In News

โอดรัฐล้าช้าทำผู้เลี้ยงปลาเงินหาย18ล.



ฉะเชิงเทรา - ภาครัฐทำงานล้าช้า ทำให้เงินเกษตกรผู้เลี้ยงปลากระพงหายกว่า 18 ล้าน บาท   

วันนี้ 29 เม.ย. นายพลูทรัพย์ สมบูรณ์ปัญญา รองผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา เรียกประชุมคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตกร โดยกล่าวถึงปัญหาขั้นตอนในการดำเนินการที่ผ่านมาล่าช้าทำให้เกษตรกรเสียประ โยชน์ต้องสูญเงินกว่า18 ล้านบาท ขณะนี้ได้ดำเนินการส่งเรื่องไปที่กระทรวงพาณิชย์ใหม่อีกครั้งหนึ่งแล้ว และอยู่ในขั้นตอนการดำเนินการส่วนเงินที่จะได้รับการช่วยเหลือจากรัฐบาล 27.81 ล้าน ขณะนี้ได้มีจังหวัดอื่นๆขอรับการช่วยเหลือจากรัฐบาลมาอีกหลายจังหวัดทำให้ส่วนของจังหวัดฉะเชิงเทราเหลือเพียง 9 ล้านบาทเท่านั้น

ด้านนายประโยชน์ โสรัจจกิจ (อดีตประธานหอการ ค้าจังหวัดฉะเชิงเทรา) ประธานกลุ่มเกษตกรแปลงใหญ่นำกลุ่มเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ กล่าวว่า  ฉะเชิงเทราเป็นแหล่งเพาะเลี้ยงปลากะพงรายใหญ่มากที่สุดในประ เทศ เนื่องจากปัญหาโรคระบาดโควิด 19 รัฐบาลมีมาตรการล็อคดาวน์ธุรกิจร้านอาหาร โรงแรม สถานที่ท่องเที่ยว ส่งผลให้ปลากะพงตกค้างในฟาร์มเลี้ยงจำนวนมาก และมีราคาตกต่ำ เกษตรกรขาดเงินทุนหมุน เวียน และขาดทุนจำนวนมาก  ซึ่งทางหอการค้าจังหวัดฉะเชิงเทราได้รับเรื่องร้องเรียนจากเกษตรกรขอให้ช่วยเหลือโดยทำหนังสือถึงรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2563 ขอให้หน่วยงานภาครัฐช่วยแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน และมีการประสานไปยังกระทรวงพาณิชย์ อนุมัติงบประมาณจำนวน 27.81 ล้านบาทมาให้ดำเนินการช่วยเหลือ เพื่อการระบายปลาจำนวน 600 ตัน ภายในกรอบเวลาตั้งแต่เดือนกันยายน -พฤศจิกายน 2564 แต่เนื่องจากหน่วยงานที่รับผิดชอบภายในจังหวัดดำเนินการไม่ทันตามกรอบเวลาข้างต้น ทำให้งบประมาณ ถูกเรียกคืนไป

นายประโยชน์ โสรัจจกิจ ประธานหอฯ ใด้ยื่นหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัด  ลงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564 ให้ติดตามโครงการที่ถูกยก เลิกเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงปลากะพง
และผู้ว่าราชการจังหวัด มีหนังสือลงวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2564 ถึงปลัดกระทรวงพาณิยย์ และ อธิบดีกรมการค้าภายใน แต่เรื่องไม่มีความคืบหน้าแต่อย่างใด ต่อมาวันที่ 7 เมบายน 2564 นายประโยชน์ โสรัจจกิจ อดีตประธานหอ การค้าฯ และประธานเกษตรแปลงใหญ่ผู้เลี้ยงปลากะพงยักษ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา นายสุทธิ มะหะเลา

พร้อมด้วยเกษตรกรจำนวน 24 คน ได้เดินทางไปที่กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ โดยการประสานงานจาก นายอมรชัย  ปิ่นเจริญ เพื่อขอพบเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทวงพาณิชย์ นายบุณย์ธีร์ พานิชประไพ  พร้อมกับเจ้าหน้าที่บริหารของกรมการค้าภาย ใน เพื่อติดตามเรื่องขอความช่วยเหลือฯ และในวันที่ 8 เมษายน 2564
โดยสำนักงานปลัดกระทวงพาณิชย์มีหนังสือเรื่อง การเสนอโครงการเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงปลากะพง

ปี 2564 ถึงผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อดำเนินการโครงการต่อแต่งบประมาณที่จะนำมาช่วยเหลือเกษตรกรได้มาเพียง 9 ล้านบาทซึ่งต่างจากครั้งก่อนที่จะได้งบประมาณในการช่วยเหลือ 27 ล้านบาทเศษ นายประโยชน์กล่าว
 

ชวลิต ผู้สื่อข่าวภูมิภาคฉะเชิงเทรา