Think In Truth

'อึ่งไข่'รัฐบาลข้ามขั่ว...สลายความขัดแย้ง โดย : หมาเห่าการเมือง



คำว่า “อึ่งไข่” น่าจะมาจากนิทานอีสป เรื่อง อึ่งอ่างกับวัว ที่แม่วัวเล็มหญ้าอยู่กลางทุ่ง ในขณะที่ลูกอึ่งอ่างพยายามยุยงให้แม่อึ่งอ่างพองตัว เมื่อแม่อึ่งอ่างทนงตนว่าสามารถพองตัวให้ใหญ่กว่าแม่วัวได้ โดยที่แม่วัวไม่รู้สึกว่าจะต้องทำร้ายหรือกดดันอะไรแม่งอึ่งอ่างเลย มันเป็นความรู้สึกของแม่อึ่งอ่างกับลูกอึ่งอ่างเท่านั้น สุดท้ายอึ่งอ่างก็ท้องแตกตาย หลายคนคงจะงงกับการเอ่ยถึงคำว่าอึ่งไข่ ของคุณยุทธพงษ์ จรัสเสถียร ที่นำไปใช้ในการเปรียบเทียบในสภา ที่ทำให้หลายๆ คนไม่เข้าใจ โดยเฉพาะชาวเน็ต ก็ได้ใช้ AI ในการค้นหา และก็ได้คำตอบออกมาที่หลากหลาย แต่ก็ไม่ได้สอดคล้องกับความหมายที่คุณยุทธพงษ์ จรัสเสถียรได้เอามาเปรียบเทียบในการอภิปรายในสภา ซึ่งเรื่องนี้ก็คงต้องให้คุณยุทธพงษ์ เป็นคนอธิบายเอง ว่าท่านหมายถึงอะไร แต่ผมขอใช้คำว่า “อึ่งไข่” ที่กำลังเป็นกระแสไวรัลมาเพื่อการเปรีบเทียบรัฐบาลข้ามขั้ว ที่เป็นโจทย์ใหญ่ที่พรรคเพื่อไทยต้องเผชิญ

จากผลสำรวจโพลของมหาวิทยาลัยศรีปทุม ร่วมกับดีโหวตในวันที่ 25 สิงหาคม ที่ผ่านมา เปิดเผยผลการวัดคะแนนนิยมหลังจากการเลือกตั้งเพื่อประเมินความพึงพอใจและการตอบสนองความคาดหวังของประชาชนจากแต่ละพรรคการเมืองภายหลังได้รับเสียงเลือกจากประชาชาชนไปแล้ว ในประเด็นที่ว่า “หากมีการเลือกตั้งใหม่อีกครั้งในวันนี้ คุณจะเลือกพรรคใด”

โดยสำรวจระหว่างวันที่ 21 – 24 ส.ค. 2566 จากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกช่วงอายุ ภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ จำนวน 1,253 ตัวอย่าง ค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95.0 พบว่าพรรคที่ชนะการเลือกตั้งสูงสุด 6 อันดับแรก มีอัตราการเปลี่ยนแปลงของคะแนนนิยมเฉลี่ย (เฉลี่ยจากผลการเลือกตั้ง 2566 ของแต่ละพรรค ทั้งบัตรเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อและแบ่งเขตเมื่อนำมาคำนวนเป็นร้อยละ) จากเพิ่มขึ้นไปน้อยลงตามลำดับดังนี้

  • พรรคก้าวไกล คะแนนนิยมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 62.39
  • พรรคภูมิใจไทย คะแนนนิยมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.50
  • พรรครวมไทยสร้างชาติ คะแนนนิยมลดลง ร้อยละ 0.84
  • พรรคพลังประชารัฐ คะแนนนิยมลดลง ร้อยละ 6.02
  • พรรคประชาธิปัตย์ คะแนนนิยมลดลง ร้อยละ 9.96
  • พรรคเพื่อไทย คะแนนนิยมลดลง ร้อยละ 62.24

