Think In Truth

เข้าใจการปกครองก่อนร่วม'รัฐนาวาอึ่งไข่' โดย : หมาเห่าการเมือง



ก่อนที่จะว่าด้วยเรื่องการปกครอง ขอทำความเข้าใจความหมายของคำว่า “อึ่งไข่” ในความเข้าใจของผู้เขียนก่อนนะครับ “อึ่งไข่” ผู้เขียนหมายถึง “อึ่งอ่างที่มีไข่เต็มท้อง ที่ออกมาผสมพันธุ์ ในช่วงฤดูฝนตกใหม่ ถ้าจับคู่ได้ และไข่ออกมาผสมพันธุ์ ก็จะทำให้เกิดลูกออกหลาน กระจายพันธุ์ไปได้ แต่ถ้าถูกจับไปย่างขายที่สถานีรถไฟห้วยทับทันก่อนก็สูญพันธุ์” นั่นคือความหมายที่ผู้เขียนต้องการนิยามสื่อให้เข้าใจในบทเขียนนี้นะครับ ส่วน “อึ่งไข่” ในความหมายของภาษาอีสาน มีสองความหมาย คือ อึ่งอ่างที่มีไข่เต็มท้อง กับ อึ่งอ่างที่พองตัว มีลมเต็มท้องครับ

การปกครอง เป็นหลักการโดยธรรมชาติ ที่สรรพสิ่งทั้งหลายจะอยู่ในโลกใบนี้ได้ จะต้องปรับตัวเพื่อการอยู่รอด ดังนั้นการปกครอง ก็คือการปรับตัวเพื่อการอยู่รอดของสิ่งมีชีวิต ส่วนการเมือง คือความพยายามของสิ่งมีชีวิตที่จะจัดการให้สิ่งมีชีวิตนั้นอยู่รอดในสภาวะที่เป็นอยู่นั่น ผมพยายามที่จะนิยามกว้างๆ ให้ครอบคลุมไปถึงการปกครองภายใต้กฏของธรรมชาตินะครับ

หากจะทำความเข้าใจให้แคบลงในแค่การปกครองมนุษย์ ก็คือความพยายามที่จะจัดการให้มนุษย์ได้อยู่ร่วมกันอย่างเป็นระเบียบเพื่อความอยู่รอดของมนุษย์เอง ดังนั้นการปกครองโดยธรรมชาติ จึงมีระดับชั้น Hierarchy ของสิ่งมีชีวิต ที่จะเข้ามาทำหน้าที่ในการจัดการให้เผ่าพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตนั้นสามารถอยู่ในสภาวะนั้นๆ ได้อย่างปลอดภัย

การปกครองแบบสมบูรณายาสิทธิราชย์ (Absolute Monarchy) จึงเกิดขึ้นในสังคมมนุษย์มาก่อน เพราะเป็นการเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ การเข้าสู่ผู้นำการปกครอง จึงต้องอาศัยกระบวนการทางการเมือง(มาจากการต่อสู้ แข่งขัน แต่ตั้งตามสายเลือด แต่งงาน สถาปนา เลือกตั้ง ฯลฯ)เป็นเครื่องมือในการผลักดันให้ ผู้ปกครองสามารถนำพาผู้ใต้การปกครองดำเนินชีวิตอยู่ในสภาวะนั้นได้อย่างมีความสุข

