In Global

แอปเพียนประกาศขายกิจการในบราซิล ให้เอซีจีมูลค่า1.065พันล้านดอลลาร์



ลอนดอน, 13 มิถุนายน 2566-แอปเพียน แคปิตอล แอดไวซอรี แอลแอลพี (Appian Capital Advisory LLP) ("แอปเพียน" หรือ "บริษัทฯ") ที่ปรึกษาด้านการลงทุนเพื่อคุณค่าระยะยาวโดยมุ่งเน้นกองทุนเอกชนที่ลงทุนในบริษัทเหมืองแร่และบริษัทที่เกี่ยวข้องกับเหมืองแร่ ประกาศขายกิจการที่มุ่งเน้นโลหะแบตเตอรี่ในบราซิล ได้แก่ แอตแลนติก นิกเกิล (Atlantic Nickel) ("แอตแลนติก นิกเกิล") และมิเนราเซา วาลี แวร์เด (Mineração Vale Verde) ("เอ็มวีวี") (รวมกันเรียกว่า "สินทรัพย์ดังกล่าว") ให้กับบริษัท เอซีจี แอคควิซิชัน จำกัด (ACG Acquisition Company Limited) ("เอซีจี") สำหรับการจ่ายชำระเป็นเงินสดมูลค่า 1.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ พร้อมด้วยการขายลิขสิทธิ์ทองคำของเอ็มวีวีให้แก่เอซีจีเป็นมูลค่า 65 ล้านดอลลาร์ ("ธุรกรรมครั้งนี้")

กองทุนแอปเพียนเข้าซื้อกิจการแอตแลนติก นิกเกิล (ก่อนหน้านี้ชื่อว่ามิราเบลา นิกเกิล หรือ Mirabela Nickel) เจ้าของซานตา ริตา (Santa Rita) เหมืองนิกเกิลซัลไฟด์บ่อเปิดขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในโลก ตั้งอยู่ในรัฐบาเยีย ประเทศบราซิล ("ซานตา ริตา") จากการล้มละลายในปี 2561 ในปีเดียวกันบริษัทฯ ยังได้ซื้อเอ็มวีวี เจ้าของเซอโรต (Serrote) สินทรัพย์ทองแดง-ทองคำชนิดบ่อเปิด ซึ่งเป็นโครงการลงทุนใหม่ทั้งหมด (greenfield) ในรัฐอะลาโกอาส ประเทศบราซิล ("เซอโรต") หลังจากนั้นแอปเพียนเปิดดำเนินการแอตแลนติก นิกเกิลใหม่และเริ่มดำเนินการเอ็มวีวีได้สำเร็จ แอปเพียนทำงานอย่างหนักเพื่อลดความเสี่ยงและปรับปรุงสินทรัพย์ดังกล่าว ซึ่งแสดงถึงความแข็งแกร่งของโมเดลของบริษัทฯ ประกอบกับความสามารถในการระบุ เข้าซื้อ และเพิ่มประสิทธิภาพโครงการเหมืองแร่โดยใช้การค้ากำไรเชิงเทคนิคเพื่อสร้างมูลค่า เหมืองทั้งสองแห่งมีอายุการทำเหมืองระยะยาว ต้นทุนต่ำ และจัดอันดับอยู่ในกลุ่มเดไซล์แรกในแง่ของการปล่อยคาร์บอนในกลุ่มผู้ผลิตนิกเกิลและทองแดงทั่วโลก

ธุรกรรมครั้งนี้จะมอบคุณค่าส่งมอบไปยังลูกค้าที่ดึงดูดให้แก่เอซีจี แอปเพียน และนักลงทุนของแต่ละบริษัท เมื่อปิดธุรกรรม เอซีจีจะเปลี่ยนชื่อเป็นเอซีจี อิเล็กทริก เมทัลส์ (ACG Electric Metals) ซึ่งจะสร้างผู้ผลิตนิกเกิลซัลไฟด์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ลอนดอนเพียงรายเดียวที่มีการลงทุนในโลหะนำไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว จึงเป็นฐานรองรับโดยธรรมชาติสำหรับการเติบโตต่อไปและการควบรวมสินทรัพย์โลหะสำคัญโดยมุ่งเน้นการส่งมอบให้กับผู้รับจ้างผลิต (OEM) ชั้นนำในฝั่งตะวันตก

