Think In Truth

เสถียรภาพทางการเงิน อาวุธขย่มรัฐบาล โดย : หมาเห่าการเมือง



ในโลกแห่งประชาธิปไตย เป็นโลกของการทำงานบนพื้นฐานแห่งอุปสรรคและการวิจารณ์ ดังนั้นผลงานจากการทำงานบนโลกประชาธิปไตย จึงถูกปิดช่องโหว่แห่งความผิดพลาด ผลงานที่ออกจากมาจากการทำงานภายใต้ระบอบประาธิปไตย จะเต็มเปรี่ยมไปด้วยคุณภาพ ตอบสนองทิศทางการพัฒนาอย่างถูกทาง

รัฐบาลเศรษฐา1 กำลังก้าวสู้ความท้าทายในการทำงานอย่างหนัก จากการดำเนินการนโยบาย Policy Implement ว่าด้วยเรื่องการแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท ซึ่งนโยบายการแจกเงิน กำลังถูกตรวจสอบจากฝ่ายค้าน และสาธารณะ(Public Inspection)อย่างหนัก ท่ามกลางการแข่งขันและดีสเครดิตค่าของเงินจากสกุลเงินต่างๆ ทั่วโลก

จากหนังสือพิมพ์ Workpointtoday ออนไลน์ รายงานว่า สำนักข่าว Bloomberg รายงานว่า ในช่วงเดือนกันยายน 2566 ‘สกุลเงินบาท’ ขึ้นเป็นสกุลเงินที่กำลังเสื่อมค่ามากที่สุดในเอเชีย โดยลงไปทำจุดต่ำสุดที่ 36.4 บาทต่อดอลลาร์ เมื่อวันพุธที่ 20 กันยายน ท่ามกลางความกังวลต่อความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ-การเมืองที่กำลังเกิดขึ้นทั้งในประเทศไทย และ ต่างประเทศ

ความกังวลดังกล่าวเพิ่มขึ้นสูง จากแนวโน้มราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะไปเป็นภาระกับทั้งผู้ประกอบการ และ ผู้บริโภค ภายในประเทศ  ทำให้โอกาสในการเติบโตของเศรษฐกิจชะลอตัวลง รวมไปถึงภาระหนี้ภายในประเทศที่กำลังปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน

ไม่เพียงเท่านั้นเงินทุนในประเทศไทยยังมีแนวโน้มไหลออกอย่างต่อเนื่อง จากอัตราผลตอบแทนจากถือพันธบัตรสหรัฐฯ ที่สูงกว่า การถือและลงทุนในสกุลเงินบาท และค่าเงินอื่นๆในเอเชีย ซึ่งนับว่าเป็นความท้าทายอย่างยิ่งของรัฐบาลและธนาคารกลางต่างๆ ในภูมิภาค

Alvin Tan หัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์ด้านค่าเงินในภูมิภาคเอเชีย ของ RBC สิงค์โปร์ มองว่า ‘สกุลเงินบาท’ มีโอกาสอ่อนตัวลงอีก เนื่องจากปัจจัยของแนวโน้มค่าเงินบาทที่แข็งตัวขึ้น,ราคาน้ำมันที่กำลังปรับตัวขึ้น และ แนวโน้มการบริโภคภายในประเทศไทยที่กำลังอ่อนตัวลง ที่กำลังมากดดัน

ศิริกัญญา ตันสกุล รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล โพสต์ในทวีตส่วนตัวว่า “ตลาดหุ้นน่ะมายา ตลาดพันธบัตรน่ะของจริง!

วันนี้ Set หลุด 1,500 จุด มีคนบอกว่าเป็นเพราะนักลงทุนไม่มั่นใจเรื่องแหล่งที่มาเงินdigital wallet (หรือเป็นเพราะศิริกัญญาจะเป็นรมว.คลัง??!) อยากจะบอกว่า asset class ที่ไวมากต่อนโยบาย macro และการคลัง คือ ตลาด

พันธบัตรนะคะ 1 เดือนที่ผ่านมา ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี ปรับขึ้นไป 50 bps (0.5%) แล้ว แน่นอนว่าส่วนนึงมาจากปัจจัยภายนอกอย่าง Fed rate แต่ความไม่ชัดเจนของ ที่มาเงิน digital wallet ก็มีส่วน คุยกับนักลงทุนต่างชาติต่างก็ยืนยันตรงกัน”

