In Global
'ไทย-จีนฟรีวีซ่า'มุมมอง...'หาน จื้อเฉียง' เปิดประตูสู่ธุรกิจ-ท่องเที่ยวของ2ประเทศ
กรุงเทพฯ-สมาคมผู้สื่อข่าวไทย-จีนได้จัดประชุมใหญ่ประจำปี โดยได้เชิญเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย ร่วมเปิดงานและปาถกฐา “ไทยจีนฟรีวีซ่า ความสัมพันธ์ยั่งยืน เศรษฐกิจมั่งคั่ง” นโยบายฟรีวีซ่าไม่ว่าระหว่างประเทศใดย่อมสร้างความยินดีปรีดาให้กับทั้งสองฝ่าย ทำให้ประชาชนเดินทางไปมาหาสู่กันง่ายขึ้นและมีเรื่องของการแลกเปลี่ยนทางธุรกิจ การท่องเที่ยว เศรษฐกิจและวัฒนธรรมตามมาอีก
จับมือเชื่อมความสัมพันธ์เศรษฐกิจและการท่องเที่ยว พร้อมสนับสนุนเร่งปราบสินค้าผิดกฎหมายนำเข้า นโยบายฟรีวีซ่าไม่ว่าระหว่างประเทศใดย่อมสร้างความยินดีปรีดาให้กับทั้งสองฝ่าย เพราะนั่นไม่ใช่แค่การทำให้ประชาชนเดินทางไปมาหาสู่กันง่ายขึ้น แต่ยังมีเรื่องของการแลกเปลี่ยนทางธุรกิจ การท่องเที่ยว เศรษฐกิจและวัฒนธรรมตามมา
24 มี.ค. 2567 นายหาน จื้อเฉียง เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจําประเทศไทย กล่าวในงานว่า จีนและไทยเป็นทั้งเพื่อนบ้าน ญาติมิตร และหุ้นส่วนที่ดีที่มีโชคชะตาร่วมกัน ในช่วงที่ไวรัสโควิด-19 ระบาด คลิปวิดีโอจากชาวไทยทำให้ชาวจีนสัมผัสได้ถึงความอบอุ่น ขณะที่จีนเองก็ส่งวัคซีนป้องกันโควิด-19 มาสู่ไทย สองฝ่ายต่างสัมผัสได้ว่า "จีนและไทยเป็นครอบครัวเดียวกัน" และสื่อมวลชนเป็นฝ่ายที่มีบทบาทสำคัญในความร่วมมือฉันมิตรของสองประเทศ
1 มีนาคมปีนี้ ไทยและจีนเข้าสู่ยุคปลอดวีซ่า เอื้อต่อความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวและการแลกเปลี่ยนในทุกด้าน มีนัยสำคัญเชิงลัญลักษณ์ สร้างความพึงพอใจให้ประชาชนสองประเทศ อย่างไรก็ตาม เรามักจะได้ยินเสียงที่แตกต่างกันทําให้เกิดคําถาม ซึ่งเราต้องใส่ใจทุกความคิดเห็น และตอบสนองอย่างทันท่วงที โดยเอกอัครราชทูตได้วิเคราะห์ความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ร่วมกันไว้ดังนี้
1. ความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน
จีนเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของไทย ปี 2566 ปริมาณการค้าระหว่างจีนและไทยจะอยู่ที่ 1.26 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยจีนส่งออก 7.57 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ นําเข้า 5.06 หมื่นด้านดอลลาร์สหรัฐ จีนมีส่วนเกินดุล 2.51 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ การลงทุนโดยตรงของวิสาหกิจจีนในไทยอยู่ที่ 4.6 ร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 109 เมื่อเทียบเป็นรายปี และมีนักท่องเที่ยวจีนในไทย 3.52 ล้านคน สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวให้ไทย 1.96 แสนล้านบาท
ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้าจีน-ไทยเป็นประโยชน์ต่อประชาชน และส่งเสริมการพัฒนาของสองประเทศ ส่วนการที่บางคนมองว่าการขาดดุลการค้าระหว่างจีนกับไทยอาจทำให้ไทยเสียเปรียบนั้น เป็นความเห็นที่ไม่เป็นไปตามหลักวิทยาศาสตร์ โดยปัจจุบันผลไม้ไทยกลายเป็นของฝากยอดนิยมของชาวจีน ซึ่งจีนเป็นแหล่งส่งออกสินค้าเกษตรไทยมากถึง 40%
สินค้าจีนที่น่าเข้ามาในประเทศไทยส่วนใหญเป็นวัตถุดิบและชิ้นส่วน ซึ่งจะผลิตและแปรรูปโดยวิสาหกิจในท้องถิ่นแล้วส่งออกโดยมีมูลค่าเพิ่ม เช่น แผ่นซิลิคอนที่ไทยนำเข้าจากจีนในมูลค่า 1.295 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และส่งออกแบตเตอรี่เซลล์แสงอาทิตย์มูลค่า 2.92 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
นายหานกล่าวว่า เศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศต้องดูสถานการณ์ใดยรวมของดุลการชำระเงิน นอกจากการค้าสินค้าแล้ว ยังต้องดูการค้าบริการ และการลงทุนทางตรงด้วย ซึ่งเป็นภาคส่วนที่ไทยมีส่วนเกินมาก ปีที่แล้วนักท่องเที่ยวจีนใช้จ่ายเงินในไทย 5.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และบริษัทจีนลงทุนโดยตรงในไทย 4.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ พร้อมกล่าวว่าจีนไม่แสวงหาการได้ดุลการค้ากับไทย และจะเปิดรับสินค้าจากไทยเสมอ
กรณีรายงานข่าวและการพูดคุยบนออนไลน์เกี่ยวกับการส่งออกสินค้าจีนราคาถูกจํานวนมากไปยังไทย ซึ่งกระทบต่อผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกันในไทย และบางส่วนยังผิดกฎหมาย เช่น ละเมิดเครื่องหมายการค้า ไม่ทำตามมาตรฐาน และเลี่ยงภาษี นายหานแสดงความคิดเห็นว่า หนึ่ง จีนสนับสนุนให้ไทยปราบปรามบัญหาการนําเข้าสินค้าจีนที่ผิดกฏหมาย สอง ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้ามีกฏหมายเศรษฐกิจ และมีการแข่งขันในตลาด บางครั้งอาจมีปัจจัยที่ไม่เอื้อ ซึ่งทำให้มีคนส่วนน้อยที่ไม่พอใจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งสิ่งนี้ต้องได้รับการจัดการในองค์รวม สาม นโยบายปลอดภาษีของไทยสำหรับสินค้าจีนจำนวนน้อยถือเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและส่งเสริมการพัฒนาอีคอมเมิร์ซ
นายหานยังกล่าวถึงการลงทุนของบริษัทจีนในไทย ที่มีส่วนส่งเสริมการพัฒนาของไทย อาทิ บริษัทเทคโนโลยีอย่าง Huawei บริษัทยานยนต์ไฟฟ้า เช่น SAIC และ Great Wall Moter ซึ่งช่วยเพิ่มขีดความสามารถของไทยในการหาเงินตราต่างประเทศผ่านการส่งออก เพิ่มรายได้จากภาษี และเพิ่มโอกาสการจ้างงาน รวมถึงทำให้ชาวไทยได้รับทักษะที่สําคัญ
ประเด็นเรื่อง “จีนสีเทา" ซึ่งหมายถึงผู้ที่ลงทุนด้านสื่อลามก การพนัน และยาเสพติดนั้น นายหานกล่าวว่า จีนสนับสนุนให้ไทยปราบปรามกิจกรรมที่ผิดกฎหมาย ซึ่งจริงๆ แล้วหน่วยงานของจีนและไทยได้ให้ความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด หากการลงทุนของบริษัทจีนในไทยเปรียบเสมือนป่าไม้ การลงทุนใน "สินทรัพย์สีเทา” ก็ถือได้ว่าเป็นวัชพีชเพียงไม่ที่ชนิดเท่านั้น สิ่งที่เราต้องทําคือกําจัดวัชพืชและปกป้องป่าไม้ แทนการละทิ้งป่า
