In News

มองสะท้อนอาชีพนักข่าวจากอดีตถึงวันนี้



ปราจีนบุรี-นานาทรรศนะมุมมอง ส่องย้อนอดีตสู่ปัจจุบันและอนาคตของอาชีพสื่อสะท้อนจากนักข่าวภูมิภาคในวันนักข่าววันนี้

วันนี้ 5 มี.ค.64  ผู้สื่อข่าว จ.ปราจีนบุรี รายงานว่า  เนื่องใน  วันนักข่าว ได้สำรวจนานาทรรศนะ มุมมองจากนักวิชาการ  จากนักข่าวประจำภูมิภาคจังหวัดต่าง ๆ สะท้อน ถึง  “นักข่าว”  ในปัจจุบัน เพื่อพัฒนาการสื่อสารในสังคมไทย ผศ.อมรา   พงษ์ปัญญา  อดีตอาจารย์สาขาวิชานิเทศศาสตร์มาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ฉะเชิงเทรา กล่าวถึงนักข่าว  ใน วันนักข่าว  มองว่า  “  นักข่าว   หรือ  สื่อมวลชนไทยในปัจจุบัน  เก่ง  และ เครื่องไม้เครื่องมือ   ใช้ประโยชน์ในการสื่อสารได้หลากหลาย  ทันสมัย   ไม่เหมือนสมัยก่อน คนโบราณ

ส่วนในด้านของจรรณยาบรรณ  ก็ยังมีเหมือนเดิม  เพียงแต่คุณภาพของคน  ที่ไม่ใช่เฉพาะสื่อหรอก   ในทุกอาชีพ  จรรยาบรรณ มันด็อปลง  แต่คนที่เขาดีดำรงคุณธรรมในแง่จรรยาบรรณก็มี  แต่น้อย   เพราะมันมีทุนนิยม  บริโภคนิยม  เข้ามาเกี่ยวข้อง   อย่างว่าคือ สื่อ   ก็ไปตามกระแส   มีการเลือกข้าง  ไม่เป็นกลาง   ตามหลักทฤษฎีวิชาการ  ที่เราเรียน 

ฝากถึงสื่อว่า  หากมีโอกาสจะดำรงไว้ในเรื่องคุณธรรม หรือ สิ่งความถูกต้อง แม้มันจะเอียงไปบ้าง   ก็ให้นำมาใช้   ให้นึกถึงบ้านเมืองไว้ อย่าไปตามกระแสมากนัก”ผศ.อมรา   กล่าว

ด้านนายสวาท   เกตุงาม  ผู้สื่อข่าวภูมิภาคประจำ จ.สระแก้ว   กล่าวว่า  “  มองสถานการณ์สื่อ ในปัจจุบัน   สื่อ ในอดีต เมื่อ 30 ปีให้หลัง   มีเพียงสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อทีวี และสื่อวิทยุ 

แต่มาถึงยุคปัจจุบัน มีสื่ออีเล็กทรอนิค   เข้ามามีบทบาทสำคัญมากที่สุด   ส่งผลให้สื่อสิ่งพิมพ์ ทีวีและวิทยุ แทบล้มละลาย สื่อหลายสำนักต้องเลิกกิจการไป ในขณะเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ยิ่งทำให้สื่อได้รับผลกระทบมากยิ่งขึ้น 
 
เมื่อสื่ออีเล็กทรอนิกเข้ามามีบทบาทสำคัญยิ่งในปัจจุบัน คนนิยมการสื่อสารทางออนไลน์ โดยใช้โทรศัพท์ มือถือ หรือสมาร์ทโฟนในการติดต่อสื่อสาร และ  ค้นหาข้อมูลต่างๆ ตามที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องพึ่งพาข้อมูลข่าวสารจาก สื่อสิ่งพิมพ์ หนังสือพิมพ์ รวมทั้งสื่อทีวี และสื่อวิทยุกระจายเสียง 

โดยข่าวสารที่นำมาป้อนมาจากผู้สื่อข่าวประจำ  หรือ   นักเขียน แต่เมื่อสื่ออีเล็กทรอนิคเข้ามาแทนที่ ความต้องการของนักเขียน นักข่าวภูมิภาค เริ่มลดลง   จึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้นักข่าวอีกต่อไป 
และสื่อหลายสำนักต้องปลดพนักงาน และปลดผู้สื่อข่าวออก เพื่อลดค่าใช้จ่าย ส่งผลกระทบต่ออาชีพของผู้สื่อข่าวไม่สามารถเลี้ยงตัวเองได้    ผู้สื่อข่าวยุคสื่อสารทางออนไลน์ จึงเป็นผู้สื่อข่าวที่ทำข่าวเพียงเพื่อจิตอาสา 