แนวคิดการปกครองในทางตะวันตก จากการศึกษาจะหลักการขององค์กรลับอิลลูมิเนติ เขาจะจัดเรียงลำดับ Hierarchy คนในสังคมเป็นชั้นๆ ตั้งแต่สามัญชน ขึ้นไปจนถึงชั้นสูงสุด คือผู้นำทางจิตวิญญาณ ซึ่งบางบทความก็จะให้ความหมายเป็นพวกซานตานบ้าง หรือเป็นพวกเหล่าเทพบ้าง โดยไม่ว่าจะเป็นเหล่าเทพ หรือซาน จะมีกลุ่มทุนเป็นเครื่องมือในการปกครอง องค์กรลับนี้ก็จะมีกลุ่มทุน ROTHSCHILD , กลุ่มทุน ROCKEFELLER , กลุ่มทุน JP MORGAN เป็นทุนในการควบคุมกระบวนการผลิตและการตลาด อิทธิพลทางการปกครองขององค์กรลับอิลลูมิเนติ ได้ขยายแนวคิดและเข้าไปมีบทบาทในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ทั่วโลกในชื่อระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ซึ่งหลังจากอิทธิพลทุนนิยมแพร่กระจายออกไป ก็มีแนวคิดแบบสังคมนิยม โดยเฉพาะกลุ่มแนวคิด MARXIST เกิดขึ้น เพื่อต่อต้านแนวคิดทุนนิยม ด้วยหลักปรัชญาแห่งความเสมอภาค และเท่าเทียม กลุ่มแนวคิดการปกครองแบบสังคมนิยมหรือคอมมิวนิสต์สามารถที่จะสร้างแรงบันดาลใจ จากความเข้าใจในทฤษฏี และสามารถก่อเกิดกลุ่มประเทศสังคมนิยมเกิดขึ้นมากมายก็ตาม แต่สิ่งหนึ่งที่กลุ่มประเทศสังคมนิยมทำไม่ได้เลย คือทำให้สังคมมีความเสมอภาคจริงๆ ไม่ได้ เพราะโดยธรรมชาติแล้ว มันเป็นความหลากหลาย  การจัดการของกลุ่มประเทศสังคมนิยม และความเป็นปัจเจก จึงใช้อำนาจเผด็จการเข้ามาจัดการสังคมเพื่อให้มีความเสมอภาค แต่ก็ยังคงทำไม่ได้ตามอุดมการณ์  การปรับตัวของกลุ่มแนวคิดมาร์กซีส จึงปรับตัวมายอมรับในทุนนิยม แต่หากพยายามนำเสนอในลักษณะของความเอื้อเฟื้อ เกื้อกูล ที่เรียกลุ่มแนวคิดนี้วว่า กลุ่ม นีโอมาร์กซีส (NEO MARXIST) แต่กระนั้นประเทศกลุ่มสังคมนิยมเองก็ยังคมใช้อำนาจเผด็จการในการจัดการกับระเบียบทางสังคมอยู่ดี แนวคิดการปกครองที่พยายามฝืนต่อหลักการทางธรรมชาติ อย่างกลุ่ม นีโอมาร์กซีส จึงยังไม่ประสบผลสำเร็จมากนัก และยิ่งเวลานี้กลุ่มประเทศสังคมนิยมทั้งโลก มีระบบเศรษฐกิจที่ถดถอย และอาจจะเกิดปัญหาทางเศรษฐกิจตามมาในไม่ช้า ถึงแม้นว่า กลุ่ม BRICS จะพยายามที่จะระดมความร่วมมือกับประเทศต่างๆ ทั่วโลกในการพัฒนาเศรษฐกิจ แต่ก็ยังไม่สามารถที่จะชะลอการถดถอยทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกได้ จนประเทศอินโดนีเชียปฏิเสธที่จะเข้าร่วมกับกลุ่ม BRICS

ส่วนในประเทศไทยก็มีระบบการปกครองแบบสมบูรณายาสิทธิราย์มานาน มีมาก่อนพุทธกาล ร่องรอยแห่งศาสตร์การปกครอง ที่ถูกบันทึกไว้ในยุคพุทธกาล คือ เรื่องของสวรรค์ 6 ชั้น ของไตรภูมิพระร่วง ยุคทวารวดี ซึ่งแยกออกหลักการปกครองเป็นรูปภูมิ มี 2 ชั้น คือ จาตุมหาราชิกา กับ ชั้นดาวดึงส์ และนามภูมิ มี 4 ชั้น คือ ชั้นยามา ชั้นดุสิตา ชั้นนิมานรดี และชั้นปรนิมานรดี ในชั้นนามภูมิผมจะไม่ขอเอ่ยถึง เพราะจะลึกจนเกินไป จึงของเอ่ยถึงเพียงชั้นรูปภูมิเท่านั้น และในชั้นดาวดึงส์ ซึ่งเป็นสวรรค์ของผู้ละกิเลสแล้วนั้น ก็จะไม่ขอเอ่ยถึง เพราะจะยุ่งยากในการทำความเข้าใจ จึงขออธิบายการปกครองในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ซึ่งเป็นชั้นรูปภูมิของมนุษโลก เท่านั้น

สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา หรือ การปกครองด้วยราชาทั้งสี่(จาตุ แปลว่า สี่  ราชิกา แปลว่า ราชา) ประกอบด้วย

1. ท้าวธัตรัฏฐะ หรือท้าวธตรัฐมหาราช เป็นราชปกครองทางด้านทิศตะวันออกของเขาสิเนรุหรือเขาพระสุเมร ซึ่งเป็นศูนย์รวมของจักรวาล ถ้าในแง่ของการปกครองจะเปรียบเป็นศูนย์รวมอำนาจก็ว่าได้ ธต หมายถึง ธาตุทั้งสี่ ประกอบด้วย ดิน น้ำ ลม ไฟ ผู้ที่จะปกครองเป็นหนึ่งในจาตุมหาราชิกาได้ ต้องปกครองท้าวธตรัฐได้ คือ มีทรัพยากรสมบูรณ์

2. ท้าววิรุฬหกะ หรือ ท้าววิรุฬหกมหาราช เป็นมหาราชปกครองในทิศใต้ของเขาสิเนรุ วิรุฬหก หมายถึงความจริงทั้งสิ่งที่รู้และไม่รู้ ในทางศาสนาพุทธจะมองเป็นเรื่องของธรรม ที่ก่อให้เกิดความเจริญ ดีงาม และละเว้นหรือศีล ในแง่ทางการปกครองนั้นน่าจะหมายถึงกฎเกณฑ์ กติกา สิ่งที่ควรปฏิบัติและไม่ควรปฏิบัติ อาจจะรวมทั้งวัฒนธรรมและกฏหมาย

3. ท้าววิรูปกขะ หรือท้าววิรูปกข์มหาราช เป็นมหาราชปกครองในทางทิศตะวันตกของเขาพระสิเนรุ วิรูปกข์ หมายถึง ความหลากหลายของรูปลักษณ์ต่างๆ ถ้าในแง่ของความเป็นมนุษย์หรือทรัพยากรมนุษย์ บางคนก็เป็นสามัญชนคนธรรมดา บางคนก็เป็นช่าง บองคนเป็นหมอ บางคนเป็นศิลปิน บางคนเป็นผู้รับจ้าง บางคนเป็นผู้จัดการ บางคนเป็นพ่อค้า บางคนเป็นข้าราชการ บางคนเป็นนักกีฬา ฯลฯ ก็จะมีรูปลักษณ์ต่างๆ นานา กันออกไป รูปลักษณ์ของคนกลุ่มหนึ่งที่มีมากเกินไป ก็จะมีผลต่อการดำรงชีวิตของกลุ่มคนกลุ่มนั้นและคนในรูปลักษณ์อื่น หรือกลุ่มคนในรูปลักษณ์หนึ่งมีน้อยเกินไปก็จะมีผลต่อกลุ่มรูปลักษณ์นั้นและกลุ่มรูปลักษณ์อื่น ดังนั้นองค์ประกอบของรูปลักษณ์จึงต้องมีความสมดุล