นายธนพล อิ๋วสกุล ได้โพสต์ในเฟชบุ็ค Thanapol Eawsakul ว่า ข้อเท็จจริงก็คือนโยบายแจกเงิน 560,000 ล้านบาทของพรรคเพื่อไทยประชาชนได้ปฏิเสธผ่าน หีบบัตรเลือกตั้งมาแล้ว แต่กลายเป็นว่า เมื่อมีการเปลี่ยนขั้วย้ายค่ายทางการเมือง นโยบายแจกเงิน 560,000 ล้านบาทกลับมาอีก คนรับเคราะห์กรรมคือประชาชน ทุกคนที่จะต้องเป็นหนี้ เพราะที่มาของเงิน 560,000 ล้านบาทคือเป็นการกู้ธนาคารออมสินมาแจก ( แม้ว่าจะปฏิเสธผ่านหีบบัตรเลือกตั้งมาแล้วก็ตาม)

และรัฐบาลไม่ว่าจะเป็นใครต่อไปในอนาคตก็จะต้องเอาเงินงบประมาณไปใช้หนี้ธนาคารออมสิน ใครบอกว่าการเปลี่ยนขั้วย้ายข้างทางการเมืองเป็นเรื่องปกติ ก็ช่วยมาจ่ายหนี้แทนผมด้วยนะครับ"

สุวิพล จำปา โพสต์ในเฟชบุ็ค Suvipol Jumpa โดยอ้างอิงจากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ ว่า คลังสมองไต้หวันเผยผลการศึกษาพบว่าไทยกำลังจะกลายเป็นเมืองขึ้นทางเศรษฐกิจของจีนไปแล้ว โดยเศรษฐกิจของไทยตกอยู่ใต้อิทธิพลของจีนมากเป็นอันดับ 4 รองจากปากีสถาน กัมพูชา และสิงคโปร์ เท่านั้น นี่นายกคอลล์เซ็นเตอร์เพิ่งเปิดฟรีวีซ่าให้คนจีนเข้ามาอยู่ในไทยโดยไม่ต้องขอวีซ่า แถมวันนี้ลงทุนไปต้อนรับนักท่องเที่ยวจีนถึงสนามบินอีก กลัวเขาไม่รู้หรือว่าสวามิภักดิ์กับเขาขนาดนั้น ไม่ยกเก้าอี้นายกให้จีนมันไปเลยวะ "

มูดีส์ (Moody) สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือออกรายงานเตือนไทยว่ามีปัจจัยเสี่ยงหลายด้าน รวมทั้งผลกระทบทางการเมืองที่อาจส่งผลให้ถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือ โดยการรายงานข่าวจากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ โดยสรุปได้ว่า

  • ภาพรวมเครดิตไทยมีเสถียรภาพ แต่ให้ระวังปัจจัยลบด้านต่างๆ ทั้งการเป็นสังคมผู้สูงวัย แรงงานขาดทักษะ และผลกระทบจากการเมือง
  • อันดับเครดิตของไทยมีแนวโน้มที่จะถูกปรับลดลงได้ หากตัวชี้วัดทางการคลังและภาระหนี้อ่อนแอลงอย่างเห็นได้ชัด
  • อาจมีแรงกดดันด้านลบต่ออันดับเครดิต หากความตึงเครียดทางการเมืองของไทยเพิ่มขึ้นในระดับที่จะทำให้สถาบันอ่อนแอลง และทำให้ดำเนินนโยบายยากลำบาก
  • ความตึงเครียดทางการเมืองที่ยืดเยื้อที่มีผลไปยังกระแสการลงทุน การท่องเที่ยวและกิจกรรมภาคการผลิตให้อ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่อง ก็มีผลด้านลบต่ออันดับเครดิต

แต่นั่นก็เป็นกระแสแห่งการวิพากษ์ วิจารณ์ หรือความเห็นในการเตือนให้รัฐบาลได้ตระหนักถึงข้อมูลต่างๆ ที่จะได้นำไปพินิจวิเคราะห์อย่างลึกซึ้ง ก่อนที่จะตัดสินใจในการดำเนินการนโยบาย  Policy Implement ใดๆ อย่างรอบครอบ ประเด็นเสถียรภาพทางการเงิน และเศรษฐกิจ นั้น รัฐบาลสามารถที่จะนำหลักการที่เป็นปัจจัยที่มีผลต่อเสถียรภาพทางการเงินและเศรษฐกิจของประเทศมาพิจารณาร่วมกับข้อมูลที่มีมาเพื่อเขย่าเสถียรภาพของรัฐบาลได้ โดยพิจารณาจากหลัก ปัจจัยที่จะส่งผลต่อเสถียรภาพทางการเงินและค่าเงินบาท ดังนี้