ไมเคิล ดับเบิลยู เชิร์บ ( Michael W. Scherb) ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของแอปเพียน แสดงความเห็นว่า

" แอปเพียนเริ่มลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ลดคาร์บอนเมื่อทศวรรษที่แล้ว ด้วยตระหนักว่าสังคมขาดแคลนอุปทานในเชิงโครงสร้างสำหรับการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานที่กำลังจะเกิดขึ้น ธุรกรรมเชิงนวัตกรรมในด้านโลหะแบตเตอรี่ในครั้งนี้จะเป็นการออกจากการลงทุนครั้งที่ 10 , 11 และ 12 ของแอปเพียน ซึ่งสะท้อนความแข็งแกร่งของโมเดลการดำเนินงานของเรา ตลอดจนความสามารถในการระบุ เข้าซื้อ และเพิ่มประสิทธิภาพสินทรัพย์เหมืองแร่ เช่นเดียวกัน เอซีจีเป็นผู้ดูแลที่ยอดเยี่ยมสำหรับแอตแลนติก นิกเกิลและเอ็มวีวี และเหมาะสมอย่างยิ่งที่จะปลดล็อกการเติบโตอย่างมากต่อไปจากบริษัทระดับแนวหน้าของตลาดเหล่านี้

ความร่วมมือระหว่างเกล็นคอร์ ( Glencore ) โฟล์คสวาเกน ( Volkswagen ) และสเตลแลนทิส ( Stellantis ) มีความโดดเด่นเป็นพิเศษ ตอกย้ำความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับสินค้าโภคภัณฑ์ยานยนต์ไฟฟ้า ประกอบกับความต้องการห่วงโซ่อุปทานที่แข็งแกร่ง โปร่งใส และตรวจสอบย้อนกลับได้จากผู้รับจ้างผลิตและอุตสาหกรรมยานยนต์ตะวันตก ตลอดจนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรายอื่น ๆ "

อาร์เทม โวลีเน็ตส์ ( Artem Volynets) ซีอีโอของเอซีจี กล่าวว่า

" เราภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้ประกาศธุรกรรมครั้งนี้ในความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับเกล็นคอร์ สเตลแลนทิส ลา มานชา ( Mancha) พาวเวอร์โค ( PowerCo ) และรอยัล โกลด์ ( Royal Gold ) เช่นเดียวกับผู้ให้บริการตราสารหนี้ไม่ด้อยสิทธิอย่างซิตี้กรุ๊ป ( Citigroup) ไอเอ็นจี ( ING) และโซซิเอเต้ เจเนเรล ( Societe Generale) โดยจะจัดตั้งเอซีจี อิเล็กทริก เมทัลส์ เป็นซัพพลายเออร์รายหลักของโลหะสำคัญในห่วงโซ่มูลค่ายานยนต์ไฟฟ้าตะวันตก ด้วยคุณสมบัติด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล ( ESG) ที่เหนือชั้นและปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์น้อย

เอซีจี อิเล็กทริก เมทัลส์ จะเป็นบริษัทที่ออกแบบเพื่อคว้าประโยชน์จากโอกาสที่เกิดจากแนวโน้มสำคัญระดับโลก อันได้แก่ความต้องการโลหะแบตเตอรี่ที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล การแบ่งขั้วของห่วงโซ่อุปทาน และความต้องการลดการก่อคาร์บอนโดยรวมของโลก จากเหมืองไปจนถึงลูกค้าปลายทาง

เหมืองคุณภาพสูงเหล่านี้จะส่งเสริมภารกิจของเอซีจีในการเป็นตัวเลือกซัพพลายเออร์โลหะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสำหรับผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้าตะวันตก การเข้าซื้อกิจการครั้งนี้ได้วางรากฐานที่แข็งแกร่งสำหรับการเติบโตยิ่งขึ้นต่อไปและการสร้างมูลค่าของผู้ถือหุ้นในระยะยาว "

