In Global
กฎหมายความสัมพันธ์ระหว่างปท.ของจีน คุ้มครองที่แข็งแกร่งระหว่างจีนกับทั่วโลก
บทวิเคราะห์ : กฎหมายว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของจีนให้การคุ้มครองทางกฎหมายที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้นต่อการไปมาหาสู่กันระหว่างจีนกับทั่วโลก
กฎหมายว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2566 เป็นต้นไป นับเป็นกฎหมายแม่บทที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ที่เป็นหลักและมีความครอบคลุมฉบับแรกของประเทศจีนใหม่ และเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายที่บริบูรณ์ยิ่งขึ้นในการไปมาหาสู่กันระหว่างจีนกับทั่วโลก ซึ่งจะทําให้ทั่วโลกเข้าใจประเทศจีนมากขึ้น เข้าใจความเชื่อมั่นอันแน่วแน่ของจีนในการส่งเสริมการสร้างประชาคมมนุษย์ที่มีอนาคตร่วมกัน เข้าใจความมั่นใจและการแบกรับภาระหน้าที่ของจีนในการพิทักษ์อธิปไตย ความมั่นคง ผลประโยชน์ด้านการพัฒนาของชาติ และความยุติธรรมระหว่างประเทศ
ปัจจุบัน ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับทั่วโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไม่เคยมีมาก่อน ในด้านหนึ่ง จีนได้กลายเป็นเสาหลักในการรักษาสันติภาพและเสถียรภาพของโลกและเป็นพลังขับเคลื่อนสำคํญในการส่งเสริมการเติบโตของเศรษฐกิจทั่วโลก ในอีกด้านหนึ่ง การพัฒนาของจีนกําลังเผชิญกับสถานการณ์ระหว่างประเทศที่สลับซับซ้อนมากขึ้น จนถึงสิ้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา จีนมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับต่างประเทศที่ยังมีผลบังคับใช้ทั้งหมด 52 ฉบับ แต่ก็ยังมีจุดอ่อนบางประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีช่องว่างทางกฎหมายมากมายในการพิทักษ์อธิปไตย ความมั่นคงและผลประโยชน์ด้านการพัฒนาของประเทศ ภายใต้ภูมิหลังเช่นนี้ การบัญญัติกฎหมายที่เป็นเอกภาพสําหรับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไม่เพียงแต่เป็นข้อเรียกร้องของจีนในการบริหารประเทศตามกฎหมายอย่างครอบคลุมทุกด้านเท่านั้น หากยังให้การคุ้มครองทางกฎหมายที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้นในการไปมาหาสู่กันระหว่างจีนกับทั่วโลก
กฎหมายว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแบ่งออกเป็น 6 หมวด ได้แก่ บททั่วไป สิทธิและหน้าที่ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เป้าหมายและภารกิจด้านการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ระบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การคุ้มครองการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและบทบัญญัติเพิ่มเติม ทั้งหมด 45 มาตราผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายเห็นว่า กฎหมายว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้สืบทอดจุดยืนด้านการต่างประเทศในระยะยาวของจีนและข้อเสนอว่าด้วยการบริหารตามกฎหมายสากล และได้ยืนยันแนวคิดใหม่ข้อเสนอใหม่ข้อริเริ่มใหม่ของจีนด้านการต่างประเทศและการบริหารตามกฎหมายสากลที่มีอัตลักษณ์ของจีน เจตนารมณ์แห่งยุคสมัยและนำกระแสก้าวหน้าของมนุษย์ตั้งแต่ยุคสมัยใหม่ เป็นการบัญญัติกฎหมายว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ยึดหนทางเดิมที่ถูกต้องและสร้างสรรค์ ทั้งยังนำเสนอแบบอย่างของจีนและภูมิปัญญาของจีนด้วยการบัญญัติกฎหมายภายในประเทศเพื่อส่งเสริมการบริหารตามกฎหมายสากลและพิทักษ์สันติภาพของโลก ส่งเสริมการพัฒนาร่วมกัน
นอกจากนี้ กฎหมายฉบับนี้มีหมวดหนึ่งที่บัญญัติถึงระบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของจีน ด้วยการบัญญัติกฎหมายและวางแผนอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับปัญหาทางกฎหมายที่สำคัญเกี่ยวกับต่างประเทศ อาทิ การบังคับใช้สนธิสัญญาระหว่างประเทศ การดำเนินมติคว่ำบาตรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ การใช้มาตรการตอบโต้และจำกัดตามกฎหมาย การคุ้มครองผลประโยชน์โพ้นทะเล การช่วยเหลือกับต่างประเทศ การบังคับใช้กฎหมายกับต่างประเทศและความร่วมมือด้านยุติธรรมระหว่างประเทศ เป็นต้น กฎหมายระหว่างประเทศของจีน ได้อุดช่องโหว่หลายประการ เป็นการบ่งบอกว่า จีนพัฒนาความสัมพันธ์กับต่างประเทศโดยเข้าสู่กระบวนการใหม่ที่บริหารตามกฎหมายอย่างเป็นระบบ
หากอ่านกฎหมายฉบับนี้จนจบ จะพบได้ว่ามีลักษณะพิเศษที่เด่นชัดหลายอย่าง ที่โดดเด่นมากที่สุดก็คือส่งเสริมการไปมาหาสู่กันฉันมิตร จากสถิติพบว่า กฎหมายทั้งฉบับมีคำว่า “การแลกเปลี่ยนกับความร่วมมือ” “การแลกเปลี่ยนความร่วมมือ” “การไปมาหาสู่กันฉันมิตร” “ความร่วมมือระหว่างประเทศ” รวม 20 แห่ง คำบรรยายที่ว่า พัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ส่งเสริมการไปมาหาสู่กันฉันมิตร ผลักดันปฏิบัติตามข้อริเริ่มเพื่อการพัฒนาของโลก ข้อริเริ่มเพื่อความมั่นคงของโลก ข้อริเริ่มว่าด้วยอารยธรรมโลก สะท้อนให้เห็นอย่างเต็มที่ว่าจีนเป็นมิตรกับทั่วโลก เต็มไปด้วยความเมตตา
สําหรับประชาคมโลก เนื้อหามากมายในกฎหมายฉบับนี้ไม่ใช่สิ่งแปลกใหม่ เป็นการแปลงหลักนโยบายด้านการต่างประเทศที่จีนยึดถือมายาวนานให้เป็นกฎหมายผ่านกระบวนการทางกฎหมาย ซึ่งแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ในการติดต่อกับโลกจีนยึดมั่นในสันติภาพ การพัฒนา ความร่วมมือ และมีชัยชนะร่วมกันเสมอมา เมื่อโลกเข้าสู่ช่วงใหม่ที่มีการปฏิรูปมีความผันผวน พลังเชิงบวกที่กฎหมายฉบับนี้ถ่ายทอดออกมา จะทําให้ทั่วโลกรับรู้ รู้จักจีน เข้าใจจีน และเชื่อมั่นในจีนมากขึ้น
----------------------------------------
เขียนโดย ชุย อี๋เหมิง ภาคภาษาไทย ศูนย์เอเชียแอฟริกา สถานีวิทยุและโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน (CMG)