In Thailand
รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศรระบุได้รวบรวม งานวิจัยมะละกอรักษามะเร็งยังแบ่งรับ
ปราจีนบุรี -เมื่อเวลา19.50 น.วันนี้ 29 ธ.ค.66 ผู้สื่อข่าว จ.ปราจีนบุรีรายงานว่า จากรณีที่ รมต.สมศักดิ์ เทพสุทิน นำเรื่องน้ำมะละกอรักษามะเร็ง มาเผยแพร่ และเป็นที่สนใจมากแก่ประชาชน
เนื่องจากเป็นวันหยุดยาวต่อเนื่องปีใหม่ ได้ประสาน สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ กับ ภญ.ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร เลขาธิการ และประธานกรรมการบริหารฝ่ายพัฒนาภูมปัญญาไทย มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี
ภญ.ดร.สุภาภรณ์ เปิดเผยว่า ในส่วนของโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ไม่ได้ได้นำมะละกอมาใช้ในทางสมุนไพร หรือ ใน การักษา เพียงแต่เก็บรวบรวมงานวิจัย ที่เกี่ยวข้อง อาทิ
ใบมะละกอ ไม่มีงานวิจัยในคน ว่ารักษามะเร็งได้ มีเพียงประสบการณ์การใช้ ในผู้ป่วยบางราย ไม่แนะนำให้ใช้เป็นการรักษาหลัก
ในการศึกษาในหลอดทดลอง พบฤทธิ์ต้านมะเร็งในช่องปาก มะเร็งลิ้น มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก มี่พิษต่อเซลปกติ โดยออกฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัว และต้านการแพร่กระจายของเซลมะเร็ง ลดการอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ เสริมภูมิคุ้มกัน
ขนาดการใช้ ที่เคยมีรายงานการใช้ในคน เคสผู้ป่วยหญิง อายุ 47 ปี เป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร กระจายไปตับอ่อน ใช้ใบมะละกอแห้ง 1 ใบ ต้มกับน้ำสะอาด 3 ลิตร จนกระทั่งน้ำแห้งเหลือ 750 มิลลิลิตร ดื่มน้ำต้มใบมะละกอวันละ 750 มิลลิลิตร (ไม่ได้ระบุว่าเปลี่ยนใบใหม่ทุกวันหรือไม่ คาดว่าน่าจะเปลี่ยนใบใหม่ทุกวัน) หลังกิน 3 เดือน เว้น 3 เดือน 2 รอบ ตรวจไม่พบการกระจายของมะเร็งไปที่ตับอ่อน และค่าบ่งชี้มะเร็งลดลง และมีการติดตามต่อ (ไม่ทราบระยะเวลา)ไม่พบการกลับเป็นซ้ำ
old female with stomach cancer metastasized to the pancreas.J08). The Case 1 was a 47-year She drank about 750 mL of papaya leaf extract everyday (onedried papaya leaf was boiled in a wooden vessel with 3000 mL
นอกจากนี้ยังมีประสบการณ์การใช้สารสกัดน้ำจากใบ of water until concentrated to 750 mL) for two 90-day periods with a 90 days break between two periods. The pancreatic มะละกอ ช่วยยืดอายุการอยู่รอดของผู้ป่วยมะเร็งหลายชนิด metastases were seen disappeared, the tumor marker, carcino- embryonic antigen, dropped from 49 to 2.3, and the alpha- ให้นานขึ้น เช่น มะเร็งกระเพาะอาหาร ตับอ่อน เต้านม ปอด fetoprotein dropped from 369 to 2.0, with no relapse found
after. The other cases were testified without any specifie data; ตับ เม็ดเลือด แต่ไม่มีรายละเอียดเคสชัดเจน however, long-term survival was observed for five lung cancer
( https://koreascience.kr/article/JAK )
และยังระบุต่อไปว่า...ถ้ามีการเก็บข้อมูลเพิ่มเติม และตีพิมพ์ จะมีประโยชน์มาก เคอซิติน (Quercetin) มีฤทธิ์หลายอย่าง เช่น ต้านสารอนุมูลอิสระ ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านการอักเสบ ต้านไวรัส ต้านมะเร็ง https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/37513932/