รายละเอียดธุรกรรม

ภายใต้เงื่อนไขของธุรกรรมครั้งนี้ เอซีจีได้ตกลงที่จะเข้าซื้อกิจการแอตแลนติก นิกเกิล และเอ็มวีวีทั้งหมด ด้วยการจ่ายชำระเป็นเงินสดมูลค่า 1.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยที่เอซีจีจะชำระเงินสดอีก 65 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อยุติกระแสทองคำสำหรับเอ็มวีวี

ธุรกรรมครั้งนี้สนับสนุนโดยพันธสัญญาทางการเงินจากฝ่ายผูกพันทางการเงินและทางกลยุทธ์ รวมถึงความร่วมมือที่โดดเด่นกับผู้ค้าสินค้าโภคภัณฑ์และผู้ผลิตยานยนต์ชั้นนำในการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่ยานยนต์ไฟฟ้า

  • เกล็นคอร์จะเป็นผู้ลงทุนหลัก ( anchor investor) โดยตกลงลงทุน 100 ล้านดอลลาร์ และกลายเป็นตัวเลือกคู่สัญญาซื้อขายล่วงหน้าสำหรับเอซีจี ทำให้อุปทานหัวแร่นิกเกิลซัลไฟด์ของเอซีจีเข้าสู่โรงงานถลุงของเกล็นโคในยุโรปตะวันตกและอเมริกาเหนือ
  • พาวเวอร์โค บริษัทย่อยที่โฟล์คสวาเกนเป็นเจ้าของทั้งหมด ตกลงชำระเงินล่วงหน้าแบบผูกพัน 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐให้แก่เอซีจี สำหรับหน่วยนิกเกิลที่เทียบเท่ากับระวางน้ำหนักส่วนหนึ่งของหัวแร่ที่ผลิตโดยเหมืองของแอตแลนติก นิกเกิล ที่ซานตา ริตา
  • สเตลแลนทิส กลุ่มธุรกิจยานยนต์ที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2564 โดยการรวมกิจการของเฟียต ไครสเลอร์ ( Fiat Chrysler) กับพีซีเอสเอ กรุ๊ป ( PSA Group) ตกลงลงทุนหุ้นหลักมูลค่า 100 ล้านดอลลาร์ในเอซีจี
  • ทั้งพาวเวอร์โคและสเตลแลนทิสจะเป็นพันธมิตรระยะยาวผ่านสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสำหรับนิกเกิลที่ถลุงจากหัวแร่ที่ผลิตโดยซานตา ริตา

ความร่วมมือเหล่านี้แสดงถึงคุณภาพของสินทรัพย์ดังกล่าวและคุณสมบัติที่ดึงดูดสำหรับผู้ผลิตยานยนต์ตะวันตกในจุดนี้ของวงจรการลงทุน โดยมอบอุปทานโลหะสำคัญที่โปร่งใสและมั่นคงเพื่อรองรับความต้องการระดับโลกในอนาคต

นอกจากนี้ กองทุนการลงทุนด้านเหมืองแร่ชั้นนำอย่างลา มานชา รีซอร์ส ฟันด์ (La Mancha Resource Fund) ("ลา มานชา") ได้ตกลงที่จะลงทุนหุ้นหลักมูลค่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐในเอซีจีด้วย

เงินทุนส่วนที่เหลือสำหรับธุรกรรมครั้งนี้มาจากพันธสัญญาผูกพันในรูปแบบของเงินค่าลิขสิทธิ์จากรอยัล โกลด์ (Royal Gold) หนี้ธนาคารไม่ด้อยสิทธิ รับประกันโดยซิตี้กรุ๊ป ไอเอ็นจี และโซซิเอเต้ เจเนเรล ที่ได้ตกลงที่จะให้วงเงินสินเชื่อหมุนเวียน และการเสนอขายหุ้นตามแผนโดยเอซีจี เป็นมูลค่า 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ การเสนอขายหุ้นนี้มอบโอกาสเข้าร่วมในการสร้างมูลค่าในอนาคตของเอซีจีแก่กลุ่มนักลงทุนประเภทสถาบันในขอบเขตที่กว้างขวางขึ้น กองทุนแอปเพียนยังได้เสนอที่จะให้การสนับสนุนสภาพคล่องเป็นทุนหุ้นส่วนสูงสุด 50 ล้านดอลลาร์

