Think In Truth
ว่าด้วย...ความบอบช้ำของเศรษฐกิจไทย โดย : ฟอนต์ สีดำ
จากการรายงาน “วิกฤติหนี้สาธารณะกับขีดความสามารถทางการคลังของไทย” โดย อานันท์ เกียรติสารพิภพ ได้สรุปจากการศึกษาและรายงานต่อรัฐสภา ในปี พ.ศ. 2564 ไว้ ดังนี้
สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP นั้นสามารถเป็นตัวชี้วัดได้เพียงว่าหากหนี้สาธารณะมีสัดส่วนที่สูง จะส่งผลให้ประเทศมีความเสี่ยงในการชำระหนี้สูงขึ้นเท่านั้น ซึ่งอาจส่งผลให้ดอกเบี้ยเงินกู้สูงขึ้นจากความเสี่ยง ในการได้รับชำระหนี้คืน แต่ไม่สามารถชี้ได้ชัดเจนว่าประเทศมีความเสี่ยงที่จะล้มละลายหากมีหนี้สาธารณะ ต่อ GDP เกินอัตราใดอัตราหนึ่ง สำหรับบางประเทศที่ได้กำหนดสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ในอัตราที่ต่ำ อาทิประเทศไทย จะเห็นได้ว่าเมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จึงส่งผล ให้หนี้ต่อ GDP ของประเทศไทยนั้นแทบจะชนเพดานทันที และหากห้ามก่อหนี้เกินเพดานอย่างจริงจัง ก็จะส่งผลให้รัฐใช้จ่ายเงินได้น้อยลง ทั้งที่ปกติแล้วเมื่อเศรษฐกิจตกต่ ารัฐควรจะต้องใช้เงินมากขึ้นในการกระตุ้น เศรษฐกิจ ตามหลักการสำคัญที่สุดของการคลังที่ว่ารัฐต้องใช้เงินแบบสวนทางวัฏจักรเศรษฐกิจ (Counter[1]cyclical) ดังนั้น การกำหนดสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ในอัตราที่ต่ำจึงมีผลให้การใช้จ่ายของรัฐในยาม วิกฤตสวนทางกับหลักการคลัง แนวคิดการจัดงบประมาณแบบเกินดุลไว้ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจจะช่วยลดสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP อาจจะไม่ถูกต้อง เนื่องจากตามธรรมชาติของระบบเศรษฐกิจ เมื่อมีการใช้จ่ายเงินเกิดขึ้นเงินย่อมหมุนไป ตามผู้เล่นต่าง ๆ ต่อเป็นทอด ๆ โดยตามทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ที่เรียกว่า “ทฤษฎีตัวคูณทวีของการใช้จ่าย” (Multiplier Effect) นั้น หากมีการใส่เงินลงไปในระบบจ านวนหนึ่ง มูลค่าของเงินจะเพิ่มขึ้นเมื่อผ่านการ ใช้จ่ายเงินจากบุคคลหนึ่งไปสู่อีกบุคคลหนึ่ง เช่น เมื่อมีการใช้เงิน 100 บาทไปซื้อสินค้า จะช่วยให้ผู้ขายสินค้า นำผลกำไรจากการขายสินค้าไปลงทุนต่อไปหรือจ้างแรงงานต่อไป จะทำให้มูลค่าเศรษฐกิจโดยรวมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนสูงกว่าเงินจำนวน 100 บาท แต่ในยามวิกฤตที่ประชาชนไม่ต้องการใช้จ่ายเงิน และรัฐยังไปปรับลดการใช้ เงินอีก การเพิ่มมูลค่าของเงินแบบนี้จึงไม่เกิดขึ้น เศรษฐกิจก็จะตกต่ำยิ่งขึ้น และเมื่อเศรษฐกิจตกต่ำก็จะทำให้รัฐ ไม่สามารถจัดเก็บภาษีได้ตามเป้า เมื่อรัฐไม่สามารถจัดเก็บภาษีได้ตามเป้าก็จะส่งผลต่องบประมาณในการ บริหารประเทศ
จากรายงานนี้ พบว่าในปี พ.ศ. 2564 มีหนี้สาธารณะ เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2563 มากเป็นเท่าตัว จาก 53% เพิ่มขึ้นเป็น และหลังจากนั้นมา ประเทศไทยก้มีหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบันที่เพิ่งเปลี่ยนรัฐบาล จากพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายเศรษฐา ทวีสิน ประเทศไทยมีหนี้สาธารณะถึง 63% ซึ่งเหลืออีกเพียง 7% เท่านั้นประเทศไทยก็จะถึงชนเพดานประเทศล้มละลายทางเศรษฐกิจ ซึ่งนั่นเป็นข้อมูลที่ทางนักเศรษฐศาสตร์การเงินการคลังเป็นห่วงต่อการกู้ยืมเงิน มาลงทุนในการแจกให้กับประชาชน คนละ 10,000 บาท ซึ่งจะเป็นการเพิ่มหนี้สาธารณะของประเทศเพิ่มขึ้นอีก 560,000 ล้านบาท