ปัจจัยที่ส่งผลให้ค่าเงินบาทลดลง แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่ ปัจจัยภายในประเทศ และปัจจัยภายนอกประเทศ ดังนี้

ปัจจัยภายในประเทศ

  • ขาดดุลการค้า เมื่อประเทศไทยมีมูลค่าการส่งออกน้อยกว่ามูลค่านำเข้า ส่งผลให้ประเทศมีเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เข้ามาน้อยลง ความต้องการแลกเงินบาทเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐฯ จึงเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง
  • ความต้องการเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ในประเทศเพิ่มขึ้น ความต้องการเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อาจเพิ่มขึ้นจากปัจจัยต่างๆ เช่น การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) การท่องเที่ยว การนำเข้าสินค้า หรือการชำระหนี้ต่างประเทศ เป็นต้น ส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลาย ธปท. อาจดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลาย เช่น ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ส่งผลให้ปริมาณเงินบาทในระบบเพิ่มขึ้น ความต้องการแลกเงินบาทเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐฯ จึงลดลง ส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง

ปัจจัยภายนอกประเทศ

  • อัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางประเทศคู่ค้าสูงขึ้น เมื่ออัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางประเทศคู่ค้าสูงขึ้น ส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติย้ายเงินลงทุนไปยังประเทศที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่า ส่งผลให้ความต้องการเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง
  • เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าเติบโตช้าลง เมื่อเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าเติบโตช้าลง ส่งผลให้ความต้องการสินค้าและบริการจากประเทศไทยลดลง ส่งผลให้การส่งออกของประเทศไทยลดลง ส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง
  • ความไม่แน่นอนทางการเมืองหรือเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ความไม่แน่นอนทางการเมืองหรือเศรษฐกิจระหว่างประเทศอาจส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติมีความกังวลและย้ายเงินลงทุนออกจากประเทศต่างๆ ส่งผลให้ความต้องการเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง

จากปัจจัยต่างๆ ข้างต้น จะเห็นได้ว่าค่าเงินบาทอาจอ่อนค่าลงได้จากปัจจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศ อย่างไรก็ดี ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีเครื่องมือต่างๆ ในการแทรกแซงตลาดเงินเพื่อรักษาเสถียรภาพค่าเงินบาท เช่น การซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศ การปล่อยกู้หรือดูดซับเงินบาท เป็นต้น

นโยบายแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท มีทั้งจุดอ่อน และจุดแข็ง มีทั้งคุณประโยชน์มหาศาลและความเสี่ยงที่จะเป็นภัยต่อประเทศอย่างมหันต์ การนำนโยบายไปปฏิบัติ Policy Implementation  จำเป็นต้องศึกษาความเป็นไปได้ Feasibility Study อย่างละเอียดในทุกด้าน ศึกษาจุดอ่อนจุดแข็ง SWOT Analysis เอาจุดแข็งมาสร้างกระบวนการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ เอาจุดอ่อนมาจากศึกษา เพื่อหาแนวทางในการบริหารจัดการอุปสรรคปัญหา RISK Management อย่างรอบครอบ ผลของการนำนโยบายไปปฏิบัติ Policy Implement ก็จะประสบผลสำเร็จ สร้างความพึงพอใจให้กับประชาชน ซึ่งมันเป็นธรรมชาติของการเมือง ที่ฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาล มักจะนำเสนอปัญหาฝ่ายเดียว นั่นก็เข้าใจได้ เพราะฝ่ายค้านย่อมไม่ใช่ฝ่ายสนับสนุน ดังนั้นฝ่ายรัฐบาลเองจำเป็นต้องรับฟังให้มาก และไม่มีความจำเป็นที่ต้องออกมาโต้ตอบแบบข้างๆ คูๆ เพียงเพื่อเอาชนะด้วยการพูดเสียงดังเข้าว่า แต่ไร้ซึ่งสาระ ซึ่งนั่นเป็นการสร้างจุดอ่อนทางการเมืองให้กับรัฐบาล ที่รัฐบาลเอง จำเป็นต้องพัฒนาการสื่อสารทางการเมืองให้กับสมาชิก ให้สื่อสารในแง่ที่จะสร้างความน่าเชื่อถือให้กับรัฐบาล ให้มากขึ้น