Think In Truth

'พิธา' วืดนายกฯรอบแรก...แล้วไง EP.2 โดย : โดยหมาเห่าการเมือง



ความอิลุงตุงนัง ในการเลือกนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 หลังจากที่มีการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี คนที่ 30 ครั้งที่ 1 วันที่ 13 กรกฎาคม ที่ผ่านมา นอกจากเกิดกระแสของคนในสังคมเริ่มมีกิจกรรม ตั้งคำถามต่อสมาชิกรัฐสภา โดยเฉพาะ ส.ว. ว่าทำไมไม่เห็นหัวประชาชน บ้างหละ .ว.มีไว้ทำไม บ้างหละ ลามไปจนถึงการร่วมธุรกิจปฏิเสธการให้บริการ ส.ว. และครอบครัว การขุดข้อมูลชี้เป้า ธุรกิจ ส.ว. เพื่อแบนในการใช้บริการ รวมไปจนถึงการขุดคุ้ยจริยธรรมของ ส.ว.  #เมียน้อยสว. และการชุมนุมแสดงความไม่เห็นด้วย ความไม่พอใจต่อผลการลงมติรับรองนายพิธา เป็นนายกฯ

สถานการณ์ยังคงเพิ่มกิจกรรมการต่อต้านอำนาจเผด็จการ ที่อยู่เหนืออำนาจประชาชน โดยเฉพาะการร่วมโหวตในการเลือกนายกรัฐมนตรีของสมาชิกวุฒิสภา  มีการรวมตัวของประชาชน ในการจัดคาร์ม็อบ เพื่อไปพบสมาชิกวุฒิสภาถึงที่บ้าน ที่ทำงาน และที่อื่นๆ ที่สามารถเดินทางไปพบสมาชิกวุฒิสภา เพื่อมอบใบลาออกให้ท่าน ส.ว. เหล่านั้นได้กรอในลาออก พร้อมทั้งร่วมกันมาบอก สว. “ขอให้เห็นหัวประชาชน”

ในขณะที่ฝ่ายอนุรักษ์นิยม และสาวกสลิ่ม ก็ตั้งป้องสู้ทั้งทางกฏหมาย ในการเตรียมหลักฐานเพื่อเอาผิดฝ่ายต่อต้านและปฏิบัติการ “ล่าแม่มด” อีกทั้งระดมสื่อในทุกแพลตฟอร์ม พยายามนำเสนอข้อมูลเชิงชี้แจง รวมทั้งไอโอ เพื่อแย้งกับข้อมูลฝ่ายประชาธิปไตย ที่พยายามนำเสนอต่อสธารณะ ทั้งรูปแบบเชิงข้อมูลความจริงในสนามการเคลื่อนไหว และข้อมูลเชิงวิเคราะห์วิจารณ์จากกลุ่มนักข่าว นักวิชาการ รวมทั้งประชาชนทั่วไปที่ออกมานำเสนอผ่านโซเชียลมิเดียร์ ในรูปแบบต่างๆ ในทุกๆ แพลตฟอร์ม

หลังจากที่นายพิธาได้ประกาศพร้อมที่จะถอยให้เพื่อไทยเป็นแกนนำหลักในการจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งนายเศรษฐาเองก็ออกมาบอกว่า ก้าวไกล และ เพื่อไทยยังคงจับมือกันแน่น และเพื่อไทยก็พร้อมที่จะหนุนก้าวไกลให้เป็นนายกรัฐมนตรีจนสุดทาง หลังจากนั้นการตกลงเจรจากันด้วยวิธีการไดไม่มีรายงานข่าวแต่ก็มีเพียง และนายพิธาก็ประกาศขอสู้ต่ออีกหนึ่งครั้ง เมื่อสู้สุดทางแล้วจะเปิดโอกาสให้พรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำในการตั้งรัฐบาล และพร้อมลงมติสนับสนุนให้พรรคเพื่อไทย ไก้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

สถานการณ์นี้ไม่น่าจะเป็นประเด็น  เมื่อพลตำรวจเอกเสรีพิศุทธิ์ เตมียเวส ได้ออกมาแสดงความเห็น หลังจากที่นายพิธาวืดจากการลงมติรับรองการเป็นนายกรัฐมนตรี ว่า “พรรคก้าวไกลก็ควรเสียสละเป็นฝ่ายค้าน” ซึ่งนั่นเป็นความเห็นที่เป็นมุมมองของู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับแคนดิเดทที่จะถูกเสนอชื่อรับรองเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ก็เป็นเหตุผลที่ฟังได้ เพราะนายพิธาเองก็ได้รับการเสนอชื่อเพื่อให้รัฐสภาลงมติรับรองเป็นนายกรัฐมนตรีแล้วแต่ไม่ผ่าน ซึ่งถ้าจะมองลึกไปกว่านั้นท่านเสรีพิศุทธ์เองก็มีความสัมพันธ์ที่ดีกับน้องชายของพลเอกประวิตร วงศ์สุวรรณ ในฐานนายตำรวจรุ่นพี่รุ่นน้องด้วยกัน ความรู้สึกในการที่จะร่วมรัฐบาลแล้ว ท่านเสรีพิศุทธ์เองก็คงร่วมกับพลเอกประวิตร จะสบายใจกว่า ซึ่งนั่นมันก็ไม่ใช่เรื่องความผิดที่ท่านเสรีพิศุทธ์จะต้องมีความรู้สึกอย่างนั้น