กองทุนแอปเพียนยังจะคงค่าลิขสิทธิ์ผู้หลอมสุทธิ (New Smelter Royalty หรือ NSR) 2.75% สำหรับเหมืองซานตา ริตา ขณะที่ค่าลิขสิทธิ์ผู้หลอมสุทธิ 2.5% สำหรับการผลิตที่เหมืองซานตา ริตาจะมอบให้กับลา มานชา 

หลังจากการเข้าซื้อกิจการครั้งนี้เสร็จสมบูรณ์ ทีมปฏิบัติการของสินทรัพย์ดังกล่าวจะเข้าร่วมกับเอซีจี เพื่อความต่อเนื่องในการขับเคลื่อนความสำเร็จในอนาคต ผู้จัดการปัจจุบัน ได้แก่ คุณเปาโล คาสเตลลารี-พอร์เชีย (Paulo Castellari-Porchia) และคุณมิลสัน มันดิม (Milson Mundim) จะทำหน้าที่บริหารจัดการแอตแลนติก นิกเกิลและเอ็มวีวีต่อไป โดยได้บริหารจัดการสินทรัพย์เหล่านี้มาเป็นเวลาหลายปี ซึ่งบรรลุผลลัพธ์ปฏิบัติการและผลการดำเนินงานด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และบรรษัทภิบาลที่แข็งแกร่ง ตลอดจนประวัติด้านความปลอดภัยระดับแนวหน้า

ในส่วนหนึ่งของธุรกรรมครั้งนี้ เอซีจีได้ยกระดับความมุ่งมั่นในการส่งเสริมความยั่งยืนที่สถานที่ดำเนินงานเหมืองโดยตกลงที่จะดำเนินการตามมาตรฐานไออาร์เอ็มเอสำหรับการทำเหมืองแร่อย่างมีความรับผิดชอบที่ซานตา ริตา (IRMA Standard for Responsible Mining at Santa Rita) และที่จะรับการประเมินไออาร์เอ็มเอในปี 2568 และ 2573

คาดว่าธุรกรรมครั้งนี้จะปิดในเดือนกรกฎาคม 2566 และขึ้นอยู่กับความเห็นชอบของผู้ถือหุ้นและเงื่อนไขบังคับก่อนตามธรรมเนียม ซิติกรุ๊ปและสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด (Standard Chartered) ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงินให้แก่แอปเพียนในธุรกรรมครั้งนี้ ขณะที่นอร์ตัน โรส ฟูลไบรท์ (Norton Rose Fulbright) และเซสคอน บาริเยอ เฟล็ช แอนด์ บาร์เรตโต (Cescon, Barrieu, Flesch & Barreto) ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางกฎหมาย

การเข้าซื้อกิจการและเพิ่มประสิทธิภาพแอตแลนติก นิกเกิล

กองทุนแอปเพียนเข้าซื้อแอตแลนติก นิกเกิล จากกระบวนการล้มละลายที่ซับซ้อนในปี 2561 หลังจากได้ระบุโอกาสที่จะดำเนินแนวทางปฏิบัติการที่แตกต่างในการเปิดดำเนินการเหมืองใหม่ด้วยต้นทุนในตำแหน่งควอไทล์แรก และทำประโยชน์จากทุนจมก่อนหน้ากว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ต่อมาบริษัทฯ ได้ดำเนินการครั้งใหญ่เพื่อปรับปรุงซานตา ริตา โดยพัฒนาแผนงานเหมืองปรับใหม่ด้วยการเริ่มเปิดดำเนินการใหม่ที่ประสบความสำเร็จในเดือนมกราคม 2563 ผลคือแอปเพียนได้ลดความเสี่ยงของสินทรัพย์โดยมีต้นทุนการผลิตโดยตรงเงินสด (C1 cash cost) เฉลี่ยอยู่ในควอไทล์แรกของเส้นโค้งต้นทุนนิกเกิลระดับโลก (ราว 3.16 ดอลลาร์สหรัฐต่อปอนด์นิกเกิลสำหรับบ่อเปิด และราว 2.02 ดอลลาร์สหรัฐต่อปอนด์นิกเกิลสำหรับใต้ดิน) แอปเพียนได้ทำให้ทรัพยากรที่ซานตา ริตาเติบโตอย่างมากนับตั้งแต่ปี 2561 ผ่านการเจาะหลุมเพิ่มเติมและเจาะขยายอย่างเป็นระบบในพื้นที่บ่อเปิดและทรัพยากรใต้ดิน ซึ่งขยายอายุการทำเหมืองรวม 27 ถึง 35 ปี

