In Thailand
วช.เปิดศูนย์วิจัยชุมชนทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษแห่งที่12
ศรีสะเกษ-วช.เปิดศูนย์วิจัยชุมชนทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ แห่งที่ 12 ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2566 ที่ห้องประชุมราชภัฏส้มมนาคาร มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ดร.วิภรัตน์ ดีอ่อง อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานเปิดศูนย์วิจัยชุมชน ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ โดย ศาสตราจารย์ คร.ไขยณรงค์ นาวานุเคราะห์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นายอนุรัตน์ ธรรมประจำจิต รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ รศ.ดร.ประกาศิต อานุภาพแสนยากร อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ นางปาลลิน พวงมี ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร นายธีรวัฒน์ บุญสม ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม นางภาวณี คำชาลี ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมพัฒนาศักยภาพบุคลากรการวิจัย วช. และคณาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏฎศรีสะเกษ ร่วมในพิธีเปิดเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้เพื่อเป็นการส่งเสริมการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ใช้แก้ปัญหาของชุมชน หรือเพิ่มศักยภาพรายได้ของชุมชนและยกระดับคุณภาพชีวิต รวมทั้งสร้างบุคลากรในชุมชนให้มีความรู้ สามารถป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ให้แก่ชุมชนหรือพื้นที่ท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษต่อไป
ศาสตราจารย์ คร.ไขยณรงค์ นาวานุเคราะห์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า ตามที่สำนักงานการวิจัยแห่งขาติ ได้มอบหมายให้เครือข่ายวิจัยภูมิภาค:ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ดำเนินกิจกรรมการจัดตั้งศูนย์วิจัยชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ใช้แก้ปัญหาของชุมชน หรือเพิ่มศักยภาพรายได้ของชุมชนและยกระดับคุณภาพชีวิต รวมทั้งสร้างบุคลากรในชุมชนให้มีความรู้ สามารถป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ให้แก่ชุมชนหรือพื้นที่นั้นๆ ปัจจุบันเครือข่ายวิชัยภูมิภาค: ภาคตะวันออกเจียงเหนือ ได้จัดตั้งศูนย์วิจัยชุมชนแล้ว จำนวน 11 ศูนย์ ประกอบด้วยศูนย์วิจัยชุมขนผ้าย้อมครามสุขภาพจังหวัดสกลนคร ศูนย์วิจัยชุมขนผ้าไหมแพรวาจังหวัดกาพสินธุ์ ศูนย์วิจัยชุมชนเมืองหัตถกรรมโลกแห่งผ้ามัดหมี่จังหวัดขอนแก่น ศูนย์วิจัยชุมชนเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์อีสานจังหวัดร้อยเอ็ด ศูนย์วิจัยชุมชนด้านการเลี้ยงโคนมและผลิตภัณฑ์นมจังหวัดขอนแก่น ศูนย์วิจัยซุมชนเกษตรอินทรีย์เมืองศรีไคจังหวัดอุบลราชธานี ศูนย์วิจัยชุมชนผักสลัดอินทรีย์ จังหวัดมหาสารคาม ศูนย์วิจัยชุมชนผลิตภัณฑ์เกษตรเสริมไอโอดีนนาฟู จังหวัดอุดรธานี ศูนย์วิจัยชุมชนนวัตกรรมการผลิตอ้อยและการจัดการความรู้ จังหวัดบุรีรัมย์ ศูนย์วิจัยชุมชนองเที่ยวไหมโบราณ บ้านเสี้ยวน้อย จังหวัดชัยภูมิ ศูนย์วิจัยชุมชนวิถีผักอินโขง อัตลักษณ์อาหารฟื้นถิ่น มรดกทางวัฒนธรรม้ จังหวัดนครพนม และศูนย์ริจัยชุมขนทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษแห่ที่ 12
รศ.ดร.ประกาศิต อานุภาพแสนยากร อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กล่าวว่า ศูนย์ริจัยชุมขน "ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ" เป็นศูนย์วิจัยชุมชนฯแห่งที่ 12 ซึ่งทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษจัดเป็นไม้ผลเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัด สามารถสร้างมูลคำเต็มและผลิตภักัณท์มวลรวมจังหวัด (GPP) ได้ ในจังหวัดศรีสะเกษมีพื้นที่ภูเขาไฟโบราณ แถบเท็อกเขาพนมตงรัก ซึ่งเป็นดินชนิดหินบะซอลต์ (Basalt soil) เป็นดินเหนียวสีแดง ระบายน้ำดี มีธาตุอาหารที่สำคัญ คือ มีฟอสฟอรัสสูง จังหวัดศรีสะเกษมีพื้นที่ปลูกทุเรียน 15,110 ไร่ เกษตรกรรวม 2,350 ครัวเรือน ให้ผลผลิตแล้ว 5,750 ไร่ (คิดเป็น 38%) ยังไม่ให้ผลผลิต 9,360 ไร่ (คิดเป็น62%) ปลูกในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.กันทรลักษ์ อ.ขุนหาญ และ อ.ศรีรัตนะ รวม 5,596 ไร่ (คิดเป็น 98%) ของผลผลิตทุเรียนทั้งหมดของจังหวัดศรีสะเกษ เกษตรกรนิยมปลูกพันธุ์หมอนทอง และก้านยาว จังหวัดศรีสะเกษได้ทำการจดบันทึกเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2559 ให้เป็นทุเรียนที่มีลักษณะพิเศษจำเพาะ คือ เนื้อทุเรียนเหนียวนุ่มกรอบนอกนุ่มใน เส้นใยละเอียด กลิ่นหอมละเมียด เมล็ดลีบ เปลือกบาง เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค จึงอาจกล่าวได้ว่า ทุเรียนศรีสะเกษ เป็นทุเรียนที่อร่อยที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย นอกจากนี้มหาวิทาสัยราชภัฏตรีสะเกษได้มีการนำผลงานวิจัยไปถ่ายทอดความรู้ให้กับขุมชน เช่นการสกัดเส้นใยจากเปลือกทุเรียน อาหารโคจากเปลือกทุเรียน เป็นต้น
ข่าว/ภาพ บุญทัน ธุศรีวรรณ / ศรีสะเกษ