Think In Truth
ละครการเมือง...จุดเปลี่ยนประเทศไทย โดย : หมาเห่าการเมือง
ช่วงเวลา 09.00 น.ของวันนี้(22 สิงหาคม 2566) การปรากฏตัวของ ดร.ทักษิณชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่สนามบินดอนเมือง ที่มีนางสาวแพทองธาร ครอบครัวชินวัตร คณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย รวมทั้งมวลชนคนเสื้อแดงมาต้อนรับกันอย่างอบอุ่น มีเสียงเรียกชื่อ ดร.ทักษิณ ชินวัตร เพื่อเป็นการต้อนรับการกลับบ้านเสียงดังตลอดเวลา หลังจากนั้นก็ถูกควบคุมตัวเดินทางไปยังศาลฎีกาเพื่อรับฟังคำพิพากษา และขั้นตอนทางราชการที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางกลับของ ดร.ทักษิณ ชินวัตร
นี่คือจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของประเทศไทยครั้งใหญ่ ซึ่งต้องรอลุ้นการโหวตนายเศรษฐา ทวีสินเพื่อดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพื่อประเมินให้ชัดเจนว่า ทิศทางการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเป็นอย่างไรในอนาคต
การกลับมาของ ดร.ทักษิณ ชินวัตรครั้งนี้ มีหลายฝ่าย มองว่า จะเป็นการเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของไทย ซึ่งพอที่จะคาดการณ์ได้ว่า การเมืองในประเทศไทยจะเหลือพรรคการเมืองใหญ่ เพียงแค่สองพรรค ที่มีจุดกำเนิดของพรรคการเมืองมาจากฝ่ายประชาธิปไตย นั่นคือ พรรคเพื่อไทย และพรรคก้าวไกล
วันนี้จะไม่เอ่ยถึงพรรคก้าวไกล เพราะสังคมไทยส่วนใหญ่พอมองออกว่าปัจจุบันเป็นอย่างไร อนาคตก็พอที่จะเดาออกว่ามีเป็นอย่างไร
ก่อนที่ ดร.ทักษิณ จะเดินทางกลับประเทศไทย เพื่อเข้าสู่กระบวนการทางศาลสถิตยุติธรรม พรรคเพื่อไทยได้จับมือกับพรรคร่วมรัฐบาลเดิม เพื่อจัดตั้งรัฐบาล โดยเสนอนายเศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งนายเศรษฐา เองก็โดนนายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ได้ออกมาแฉเกี่ยวกับการเลี่ยงภาษีในการซื้อที่ดิน ด้วยการใช้บริษัทนอมินี ดำเนินการ เพื่อเป็นข้อมูลในการอภิปรายในสภาเพื่อลดความน่าเชื่อในการโหวตรับรองในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และมีคนออกมาแฉว่า ข้อมูลที่นายชูวิทย์ได้แฉออกมานั้น ทั้ง สว. และ สส. ได้นำไปใช้เพื่อแสวงหาประโยชน์ จากการการขายเสียงสนับสนุนนายเศรษฐา ถึง 30 ล้านบาท พร้อมทั้งรถ TOYOTA ALPHARD หนึ่งคัน รวมทั้ง สว.บางกลุ่มก็ได้แสดงออกถึงความกังวลต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่จะกระทบต่อพระราชอำนาจและการตรวจสอบการคอร์รัปชั่น โดยที่นายเศรษฐา ทวีสินก็นิ่งมาโดยตลอดและได้ออกมาชี้แจงเพียงแค่ครั้งเดียว แต่นั่นมันก็คือละครการเมือง ที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งใหญ่ การเปลี่ยนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต คาดการณ์ว่าจะเกิดอะไรบ้างในอนาคต ดังนี้
พรรคเพื่อไทย จะกินรวบพรรคฝ่ายอนุรักษ์นิยม
