูนย์รวบรมน้ำนมดิบ สหกรณ์โคนมโคกก่อ  จำกัด อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม

นายนพดล พินิจ ปศุสัตว์จังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่า สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดมหาสารคาม ได้กำหนดจัดพิธีเปิด (Kick off) โครงการรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย การทำลายเชื้อโรคในพื้นที่เสี่ยง รอบที่ 2 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ประชาสัมพันธ์โครงการรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อยให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ การสร้างความรู้ความเข้าใจและให้ตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันการเกิดโรคระบาด และ ลดความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นแก่เกษตรกรในพื้นที่ได้                                     
กรมปศุสัตว์จึงมีนโยบายให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย และการทำลายเชื้อโรคในพื้นที่เสี่ยง ในโคนม รอบที่ 2 ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์การรณรงค์ฉีดวัคซีนฯ ให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ทราบ เพื่อขอรับบริการฉีดวัคซีนที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดหรือสำนักงานปศุสัตว์อำเภอใกล้บ้าน ร่วมกับปศุสัตว์เขตและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เช่น สหกรณ์/ศูนย์รับน้ำนม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น โดยให้แต่ละพื้นที่ดำเนินการณรงค์ (Kick off) พร้อมกันทั่วประเทศ พร้อมกันนี้กรมปศุสัตว์ยังให้ความรู้แก่เกษตรกรเรื่องโรคและความสำคัญของการฉีดวัคซีนป้องกันโรค เพื่อให้สัตว์มีภูมิคุ้มกันพร้อมกันทั่วประเทศ และลดปัญหาการเกิดโรคระบาดได้ในที่สุด

นายนพดล พินิจ ปศุสัตว์จังหวัดมหาสารคาม เปิดเผยเพิ่มเติมว่า จังหวัดมหาสารคาม มีเกษตรกรประกอบอาชีพเลี้ยงโคนมทั้งหมด จำนวน 200 ราย โคนมทั้งหมด จำนวน 8,342 ตัว 2 สหกรณ์ 4 ศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ และ 1 โรงงานแปรรูปน้ำนมพาสเจอร์ไรส์ เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมส่วนใหญ่อยู่ในเขตพื้นที่อำเภอบรบือ และกระจายตามพื้นที่อำเภอเต่างๆ เช่น อำเภอเมือง อำเภอแกดำ อำเภอกันทรวิชัย อำเภอนาเชือก อำเภอวาปีปทุม อำเภอโกสุมพิสัยและอำเภอยางสีสุราช 

ทั้งนี้ หากเกษตรกรพบสัตว์ป่วย สงสัย หรือมีอาการขอให้แจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ใกล้บ้านโดยด่วน เพื่อจะได้จัดส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปควบคุมโรคได้อย่างทันท่วงที ทั้งนี้จะเป็นการลดความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของเกษตรกรอีกด้วย…

พิเชษฐ  ยากรี /มหาสารคาม