 ผู้สื่อข่าว ในปัจจุบันจึงต้องปรับตัวเอง ในการนำเสนอข่าว ต้องถูก รวดเร็ว ไม่บิดเบือน หากนำเสนอข่าวสารที่มีคู่กรณี ต้องนำเสนอทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อสร้างความเชื่อถือให้กับผู้เสพสื่อทุกคน และทั้งคู่กรณี และยังพบผู้สื่อข่าว หลายคนเสนอข่าวที่เป็นเพียงฝ่ายเดียว จึงมักถูกมองคนทั่วไปว่า ขาดจรรยาบรรณ โดยมีผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง 

 ดังนั้น การนำเสนอข่าว ของนักข่าวจะต้องนำเสนอรอบด้าน ถูกต้องและเป็นกลาง เพื่อให้สังคมยอมรับ ตลอดไป”นายสวาท กล่าว

ขณะที่  นายสนทะนาพร  อินจันทร์  ผู้สื่อข่าวส่วนภูมิภาค จ.ฉะเชิงเทรา  กล่าวว่า  “เป็นผู้สื่อข่าวส่วนภูมิภาค  มานานกว่า 20 ปีเศษ    ที่ผ่านมาในอดีต  รายได้ของผู้สื่อข่าวส่วนภูมิภาค   ได้รับค่อนข้างดีพอสมควร ในการทำงานข่าว  รายได้ขั้นต่ำกว่า 16,000 บาท/เดือน   สูงสุดบางเดือน ถึงกว่า 50,000 – 60,000  บาทเศษและในอดีต  ผู้สื่อข่าวสามารถเบิกค่าใช้จ่ายในการทำข่าวได้ ในแต่ละสำนักข่าว สำนักพิมพ์  สามารถเลี้ยงตัวเอง ใช้ดำรงชีพได้  แต่ปัจจุบันนี้   การจ่ายค่าข่าว  สำนักพิมพ์หรือ กองบก.หรือเจ้าของสื่อ จ่ายให้ผู้สื่อข่าวน้อย ส่วนใหญ่มุ่งเน้นที่การขายยอดวิวผู้ชม ทำให้รายได้ลดลงมามาก รายได้ปัจจุบัน แทบจะไม่เกิน10,000 บาท /เดือนตกต่ำมากกว่าครึ่ง แทบไม่พอกินต้องพยายามหาอาชีพสุจริตอื่นทำ เพื่อความอยู่รอดตอนนี้ นอกจากทำข่าวแล้ว  ได้หันมาทำการเกษตรเกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์น้ำโดยการเลี้ยง  ปลาทับทิม  ปลานิล  เลี้ยงกุ้ง และ  ปลากระพงเป็นบางส่วน

มองในการที่ทางสำนักข่าว สำนักพิมพ์  จะรับคน  เข้าทำงานข่าว  ประจำในแต่ละจังหวัดปัจจุบันนี้  ขาดการคัดกรองบุคคลที่เข้ามาทำงานข่าว  โดยอาขมองว่าบางคนชอบเสนอข่าวผ่านโซเชี่ยล เป็นเรื่องดราม่า  หรือ สร้างกระแสในสังคม  จะไปเอาข่าวเหล่านั้น  อาจรับคนทำโซชี่ยลเข้าไปทำงานข่าว    ซึ่งควรสืบค้น –ประวัติพฤติกรรมย้อนหลังของคนที่ทำข่าวด้วย

ในส่วนที่  นักข่าวส่วนภูมิภาค  ทำสื่อหลายสื่อ  หลายฉบับพร้อมกันในคราวเดียวนั้น  มองว่าเป็นการดำรงชีวิตของนักข่าวให้อยู่รอดสำหรับนักข่าว หรือสตริงเกอร์เอง ทำให้เกิดรายได้หลายทางที่ช่วยพยุงความอยู่รอดได้อยากให้เจ้าของสื่อ กองบรรณาธิการ ให้ช่วยจรรโลงสังคม  นำเสนอข่าว ที่เกิดประโยชน์กับสังคมมากกว่าเกาะกระแสโซเชี่ยล ดราม่าทางสังคม สะท้อนแง่มุมการสร้างเสริมปัญญามากกว่า” นายสนทะนาพร  กล่าว

มานิตย์   สนับบุญ/ปราจีนบุรี