Think In Truth
'โคกหนองนา'แนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน? โดย : หมาเห่าการเมือง
นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เยี่ยมชมบูธนิทรรศการรณรงค์เนื่องในวันดินโลก (World Soil Day 2022) ในวันที่ 16 กันยายน 2566โดยมีนายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย พระอาจารย์วิบูลย์ ธมฺมเตโช เจ้าอาวาสวัดพุทธอุทยานดอยอินทรีย์ นายธนกร โชคชัดชาญพัฒนา ประธานเครือข่ายโคก หนอง นา พัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงราย ร่วมนำเสนอ
โคก หนอง นา คือ "อารยเกษตร" อันเป็นจุดเริ่มต้นของการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ขยายโอกาสให้กับประชาชน เรียกได้ว่าเป็น "แหล่งอาหารของครัวเรือน และเป็น Supermarket กลางชุมชน อีกทั้งเป็นแหล่งสร้างอาหารที่ปลอดภัยให้แผ่นดิน สร้างสุขภาพที่ดีให้กับคนในครอบครัวและหมู่บ้าน เป็นความอยู่รอดปลอดภัยของคนในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งโคก หนอง นา ของจังหวัดเชียงราย มุ่งเน้นหลักการ 3 ไม่ คือ ไม่เผา ไม่ฆ่า ไม่ใช้ยาเคมี และ 1 ห้าม คือ ไม่ผิดสัจจะที่ภาคีเครือข่ายโคก หนอง นา ทุกคนได้ปฏิญาณไว้ต่อหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยโคก หนอง นา เป็นส่วนหนึ่งของการเสริมสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นการสร้างแหล่งอาหารที่มีคุณประโยชน์อย่างยิ่งต่อประชาชนคนทั้งโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเสริมสร้างความอุดมสมบูรณ์ในทรัพยากรดิน จึงนำมาสู่การขับเคลื่อนกิจกรรมเนื่องในวันดินโลก (World Soil Day 2022) ตามแนวคิด "อาหารก่อกำเนิดเกิดจากดิน" ซึ่งได้กำหนดให้ทุกวันที่ 5 ธันวาคม เป็นวันดินโลก ที่ทุกภาคส่วนจะได้ร่วมกันตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของดินที่เป็นแหล่งกำเนิดของสิ่งมีชีวิต และเป็นพื้นที่ของการมีอาหารที่ปลอดภัย อันสอดคล้องเชื่อมโยงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals : SDGs)
เนื่องจากวันที่ 18 -22 ก.ย. นายกฯพร้อมด้วย นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรีและรมว.ต่างประเทศ จะเดินทางเข้าร่วมประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ที่กรุงนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา อาจจะนำเสนอเรื่องนี้ต่อที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ วันอังคารที่ 19 ก.ย.นี้
การที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี จะได้หยิบยกแนวทางโคก หนอง นา ไปนำเสนอต่อที่ประชุมยูเอ็น ที่เชื่อมโยงกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals : SDGs) ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญในการก้าวสู่การนำกระแสของการแก้ปัญหาโลกร้อน และเสริมสร้างความสมดุลที่ยั่งยืนของโลก โดยหลักการแห่งความสมดุลในการอยู่ร่วมกับคนทั้งโลกใบนี้อย่างยั่งยืนได้ จำเป็นต้องนำเสนอในทิศทางของการแก้ปัญหาของโลก ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ หากแต่ต้องไม่ทำเพียงแค่รูปแบบ คือการนำเสนอและปฏิบัติการเพียงแค่สร้างภาพลักษณ์อวดโลกให้เห็น