ดร.ทักษิณ ชินวัตร เขาเป็นคนที่มีประสบการณ์ในการรวบรวมสมาชิกพรรคการเมืองต่างๆ เข้ามาร่วมกันจัดตั้งพรรคไทยรักไทย ซึ่งเดิม ดร.ทักษิณ ชินวัตร เขาสังกีดพรรคพลังธรรม ที่มีพลตรีจำลอง ศรีเมือง เป็นหัวหน้าพรรค เมื่อเขาออกมาตั้งพรรคไทยรักไทย เขาก็ได้รวบรวม สส. จากพรรคความหวังใหม่ ที่มีพลเอกเชาวลิต ยงใจยุทธ์เป็นหัวหน้าพรรค เข้ามาร่วม และอีกหลายพรรค โดยมีนายชิงัย มงลธรรม คนเดียวที่ไม่ย้ายสังกัดพรรคจากพรรคความหวังใหม่ เข้ามาสังกัดพรรคไทยรักไทย จนทำให้พรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้ง จน ดร.ทักษิณ ชินวัตรได้เป็นนายกรัฐมนตรี และดำเนินการบริหารประเทศจนถึงสองสมัย ก่อนที่จะมีการทำรัฐประหารในวันที่ 19 กันยายน 2549
ประสบการณ์ในการรวบรวมนักการเมืองในพรรคต่างๆ มาร่วมกันจัดตั้งพรรคการเมืองแนวใหม่ จะทำให้ ดร.ทักษิณมองถึงอนาคตการเมืองไทยออกว่า จะดำเนินการเมืองอย่างไรจึงจะสามารถยืนอยู่ในจุดที่ได้เปรียบทางการเมือง โดยส่วนตัวมองว่า ดร.ทักษิณ ชินวัตร นอกจากจะผู้ที่รอบรู้ในศาสตร์ต่างๆ ที่ทันสมัย ถือว่าเป็นผู้ที่มีความรู้แบบ Global Knowledge และเป็นผู้ที่สังคเคราะห์ความคิดที่เป็นเลิศคนหนึ่ง ดังนั้นการสังเคราะห์ความคิดทางการเมือง จึงเป็นสิ่งหนึ่งที่ ดร.ทักษิณ ชินวัตร มีความคิดที่แตกต่างอย่างชาญฉลาดที่ยากที่ใครๆ จะเทียบได้
แนวทางการดำเนินการทางการเมืองของ ดร.ทักษิณ ชินวัตร คือการไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง แต่จะเป็นผู้ที่ถ่ายทอดความรู้ทางการเมืองให้กับทายาททางการเมืองในพรรคเพื่อไทย ทิศทางปรัญาทางการเมืองของพรรคเพื่อไทยในอนาคต จะเป็นแนวทางทางการเมืองที่เป็นทางสายกลางระหว่าง กลุ่ม Conservative กับกลุ่ม Democracy ขออนุญาตเรียกแนวทางทางการเมืองที่ ดร.ทักษิณ ชินวัตร จะถ่ายทอดปรัชญาทางการเมืองให้กับพรรคเพื่อไทยเป็น Neoconservative คือ การดำเนินการทางการเมืองที่ตรงกับจริตของ ดร.ทักษิณ ชินวัตรเอง “ตามองดาว เท้าติดดิน” เป็นพรรคการเมืองแบบจารีตนิยม แต่จะเป็นจารีตนิยมที่อยู่ระหว่าง Royal Traditionalism กับ Civil Traditionalism
ความอ่อนแอของพรรคการเมืองฝ่ายอนุรักษ์นิยม เกิดจากการดำเนินการทางการเมืองที่ไม่ยึดโยงกับประชาชน มองประชาชนเป็นเพียงผู้เลือกตั้ง การเลือกตั้งเป็นเพียงพิธีกรรม เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญบ่อยๆ พรรคฝ่ายอนุรักษ์นิยมมักจะทนงตนเองเพราะเป็นฝ่ายที่ยืนอยู่ในอำนาจมาโดยตลอดก็จะทนงตนและทำผิดกฏหมายอยู่บ่อยๆ เมื่อพรรคการเมืองฝ่ายเสรีนิยมมีความเข้มแข็งขึ้นมา สิ่งที่ฝ่ายอนุรักษ์นิยมนั่งทับความผิดด้วยความเชื่อว่าฝ่ายตนมีอำนาจ จะไม่มีใครทำอะไร ก็จะถูกตรวจสอบอย่างเข้มข้น และแขวนอยู่บนความผิดตามกฏหมาย เช่น พรรคภูมิใจไทยมีโอกาสถูกยุบพรรคด้วยข้อหารับเงินที่ผิดกฏหมายจากบริษัทบุรีเจริญคอนสตรั๊คชั่น พรรคพลังประชารัฐที่มีผู้บริหารพรรคมีเรื่องนาฬิการยิมเพื่อน การจัดโต๊ะจีนรวบรวมเงินบริจาค หรือแม้แต่เรื่อง “มันคือแป้ง” แต่นั่นคือบุคคลที่มีความใกล้ชิด ดร.ทักษิณ ชินวัตรทั้งนั้น พรรครวมไทยสร้างชาติเองก็ขาดผู้นำที่จะนำพาพรรคให้ประสบความสำเร็จในอนาคตได้ พรรคเหล่ามีโอกาสที่จะยุบรวมกับพรรคเพื่อไทย ในแนวทางการเมืองที่มี ดร.ทักษิณ ชินวัตร เป็นผู้วางแนวทางให้ใหม่ ได้
