Think In Truth

ทำไม...? วันขึ้นปีใหม่ไทย ที่คนไทยไม่รู้จัก  โดย... ฟอนต์ สีดำ



ตามจารีตประเพณีของไทยแต่โบราณได้ถือวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับคติแห่งพุทธศาสนา ซึ่งถือช่วงฤดูเหมันต์หรือฤดูหนาวเป็นการเริ่มต้นปี ตามจารีตสิบสองเดือน หรือฮีตสิบสองที่วัฒนธรรมไทยได้ถือปฏิบัติกันมา โดยการผสมผสานหลักของศาสนาพราหมณ์สยาม(นับถือพระพรหมองค์เดียว) กับหลักของศาสนาผี(ที่นับถือพระอินทร์) มาเป็นวิถีและประเพณีของชาวพุทธในประเทศไทยถือเป็นประเพณีเวียนปฏิบัติทั้งสิบสองเดือน

ทำไมถึงยึดเอาวันแรม 1 เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ วัฏจักรของจารีตสิบสองเดือน ได้เวียนถือประเพณีปฏิบัติของชาวพุทธไว้ดังนี้ เดือนอ้าย ประพณีเข้ากรรม  เดือนยี่  ประเพณีบุณคุณลาน  เดือนสาม  ประเพณีบุญข้าวจี่  เดือนสี่ ประเพณีบุญผะเวส(พระเวสสันดร) เดือนห้า ประเพณีสงกรานต์  เดือนหก ประเพณีบุญบั้งไป  เดือนเจ็ด ประเพณีซำฮะ  เดือนแปด ประเพณีบุญเข้าพรรษา  เดือนเก้า  ประเพณีบุญข้าวประดับดิน  เดือนสิบ  ประเพณีบุญข้าวสาก  เดือนสิบเอ็ด ประเพณีบุญออกพรรษา  และเดือนสิบสอง  ประเพณีบุญกฐิน แล้วก็จะเวียนขึ้นปีใหม่ด้วยประเพณีบุญเข้ากรรมในเดือนอ้ายต่อไป

คำว่าขึ้นปีใหม่นั้น คือ การเริ่มต้นของการแสวงบุญของพระภิกษุที่จะออกจาริก(ธุดงค์)แสวงบุญ หมายถึงการออกเผยแผ่ธรรมในพระบวรพระพุทธศาสนา ซึ่งจะมีช่วงเวลาในการจาริกแสวงบุญนาน 8 เดือน พระภิกษุที่ออกจาริกแสวงบุญก็จะกลับมายังวัด เพื่อจำพรรษา นานเป็นเวลา 3 เดือน และเข้าพิธีรับผ้าพระกฐินตามวัดต่างๆ อีกหนึ่งเดือน โดยที่พระภิกษุ จะรับผ้าพระกฐินได้องค์ละหนึ่งผืน เพื่อการออกจาริกแสวงบุญ

เมื่อเริ่มปีใหม่ พระภิกษุที่มีกำลังในการออกจาริก ก็จะออกธุดงค์เผยแผ่พระธรรมไปตามเส้นทางที่กำหนดไว้ ส่วนพระภิกษุบางรูป ที่สังขารไม่พร้อมก็จะอยู่ประจำที่วัด ซึ่งฤดูในช่วงฤดูเก็บเกี่ยวของชาวนาที่เกษตรกรผู้ทำนาจะออกไปนอนและอาศัยอยู่ในท้องนาตนเพื่อทำการฟาดข้าวและตากข้าว รอการขนย้ายข้าวมาเก็บในยุ้งฉางในเดือนถัดไป ดังนั้นในเดือนอ้ายนี้ จะมีพระภิกษุที่มีสังขารไม่พร้อมอยู่ที่วัด และคนแก่ที่ไปทำงานในไร่นาไม่ได้เฝ้าบ้าน ในเดือนนี้ จึงมีกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาคือการเข้ากรรม หรือการจำศีลสวดมนต์ของคนแก่ ในเดือนอ้ายนี้จึงเป็นประเพณีบุญเข้ากรรม เพื่อรอเดือนต่อไปที่ชาวนาขนย้ายข้าวขึ้นเล้า ขึ้นยุ้ง ขึ้นฉาง แล้วเอาส่วนหนึ่ง ไปรวมกันที่สัด เพื่อทำประเพณับุญคูณลาน เพื่อสะสมไว้ให้กับคนที่ขาดแคลนเมื่อข้าวในยุ้งที่ตนเก็บไว้หมดแล้วได้มาเอาไปกินในครอบครัว ให้พอกับฤดูกาลผลิตต่อไป

