EDU Research & ESG
นักวิทยาศาสตร์ชี้ว่ามหา'ลัยควรเปลี่ยน เสิร์ฟอาหารแพลนต์เบสบรรเทาโลกร้อน
กรุงเทพมหานค-29 มิถุนายน : ข้อคิดเห็น โดยนักวิทยาศาสตร์ 23 คน จาก 10 ประเทศแนะนำว่ามหาวิทยาลัยทั่วโลกควรให้ความสำคัญกับอาหารแพลนต์เบสและพยายามลดปริมาณผลิตภัณฑ์อาหารที่มาจากสัตว์ เช่น เนื้อสัตว์ อาหารทะเล นม และไข่ ข้อคิดเห็นฉบับดังกล่าวตีพิมพ์ในวารสาร The Lancet Planetary Healthวารสารวิชาการที่มีชื่อเสียงในวงการวิทยาศาสตร์
ข้อคิดเห็นฉบับนี้ชี้ว่ามหาวิทยาลัยหลายแห่งยังไม่ใส่ใจผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่มาจากอุตสาหกรรมปศุสัตว์มากเท่าที่ควร รายงานหลายฉบับโดยคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภายใต้การทำงานขององค์การสหประชาชาติ (UN’s Intergovernmental Panel on Climate Change-IPCC) และ EAT–Lancet ซึ่งเป็นคณะนักวิทยาศาสตร์ผู้ทรงคุณวุฒิ 37 คนจากทั่วโลกได้หารือเกี่ยวกับระบบอาหารและความยั่งยืนระบุว่าการเปลี่ยนสู่อาหาแพลนต์เบสถือเป็นพื้นฐานของการบรรลุเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศและคงผลกระทบจากการผลิตอาหารให้อยู่ภายใต้ขีดจำกัดความปลอดภัยของโลก (planetary limits)
“สถาบันการศึกษาต้องตระหนักถึงบทบาทของตนในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบอาหารที่ยั่งยืนกว่าเดิม”คือคำกล่าวจากวิชญะภัทร์ ภิรมย์ศานต์ ผู้อำนวยการจัดการประจำประเทศไทยจากองค์กรซิเนอร์เจียแอนิมอล ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำงานเพื่อส่งเสริมการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและยั่งยืนมากกว่าเดิมในกลุ่มประเทศโลกใต้ (Global South) รวมถึงประเทศไทย
ซิเนอร์เจีย แอนิมอลขอให้มหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศไทยเป็นผู้นำเทรนด์อาหารแพลนต์เบสโครงการมื้อนี้เพื่ออนาคต เป็นโครงการภายใต้องค์กรซิเนอร์เจีย แอนิมอลดำเนินงานในประเทศไทยและประเทศอื่นๆ อีกสามประเทศ
ช่วยเหลือและจัดอบรมแก่สถาบันการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนที่สนใจจะจัดให้มีอาหารแพลนต์เบสในโรงอาหารอย่างน้อยหนึ่งครั้งต่อสัปดาห์นอกจากนี้ยังบริการให้คำแนะนำจากนักโภชนาการและเชฟมืออาชีพ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆซึ่งอาจช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านอาหารของสถาบันได้อีกด้วย
“เราอยากเชิญชวนมหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศไทยเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับความเชื่อมโยงระหว่างการปศุสัตว์และวิกฤตสภาพภูมิอากาศ และพิจารณาเข้าร่วมโครงการมื้อนี้เพื่ออนาคต นิสิตนักศึกษาเป็นคนรุ่นใหม่ที่จะต้องรับภาระจากวิกฤตนี้โดยตรง มหาวิทยาลัยและโรงเรียนจึงเป็นส่วนสำคัญในการช่วยปลูกฝังพฤติกรรมที่ดีเพราะคนรุ่นใหม่มักเปิดรับการเปลี่ยนแปลงเพื่อสิ่งที่ดีกว่า” วิชญะภัทร์กล่าวเสริม
“นอกจากนี้มหาวิทยาลัยควรจะแสดงให้สังคมเห็นว่าให้ความสำคัญและติดตามความคืบหน้าด้านวิทยาศาสตร์อยู่เสมอ งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์หลังๆมานี้ต่างลงความเห็นตรงกันว่าผลิตภัณฑ์จากสัตว์ส่งผลเสียอย่างใหญ่หลวงต่อสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ” วิชญะภัทร์กล่าวปิดท้าย
มหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาที่สนใจจะเข้าร่วมหรือเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการมื้อนี้เพื่ออนาคต สามารถเข้าชมเว็บไซต์ที่ https://www.nourishingtomorrowthai.org/