และกล่าวต่อไปว่า งานวิจัย เรื่อง ใบมะละกอ รักษาโรค ตอนที่ 2 งานวิจัยที่ตีพิมพ์ช่วง ปี พ.ศ.2560 ถึง พ.ศ.2566
21. ปี พ.ศ. 2560 การวิจัยในหลอดทดลอง ที่ออสเตรเลีย พบว่า น้ำใบมะละกอสกัด มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตและการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมาก (อ้างอิง https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/28249253/)
22. ปี พ.ศ. 2560 การวิจัยในหลอดทดลอง ที่อินโดนีเซีย พบว่า น้ำใบมะละกอ มีฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งเต้านม
(อ้างอิง https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/29023013/)
23. ปี พ.ศ. 2561 การวิจัยเชิงทดลองในคนเป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบ 60 คน ที่ออสเตรีย พบว่า สารสกัดใบมะละกอ มีฤทธิ์ลดอาการปวดท้องได้ดีกว่ายาหลอก อย่างมีนัยสำคัญ (อ้างอิง https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/29604620/)
24. ปี พ.ศ. 2561 การวิจัยเชิงทดลองในเด็กนักเรียน ที่เคนย่า จำนวน 326 คน พบว่า การให้เมล็ดมะละกอ บดผสมในข้าวต้ม กินนาน 2 เดือน สามารถลดจำนวนพยาธิไส้เดือน และลดจำนวนพยาธิเส้นด้าย ได้ดีกว่ายาแผนปัจจุบัน (อัลเบนดาโซล) และทำให้ลดปัญหาโลหิตจางลงได้ (อ้างอิง https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/30526582/)
25. ปี พ.ศ. 2561 นักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ สหรัฐอเมริกา รายงาน กรณีศึกษา ผู้ป่วย เพศชาย อายุ 76 ปี เคยเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก รักษาจนโรคสงบ มานาน 10 ปี ต่อมาป่วยเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบเรื้อรัง เขาไม่ใช้การรักษาแบบแผนปัจจุบัน แต่ไปกินสารสกัดจากใบมะละกอ และสารสกัดจากรากต้นดันดิไลอ้อน ร่วมกับอาหารเสริมและสมุนไพรหลายชนิด พบว่า โรคสงบลง และผลตรวจเลือดและไขกระดูก เป็นปกติ ตลอดระยะ 10 ปีที่ผ่านมา (อ้างอิง https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/30662779/)
26. ปี พ.ศ. 2562 การวิจัยในหลอดทดลอง ที่บราซิล พบว่า สารสกัดจากเมล็ดมะละกอ ขนาดความเข้มข้น 566 มิลลิกรัมต่อซีซี มีฤทธิ์ยับยั้งการฟักไข่ ของพยาธิชนิด สตรองจิรอยด์ ได้ดีกว่ายาไอเวอร์เมคติน
(อ้างอิง https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/31778389/)
27. ปี พ.ศ. 2562 นักวิจัยของบราซิล สังเคราะห์ความรู้จากงานวิจัยหลายงาน พบว่า ใบและเมล็ดมะละกอ มีสรรพคุณลดระดับน้ำตาล ความดันโลหิต และไขมัน (อ้างอิง https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/31315213/)
28. ปี พ.ศ. 2562 การวิจัยในหนูทดลอง ที่อิตาลี พบว่า น้ำหมักใบมะละกอ มีฤทธิ์ ลดขนาดของก้อนมะเร็งผิวหนัง ลงได้ 3 ถึง 7 เท่า มากกว่ากลุ่มควบคุม และตรวจเลือดพบว่า มีสารต้านอนุมูลอิสระเพิ่มสูงขึ้น
(อ้างอิง https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/30669508/)
29. ปี พ.ศ. 2563 การวิจัยในหลอดทดลอง ที่กาน่า พบว่า สารสกัดจากเมล็ดมะละกอ มีฤทธิ์ฆ่าพยาธิตัวกลม ได้ดีกว่า สารสกัดจากใบ และลำต้นของมะละกอ และดีกว่ายาแผนปัจจุบันอัลเบนดาโซล