ความสัมพันธ์ของวันขึ้นปีใหม่ไทย เป็นช่วงเวลาที่ทำให้คนในสังคมได้ตระหนักถึงวิถีที่ชีวิตที่ต้องดำเนินไปให้สอดคล้องกับกฏแห่งธรรมชาติ หรือพระธรรมทางพระพุทธศาสนาที่มีความสอดคล้องกับกฏธรรมชาติและวิธีชีวิตของคนในสังคม ซึ่งถือว่าเป็นวิถีปฏิบัติที่สร้างความมั่นคงและยั่งยืนของสังคมไทยมาช้านาน

หลังจากที่พระเจ้าอโศกมหาราช ซึ่งเคยศึกษาพระธรรมในพระพุทธศาสนาหลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานไปแล้ว ประมาณ 300 ปี ก็ได้เสด็จกลับอินเดีย และพระองค์เคยเป็นผู้ที่นับถือศาสนาเซน พอได้ศึกษาเรียนรู้ในพระธรรมในพุทธศาสนาก็เกิดความเลื่อมใส ขึงเสด็จกลับอินเดีย และจับนักบวชในศาสนาเชนจำนวนหกหมื่นคน มาบวชเป็นพระภิกษุและตั้งนิกายใหม่คือนิกายมหายาน โดยเหยียดนิกายที่ได้ศึกษาและคิดว่าตนเลื่อมใส เป็นนิกายชั่ว(หินะยาน ซึ่งภายหลังมหาเถระสมาคมได้เปลี่ยนเป็น นิกายเถระวาท) จนพุทธศาสนานิกายมหายานได้แพร่หลายในอินเดีย และในศรีลังกา ในพุทธศตวรษที่ 11 ศาสนาพุทธนิกายมหายานก็ได้แผ่กระจายเข้ามายังประเทศไทย พร้อมทั้งรูปร่างของธรรมจักรที่มีรูปคล้ายๆ กับล้อรถม้าที่มีซี่ล้อรถม้ามากกว่าแปดซี่ บางอันก็มี 15 ซี่ บางอันก็มี 22 ซี่ ซึ่งต่างจากธรรมจักรในพระพุทธศาสนาในประเทศไทยดั้งเดิม ที่มีเพียงแปดซี่เท่านั้น ซึ่งแปดซี่นั้นหมายถึง มรรคมีองค์แปด ที่เป็นความสมดุลของธรรมจักรที่จะทำให้ขับเคลื่อนไปในสากลโลกได้ แต่ธรรมจักรในนิกายมหายานนั้น ซึ่กงล้อ ไม่ได้สื่อถึงหลักธรรมในพระพุทธศาสนาแต่อย่างได หรืออาจจะมี แต่ก็ไม่ใช่หลักปรัชญาแห่งศาสตร์มรรคมีองค์แปดแน่นอน นั่นหมายถึงหลักปรัชญาในกงล้อธรรมจักรในนิกายมหายาน ไม่ใช่หลักปรัชญาแห่งศาสตร์ในพระพุทธศาสนาแน่นอน ธรรมจักที่มีสัญญลักษณ์มรรคมีองค์แปด จะประกอบกับพระคาถาธรรมจักรกัปวัตนสูตร ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมปฐมเทศนา ในวันมาฆบูชา แต่ธรรมจักรของนิกายมหายานนั้น มีการกำกับพระคาถาเยธรรมา ตามหลักฐานที่พบในยุทธยานประวัติศาสตร์ศรีเทพนั้น เป็นตัวอัหสอนที่เป็นพระคาถาที่สวดไม่เหมือนกัน แต่มีเนื้อหาเดียวกับ พระคาถาธรรมจักรกัปวัตนสูตร

จากข้อมูลข้างต้น ชี้ให้เห็นว่า พระพุทธศาสนานิกายมหายานจากอินเดีย เป็นการเคลมพระพุทธศาสนานิกายเถระวาท(ที่พระสงฆ์ในนิกายมหายานเคยเรียกว่านิกายชั่ว หรือหินยาน)