โดยเนื้อในเป็นเพียงรูปแบบที่ไม่ได้ก่อประโยชน์แบบองค์รวมที่แท้จริง ซึ่งจะเป็นเพียงการด้อยค่าของหลักการที่ดีของแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน และกลายเป็นขี้ปากที่ใครๆ เอาสิ่งเหล่านี้ไปด้อยค่า เพียงเพื่อดิสเครดิตผู้ที่กำลังดำเนินการ เลยกลายเป็นว่า สิ่งดีๆ ที่เป็นคุณูปการในการพัฒนาอย่างยั่งยืนในทุกมิติ เป็นตัวประกันเพื่อทำลายซึ่งกันและกันเพื่อหวังผลอย่างอื่น เช่น หวังผลในทางการเมือง ดังนั้น รัฐบาลเองจำเป็นต้องสื่อสารการเมืองอย่างมีคุณภาพภายใต้เนื้อหาที่นำเสนอด้านคุณค่า มากกว่าบุญคุณ เพื่อทำความเข้าใจกับสาธารณะในวงกว้าง ก็จะขอนำเสนอหลักการ โคก หนอง นา คร่าวๆ เพื่อเป็นแนวทางในการนำเสนอแนวทางของรัฐบาลในการกำหนดนโยบายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ต่อไป
หลักการโคกหนองนา คือ การออกแบบพื้นที่ทางการเกษตรอย่างยั่งยืน โดยผสมผสานเกษตรทฤษฎีใหม่เข้ากับภูมิปัญญาพื้นบ้าน โดยยึดหลักธรรมชาติเป็นหลัก ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 3 ส่วน คือ
- โคก เป็นพื้นที่สูงสำหรับปลูกป่า ปลูกพืชผัก ปลูกที่อยู่อาศัย บนโคกปลูก "ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง" ตามแนวทางพระราชดำริ ประกอบด้วย
- ไม้ยืนต้น ที่ให้ร่มเงาและผลผลิต เช่น ไม้สัก ไม้ยางพารา ไม้มะม่วง
- ไม้ผล ที่ให้ผลผลิต เช่น มะม่วง มะพร้าว ส้ม
- ไม้ไผ่ ที่ให้ผลผลิตและใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เช่น หน่อไม้ ใบไผ่ ไม้ไผ่
- หนอง เป็นพื้นที่น้ำขังสำหรับกักเก็บน้ำ ใช้ในการชลประทาน เป็นแหล่งน้ำสำหรับสัตว์น้ำและพืชน้ำ
- นา เป็นพื้นที่สำหรับทำนาและปลูกข้าว
หลักการโคกหนองนา มีประโยชน์มากมาย ดังนี้
- ช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้ง โคกหนองนาช่วยกักเก็บน้ำฝนไว้ใช้ในฤดูแล้ง และช่วยระบายน้ำส่วนเกินออกไปในฤดูฝน
- ช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศ ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียวและดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หนองนาเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำและพืชน้ำ
- ช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร โคกหนองนาช่วยให้เกษตรกรสามารถปลูกพืชได้หลากหลายชนิด ทั้งพืชไร่ พืชสวน และพืชน้ำ
- ช่วยสร้างความมั่นคงทางอาหาร โคกหนองนาช่วยให้เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น
โคกหนองนาเป็นโมเดลการเกษตรที่ยั่งยืน เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศของทุกพื้นที่ในโลกใบนี้ สามารถนำไปใช้ในพื้นที่ต่าง ๆ ได้ตามความเหมาะสม ภายใต้องค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่ดำรงชีวิตภายใต้ความสมดุลของธรรมชาติ เช่นกรณีตัวอย่างของคนที่ดำรงชีวิตอยู่กับทะเล ไม่มีโคก แล้วจะทำอย่างไร ไม่มีนาแล้วจะเอาข้าวที่ไหนกิน องค์ความรู้ในการดำรงชีวิตอยู่กับทะเล อย่างสมดุลและยั่งยืน มีมานานพอๆ กับการดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับป่า เช่นชาวมอร์แกน ซึ่งเราก็สามารถถอดบทเรียน ที่เป็นภูมิปัญญาของชาวมอร์แกนได้ว่า จุดสมดุลในการใช้ชีวิต เป็นอย่างไร องค์ความรู้ของการใช้ชีวิตที่สมดุล และยั่งยืนของชาวมอร์แกน