เมื่อท่านเสรีพิศุทธ์ได้ออกมาแสดงความรู้สึกอย่างนั้น ทำให้ทัวร์แห่ไปเยี่ยมท่านเสรีพิศุทธ์ในทันที ซึ่งนั่นก็ประเมินได้ว่า ด้อมส้มบางส่วน ยังไม่เปิดกว้างในทางประชาธิปไตย ยังยึดมั่นว่าท่านเสรีพิศุทธ์เมื่ออยู่ในแปดพรรคร่วมรัฐบาลแล้ว ลงนามใน MOU ร่วมจัดตั้งรัฐบาลแล้ว จะยังคิดแปลกแยกไม่ได้ ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่ตัดสินแทนผู้อื่นโดยไม่มองข้อมูลความสัมพันธ์บุคคลในอดีต และยึดติดข้อตกลงจนกำกับบุคคลในข้อตกลงต้องเป็นอย่างที่ตนคิด ซึ่งนั่นคือเผด็จการในประชาธิปไตย วิธีคิดอย่างนี้ต้องปรับเพื่อให้เห็นปริมาณมวลชนที่เป็นฝ่ายประชาธิปไตย เพื่อประเมินในการสร้างอุดมการในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ด้วยความเห็นพร้องด้วยตัวของมวลชนเอง

การนำเสนอเพื่อสร้างความขุ่นเคืองและป้ายสีให้คนอื่น เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ มันก็ไม่ได้แตกต่างไปจากพวกสลิ่มที่ยังผูกขาดความจงรักภักดี เมื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดีแล้วโอ้อวดถึงความเป็นผู้รักสถาบันสุดชีวิต แล้วก็ลุกขึ้นมาชี้หน้าผู้อื่นว่าเป็นผู้ไม่จงรักภักดี ถ้ามีใครประชดก็จะกล่าวหาว่าเป็นพวกล้มเจ้า การที่ด้อมส้มมีแนวคิดอย่างนี้กับท่านเสรีพิศุทธ์ก็จะไม่ต่างกันกับพวกผูกขาดความจงรักภักดี ที่เป็นเสมือนลิ่ม ที่ตอกลึกลงไปในสังคมไทยให้คนในสังคมแตกแยก ซึ่งพฤติการเหล่านี้เป็นสิ่งที่ด้อมส้มควรต้องเรียนรู้ ทำความเข้าใจ และปรับทัศนคติในมุมเสรีภาพที่ด้อมส้มถวิลหา พร้อมทั้งปรับวิธีคิดและพฤติกรรมการแสดงออกให้สอดคล้องกับเป้าหมายและอุดมการแห่งความเป็นประชาธิปไตย

สถานการณ์ปฏิบัติการ “ล่าแม่มด” ได้กระจายตัวออกไป เพื่อสะท้อนถึงพฤติกรรมของฝ่ายปกครองรัฐไทยในสภา ที่ใช้กติกาบิดเบี้ยวเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง ที่สนองกลุ่มทุนผูดขาดที่อยู่เบื้องหลัง ได้กระจายออกไปทั่ว มีทั้งมุ่งตรงไปที่การชี้เป้าทางธุรกิจ เพื่อส่งต่อให้เพื่อนในอุดมการเดียวกันแบนในการให้บริการ มีทั้งธุรกิจร่วมปฏิเสธการให้บริการ ส.ว. และครอบครัวพร้อมทั้งเครือญาติ อีกทั้งขุดคุ้ยพฤติกรรมที่ขัดต่อจริยธรรมของ ส.ว. ลุกลามไปจนถึงการละเมิดสิทธิ์ส่วนตัวที่กร่นด่าให้เกิดความเสียหาย และมีผลกระทบกับชีวิตครอบครัว ซึ่งสภานการณ์การอย่างนี้มันจะลุกลามไปเรื่อยๆ ถ้าหากไม่มีแนวทางในการแก้ปัญหา ให้ได้รับความพึงพอใจในทุกฝ่าย

ก่อนที่จะมีการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีครั้งที่สอง ไม่ลองเชิญหัวหน้าพรรคทุกพรรค และผู้ที่เกี่ยวข้องสำคัญๆ มาร่วมประชุม พรรคละสามถึงสี่คน เพื่อหาทางออกร่วมกันดูก่อนไหม??...ก่อนที่จะมีการโหวตแบบต่างฝ่ายต่างยัน ต่างฝ่ายต่างแย่ง คนที่แย่งได้ก็ดูเหมือนจะเป็นเจ้าของอำนาจอยู่ฝ่ายเดียว ฝ่ายอนุรักนิยมก็จะเห็นแนวทางนโยบายที่มีต่อความอยู่ดี กินดีของประชาชนน้อย ซึ่งจะเอื้อประโยชน์ต่อการลงทุนของภาครัฐที่มีธุรกิจฝ่ายตนผูขาดสัมปทานอยู่ ฝ่ายประชาธิปไตยเมื่อได้อำนาจก็เล็งสร้างประชานิยม รัฐสวัสดิการ โดยลดความสำคัญกับทุนที่เป็นหัวใจหลักในการยกระดับเศรษฐกิจของประเทศ แต่ก็จะนำทุนของฝ่ายตนเข้าไปผูกขาดสัมปทานการลงทุนของภาครัฐแทน

