Think In Truth
'รามเกียรติ์'ประพันธ์ขึ้นมาด้วยการใด??.. โดย : ฟอนต์ สีดำ
รามยณะ ที่คนไทยรับรู้กันโดยทั่วไปคือ รามเกียรติ์ มีการสืบทอดเรื่องราวของรามเกียรติ์ผ่านศิลปะหนังสัตว์ใหญ่ จำพวกหนังวัวหรือหนังควาย(ชาวบ้านเรียกว่า”หนังบักตื้อ”) มาเป็นเวลานานเท่าได ไม่สามารถระบุได้ แต่ก็เชื่อว่าเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1500 ปี ศิลปะการถ่ายทอดเรื่องราวของรามเกียรติ์ น่าจะมาจากการป้องกันการทำลายวัฒนธรรมจากการล่าและรุกราน ของชาวทมิฬ(มีหลักฐานการเผาทำลายหลายแหล่ง เช่น โบราณสถานศรีมหาโพธิ์) ที่ชาวทมิฬรุกรานถึงที่ได้ก็จะทำการเผา และทำลาย
ซึ่งการถ่ายทอดความรู้ เรื่องราวในอดีต จึงถูกถ่ายทอดจากคนหนึ่งสู่อีกคนหนึ่ง ด้วยศิลปะ วัฒนธรรม จากความรู้ภายในที่ไม่สามารถทำลายได้ เช่นศิลปะหมอลำ เป็นการถ่ายทอดเรื่องราวของพระพุทธศาสนา และหลักปรัชญาในการใช้ชีวิต ส่วนการถ่ายทอดเรื่องราวผ่านหนังตะลุงจะถ่ายทอดมหากาพย์รามยณะหรือรามเกียรติ์ ซึ่งศิลปะวัฒนธรรมทั้งสองอย่างนี้ กำเนิดมาจากกลุ่มที่นับถือศาสนาผีหรือศาสนาพระอินทร์ ที่หลอมรวมกับศาสนาพราหมณ์(สยาม)หรือศาสนาพระพรหม กำเนิดศาสนาลูกคือศาสนาพุทธ ถิ่นกำเนิดของศิลปะวัฒนธรรมในการถ่ายทอดเรื่องราวทั้งสองอย่างนี้น่าจะมาจากลุ่มแม่น้ำโขง
วรรณกรรมรามยณะ ประพันธ์ขึ้นมามีจุดประสงค์ใด เค้าโครงของเรื่องเป็นอย่างไร และตีความได้อย่างไร สิ่งเหล่านี้ คือประเด็นที่ควรต้องศึกษา
มีนักวิชาการท่านหนึ่ง ศ.ดร.สุรพงษ์ โสธนะเสถียร ได้ทำการวิจัยด้วยการตีความเรื่องรามเกียรติ์ ในเวอร์ชั่นของพระราชนิพนธ์ของพระมหากษัตริย์ไทย ก็จะตีความในมุมของการเมืองในพระราชสำนัก ซึ่งเป็นบริบทที่แคบเกินไป ถ้าเปรียบเทียบกับขอบเขตของเรื่องราวที่อยู่ในวรรณกรรมรามเกียรติ์ ที่โยงจากอโยธยา ไปจนถึงเมืองลงการหรือศรีลังกา
ในความเห็นของผู้เขียนเอง มองว่า รามยณะ เป็นวรรณกรรมเชิงการเมืองระหว่างอาณาจักร ที่มีการต่อสู้กับระหว่างศาสนาฮินดู กับศาสนาพราหมณ์(สยาม) ซึ่งเป็นศาสนารับหน้าในการปกป้องพระพุทธศาสนา ร่วมกับศาสนาผีที่อาสารับงานอุปฐาก พระพุทธศาสนา