คือ หลักของแนวทาง โคก หนอง นา ซึ่งโคก เขาอาจะมองไปที่ป่าายเลน หนองเขามีความชัดเจนว่ามันคือทะเล และนาของชาวมอร์แกน คือการแลกเปลี่ยน เช่น เอาปลาไปแลกเป็นข้าว อาหาร เครื่องดื่ม เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโลก แต่การใช้ชีวิตของชาวมอร์แกน ไม่ได้สะสมจนเกินความจะเป็น เขายังอยู่กับธรรมชาติทางทะเลได้อย่างสมดุลไม่ทำลาย โดยที่ใครๆ ทั่วโลกสามารถมาเที่ยวชม เยี่ยมเยือน เสพความสุขแห่งวิถีมอร์แกน ได้ โดยที่ธรรมชาติตรงนั้นไม่ถูกทำลาย อีกทั้งยังต้อนรับผู้มาเยือนได้อย่างมีความสุขตามอัตภาพ ที่เต็มไปด้วยมิตรภาพ เคารพ เกื้อกูล เอื้ออาทร ไม่แย่งชิง อย่างที่เป็นมาก่อน ที่เห็นแหล่งที่อยู่ของชาวเลสวย ก็ทุ่มเงินซื้อที่ดิน ขับไล่ชาวเล สร้างแหล่งท่องเที่ยว ให้เกิดรายได้กับผู้ประกอบการ แต่ปล่อยให้ชาวเล เผชิญปัญหากับการปรับตัวเพื่อดำรงชีวิต โดยที่พื้นที่ที่ถูกแย่งชิงไปถูกทำลายธรรมาติและความอุดมสมบูรณ์ให้ย่ำแย่ลงไป
โคกหนองนา จึงไม่ใช่เป็นเพียงแค่รูปแบบ ที่จะเอาไปนำเสนอให้ดูเท่ห์ ในสายตาของชาวโลกที่กำลังโหยหาคุณธรรม และความสมดุลทางธรรมชาติ แต่มันเป็นแนวปฏิบัติที่นำไปสู่การดำรงชีวิตภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่เป็นคำตอบเดียวในการนำความสมดุลทางธรรมชาติ และเป็นหนทางเดียวที่จะพัฒนาโลกใบนี้ให้สมดุลอย่างยั่งยืนตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals : SDGs) ในทุกมิติ ดังนี้
- มิติเศรษฐกิจ โคกหนองนาช่วยเพิ่มรายได้และสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับเกษตรกร เกษตรกรสามารถปลูกพืชได้หลากหลายชนิด ทั้งพืชไร่ พืชสวน และพืชน้ำ ช่วยให้เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น
- มิติสังคม โคกหนองนาช่วยสร้างความมั่นคงและยกระดับความเป็นอยู่ของเกษตรกร เกษตรกรมีรายได้ที่มั่นคง มีที่อยู่อาศัยที่ปลอดภัย มีน้ำใช้อุปโภคบริโภคและการเกษตรอย่างเพียงพอ
- มิติสิ่งแวดล้อม โคกหนองนาช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้ง ช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศ และช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
โคกหนองนาเป็นโมเดลการพัฒนาที่ยั่งยืนที่คำนึงถึงทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ของสหประชาชาติ ดังนี้
- เป้าหมาย 1: การขจัดความยากจน โคกหนองนาช่วยเพิ่มรายได้และสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับเกษตรกร ทำให้เกษตรกรหลุดพ้นจากความยากจน
- เป้าหมาย 2: การยุติความหิวโหย โคกหนองนาช่วยให้เกษตรกรสามารถปลูกพืชได้หลากหลายชนิด ทำให้เกษตรกรมีอาหารเพียงพอบริโภค
- เป้าหมาย 6: น้ำสะอาดและสุขอนามัย โคกหนองนาช่วยกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง ทำให้เกษตรกรมีน้ำใช้อุปโภคบริโภคและการเกษตรอย่างเพียงพอ
- เป้าหมาย 13: การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โคกหนองนาช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้ง ช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศ และช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