แอตแลนติก นิกเกิล เพิ่งรายงานผลประกอบการปฏิบัติการและทางการเงินสำหรับปี 2565 เมื่อไม่นานนี้ โดยผลิตหัวแร่นิกเกิลได้ 117 กิโลเมตริกตันแห้ง (kdmt) (เทียบกับ 107 กิโลเมตริกตันแห้งในปี 2564) ซึ่งมีนิกเกิลอยู่ 15.9 กิโลตัน (kt) (14.5 กิโลตันในปี 2564), ทองแดง 5.0 กิโลตัน (4.7 กิโลตันในปี 2564) และโคบอลต์ 291 ตัน (266 ตันในปี 2564) ส่งผลเป็นกำไรก่อนการหักหลบกลบหนี้ (EBITDA) 210 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (127 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2564) จากรายได้ 406 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (289 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2564)

ซานตา ริตา มีประวัติการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาลและความปลอดภัยระดับแนวหน้าของอุตสาหกรรม โดยมีอัตราความถี่ของการบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงานอยู่ที่ 0.18 ในปี 2565 (เทียบกับ 0.20 ในปี 2564) นับตั้งแต่เริ่มเปิดดำเนินการใหม่ แอปเพียนได้ขยายทีมงานที่แอตแลนติก นิกเกิล จาก 40 เป็นราว 3,000 คน ซึ่งก่อให้เกิดการจ้างงานและก่อผลประโยชน์ในท้องถิ่นอย่างมาก

การเข้าซื้อกิจการและเพิ่มประสิทธิภาพเอ็มวีวี

เอ็มวีวีถูกซื้อกิจการจากออรา มิเนรัลส์ (Aura Minerals) ในปี 2561 โดยมีเซอโรตเป็นโครงการทองแดงแบบเดี่ยวที่พร้อมสำหรับการก่อสร้างซึ่งหาได้ยาก โดยมีมูลค่าการผลิตโลหะมีค่าชนิดอื่นอย่างมีนัยสำคัญซึ่งสามารถได้ประโยชน์จากกลยุทธ์การค้ากำไรเชิงเทคนิคของแอปเพียน แอปเพียนได้เพิ่มประสิทธิภาพแผนงานเหมืองของเซอโรต ปรับปรุงแก้ไขการศึกษาความเป็นไปได้ที่แน่นอน (Definitive Feasibility Study) และนำสินทรัพย์เข้าสู่การผลิตในเดือนพฤษภาคม 2564 ภายในวงเงินงบประมาณและก่อนกำหนด

แอปเพียนเพิ่งประกาศการเพิ่มขยายยกระดับที่ประสบความสำเร็จในระหว่างปี 2565 โดยมีการผลิตทั้งปีเป็นทองแดง 19.8 กิโลตันและทอง 9-10 กิโลออนซ์ในหัวแร่ 84.5 กิโลเมตริกตันแห้ง ส่งผลเป็นกำไรก่อนการหักลบกลบหนี้ 60 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากรายรับ 155 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีราคาสินค้าที่เกิดขึ้นจริงเฉลี่ย 3.71 ดอลลาร์สหรัฐต่อปอนด์เทียบเท่าทองแดง เอ็มวีวีมีต้นทุนโดยตรงจากการผลิตเป็นเงินสดเฉลี่ย 1.37 ดอลลาร์สหรัฐต่อปอนด์ทองแดง