ปัจจัยแห่งความขัดแย้งทางการเมือง ที่เริ่มจากอำนาจการปกครองลงมาถึงกลุ่มทุนที่อยู่เบื้องหลังการเมืองในการแสวงหาประโยชน์ และลงลึกถึงโครงข่ายของทุน ในระดับต่างๆ ของประเทศ ลงไปจนถึงประชาชนรายบุคคล มาจากความไม่ลงตัวใจการกระจายทรัพยากรอย่างเป็นธรรม การเมืองการปกครองประเทศที่ต้องอาศัยรัฐสภาเป็นเครื่องมือในการประชุมตกลงเพื่อจัดสรรทรัพยากรให้เป็นธรรม ไม่ใช่เป็นแหล่งที่ต้องเข้าไปแย่งชิงอำนาจบริหารเพื่อผลประโยชน์ของฝ่ายตนฝ่ายเดียว ถ้าทุกพรรคการเมืองได้เข้าในประชุมกันเพื่อกำหนดอุมการณ์ของรัฐสภาไทยให้ถือปฏิบัติกันอย่างชัดเจน การติกาทางการเมืองไทยจะไม่บิดเบี้ยว รัฐสภาไทยจะเป็นสถานที่ในการบริหารการเมืองการปกครองประเทศ ให้ชาติและประชาชนรุ่งเรือง มีความสงบสุข

หากอุดมการณ์แห่งรัฐสภาไทย ยังไม่มีความชัดเจน ปล่อยให้กติกาของการเมืองการปกครองไทย ยังคงบิดเบี้ยว ผู้ที่ได้เปรียบเชีงอำนาจก็จะยังคงอาศัยวาทกรรมในการที่จะเอาเปรียบอีกฝ่ายหนึ่ง โดยไม่สนใจว่าระบบของรัฐสภาควรจะเป็นอย่างไร อยู่อย่างนี้ ต่อให้นายกรัฐมนตรีคนนเดิมกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง เพื่อสานงานที่ตนเองก่อไว้ให้จบ แต่ความขัดแย้งก็จะยังคงอยู่ หรือต่อให้หัวหน้าพรรคแกนนำฝ่ายเสียงข้างน้อยขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี ด้วยเสียงรับลองจากสมาชิกรัฐสภาอย่างล้นหลาม ปัญหาของบ้านเมืองก็ไม่จบ จะยังคงมีความขัดแย้งทางการเมืองอีกต่อไป หรือหากนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ซึ่งถือว่ามีความชอบธรรมมากที่สุด ได้รับการลงมติให้เป็นายกรัฐมนตรี ด้วยเสียงสนับสนุนจาก สมาชิกวุฒิสภาทั้งหมด(ด้วยการตัดรำคาญกระบวนการ”ล่าแม่มด”) ปัญหาก็ยังคงไม่จบ เพราะเบื้องหลังแห่งความขัดแย้งไม่ได้ถูกนำมาร่วมสร้างอุดมการณ์ของชาติ และการใช้รัฐสภาร่วมกัน

ในการโหวตเลือกนายรัฐมนตรีครั้งที่สอง ที่ทั้งสองฝ่ายยังคงแย่งชิงชัยชนะ ด้วยยุทธวิธีของการแย่งชิง และกดดันซึ่งกันและกัน อย่างเดิม รากเหง้าของปัญหาความขัดแย้งก็ยิ่งจะร้าวลึก ที่อาจจะนำไปสู่การใช้ความรุนแรงต่อกัน ปัจจัยที่แสดงออกให้เห็นถึงความขัดแย้งที่จะร้าวลึกในสังคมไทย คือความระแวงของนักการเมืองที่มีต่อกัน การชิงไหวชิงพริบเพียงเพื่อให้ได้มาซึ่งนโยบายภาครัฐที่จะให้ฝ่ายตนได้ประโยชน์ ยังคงเห็นกันตลอดแห่งการต่อสู้ทางการเมือง ซึ่งประชาชนตาดำๆ ก็ได้แต่เฝ้ารอว่า จะมีรัฐบาลชุดไหน ที่สามารถรวมหัวใจคนไทยทุกคน ร่วมคิด ร่วมสร้าง รับรับผลประโยชน์ ร่วมเสพ ร่วมสุข ร่วมฉลองความยินดีภาคภูมิใจ หวังว่าอย่าให้ประชาชนเขารอเก้อกันนะครับ