(อ้างอิง https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/32508958/)
30. ปี พ.ศ. 2563 การวิจัยเชิงทดลองแบบมาตรฐาน (RCT) ในคนที่เป็นไข้เลือดออกและมีเกร็ดเลือดต่ำ จำนวน 51 คน ที่อินเดีย พบว่า กลุ่มที่ได้สารสกัดจากใบมะละกอ ได้ผลดีกว่ากลุ่มควบคุม หายเร็วกว่า มีเกร็ดเลือดเพิ่มขึ้นมากกว่า อย่างมีนัยสำคัญ (อ้างอิง https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/32074143/)
31. ปี พ.ศ. 2563 การวิจัยในหนูทดลอง ที่ปากีสถาน พบว่า สารสกัดจากเมล็ดมะละกอ มีฤทธิ์ฟื้นฟูไขกระดูก ที่ถูกทำลายจากยาเคมีบำบัด (ด๊อกโซรูบิซิน) ได้ ทำให้การสร้างเม็ดเลือดและระบบภูมิคุ้มกันดีขึ้น
(อ้างอิง https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/33867343/)
32. ปี พ.ศ. 2565 การวิจัยในหลอดทดลอง ที่อินเดีย พบว่า สารสกัดจากใบมะละกอ ทั้งจากต้นมะละกอตัวผู้ และตัวเมีย มีฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งช่องปาก (อ้างอิง https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/37283020/)
33. ปี พ.ศ. 2565 นักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยซินซินเนติ สหรัฐอเมริกา ตีพิมพ์กรณีศึกษา ผู้ป่วย เพศชาย อายุ 43 ปี เป็นโรคมะเร็งสมองชนิดร้ายแรง (GBM) หลังจากได้รับการรักษาด้วยการฉายแสงและเคมีบำบัด ทำให้เกร็ดเลือดลดต่ำลงอย่างมาก ไม่สามารถรักษาต่อได้ แพทย์จึงให้สารสกัดใบมะละกอ ขนาด 1 ช้อนโต๊ะ (1,000 มิลลิกรัม) วันละ 2 ครั้ง ให้เพียง 2 วัน ระดับของเกร็ดเลือดก็เพิ่มสูงขึ้นทันที จนสามารถดำเนินการรักษาต่อไปได้ ก้อนมะเร็งเล็กลง ปัจจุบันผู้ป่วยยังคงรับประทานน้ำสกัดใบมะละกอ และไม่มีผลเสียใดๆ
(อ้างอิง https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/34984951/)
อนึ่งมีชื่อเรียกหลากหลาย มะละกอ หมากอร่อย ย่อยสบาย ขับถ่ายคล่อง ชื่อวิทยาศาสตร์ Carica papaya L.ชื่อวงศ์ CARICACEAE ชื่ออื่นๆ ก้วยลา แตงต้น มะก้วยเตส หมักหุ่ง Papaya
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้น น้ำยางสีขาว ใบเดี่ยว เรียงเวียนรอบต้นบริเวณใกล้ยอด ดอกสีครีมหรือเหลืองอ่อน ผลสด เมื่อสุกสีส้ม แดงอมส้ม หรือเหลือง การขยายพันธุ์ เมล็ด
“บักหุ่ง”มาไกล แต่คนไทยขาดไม่ได้ มะละกอหรือที่ทางอีสานเรียกว่า หมากหุ่ง ชื่อเต็มๆ คือ หมากหุ่งกินหน่วย เนื่องจาก “หุ่ง” เป็นคำลาวหมายถึง รุ่ง หรือ สว่าง หมากหุ่งจึงหมายถึงพืชที่มีผลที่ให้ความสว่าง ซึ่งมาจากการที่คนอีสานบีบเอาน้ำมันจากเมล็ดละหุ่งมาใส่ถ้วย แล้วใส่ไส้ลงไปเพื่อใช้จุดไฟให้แสงสว่าง หมากหุ่งแดง หมากหุ่งขาว ก็คือละหุ่งแดง ละหุ่งขาว และพลอยเรียกพืชหน้าตาคล้ายกันที่มียางสีขาว แต่อยู่คนละวงศ์ว่า หมากหุ่ง (กินหน่วย) ซึ่งก็คือ มะละกอ นั่นเอง
หมากหุ่งทั้งหมดไม่ใช่พืชพื้นถิ่นบ้านเรา ถิ่นกำเนิดของมะละกอนั้นอยู่แถวฝั่งทะเลแคริบเบียนบริเวณประเทศปานามาและโคลัมเบียในปัจจุบัน ชาวสเปนนำมาเผยแพร่ในเอเชียอาคเนย์ในศตวรรษที่ 16 หรือประมาณ พ.ศ. 2143 ซึ่งก็คงตามๆ การเข้ามาของพริก ยิ่งมาเจอกับมะเขือเทศในยุคต้นรัตนโกสินทร์ ด้วยฝีมือนักตำแห่งที่ราบสูงที่มีวัฒนธรรมการตำส้มสารพัด จึงสร้างสรรค์เมนูตำหมากหุ่งสะท้านโลกขึ้น