แต่นั่นก็เป็นแนวคิดของนักการเงินการคลัง ที่มองเรื่องการรักษาเม็ดเงินในกระเป๋าให้คงอยู่หรือเพิ่มขึ้นด้วยการประหยัด
ซึ่งมันต่างจากแนวคิดของผู้บริหาร นักการลงทุน ซึ่งมองว่า ปัจจุบัน กลไกที่จะเพิ่มรายได้ให้ภาครัฐมีอยู่อย่างจำกัด ด้วยภาวะของประเทศไทยที่ผ่านมา ประเทศไทยทุกกลุ่มนักลงทุนย้ายฐานการผลิตไปที่อื่น กลุ่มลงทุนใหม่ที่จะมาลงทุนในประเทศก็ยังไม่มีเพิ่ม การตั้งงบประมาณเกินดุลของรัฐบาลก่อนหน้า เป็นการเพิ่มภาระ เพิ่มหนี้สาธารณะให้กับประเทศมากขึ้น ในขณะเดียวกันกับรายได้ของประเทศต่ำลง ถ้าพิจารณาจากสภาวะรายได้ของประเทศ จะได้จากภาษามูลค่าเพิ่ม ถึง 51% ของงบประมาณประเทศ รองลงมาคือภาษีเงินได้นิติบุคคล 23% และรองลงมาคือภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 21% นั่นหมายความว่า รายได้ของรัฐ จะมีมากมีน้อย ขึ้นอยู่กับกำลังซื้อของผู้บริโภค และถ้าผู้บริโภค ไม่มีรายได้ กำลังซื้อก็จะต่ำ รายได้ของภาครัฐก็จะตำลงไปด้วย ดังนั้น การเพิ่มกำลังซื้อด้วยการแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาทเป็นนโยบายกระตุ้นให้เกิดการหมุนเวียนของเม็ดเงินในระบบมากขึ้น มำให้เกิดการจ้างงานมากขึ้น ผู้บริโภคมีงานทำ มีเงินใช้ กำลังซื้อก็จะเพิ่มขึ้น ทำให้รายได้ของรัฐเพิ่มขึ้น รัฐสามารถนำเงินไปใช้หนี้ได้มาขึ้น อัตรของหนี้สาธารณะของประเทศก็จะลดลง นั่นคือมุมมองของนักบริหาร นักลงทุน
แต่โจทย์ของรัฐบาลเศรษฐา ยากกว่ารัฐบาลทักษิณ ที่ทำเรื่องกองทุนหมู่บ้าน แล้วสามารถใช้หนี้ IMF ได้ก่อนกำหนด 2 ปี ด้วยปัจจัยที่เป็นโจทย์ที่ยากกว่า ความกังวลใจของนักการเงินการคลัง ก็กังวลในเรื่องความสามารถของประชาชน จะมีไม่พอในการใช้เม็ดเงินให้เกิดการหมุนเวียนอย่างมีประสิทธิภาพ เท่าที่ติดตามการดำเนินการของกองทุนหมู่บ้าน จะพบว่า กองทุนหมู่บ้านที่ดำเนินการโดยาวบ้านในชุมชน ที่ไม่ถูกครอบงำจากหน่วยงานของรัฐ ส่วนใหญ่กองทุนจะมีความเจริญ เติบโต สร้างสวัสดิการในชุมนได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่กองทุนชุมชนที่มีคุณภาพอย่างที่กล่าวมาก็จะมีไม่มากนักในประเทศ แต่ก็ยังมีอยู่ไม่น้อยที่จะเป็นแหล่งเรียนรู้ เป็นต้นทุนให้กับบ้านเมืองได้ การหว่านเม็ดเงินลงมาสู่ประชาชนโดยตรง เป็นหนทางเดียวที่จะสร้างเศรษฐกิจของประเทสให้มั่นคงยั่งยืน แต่นั่นต้องปลูกฝังความเชื่อที่ถูกต้อง พัฒนาความรู้และทักษะให้มากพอที่จะต่อยอดจากทุนเดิมให้พอกพูมากขึ้น สร้างองค์กระกอบที่เกื้อหนุนให้ประชาชน ชุมชน เข้าถึงแหล่งทุนในการใช้ภูมิปัญญาในการสร้างผลผลิตจากทรัพยากรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในการพัฒนาเศรษฐกิจของตนเอง และชุมชนได้ พลังแห่งการร่วมมือพัฒนานี้ จะนำไปสู่การแก้ปัญหาของประเทศชาติ บ้านเมืองในทุกมิติได้