EDU Research & ESG
มรภ.ศรีสะเกษเสนอความก้าวหน้าการวิจัย ยกระดับผู้ผลิตผ้าพื้นเมืองในจังหวัด
ศรีสะเกษ-มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ นำเสนอความก้าวหน้างานวิจัยโครงการวิจัย “การยกระดับห่วงโซ่คุณค่าเพื่อเพิ่มสมรรถนะและพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการและผู้ผลิตผ้าพื้นเมือง” ในจังหวัดศรีสะเกษ
เมื่อเวลา 08.45 น. วันที่ 21 สิงหาคม 2566 ณ ห้องประชุมวิเศษสิงหนาท ชั้น 2 อาคารศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ รองศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต อินณวงศ์ ผู้อำนวยการกรอบการวิจัย Local Enterprises พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร. ประมุข ภระกูลสุขสถิตย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ และคณะ ติดตามความก้าวหน้าโครงการวิจัย ภายใต้กรอบวิจัย “การพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการในพื้นที่ (Local Enterprises) บนฐานทรัพยากรพื้นถิ่น เพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานรากและเศรษฐกิจหมุนเวียนในพื้นที่” ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยมี อาจารย์อุรารัตน์ แก้วดวงงาม ในนามของผู้รับผิดชอบโครงการวิจัย นักวิจัย คณะผู้ประกอบการ และภาคีเครือข่าย เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และร่วมวางแผนการดำเนินงานระยะต่อไปของโครงการวิจัยภายใต้หลักคิด “คน-ของ-ตลาด” มีนายวิทยา วิรารัตน์ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดหวัดศรีสะเกษ ร่วมรับฟังในครั้งนี้ด้วย
อาจารย์อุรารัตน์ แก้วดวงงาม ในนามของผู้รับผิดชอบโครงการวิจัย เปิดเผยว่า งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มสมรรถะการประกอบการของธุรกิจในจังหวัดศรีสะเกษ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการทำธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการ Local Enterprises วิสาหกิจชุมซนและกลุ่มช่างเย็บผ้าในจังหวัดศรีสะเกษ และเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้ในตลาด ให้กลุ่มผู้ประกอบการในพื้นที่เกิดการพัฒนาธุรกิจตนเข้าสู่การแช่งชันในตลาดและเติบโตได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพดำเนินการวิจัยโดยใช้กระบวนการศึกษาห่วงโซ่คุณค่า โครงสร้างการผลิตและการตลาดของผู้ประกอบการและกลุ่มผู้ผลิตผ้าพื้นเมืองในจังหวัดศรีสะเกษ มีการนำแนวคิดเรื่องห่วงโซ่คุณค่ามาใช้ในกรวิเคราะห์ และศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ได้แก่
ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยการจัดการห่วงโซ่คุณค่า ขีดความสามารถของผู้ประกอบการ สำรวจกิจกรรมการทอใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยในระยะ 3 เดือนแรกผ่านกิจกรรมการพัฒนาทักษะความสามารถการเป็นผู้ประกอบการรายงานการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานสภาพทั่วไป โดยมีกลุ่มผ้าไหม 5 กลุ่ม กลุ่มผ้าไหม ผ้าฝ้าย 6 กลุ่ม และกลุ่มที่ทอฝ้ายอย่างเดียว 1 กลุ่ม เกี่ยวกับสมรรถนะ การเงิน และการตลาด บรรลุเป้าหมาย กิจกรรมการพัฒนาทักษะการทอ การพัฒนาทักษะการทอสำหรับช่างมือใหม่ กลุ่มละ 5 คน โดยทำการวัดสมรรถะของช่างทอมืออาชีพ กลุ่มละ 3 คน บรรลุเป้าหมาย กิจกรรมการพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากร www.ผ้าปันสุข.coom บรรลุเป้าหมาย เมื่อทำการประเมินตนเอง การยกระดับ LE เรื่องการทอผ้า มีข้อต่อ คือการย้อมสีธรรมชาติ กลุ่มทอผ้ามีการคัดเลือกคนในชุมชนเพื่อทำการทอผ้า โดยมีสมาชิกเริ่มการเรียนรู้ตั้งแต่กระบวนการทำการ เช่น การคันหูก การปั่นต้าย การย้อม โดยทำการคลี่ภาพห่วงโซ่เพื่อให้เห็นข้อมูลคนที่เกี่ยวข้องทั้งระบบ มีผลการดำเนินการได้ 60% ประเมินตนเองในระดับ B พัฒนาขีดความสามารถ เรื่องทักษะการทอผ้าและการเป็นผู้ประกอบการ ข้อต่อ การพัฒนาฝีมือข่างทอผ้า ประธานกลุ่มทอผ้าเป็นผู้บริหารจัดการกิจกรรมการทำงานในกลุ่ม โดยบริหารงบประมาณ ทรัพยากรและตรวจสอบผลการดำเนินงานของสมาชิก
มีการรายงานผลแก่นักวิจัยในแต่ละช่วงการทำงานทั้งหมด ดำเนินการได้ 50% ดำเนินการตนเองได้ B การมูลค่าทรัพยากรพื้นถิ่น/ผลิตภัณฑ์ชุมชน เพิ่มขึ้น 10 % ข้อต่อ วัสดุจากธรรมชาติ มีการใช้สีธรรมชาติ จากเปลือกไม้ ต้นไม้ในท้องถิ่น สร้างมูลค่าและรายได้ให้กับสมาชิกที่ทำหน้าที่การย้อมดำเนินการได้ 80% ประเมินตนองได้ C รายได้กลุ่มเป้าหมาย เพิ่มขึ้น 2% ข้อต่อการพัฒนาทักษะช่างมือใหม่และการวัดสมรรถะช่างมืออาชีพ ดำเนินการได้ 20% ประเมินตนเองได้ C และสมาชิกกลุ่มทอผ้ามีโอกาสได้เรียนรู้การทอ เพื่อสร้างอาชีพเสริมหลังฤดูการทำนา
ทีมวิจัยมีการสำรวจรายรับ รายจ่ายในครัวเรือนและผลิตผลที่เกิดจากการทอผ้า เช่น การรับจ้างทอผ้าจากนายทุน ดำเนินการได้ 10% ประเมินตนเองได้ D ตามลำดับ และกระบวนการเปลี่ยน mindset พบใน 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่ต้องการเริ่มต้นทอผ้าไหมและบุคคลที่เป็นข้อต่อในห่วงโซ่ สามารถพัฒนาเครื่องจักรส่วนตัวที่ลดขั้นตอนการทำงานลงได้ จากกระบวนการแรกที่จะทำไว้ในในกลุ่มต่อมาต้องการรับจ้างปั่นด้ายและต้องการขายเครื่องปั่นด้าย
ในช่วงบ่ายทางคณะได้ลงพื้นที่เป้าหมายวิจัย กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเสื้อดำย้อมมะเกลือ ณ ตำบลเมืองหลวง อำเภอห้วยทับทัน เพื่อดูขั้นตอนในการทอและย้อมผ้าของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเสื้อย้อมดำมะเกลือ โดยใช้วิธีการทางธรรมชาติ และรับฟังแนวทางการดำเนินงานจากคณะกรรมการผู้ตรวจประเมิน
ลักขณา กงแก้ว ผู้สื่อข่าว จ.ศรีสะเกษ รายงาน