ทุนผูกขาด ศักดินาเหนือรัฐ จะเปลี่ยนเป็นทุนเสรี
ทุนผูกขาดศักดินาเหนือรัฐ เป็นทุนที่อยู่เบื้องพรรคการเมือง ที่กำกับการกำหนดนโยบาย แนวปฏิบัติ ที่ทำให้กลุ่มทุนเหล่านั้นได้เปรียบทางธุรกิจ และผูกขาดการได้รับโอกาสในการทำธุรกิจ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทั้งทางด้าน เศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ในประเทศไทย กลุ่มทุนผูดขาดเหนือรัฐเหล่านี้ อยู่ในเมือของกลุ่มคนเพียงแค่ 10%-20% ของประชากรทั้งประเทศ สิ่งที่ประชาชนเกิดรับรู้ในช่วงที่ ดร.ทักษิณ ชินวัตร หนีออกไปอยู่ต่างประเทศ ที่มีกลุ่มทุนผูกขาด เข้ามาปรากฏตัวต่อการบริหารนโยบายของภาครัฐ การปรากฏตัวของทุนที่แสดงออกถึงการปิดโอกาสของประชาชนเชิงนโยบาย ชึ่งมันไม่ต่างกันกับข้อกล่าวหาเรื่องคอร์รัปชั่นเชิงนโยบาย ที่ ดร.ทักษิณ ชินวัตรได้รับจากการกล่าวหาก่อนที่จะถูกยึดอำนาจด้วยการทำรัฐประหารเลย
แนวทางในการพัฒนาโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่พรรคเพื่อไทยที่ได้เปลี่ยนตัวเองเป็นพรรคการเมือง Neoconservative จะพัฒนาระบบความร่วมมือในการลงทุนในลักษณะบูรณาการ ที่ประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้ง่ายขึ้น เพราะทุนผูกขาดศักดินาเหนือรัฐ จะปรับตัวเองเป็นทุนผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาและเพิ่มปริมาณผลผลิต โดยทุนผู้ขาดเหล่านั้นจะกระจายกระบวนการผลิตไปสู่ชุมชน และเปลี่ยนตนเองเป็น Influencer , Consolidator , Transitbutor , Marketing , Exporter ฯลฯ ความร่วมมือในการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ จะทำให้เกิดแรงจูงใจทางการเมืองและการเกิดกระจายรายได้ที่จะจายอย่างทั่วถึง ที่เกิดรายได้ร่วมกันทั้งกลุ่มทุนและประชาชนโดยทั่วไป
การปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนจากทุนผูกขาดศักดินาเหนือรัฐ มาเป็นทุนเสรีแบบมีส่วนร่วม ถึงจะเป็นเรื่องท้าทายของกลุ่มทุนผูกขาดเดิม แต่จะเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มทุนในเชิงนโยบายทางการเมืองในอนาคต ที่จะลงทุนทางการเมืองในการยืนอยู่เบื้องหลังพรรคการเมืองน้อยลง เพราะกลุ่มทุนจะมีประชาชนเป็นมวลนของทุนทางการเมืองโดยอัตโนมัติ พรรคการเมืองจะเป็นฝ่ายที่จะต้องเข้าหาและหยิบยื่นประโยชน์เชิงนโยบายให้กับทุน โดยที่ทุนไม่ต้องควักกระเป๋าในการที่จะสนับสนุนพรรคการเมืองเพื่อไปยืนอยู่เบื้อหลังการเมือง และกำกับการออกนโยบาย
เมื่อการกลับมาของ ดร.ทักษิณ ชินวัตร จะทำให้โครงสร้างทางเศรษฐกิจเปลี่ยน การเมืองเปลี่ยน การปรับตัวของสังคมให้สอดคล้องกับโครงสร้างทางการเมือง และโครงสร้างทางเศรษฐกิจ จะเปลี่ยนแปลงด้วยตัวของคนในสังคมเอง นี่คือสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและโครงสร้างทางเศรษฐกิจ จากแนวคิดทางการเมืองของพรรคเพื่อไทย ที่มี ดร.ทักษิณ ชินวัตร เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ ในแนวทาง Neoconservative ที่เป็นคู่แข่งขันอย่างสมน้ำสมเนื้อกับพรรคก้าวไกล ที่มีมวลนจากประชาชนเป็นเค็กทางการเมืองที่สำคัญ