2. ความร่วมมือจีน-ไทยมีแนวโน้มในวงกว้าง
ความร่วมมือระหว่างจีนและไทยใกล้ชิดกันมากชึ้นเรื่อยๆ และยังมีอนาคตที่สดใสด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
หนึ่ง ตลาดขนาดใหญ่ของจีนกำลังเปิดกว้างมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และจีนมุ่งปกป้องระบบการค้าเครีระดับโลก และมีส่วนร่วมด้านการค้าเสรีระดับภูมิภาค ทวิภาคี และพหุภาคี
สอง ในการประชุมระดับชาติเมื่อไม่นานนี้ รัฐบาลจีนเสนอเป้าหมายการพัฒนาที่ร้อยละ 5 ในปีนี้ และเน้นย้ำการพัฒนาอุตสาหกรรมสมัยใหม่อย่างจริงจัง เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมดั้งเดิมสู่ระดับไฮเอนด์ อัจฉริยะ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
สาม การเชื่อมต่อจะเปิดโลกใหม่ของความร่วมมือจีน-ไทย ทั้งการก่อสร้างเส้นทางคมนาคมหลัก เช่นทางรถไฟจีน-ไทย และการเซื่อมต่อเชิงนโยบาย เช่น ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) รวมถึงการเจรจาเพื่อยกระดับข้อตกลงการค้าเสรีจีน-อาเซียน อันจะเอื้อต่อความร่วมมือหลายด้าน
สี่ ไทยครองตําแหน่งศูนย์กลางในการเชื่อมโยงโครงข่ายสามมิติในภูมิภาค อีกไม่กี่ปีข้างหน้า เมื่อรถไฟจีน-ไทยสร้างเสร็จ ระบบขนส่งระหว่างจีน ไทย และลาวจะเชื่อมต่อกัน ตลอดจนอินโดจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเชื่อมโยงกับตลาดจีนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ห้า ร่วมสร้างชุมชนจีน-ไทยที่มีอนาคตร่วมกัน ปีหน้าจีนและไทยจะครบรอบ 50 ปีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต การพัฒนาสัมพันธ์ทวิภาคีจะพบจุดเริ่มต้นใหม่ทางประวัติศาสตร์ การแลกเปลี่ยนและความร่วมมือจึงกลายเป็นความปรารถนาของประชาชน
หก ทํางานร่วมกันเพื่อปกบ้องบ้านเกิดของเราในเอเชียตะวันออก เพื่อให้ประชาชนมีชีวิตที่ดีประเทศชาติเจริญรุ่งเรือง ซึ่งจะเกิดขึ้นไม่ได้หากไร้ซึ่งสภาพแวดล้อมที่สงบและมั่นคง。ท่ามกลางวิกฤตการณ์ต่างๆ ที่โลกกำลังเผชิญ ตลอดจนประเทศนอกภูมิภาคที่ยังคงเล่นเกมภูมิรัฐศาสตร์
เจ็ด แม่นํ้าล้านข้าง-แม่โขงไหลผ่าน 6 ประเทศ ทำให้เราเป็นชุมชนที่มีอนาคตร่วมกัน ซึ่งเราให้ความสำคัญกับความเท่าเทียม เปิดกว้าง และไม่แบ่งแยก ไทยได้เสนอแนวคิด "หนึ่งวีซ่าสําหรับ 6 ประเทศ" เชื่อว่าในอนาคตผู้คน สินค้า เงินทุน และข้อมูลต่างๆ จะสามารถไหลเวียนได้อย่างอิสระ ประเทศไทยเป็นผู้ริเริ่มหลักของความร่วมมือล้านข้าง-แม่โขงและเป็นประธานหมุนเวียนคนปัจจุบัน จีนหวังว่าจะได้ร่วมงานกับประเทศไทยและประเทศอื่นๆ เพื่ออนาคตที่ดียิ่งขึ้นของภูมิภาคล้านช้างแม่โขงต่อไป