4. ท้าวเวสสุวรรณ หรือท้าวกุเวร เป็นมหาราชปกครองในทางทิศเหนือ เวสสุ แปลว่าพ่อค้า หรือนักเปลี่ยนแปลงหรือผู้แลกเปลี่ยน ดังนั้นในแง่ของการปกครองครองแล้ว ท้าวเวสสุวรรณ หมายถึงนักการเมืองการปกครอง ที่มีบทบาทในการบริหารจัดการทรัพยากร องค์ความรู้ และบุคคลากร ให้ดำเนินการในการทำงานให้เกิดความเจริญงอกงาม ดังนั้น ท้าวเวสสุวรรณ ก็เปรียบประหนึ่งกับรัฐบาล ที่มีทั้งนักปกครองที่บริหารทั้งทรัพยากร และบุคคล ด้วยศาสตร์ต่างๆ ให้สังคมมีความสงบสุข สันติ สมดุล

ในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกานี้  ถึงแม้ทั้งสี่ทิศจะมีมหาราชปกครองอยู่ทั้งสี่ทิศ แต่ทั้งสี่ทิศก็ยังถูกปกครองโดย ท้าวกุมพัน ที่เปรียบเสมือนกับพระมหากษัตริย์ นั่นเอง ซึ่งคำว่า กุมพัน แปลว่า สีเขียว นั่นในความหมายคงหมายถึงเขาพระสุเมรุ หรือเขาสิเนรุ คำว่าสีเขียว หมายถึงป่า ดังนั้นกฏเกณฑ์ในการปกครองมหาราชทั้งสี่ เป็นกฏแห่งธรรมชาติ หรือนัยอย่างหนึ่งที่ประเทศไทยมี คือ ทศพิธราชธรรม นั่นเอง

ถ้าหากจะมองในเรื่องของศาสตร์แห่งการปกครองแล้ว ศาสตร์การปกครองที่ประเทศไทยก็มี ถือว่ามีความก้าวหน้าที่สุด ที่มีระเบียบปฏิบัติที่เป็นจารีต ประเพณี เป็นบรรทัดฐานทางสัคมที่เราจะรู้กันว่าควรทำอะไร ไม่ควรทำอะไร ต่างคน ต่างมีบทบาท ต่างคนต่างมีหน้าที่ในการปฏิบัติตนในสังคมให้เกิดคุณค่าทั้งตนเอง สังคม และประเทศชาติ

หากจะต้องมีการสังคายนาการปกครองบ้านเมืองเสียใหม่ สังคมไทยควรจะได้นำรากเหง้าที่มีความเข้มแข็งอยู่แล้วมาพัฒนาให้เกิดความวิวัฒน์ ที่สอดคล้องกับยุคสังคม ที่มีเป้าหมายไปสู่การสร้างสมดุลของสังคมโลก เป็นต้นแบบของสังคมแห่งคุณธรรม จริยธรรม ที่โลกกำลังปรับตัวไปสู่สังคมแห่งคุณธรรม(จอห์น ไนซ์ บิซ “Mega Trend”)

หวังว่าสังคมไทยคงไม่ได้มองคนเห็นต่างกลายเป็นกลุ่มคนที่ไม่เป็นที่ต้องการของคนในสังคม คนทุกคนในสังคม มีความสำคัญเหมือนกัน หากแต่มีความแตกต่างกัน การปกครองจะทำให้คนทุกคนเท่ากันไม่ได้ นี่คือสิ่งที่สังคมควรต้องตระหนัก แต่สังคมสามารถสร้างกติกาในการอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข ในความแตกต่างของ Hierarchy ของแต่ละบุคคล การสร้างจารีต ปรเพณี วัฒนธรรม ที่ทุกคน ทุกฝ่ายเข้าใจในบทบาทซึ่งกันและกัน สามารถเอื้อเฟื้ เกื้อกูล สร้างสมดุล ในการอยู่ร่วมกัน อยู่ร่วมกับธรรมชาติ อยู่ร่วมกับโลกได้อย่างสันติ นั่นคือเป้าหมายสูงสุดของการปกครอง หวังว่ารัฐบาล “อึ่งไข่” จะสามารถขยายพันธุ์ให้นำไปสู่ความเจริญวิวัฒนาการอย่างยั่งยืน และไม่แกว่างปากเสียงร้องให้ใครต่อใครเขาจับไปย่าง และวางขายที่สถานี้รถไฟห้วยทับทันก็แล้วกัน