ซึ่งการที่พรรคก้าวไกลและพรรคเพื่อไทยมีอัตราการเปลี่ยนแปลงของคะแนนนิยมเฉลี่ยมากที่สุดนั้น เกิดจากการที่ได้มีโอกาสสลับกันเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลและเป็นที่สนใจของประชาชนจำนวนมาก โดยคะแนนนิยมที่ลดลงของพรรคเพื่อไทยร้อยละ 51.32 ได้ไหลไปหาพรรคก้าวไกล ในขณะที่ร้อยละ 10.92 ได้ไหลไปหาพรรคอื่น ๆ

ทั้งนี้ทางศูนย์สำรวจความคิดเห็นศรีปทุม-ดีโหวต ยังได้ทำการสำรวจเบื้องต้นในประเด็นต่าง ๆ ระหว่างวันที่ 17 – 24 ส.ค. 2566 โดยในประเด็น “คุณคิดว่าการจัดตั้งรัฐบาลข้ามขั้วที่นำโดยพรรคเพื่อไทยเกิดจากความตั้งใจตั้งแต่แรกหรือไม่?” (514 ตัวอย่าง ค่าความเชื่อมั่นร้อยละ 93.0)

ผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 58.79 ระบุว่า “เกิดจากความตั้งใจตั้งแต่แรก เป็นการวางแผนล่วงหน้าไว้แล้วระหว่างเพื่อไทยและขั้วรัฐบาลเดิม” ร้อยละ 25.20 ระบุว่า “ไม่ได้เกิดจากความตั้งใจตั้งแต่แรก เมื่อการจัดตั้งรัฐบาล 8 พรรคถึงทางตัน จึงต้องปรับแผนด้วยการข้ามขั้ว” และร้อยละ 16.02 ระบุว่า “ไม่รู้/ไม่แน่ใจ”

โดยสำหรับผู้ตอบว่าเกิดจากความตั้งใจแต่แรกถึงเหตุผลที่คิดว่าเหตุใดพรรคเพื่อไทยจึงตั้งใจวางแผนจัดตั้งรัฐบาลข้ามขั้วนั้น ร้อยละ 36.52% ระบุว่า “เพราะคิดว่าการให้ก้าวไกลร่วมรัฐบาลและได้มีโอกาสทำผลงาน จะส่งผลเสียต่อความนิยมของเพื่อไทยในอนาคต” ร้อยละ 28.52 ระบุว่า “เพราะคิดว่าการมีก้าวไกล ทำให้การจัดตั้งรัฐบาลไม่มีทางสำเร็จ” ร้อยละ 22.07% ระบุว่า “เพราะคิดว่าการมีก้าวไกล ถึงจะตั้งรัฐบาลสำเร็จ แต่ไม่นานก็ถูกกลุ่มอำนาจเก่าล้มอยู่ดี” และร้อยละ 12.89 ระบุว่า “ไม่รู้/ไม่แน่ใจ”

สำหรับประเด็น “นโยบายรัฐบาลเพื่อไทยข้อใดที่คุณอยากให้ทำสำเร็จมากที่สุด 3 อันดับแรก” (446 ตัวอย่าง ค่าความเชื่อมั่นร้อยละ 93.0) ร้อยละ 40.41 ระบุว่า “ค่าแรง 600 บาทต่อวัน เงินเดือน ป. ตรี 25,000 บาท” ร้อยละ 39.95 ระบุว่า “กระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท” ร้อยละ 37.47 ระบุว่า “ปรับลดราคาพลังงาน น้ำมัน ไฟฟ้า” ร้อยละ 32.51 ระบุว่า “จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนที่ต่อต้านการรัฐประหาร” และร้อยละ 23.70 ระบุว่า “ปฏิรูประบบราชการและทหาร”

โดยกลุ่มตัวอย่างระบุเพิ่มเติมว่าหากพรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาลสามารถทำนโยบายดังกล่าวได้สำเร็จ ในการเลือกตั้งครั้งหน้ามีโอกาสจะเลือกพรรคเพื่อไทยหรือพรรคร่วมรัฐบาล โดยร้อยละ 27.31 ระบุว่า “เลือกแน่นอน” และร้อยละ 24.15 ระบุว่า “อาจจะเลือก”