โคกหนองนาเป็นโมเดลการพัฒนาที่ยั่งยืนที่สามารถทำได้จริงและสามารถประยุกต์ใช้ในพื้นที่ต่าง ๆ ได้ตามความเหมาะสม จึงเป็นแนวทางที่ควรส่งเสริมให้เกษตรกรนำไปประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
โคกหนองนา ยังสามารถบูรณาการไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนได้ โดย โคกหนองนา ไม่ได้เป็นการพัฒนาเพียงแค่พื้นฐานของการดำรงชีวิตเท่านั้น แต่โคกหนองนา ยังเป็นหลักในการสร้างผลิตผลที่เป็นวัตถุดิบ(Raw Material) ในการพัฒนาอุตสาหกรรมในสาขาต่างๆ ได้อย่างกว้างขวาง หากมีการบริหารจัดการที่ดี มุ่งสู่การนำประชาชนไปสูขความสุขสมบูรณ์อย่างยั่งยืน ประเทศก็จะก้าวพ้นความเสี่ยงต่อการเกิดวิกฤติ ซึ่งผมเองเคยเขียนนำเสนอไว้บ้างแล้ว เกี่ยวกับ “ความจริงการปกครอง” การบริหารบ้านเมืองตามแนวพุทธศาสนา ที่ว่าด้วย สวรรค์ชั้น จาตุมหาราชิกา
สิ่งที่สำคัญในการส่งเสริมหลักการปฏิบัติตามแนวโคกหนองนา ที่รัฐพึงต้องดำเนินการคือ ควรมุ่งเน้นไปที่การสร้างความตระหนักรู้และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโคกหนองนาให้กับเกษตรกรและประชาชนทั่วไป โดยอาจดำเนินการผ่านช่องทางต่างๆ ดังนี้
- การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ภาครัฐควรเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับโคกหนองนาผ่านช่องทางต่างๆ เช่น สื่อมวลชน เว็บไซต์ โซเชียลมีเดีย เป็นต้น เพื่อให้เกษตรกรและประชาชนทั่วไปได้รับรู้และเข้าใจถึงประโยชน์ของโคกหนองนา
- การจัดให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถึงแนวทางการดำเนินการ และการปฏิบัติ รวมทั้งวิธีคิด ในการดำเนินการตามหลักโคกหนองนา ที่ใช้ในแต่ละพื้นที่ ซึ่งหลักการก็อาจจะคล้ายคลึงกัน แต่การจัดการของแต่ละพื้นที่ก็จะแตกต่างกันออกไป ตามภูมิศาสตรของแต่ละพื้นที่
- การให้ความช่วยเหลือทางการเงิน ภาครัฐควรให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่เกษตรกรที่สนใจนำโคกหนองนาไปประยุกต์ใช้ โดยอาจให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ หรือให้ความช่วยเหลือด้านวัสดุอุปกรณ์ เป็นต้น
- การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่อาจจะส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบ FOOD FUN FAIR AND FRESH หรืออะไรก็แล้วแต่ ที่ทำให้เกิดการท่องเที่ยว เพื่อการแลกเปลี่ยนแนวคิดเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยใช้ชุมชนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา
การนำเสนอต่อสาธารณะ ในประเด็นโคกหนองนา ไม่ได้ลงในรายละเอียด เพราะถ้าจะเขียนในรายละเอียด คงเบื่อที่จะอ่านกัน จึงของนำเสนอคร่าวๆ เป็นแนวทาง พอให้ภาพที่นำเสนอได้เห็นเป็นเค้าโครง ที่จะต่อยอดทางความคิดไปสู่การพัฒนาในอีกหลายๆ รูปแบบ แต่ที่สำคัญ คือการพัฒนาในทุกๆ รูปแบบ ไม่ใช่เป็นเพียงแค่รูปแบบ แต่มันคือแนวคิดและอุดมการในการพัฒนา ที่พัฒนาทั้งมิติทางด้านเศรษฐกิจ ทางด้านสังคม และทางด้านสิ่งแวดล้อม หวังว่ารัฐบาลคงจะใช้กิจกรรมโคกหนองนา ได้ส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน ที่บูรณาการการพัฒนาในทุกๆ ด้านอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง จากการแย่งชิง แต่เกิดการเกื้อกูล จากความเอื้ออาทร และเกิดความยั่งยืนที่สมดุลในทุกๆ ด้าน