สิ่งหนึ่งที่อิทธิพลของพุทธศาสนานิกายมหายาน มีอิทธพลต่อสังคมไทย คือการเปลี่ยนแปลงวันขึ้นปีใหม่ จากวันแรมที่ 1 เดือนอ้าย มาเป็นวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน ห้า นั่นหมายถึงพุทธนิกายมหายาน ยึดถือหลักปฏิธินแบบสุริยะคติ คือถือเอาวันที่มีการเปลี่ยนหรือคล้ายย้ายของพระอาทิตย์ จากปีนักสัตว์หนึ่ง ไปยังปีนักสัตว์หนึ่ง แต่ในพุทธศาสนานิกายเถระวาทเองก็ถือเอาวัน ขึ้น 1 ค่ำ เดือน ห้า เป็นวันมหาสงกรานต์ อยู่แล้ว ก็หมายถึงวันคล้ายย้ายปีนักสัตว์เหมือนกัน แต่จะไม่ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ แต่ในเดือนห้านี้ จะถือเป็นช่วงประเพณีสงกรานต์ ซึ่งกำหนดไว้ 3 วัน คือ วันขึ้น 1 ค่ำเดือนห้า ถือว่าเป็นวันมหาสงกรานต์ คือวันเดือนเปลี่ยนปีนักสัตว์ วันขึ้น 2 ค่ำ เดือนห้า ถือว่าเป็นวันเนา หรือวันน้าว เป็นวันที่เริ่มต้นสาดน้ำกัน เพื่อให้แผ่นดินได้รับน้ำที่สาด แล้วระเหยเป็นไอขึ้นในชั้นบรรยากาศ เพื่อเพิ่มความชื้นในอากาศ และวันขึ้น 3 ค่ำ เดือนห้า จะถือเป็นวันเถลิงศก หมายถึงพระอาทิตย์ได้เปลี่ยนประทับบนหลังสัตว์หิมพานต์ชนิดอื่นตามปีนักสัตว์ โดยมีบุตรสาวของท้าวกบิลพรหม ได้ถือพานที่มีศรีษะของท้าวกบิลพรหมอยู่ในพานเพราะแพ้พนัน และนั่งบนสัตว์หิมพานต์ประจำปีนักสัตว์นั้น

หลังจากนั้นประเทศไทยซึ่งมีการค้าขายกับต่างประเทศมานานแล้ว ที่บูมมากที่สุดก็ในยุคทาวรวดี  เมื่อถึงสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นว่า ไทยได้มีการติดต่อกับประเทศต่าง ๆ มากขึ้น การใช้ปฏิทินจันทรคติไม่เหมาะสมและไม่สะดวก เพราะวันไม่ตรงกับปฏิทินสากล พระองค์จึงทรงได้โปรดเกล้าฯ เปลี่ยนจากปฏิทินจันทรคติมาใช้ปฏิทินสุริยคติ คือ การนับวันเดือนปี โดยใช้การโคจรของพระอาทิตย์เป็นเกณฑ์ ตามแบบสากลปฏิทินเกรโกเรียนแทน โดยกำหนดแบ่งให้หนึ่งปีมี 12 เดือน และในแต่ละเดือนจะมี 28-31 วัน ตามปฏิทินสากล พระองค์ทรงให้กรมพระยาเทววงศ์วโรปการเป็นผู้ตั้งชื่อเดือน ได้แก่ เดือนแรกของปี คือ เดือนเมษายน จนถึงเดือนสุดท้ายของปี คือ เดือนมีนาคม เริ่มใช้วันที่ 1 เมษายน 2432

ต่อมาในพุทธศักราช 2483 สมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี เห็นว่า การกำหนดวันขึ้นปีใหม่ของไทยไม่เหมาะสม เพราะประเทศต่าง ๆ ส่วนใหญ่ต่างถือวันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ และเพื่อสะดวกในการติดต่อกับประเทศต่าง ๆ ดังนั้น รัฐบาลจึงได้มีแต่งตั้งคณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในวิชาการที่เกี่ยวกับเรื่องปีปฏิทิน ทำการศึกษาค้นคว้าและจัดทำรายงานเสนอต่อรัฐบาล โดยมีความเห็นเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนจากวันที่ 1 เมษายน เป็น 1 มกราคม เพื่อให้สอดคล้องกับนานาประเทศ จึงได้มีการเสนอร่างพระราชบัญญัติปีปฏิทิน พ.ศ. .... ในวันที่ 1 สิงหาคม 2483 โดยมีเหตุผลว่า เพื่ออนุโลมตามปีประเพณีของไทยแต่โบราณที่ถือวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่และให้ตรงกับที่นิยมใช้ในต่างประเทศที่เจริญแล้ว จากนั้น ที่ประชุมรับหลักการวาระที่ 1 และมีมติตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติปีปฏิทิน พศ... จำนวน 9 คน ประกอบด้วย พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร หลวงวิจิตรวาทการ หม่อมเจ้าวิวัฒน์ไชย ไชยยันต์ นายเดือน บุนนาค นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ นายฟื้น สุพรรณสาร นายเตียง ศิริขันธ์ นายชอ้อน อำพล และนายบุญเท่ง ทองสวัสดิ์