เอ็มวีวีมีประวัติการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาลและความปลอดภัยที่เหนือชั้น โดยมีการบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงานเป็นศูนย์ในปี 2565 (ระหว่างชั่วโมงการทำงานสะสม 1.9 ล้านชั่วโมง) โครงการอื่น ๆ ประกอบด้วยการสนับสนุนโรงเรียนท้องถิ่น โครงการทางสังคมสำหรับผู้ประกอบการหญิงและการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม

โครงการสำรวจที่เอ็มวีวียังคงแสดงศักยภาพเชิงบวกระดับภูมิภาคอย่างมีนัยสำคัญในวงกว้างต่อไป โดยระบุเป้าหมายเพิ่มเติมที่สามารถนำมาสู่แผนงานเหมืองเซอโรตในระยะยาว

แนวโน้มและจุดเน้นเชิงกลยุทธ์

แอปเพียนจะยกระดับโมเดลการดำเนินงานที่ไม่เหมือนที่อื่นใดต่อไป ประกอบกับมุ่งเน้นสินค้าโภคภัณฑ์สำหรับการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานที่ใช้ในแบตเตอรี่ ยานยนต์ไฟฟ้า ระบบพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียน รวมถึงทองแดงและนิกเกิล ซึ่งทำให้สมดุลด้วยการลงทุนในโลหะมีค่าและสินค้าโภคภัณฑ์อื่น ๆ

เกี่ยวกับแอปเพียน แคปิตอล แอดไวซอรี แอลแอลพี

แอปเพียน แคปิตอล แอดไวซอรี แอลแอลพี (Appian Capital Advisory LLP) เป็นที่ปรึกษาด้านการลงทุนเพื่อคุณค่าระยะยาว โดยมุ่งเน้นกองทุนเอกชนที่ลงทุนในบริษัทเหมืองแร่และบริษัทที่เกี่ยวข้องกับเหมืองแร่เท่านั้น

แอปเพียนเป็นที่ปรึกษาการลงทุนชั้นนำในอุตสาหกรรมโลหะและเหมืองแร่ โดยมีประสบการณ์ระดับโลกในอเมริกาใต้ อเมริกาเหนือ ออสเตรเลีย และแอฟริกา และมีประวัติผลงานที่ประสบความสำเร็จในการสนับสนุนให้บริษัทต่าง ๆ บรรลุเป้าหมายการพัฒนา ด้วยพอร์ตฟอลิโอการดำเนินงานระดับโลกที่ครอบคลุมพนักงาน 6,300 คน

แอปเพียนมีทีมงานระดับโลกประกอบด้วยมืออาชีพมากประสบการณ์ 65 คน โดยมีสำนักงานในลอนดอน นิวยอร์ก โทรอนโต แวนคูเวอร์ ลิมา เบลูโอรีซองชี มอนทรีออล ดูไบ และเพิร์ธ

ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.appiancapitaladvisory.com หรือติดตามเราทางลิงด์อิน ทวิตเตอร์ หรืออินสตาแกรม

เกี่ยวกับเอซีจี

เอซีจี (ACG) เป็นบริษัทที่มีวิสัยทัศน์ในการควบรวมอุตสาหกรรมโลหะสำคัญ เอซีจีเข้าซื้อกิจการในตลาดเดียวกันหลายรายการ โดยมุ่งเป็นซัพพลายเออร์โลหะสำคัญรายหลักสำหรับซัพพลายเชนผู้รับจ้างผลิต (OEM) ฝั่งตะวันตกด้วยคุณสมบัติด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG) และการก่อคาร์บอนที่เหนือชั้น เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2565 เอซีจีประสบความสำเร็จในการระดมทุนราว 125 ล้านดอลลาร์สหรัฐในการเสนอขายหุ้นออกใหม่ต่อสาธารณะครั้งแรก และจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน (สัญลักษณ์: ACG และ ACGW)