จากการศึกษาข้อมูลในวีกิพีเดีย พบว่า รามยณะเป็นวรรณกรรมที่มี 7 กาณฑะ หรือกัณฑ์ หรือ 7 ตอน ประกอบด้วย พาลกัณฑ์ อโยธยากัณฑ์ อรัณยกัณฑ์ กีษกินธกัณฑ์ สุนทรกัณฑ์ ยุทธกัณฑ์ อุตตรกัณฑ์ แต่นักวิชาการรุ่นใหม่กลับมองว่า รามยณะดั้งเดิม มีเพียง อโยธยากัณฑ์ อรัณยกัณฑ์ กีษกินธกัณฑ์ สุนทรกัณฑ์ ยุทธกัณฑ์ เท่านั้น นั่นหมายความว่า พาลกัณฑ์ กับ อุตตรกัณฑ์ เป็นกัณฑ์ที่แต่ขึ้นมาใหม่ เพื่อเคลมเรื่องเดิมซึ่งไม่มีเรื่องเกี่ยวกับสวรรค์ พระนารายณ์ และยักษ์นนทก เลย การเขียนขึ้นมาครอบเรื่องเดิม เพื่อสร้างความเชื่อในพระนารายณ์ที่อิทธิพลของอังกอร์ที่ถูกปกครองโดยศาสนาฮินดู หรือจากนักบวชฮินดูนามโกณฑัณยะ(พระทอง) อภิเษกกับกษัตริย์ในศาสนาพระอิทร์ที่ปกครองอังกอร์ในนามพระนางโสมาราชินี(นางนาค) กำลังขยายอาณาจักรขึ้นไปถึงสกลนคร หริภูญชัย เมืองสิงห์ และสุพรรณูมิ แล้วเสื่อมลง
โดยศึกษาโดยเค้าโครงเรื่องแล้ว ผู้เขียนมองว่า บทวรรณกรรมเรื่องรามเกียรติ์นี้ถูกประพันธ์ขึ้น โดยมีจุดประสงค์เพื่อต่อต้านการรุกรานของกลุ่มฮินดู ที่มีศูนย์กลางของการแผ่อิทธิพลที่เมืองทมิฬนาดู จึงมีบทประพันธ์เพียงแค่ 5 ตอน ที่เริ่มจากอโยธยากัณฑ์ และจบที่ ยุทธภัณฑ์กัณฑ์ โดยเรื่องกำเนิดเริ่มต้นจากอโยธยา หรืออธุทธยา และไปจบเรื่องที่ ลงกาหรือศรีลังกา เส้นทางการเดินทัพ คือเดินทัพจากสุวรรณภูมิ ไปยังอินเดีย ซึ่งมันขัดธรรมชาติที่เอกสารระบุว่า ผู้ประพันธ์เป็นชาวอินเดีย นามฤาษีวามิกิ เพราะผู้ประพันธ์เป็นนชาติได มักเขียนให้ชนชาติตนเองโดดเด่นกว่า หรือไม่เป็นผู้ร้าย
ในเรื่องพระรามใช้ทหารลิงเป็นกองทัพ และสร้างสะพานพระราม (Rama Setu) แล้วนักวิชาการก็พยายามแสวงหามนุษย์วานร มีจริง ซึ่งอาจจะมีจริง แต่ก็คงไม่น่าจะมีความรู้ความสามารถที่จะสร้างถนนจากแผ่นดินใหญ่ไปยังเกาะลังกา ที่มีความยาวถึง 50 กิโลเมตร เพราะตามหลักธรณีวิทยา พบว่า แผ่นโลกมีการเคลื่อนย้ายอยู่ตลอดเวลา และบริเวณอ่าวเบกอล เป็นการชนกันระหว่างแผ่นโลกออสเตรเลีย กับแผ่นยูโรเซีย แผ่นออสเตรเลียมุดเข้าไปอยู่ใต้แผ่นยูโรเซียดันขึ้นสูงกลายเป็นภูเขาหิมาลัย ดังนั้นเกาะศรีลังกาเดินน่าจะเป็นแผ่นดินเดียวกันกับอินเดีย เมื่อแผ่นโลกชนกัน เกาะศรีลังกาจึงแยกตัวออกมา ถนนที่เคยสร้างในการเดินทางไปมาหาสู่ ระหว่างทมิฬนาดูกับศรีลังกาจึงถูกดีงยืดออกและจมลงไปในทะเล ดังนั้นทหารวานรของพระราม น่าจะหมายถึงชนชั้นระดับผู้ใต้ปกครองเป็นผู้ที่มีเสรีภาพ หรือสังคมแห่งประชาธิปไตยแบบชาวพุทธ ที่ร่วมทัพด้วยความสมัครใจ มากกว่า