สำหรับประเด็น “ท่านเห็นชอบหรือไม่? ว่าประเทศไทยควรมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับ โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน” (523 ตัวอย่าง ค่าความเชื่อมั่นร้อยละ 93.0) ร้อยละ 75.53 ระบุว่า “เห็นชอบ ควรจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับ” ร้อยละ 12.14 ระบุว่า “ไม่เห็นชอบ ควรแก้รัฐธรรมนูญรายมาตรา” ร้อยละ 3.85 ระบุว่า “ไม่เห็นชอบ ไม่ควรแก้รัฐธรรมนูญเลย” ในขณะที่ประเด็นที่มาของ สสร. ร้อยละ 82.34 ระบุว่า “สสร. ควรมาจากการเลือกตั้งจากประชาชนทั้งหมด” ร้อยละ 9.17 ระบุว่า “สสร. ควรมาจากการเลือกตั้งจากประชาชนบางส่วน และมาจากการแต่งตั้งบางส่วน” และร้อยละ 2.52 ระบุว่า “สสร. ควรมาจากการแต่งตั้งทั้งหมด”

ทั้งนี้ระบบได้เปิดให้ผู้ตอบแบบสอบถามพิมพ์ตอบอย่างอิสระถึงประเด็นที่เห็นว่าควรปรับปรุงในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยระบบ AI ได้สรุปประเด็นที่ควรปรับปรุงคือ อำนาจในการเลือกนายกรัฐมนตรีควรเป็นของ ส.ส. ที่มาจากประชาชนโดยตรง โดยไม่มีอำนาจของ ส.ว., ที่มาของ ส.ว. ควรมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน, ประเด็นการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น, ประเด็นการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน, การป้องกันรัฐประหาร, และคำนึงถึงหลักการประชาธิปไตยและสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นหลัก เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศได้อย่างแท้จริง เป็นต้น

จากผลสำรวจของโพลมหาวิทยาศรีปทุมร่วมกับดีโหวตุดนี้ มีความสอดคล้องกันกับผลการสำรวจของโพลอื่นๆ นั่นหมายถึงพรรคเพื่อไทยเองกำลังกลายเป็นแม่อึ่งอ่างที่กำลังพองตัวเพื่อให้มีขนาดใหญ่กว่าแม่วัว เพื่ออวดให้ลูกตัวเองภาคภูมิใจ และเพื่อว่าตนเองทำได้ รอวันเวลาที่ท้องแม่อึ่งอ่างตึงจนขีดสุดและท้องแตกตาย

สิ่งที่แม่อึ่งอ่างยังคงโชคดีอยู่นั้น คือ อสรพิษผู้ล่าอย่างพวกงูเห่ายังคงแย่งรังกันแบบสู้เอาเป็นเอาตาย ถึงขั้นขู่กับจะขับไล่ออกจากรัง โดยที่อสรพิษบางกลุ่มก็พร้อมที่จะออกจากรังมารับรางวัลเพื่อเชียร์แม่อึ่งอ่างให้พองตัวใหญ่มากขึ้น เหมือนกับกองเชียร์อื่นๆ ไม่ว่าภูมิใจไทย พลังประชารัฐ รวมไทยสร้างชาติ ชาติไทยพัฒนา และทั้งกลุ่มเล็กกลุ่มน้อย

วิบากกรรมของแม่อึ่งอ่างยังไม่เพียงแค่เท่านี้ ยังคงตั้งเผชิญกับการย้ายหนีของมวลนที่ไม่พอใจกับการตัดสินใจการจับขั้วรัฐบาลฝ่ายตรงข้าม ด้วยข้ออ้างเป็นรัฐบาลสลายขั้ว เพื่อความปรองดองของคนในชาติ  ซึ่งเป้าหมายของความปรองดอง ดูว่าเพื่อไทยซึ่งเป็นแม่อึ่งอ่างต้องลงทุนมากเกินไปไหมที่ต้องสูญเสียมวลชนไปให้กลุ่มการเมืองที่เกิดใหม่อย่างพรรคก้าวไกล ทั้งที่เป็นพรรคที่ถูกมองว่าขาดวุฒิภาวะ ซึ่งพรรคก้าวไกลกลายเป็นวัวหมุ่มตัวใหม่ที่แม่อึ่งอ่างต้องเบ่งลมให้พอตัวสู้อีกตัว

