In Thailand
รพ.ศูนย์เสริมทัพศูนย์ฝึกCPRหุ่นละ1ล้าน
สกลนคร-รพ.ศูนย์เสริมทัพศูนย์ฝึก CPR หุ่นละ 1 ล้าน ประชาชนเข้าถึงได้และทำเป็น
วันที่ 6 มิถุนายน 2566 ที่ชั้น 5 ตึกหัวใจเพื่อแผ่นดิน โรงพยาบาลศูนย์สกลนคร นายแพทย์จรัญ จันทมัตตุการ สาธารณสุขนิเทศเขตสุขภาพที่ 8 เป็นประธานเปิดศูนย์ฝึกอบรมการฟื้นคืนชีพ หัวใจเพื่อแผ่นดิน โดยมี นายแพทย์สมโภช ธีระกุลภักดี ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์สกลนคร พร้อมด้วยแพทย์ นายแพทย์ สสจ.สกลนคร ผอ.และหัวหน้ากลุ่มการพยาบาล รพ.นครพนม,บึงกาฬ,เลย,อุดรธานี,หนองคาย และหนองบัวลำภู ร่วมในพิธีเปิดศูนย์ฝึกอบรมการฟื้นคืนชีพ เพื่อให้เป็นศูนย์ฝึกการฟื้นช่วยพื้นคืนชีพ ตามมาตรฐานสากลแห่งแรก และแห่งเดียวของเขตบริการสุขภาพที่ 8 และเป็น 1 ใน 2 แห่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สามารถออกใบรับรองตามมาตรฐานการช่วยชีวิตได้ (Certification)
ทั้งนี้ในประเทศไทย สามารถเปิดศูนย์ฝึกอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพตามมาตรฐานสากลได้น้อยมากเนื่องจาก ต้องมีทีมแพทย์ และพยาบาลที่ผ่านการอบรมหลักสูตรครูผู้สอนตามมาตรฐานสมาคม โรคหัวใจแห่งอเมริกา(American Heart association) การลงทุนในการจัดซื้ออุปกรณ์ และการจัดตั้งศูนย์ค่อนข้างสูง อย่างเช่นหุ่นอุปกรณ์การฝึกที่สามารถตอบสนองการฝึกสอนเสมือนชีวิตจริงราคาสูง หุ่นละประมาณ 1 ล้านบาท ซึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือสามารถเปิดศูนย์ฝึกได้ เฉพาะที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงไม่สามารถรองรับความต้องการในการพัฒนาแพทย์ พยาบาล และรองรับหลักสูตรการเรียนการสอนได้
ศูนย์ฝึกอบรมการฟื้นคืนชีพ หัวใจเพื่อแผ่นดิน เป็นศูนย์ฝึกอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพตามมาตรฐานจากสมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกา (American Heartassociation) จัดตั้งขึ้นเพื่อรองรับการเป็นศูนย์เรียนรู้ทางการแพทย์ และทางการพยาบาล (Academic) ของเขตบริการสุขภาพที่ 8 และเขตใกล้เคียง โดยสามารถเปิดหลักสูตรฝึกอบรม
การช่วยพื้นคืนชีพขั้นสูงให้กับแพทย์ พยาบาล และได้รับการประกาศนียบัตรรับรอง 2 ปี (Provider Advanced Cardiovascular Life Support) นอกจากนี้ยังเปิดฝึกอบรมทักษะ การช่วยเหลือน (First AID) การช่วยฟื้นคืนชีพชั้นพื้นฐาน (Basic Life Support) และการใช้กระตุกหัวใจ (AED) ให้กับ นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป
ศูนย์ฝึกปฏิบัติการช่วยพื้นคืนชีพ หัวใจเพื่อแผ่นดิน ได้รับความเมตตาจาก พระอาจารย์ เจษฎา ทิวังกโร เจ้าอาวาสวัดดอยธรรมเจดีย์ และคณะศิษยานุศิษย์ ในการก่อสร้างห้องประชุม สำหรับศูนย์ฝึก และเมตตาใช้ชื่อว่า "ศูนย์ฝึกปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ หัวใจเพื่อแผ่นดิน" และให้ชื่อ ห้องประชุมว่า "ห้องประชุมสิริรัตน์" และได้รับบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธาในการ จัดซื้อหุ่นจำลอง และอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ จำนวน 6 ล้านบาท โดยมีนายแพทย์ขชล ศรียายาง อายุรแพทย์โรคหัวใจ แพทย์หญิงภามณี สายเหมย วิสัญญีแพทย์ และ นางสาวทัศนีย์ แดขุนทด พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ หัวหน้าหอบำบัดวิกฤตโรคหัวใจ เป็นผู้ริเริ่มและรับผิดชอบบริหารจัดการศูนย์ฝึก
ศูนย์ฝึกปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ หัวใจเพื่อแผ่นดิน จะทำเปิดฝึกอบรมอย่างเป็นทางการในวันที่ 7 มิถุนายน 2566 ครั้งแรก เป็นหลักสูตรสำหรับครูผู้สอน (Instructor) ซึ่งมีผู้เข้าอบรมทั้งสิ้น 32 คน เป็น แพทย์จำนวน 6 คน และพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 26 คน ซึ่งได้ ความกรุณาจาก นายแพทย์เข็มชาติ หวังทวีทรัพย์ ที่ปรึกษาคณะกรรมการด้านวิชาการ การฝึกอบรมปฏิบัติการช่วยชีวิต มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะอาจารย์จากศูนย์ฝึกปฏิบัติทักษะระบบจำลอง คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล จากคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาลมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช และสถาบันประสาทวิทยา และเมื่อเสร็จสิ้นการอบรมหลักสูตรสำหรับครูผู้สอนแล้ว จะทำการฝึกอบรมให้กับแพทย์ พยาบาล ในหน่วยงานที่เสี่ยงสูง ที่ให้บริการผู้ป่วยที่มีอาการหนัก หรืออาการรุนแรง มีโอกาสเสียชีวิตสูง ฝึกอบรมให้แพทย์ที่ต้องการใบรับรองการช่วยฟื้นคืนซีพตามมาตรฐาน และพยาบาลผู้เข้าอบรมหลักสูตรเฉพาะทาง 4 เดือน จากสถาบันการศึกษาต่างๆต่อไป
ศักดา ดวงสุภา / สกลนคร