มะละกอเป็นพืชที่ชอบดินร่วนซุย แต่ทนน้ำขังไม่ได้เลย จึงไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่มะละกอไปแพร่หลายกลายเป็นอาหารถิ่นของอีสานซึ่งเป็นภูมิภาคที่แห้งแล้งที่สุดของประเทศไทย ตำบักหุ่งควรจะจดทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของไทย เพราะเป็นเมนูที่มีเอกลักษณ์ แต่ในขณะเดียวกันก็มีความหลากหลายของตำรับและรสชาติ เช่น ส้มตำไทย ส้มตำปู ส้มตำโคราช ส้มตำปลาร้า ที่สำคัญมะละกอดิบมีประโยชน์มากมายต่อสุขภาพโดยเฉพาะต่อระบบปากท้องไส้ ขอเพียงแต่คำนึงถึงสุขลักษณะในการทำเท่านั้น
ตำบักหุ่ง ยาล้างตระกรันในท้อง ไส้
ท้องไส้ของเรามีเยื่อเมือกบุไว้เพื่อป้องกันไม่ให้กรดและน้ำย่อยมาทำลายผนังลำไส้ เยื่อเมือกเหล่านี้นานวันจะมีของเสียตกค้างมาจับกันเป็นก้อนเหนียวเหมือนกับตะกรันในท่อน้ำ การกินอาหารที่มีกากใย เช่น ผัก ผลไม้ ก็ช่วยกำจัดของเสียเหล่านี้ได้ส่วนหนึ่ง เช่นเดียวกับจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ นอกจากนี้ก็ยังมีผู้ช่วยทำความสะอาดอื่นๆ เช่น เอนไซม์ช่วยย่อยจากธรรมชาติ
มะละกอเป็นหนึ่งในผลไม้ไม่กี่ชนิดที่มีเอนไซม์ย่อยโปรตีนที่ชื่อ ปาเปน (papain) ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเปบซิน ซึ่งเป็นเอนไซม์ย่อยโปรตีนในระบบทางเดินทางอาหารของคนเรา เอนไซม์ปาเปนมีอยู่มากในมะละกอดิบ และถูกทำลายได้ง่ายด้วยความร้อน ดังนั้นถ้าต้องการฤทธิ์ของปาเปนจะต้องกินมะละกอดิบที่ไม่นำมาปรุงโดยผ่านความร้อน ข้อดีของปาเปนที่ต่างจากเปบซินชนิดอื่นๆ คือ สามารถทำงานได้ทั้งในสภาวะที่เป็นกรดและเป็นด่าง จึงช่วยย่อยโปรตีนไม่ให้เราท้องอืดเฟ้อและทำให้ได้ประโยชน์จากโปรตีนอย่างเต็มที่ ปาเปนในมะละกอยังช่วยกำจัดคราบของเสียที่เกาะอยู่ตามเมือกที่เคลือบลำไส้ มะละกอดิบจึงเปรียบเสมือนน้ำยาล้างตระกรันในท่อของระบบปากท้องไส้ นอกจากนี้มะละกอดิบยังมีคุณสมบัติช่วยกำจัดเนื้อที่ตายแล้วและช่วยรักษาแผล จึงเหมาะกับคนที่มีแผลในกระเพาะและลำไส้เล็ก ตำบักหุ่งจึงเป็นเมนูสุขภาพที่ทำให้คนไทยได้กินมะละกอดิบอย่างเป็นล่ำเป็นสันและได้เอนไซม์ปาเปนเป็นผลพลอยได้มานมนาน ในขณะที่ประเทศอื่นๆ เพิ่งมาเริ่มหัดกินมะละกอดิบเป็นผักสลัดกันเมื่อเร็วๆ นี้เอง
อาหารช่วยระบาย และป้องกันท้องผูกในเด็กอ่อน
ในมะละกอสุกจะมีสารเพคตินอยู่มาก เมื่อเรากินมะละกอสุก สารเพคตินนี้จะดูดน้ำในลำไส้แล้วพองขยายตัวจากเดิมหลายเท่า ทำให้กากอาหารมีมากขึ้นแล้วไปดันผนังลำไส้ กระตุ้นให้ลำไส้บีบตัวถ่ายออกมา อาการท้องผูกก็จะทุเลาลง การกินมะละกอเพื่อช่วยระบายจึงเป็นความรู้สามัญในการดูแลตัวเองของคนทั่วโลก
จริงๆ แล้ว ทั้งมะละกอดิบและสุกต่างก็มีสารเพคติน แต่มะละกอสุกกินง่ายกว่า โดยเฉพาะเด็กอ่อน หลังจากอายุครบที่จะกินกล้วยได้ก็ควรจะให้กินมะละกอด้วยเช่นกัน โดยเริ่มจากปริมาณน้อยๆ ก่อน เด็กๆ จำนวนมากมักมีอาการท้องผูกตั้งแต่ยังเล็ก บางคนต้องสวนกันเป็นประจำ สาเหตุใหญ่มาจากนิสัยการกินที่ไม่ถูกต้อง ไม่ค่อยกินผักผลไม้ กินน้ำน้อย ขาดการออกกำลัง ดังนั้นการฝึกให้เด็กกินผักผลไม้ตั้งแต่เล็กๆ ก็จะช่วยป้องกันปัญหานี้ได้
นอกจากแก้ท้องผูกได้แล้ว มะละกอยังเป็นยาแก้ท้องเสียที่ใช้กันมาก โดยเฉพาะในเด็กหรือทารก
มานิตย์ สนับบุญ /ปราจีนบุรี