ทศกัณฑ์ เป็นยักษ์ที่ฆ่าไม่ตาย ถ้าจะฆ่าทศกัณฑ์ได้ ต้องทำลายหัวใจของทศกัณฑ์ ผู้ประพันธ์มีจุดประสงค์ในการประพันธ์เรื่องการฆ่าทศกัณฑ์ ที่ไม่ได้ฆ่าด้วยวิธีทั่วไป เพื่ออะไร ลองพิจารณาศิลปะการวาดรูปใบหน้าทศกัณฑ์ จะเหมือนกับใบหน้าผู้ชายชาวทมิฬ ยิ่งเวลายิ้มยิ่งเหมือน นั่นคือการสร้างอัตตลักษณ์ของจุดประสงค์ของเรื่องที่ต้องให้เป็นผู้ร้าย ที่ต้องต่อต้าน การนำพาเข้ามาขยายอิทธิพลในดินแดนสุวรรณภูมิที่คนในภูมิภาคนี้ไม่ยอมรับ คือศาสนาฮินดู ที่มีวิธีปฏิบัติทางศาสนาที่โหดร้าย เช่น การบูชายันต์ เป็นการสอนคนให้เร่งเสพกาม มุ่งเสพสุขในโลกีย์ ซึ่งขัดต่อศาสนาพุทธที่มุ่งสอนในการทำลายกิเลส ดังนั้นหัวใจของทศกัณฑ์จึงหมายถึง หลักแนวคิดของฮินดู นั่นเอง
ในความเห็นของผู้เขียนมองว่า ผู้ประพันธ์วรรณกรรมรามเกียรติ์ ไม่ใช่ชาวอินเดีย แต่เป็นคนไทยที่นับถือพุทธศาสนา ที่มีความคิดต่อต้านฮินดูที่แผ่กระจายมาจากเมืองทมิฬนาดู ในอินเดีย กลุ่มต่อต้านฮินดูมีกระบวนการต่อต้านไปควบคู่กับการถ่ายทอดความรู้ ความคิดนี้ด้วยการแสดงหนังตะลุงหรือหนังบักตื้อ คือ การใส่ความคิดให้กับคนไทยว่า “ถ้าเจองู กับเจอแขกให้ตีแขกก่อน” ซึ่งความคิดนี้ได้จางลง เมื่อพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้มีพระกระแสรับสั่งให้ดำเนินโยบาย “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างลัทธิการปกครอง และปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ถึงสามจังหวัดแดนภาคใต้ส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาอิสลาม แต่ก็ทำให้ผู้นับถือศาสนาฮินดูพลอยได้รับประโยชน์กับนโยบายนี้ด้วย
ต้องขออภัยกับบทความที่แสดงออกทางความคิดที่พากพิงถึงส่วนใดส่วนหนึ่ง ที่อาจจะกระทบต่อความสัมพันธ์ ซึ่งผู้เขียน ไม่ได้มีเจตนาในการที่จะสร้างความขัดแย้งจากการแสดงออกเชิงเหตุผลในเรื่องราวของอดีต หากแต่เป็นการมองและให้เหตุผลเพื่อให้เกิดการศึกษาให้เกิดความจริงในอดีต เพราะผู้เขียนเชื่อว่า ถ้าคนเรารู้เรื่องราวในอดีตที่ถูกต้อง และจะทำให้เราเข้าใจปัจจุบัน และจะสามารถวางแผน ร่วมกันปฏิบัติให้เกิดความสุข สันติภาพอย่างนิรันดร์ ในอนาคต เพียงแค่เรายอมรับความจริง และร่วมกันปรับวิธีการดำรงชีวิต ปรับพฤติกรรมการแสดงออกต่อกัน ซึ่งจะเกิดขึ้นจริงในอนาคต