ในความพยายามที่จะแก้ปัญหาความแตกแยกของคนในชาติ รวมทั้งแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ปากท้องของประชาชน อีกทั้งยังต้องวางแผนยุทธสาสตร์ในกาพัฒนาเพื่อแข่งขั้นกับโลกที่ก้าวไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง รวมทั้งต้องพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ต้องเตรียมคนในทันต่อการพัฒนาและการแข่งขันเพื่อให้มีจุดยืนในแผนที่โลกอย่างมีศักดิ์ศรี อีกทั้งยังต้องเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และการส่งออกลดลงอย่างน่าใจหาย การเปลี่ยนแปลงสมาชิกตัวแทนในการสังเกตุการของกลุ่ม BRICS จากไต้หวันเป็นประเทศจีน รวมทั้งการระมัดระวังผู้นำจิตวิญญาณของพรรคเพื่อไทย โดยเฉพาะ ดร.ทักษิณ ชินวัตร ที่เพิ่งกลับเข้ามายังประเทศไทย ต่อเหตุการณ์เครื่องบินที่นำนายเยฟเกนี ปริโกชิน ผู้นำกลุ่ม Wagnerตกในรัสเซีย ซึ่งหลายฝ่ายสงสัยว่าเป็นการฆาตรกรรม เหล่านี้เป็นโจทย์ที่สำคัญของรัฐบาลเพื่อไทยที่เป็นประหนึ่ง “รัฐบาลอึ่งไข่” ที่ต้องเบ่งตัวเองให้พองตัวแข่งกับสภาพแวดล้อมอื่นๆ ที่มีประชาชนที่เหมือนกับลูกอึ่งที่คอยเชียร์ให้แม่อึ่งอ่างพอตัว ทั้งที่ร้องกระจองอแงที่เห็นแม่อึ่งอ่างพอตัวไม่ได้อย่างที่ใจคิด

รัฐบาลอึ่งไข่ ที่ต้องแบกภาระบ้านเมืองที่หนักอึ้ง จากสภาพบ้านเมืองที่รัฐบาล คสช. และรัฐบาลสืบทอดอำนาจลุง ได้ทิ้งมรดกบาปไว้ให้ โดยที่ลุงก็ยังคงเกาะหลังอยู่เพื่ออาศัยให้อยู่ได้  อีกทั้งแม้ยังไม่ทำอะไร ตั้งรัฐบาล ยังไม่เสร็จ ก็เริ่มส่อถึงความยุ่งยากที่จะเกิดขึ้นในภายภาคหน้าแล้ว รัฐบาลอึ่งไข่คงต้องแบกรับภาระนั้นไปอย่างอดทนและปริปากบ่นไม่ได้ เพราะตนเลือกที่จะเดินในทางนี้ ที่ต้องยอมกลืนเลือดตนเองในการสร้างประวัติศาสตรหน้าใหม่ของเมืองไทย เหมือนดั่งที่เคยมีผลงานปรากฏแล้วเมื่อปี 2540 หวังว่าความตั้งใจ ความอดทน การมีแผนที่ดี มีการกำกับการปฏิบัติตามแผนที่รัดกุม การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ และการสื่อสารสู่สาธารณะที่สร้างความเข้าอกเข้าใจที่ดี จะเป็นปัจจัยสำคัญในการก้าวไปสู่ความสำเร็จในอนาคต ที่จะเปลี่ยนจากรัฐบาลอึ่งไข่ เป็นรัฐบาลพึ่งได้ ที่อยู่ในใจของประาชนต่อไป