ต่อมาในวันที่ 29 สิงหาคม 2483 มีการพิจารณาวาระที่ 2 และ 3 โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว และประกาศใช้พระราชบัญญัติปีปฏิทิน พุทธศักราช 2483 เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2483 ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงปีปฏิทิน โดยกำหนดให้วันที่ 1 มกราคมของทุกปีเป็นวันขึ้นปีใหม่ และให้ถือเป็นจารีตประเพณีของชาติ โดยให้หน่วยงานราชการหยุดทำการ 2 วัน คือ วันที่ 31 ธันวาคม เป็นวันสิ้นปี และวันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่

ดังนั้น ประเทศไทยจึงมีวันขึ้นปีใหม่ตรงกับนานาประเทศ เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2484 และเป็นการเปลี่ยนการใช้ปีปฏิทินของประเทศไทยครั้งแรกเป็นต้นมา และส่งผลให้ พ.ศ. 2483 เหลือเพียง 9 เดือน เนื่องจากได้ตัดสามเดือนสุดท้ายของ พ.ศ. 2483 ออก ทำให้เดือนมกราคม กุมภาพันธ์ และมีนาคม พ.ศ. 2483 หายไป และ พ.ศ. 2484 มี 12 เดือน เพื่อให้สอดคล้องกับปฏิทินสากลที่ใช้อยู่ในต่างประเทศทั่วโลก โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม และสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม นับจากนั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
ผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ของไทย ที่ส่งผลถึงคนไทยในปัจจุบัน ที่แน่ๆ คือทำให้คนไทยไม่รู้จักรากเหง้าของตนเอง ทางวัฒนธรรม โดยเฉาะเพาะโหราศาสตร์ เพราะปัจจุบันใครจะเรียนวิชาโหรราศาสตร์สำนักไหนมาก็ตาม ก็มักจะโฆษณาในความแม่นยำที่ตนได้เอาหลักการทางโหราศาสตร์มานำเสนอต่อก็ลูกค้าตน โดยไม่มองว่า รากเหง้าของวิชาที่ตนเรียนมานั้นมาจากไหน มีหลัการในการคำนวณว่าเวลาตามหลักการได ถ้ายึดตามหลักปฏิทินโบราณ ก็จะพอที่จะเชื่อถือได้ในการกำหนดตกฟาก แต่จะเชื่อถือไม่ได้เลยว่า ปีนักสัตว์ปีอะไร แล้วการทำนายจะมีความแม่นยำไม่ได้ โหราศาสตร์ที่ยึดเอาหลักสถิติและการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติในแต่ละฤดูมาเป็นหลักพยากรณ์ก็ย่อมคลาดเคลื่อนไปได้ และอีกอย่างหนึ่งที่มีผลกระทบอย่างชัดเจน คือการเคารพและปฏิบัติตามหลักของธรรมชาติ จนทำให้ทรัพยากรธรรชาติถูกทำลาย เกิดวิฏฤติทางสิ่งแวดล้อมและจะเกิดขึ้นต่อไปเรื่อยๆ เพราะขาดการยึดถือปฏิบัติตามประเพณีแห่งความสมดุล มั่นคง และยั่งยืนตามหลักของฮีตสิบสอง หรือจารีตสิบสอง เพราะการศึกษาไทย ได้ชี้ไปยังจารีตสิบสองเดือนเป็นสิ่งที่ล้าสมัย ใช้ไม้ได้ในยุคสมัยแห่งโลกดิจิทัล จึงก่อทัศนคติของคนยุคใหม่ไม่ให้ความสำคัญ แต่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปสู่สังคมบริโภค ที่เป็นเงื่อนไขของการทำลายความสมดุลของโลก ที่ยากจะดึงกลับได้