Think In Truth
บันทึกประวัติศาสตร์ในบริบท'ที่เข้าใจผิด' โดย ฟ้อนต์ สีดำ
หลังจากอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมจากองค์การยูเนสโก เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 ในฐานะที่เป็น "แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมที่สำคัญแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"
ก็เกิดกระแสดรามาของประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาก โดยเฉพาะประเพณีสงกรานต์ ที่จ่อจะขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม ซึ่งประเทศเพื่อนบ้านก็พยายามที่จะทำหนังสือคัดค้านการขึ้นทะเบียนทรดกโลกของไทย
ประเด็นการคัดค้านของประเทศเพื่อนบ้าน หรือการดรามาและเคลมวัฒนธรรมมันเป็นสาระรอง ซึ่งสิ่งหนึ่งที่ประเทศไทยจะต้องทำ คือการถ่ายทอดความรู้ที่ถูกต้อง แม้แต่ประเด็นทางประวัติของเมืองศรีเทพเอง ยังมีหลายคน นักวิชาการหลายท่าน พยายามที่จะเป็นกูรูอธิบายเป็นตุเป็นตะ ว่าศรีเทพคือแหล่งอริยธรรมทราวดี ซึ่งเป็นโคตรเหง่าทางวัฒนธรรมของไทย ซึ่งไม่ใช่วัฒนธรรมเขมร ไม่ใช่วัฒนธรรมขอม บางคนบอกถึงเป็นวัฒนธรรมของมอญ และศรีเทพเป็นเมืองของมอญ และชาวมอญ คือบรรพบุรุษของไทย บางคนก็บอกว่า “คนไทย คือ “ศรีเทพ”
การสื่อองค์ความรู้แบบขาดตอนตัดตอนนำเสนอโดยไม่สร้างความเข้าใจอย่างองค์รวม ก็จะทำให้สังคมสรุปโดยความเข้าใจที่ผิดๆ แล้วเกิดวิวาทะทางประวัติศาสตร์ที่พยายามสื่อและความเข้าใจไม่ตรงกัน
ก็อยากจะทำความเข้าใจอย่างนี้ว่า คือว่า “ไทย” เป็นเป็นภาษาไทกระได หรือภาษาลาว ซึ่งที่จริงแล้วก็คือรากฐานภาษาไทยกลางที่บัญญัติขึ้นในสมัยรักาลที่ 5 ในยุคการปฏิวัติทางวัฒนธรรมมานี่เอง “ไท” ที่มา “ย” มาเติมภายหลังเพื่อให้แตกต่าง มันก็มาจากการออกเสียงว่า “ไท” นั่นแหละ “ไท” ในความหมายเดิม หมายถึงพวก กลุ่ม เหล่า จะเป็นชาติพันธุ์เดียวหรือหลายๆชาติพันธุ์ก็ได้ ที่ยึดถือสิ่งไดสิ่งหนึ่งเหมือนกัน ก็จะเรียกว่า “ไท เดียวกัน” เช่น “ไทยพุทธ” , “ไทยอิสลาม” , “ไทยเหนือ” , “ไทยขอนแก่น” ฯลฯ
ขออภัยที่ยกข้อความของคุณ “เปลว สีเงิน” มาอ้างว่า “คนไทย คือ ศรีเทพ” ผมเข้าใจว่าท่านคงได้รับข้อมูลมาจากนักวิชาการ นักโบราณคดีของกรรมศิลป์ฯ บ้าง หรือไม่ก็จากนักวิชาการอื่นบ้าง โดยขาดความเข้าใจที่ลึกซึ้งเลยเหมารวมแบบขาดรายละเอียด เพราะคนไทยบางกลุ่ม อาจจะเป็น “ศรีลังกาสุกะ” ก็ได้ หรืออาจจะเป็น “ศรีอินทรปัตย์” ก็ได้ หรือเป็น ศรีอื่นๆ ซึ่งอยู่ที่ความนิยมของกลุ่มชนเมืองนั้นๆ เช่น เมืองเวียงจันทร์ ก็จะเป็น “ศรีเมืองจันท์” ที่นครพนมก็จะเป็น “ศรีรุกขนคร” เป็นต้น
คำว่า “ศรี” หมายถึง เกียรติ ที่ได้รับการยกย่อง เนื่องจากการสะสมบารมี ความน่าเชื่อถือ หรืออิทธิพลที่ครอบงำความคิดของกลุ่มชนอยู่
“ไทย” คุณ สุจิตต์ วงศ์เทศ ได้ให้ความหมายคำว่าไทย แปลว่า “คน” แต่ก็ไม่ได้หมายถึงชาติพันธุ์เพียงอย่างเดียว แต่หมายถึงกลุ่มคน ที่อาจจะรวมหลายๆ ชาติพันธุ์ ก็ได้ ซึ่งอาจะเคารพนับถือหรือทำอะไรสักอย่าง สิ่งไดสิ่งหนึ่งที่เหมือนกัน
“เทพ” หรือพระผู้เป็นเจ้า หรืออะไรก็แล้วแต่ที่กลุ่มชนเคารพนับถือสูงสุด “เทพ” ที่เป็นพื้นฐานหลัก ในประเทศไทย มีแค่สององค์ คือ พระอินทร์ ซึ่งนักวิชาการได้ให้กลุ่มคนที่นับถือพระอินทร์ เป็นเทพสูงสุด คือกลุ่มที่นับถือศาสนาผี และเทพอีกองค์ คือ พระพรหม ซึ่งเป็นเทพสูงสุดของศาสนาพราหมณ์(ไม่ใช่พราหมณ์ฮินดูแต่เป็นพราหมณ์สยาม ที่มีนักบวชเป็นฤาษี ชีไพร ปะขาว)
เขาถมอรัตน์ ข้อความเหล่านี้ก้เป็นการเขียนขึ้นมาใหม่ ตามความเข้าใจของคนเขียน แต่อาจจะไม่ตรงกับคนที่ตั้งชื่อ เขาถมอรัตน์ ตามความเข้าใจของผมเอง คือเป็นเขาที่เป็นที่หมายตาในการเดินทางไปยังเมืองศรีเทพ ซึ่งเดิมอาจจะไม่ใช่ชื่อ “เมืองศรีเทพ” แต่อาจจะชื่อตามเขา ถมอรัตน์ ซึ่งเพี้ยนมาจาก “ปฐมรัฐ” หรือ “เมืองเอก”
ส่วนพราหมณ์ฮินดู เข้ามาเคลมศาสนาพราหมณ์สยาม หลังพุทธกาล ประมาณพุทธศตวรรษที่ 10 มานี่เอง โดยผ่านเข้ามาจากอินเดียไต้ที่มีศูนย์กลางจากเมืองทมิฬนาดูที่เราเรียกว่าชาวทมิฬนั่นแหละ เข้ามาทางเมืองเมาละแม่งหรือรัฐมอญแต่มอญรับไม่ได้ ก็ขับออกจากมอญจึงเข้ามายังอินโดนิเชีย ทำลายศาสนาพุทธในอินโดนเซีย แล้วขยายเข้ามายังเวียดนามที่เรียกกันว่าอาณาจักรจามปา
หลักฐานที่ค้นพบในเวลาปัจจุบัน จึงมีทั้งหลักฐานของเทพที่เป็นอินทร์ พรหม พุทธ และสัญลักษณ์ที่เป็นเทพแห่งฮินดู แต่ผู้เขียนก็มักจะเน้นหนักไปที่อริยธรรมฮินดู เพราะเชื่อว่า ขอมหรือพราหมณ์สยาม คือ พราหมณ์ฮินดู ซึ่งมันไม่น่าใช่ ถ้าศึกษาจากวรรณคดีรามยณะหรือรามเกียรติ์ ดูจากเส้นทางเดินทัพ ทำไมพระรามจึงเดินทัพไปรบที่ลังกาหรืออินเดีย การเขียนวรรณกรรม ถ้าเป็นชาวอินเดียเป็นผู้เขียนหรือแต่งรามเกียรติ์ ทำไมถึงเขียนให้ทศกัณฑ์ซึ่งอยู่ที่ลงกาเป็นผู้ร้าย การทำลายทศกัณฑ์ต้องทำลายหัวใจ แล้วผู้เขียนต้องการสื่ออะไร หลายอย่างที่เราต้องตีความโดยไม่เออออตามการครอบงำทางอิทธิพล แล้วทำให้เกิดการบิดเบือนทางวิชาการ
เทพองค์อินทร์ และพรหมเทพ เป็นเทพกำเนิดแห่งศาสนาพุทธ โดยให้เราได้ศึกษาจากบทสวดมนต์ในพุทธสาสนา จะเอ่ยถึงพระพรหม กับพระอินทร์ เท่านั้น หรือไปดูการจัดตั้งรูปปั้นเข้าสู่พระธาตุพนม จะเห็นการจัดแถวของเทพเป็นสองแถว แถวหนึ่งเป็นสีเหลืองหมายถึงพระพรหม แถวหนึ่งเป็นสีเขียว หมายถึงพระอินทร์ และที่บนหน้าบันประตูโขงทางเข้า เป็นรูปปั้นของพราหมณ์ซึ่งเป็นนักบวชในในศาสนาพระพรหมกวักมือเรียกคนเข้าไปบูชาพระพุทธศาสนา
อยากเรียนถึงท่านเสริมศักดิ์ พงษ์พาณิช รัฐมนตรีกระทรวงวัมนธรรม ได้เรียบเรียงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ให้เกิดสาระที่สอดคล้องกับความเป็นจริง และเผยแพร่สาระด้วยซอฟต์พาวเวอร์ที่ท่านกำลังดำเนินการ สร้างความเข้าใจ ในความจริงให้ปรากฏ โดยข้อมูลเชิงประจักษ์ และข้อมูลตีความที่เป็นเหตุเป็นผล ให้สังคมโลกได้เข้าใจความจริงและป้องกันการเคลมวัฒนธรรมแบบโง่ๆ ที่แต่งเรื่องขึ้นมาเพื่อลวงโลก ต่อไป