Think In Truth

ท้าวคันธนาม : วีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ในตำนาน จากดินแดนอีสาน  โดย : ฟอนต์ สีดำ



ท้าวคันธนาม หรือท้าวคัชนาม เป็นชาดกนอกนอกนิบาติที่มีการเล่าสืบต่อๆ กันมาหลายชั่วอายุคน ถ้าตามเนื้อเรื่องแล้ว น่าจะมีมานานก่อนสมัยพุทธกาล เพราะเนื้อหาไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา แต่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพระอินทร์ ซึ่งเป็นเทพเคารพในศาสนาผี ที่ชาวอีสานส่วนใหญ่เคารพนับถือ หรือกลุ่มชาติพันธุ์ในลุ่มแม่น้ำโขง นับถือ

คำว่า “คันธนาม” เป็นคำเดียวกับคำว่า คันธะนามในตำนานเรื่องคันธนามโพธิ์สัตว์ชาดก อันเป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าของเรามาเสวยชาติสร้างบารมี เมื่อหลายแสนปีมาแล้ว บริเวณทั้งหมดที่ใกล้กับกู่คันธนาม เป็นพื้นที่ชัยภูมิที่พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาโปรดเวนัยสัตว์ ซึ่งมีผู้ค้นคว้าได้จาก หนังสือจารึกไว้ในใบลาน เป็นตัวธรรม จำนวน ๗ ผูก และบันทึกไว้ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาประวัติความเป็นมา

ตำนานท้าวคันธนาม เป็นเรื่องที่บอกเล่าถึงการขยายอาณาจักรศรีสาเกตุ หรือจังหวัดร้อยเอ็ดในปัจจุบัน ซึ่งเป็นศุนย์กลางของอำนาจการปกครองในแผ่นดินอีสานหรือจะเรียกว่าดินแดนสยามโคก(สยำ กุก) ก็ว่าได้ ที่มีเมืองศรีภูมิ หรืออำเภอสุวรรณภูมิ ในปัจจุบันเป็นเมืองรอง การขยายอาณาจักรสาเกตุนคร ขยายพื้นที่การปกครองถึงจังหวัดเลยปัจจุบัน เพราะมีบางตอนได้เอ่ยถึงภูครั่ง สกลนครเพราะในเรื่องได้เอ่ยถึงภูพานหรือป่าหิมพานต์ จังหวัดอุบลราชธานีมีบางตอนได้เอ่ยถึงแดนงูซวงหรือเมืองขวางทะบุรี จำปาสักเพราะได้เอ่ยถึงวัดพูและหอนางสีดา และเสียงจันทร์ที่เอ่ยถึงจินายโม้ดีดก้อนดินกระเด็นถึงเวียงจันทร์

เรื่องย่อมีอยู่ว่า “มีหมู่บ้านหนึ่งในเมืองศรีสาเกตุ มีสาวทึนทึกอายุประมาณเป็นสาวใหญ่แต่ไม่มีสามี ทำมาหากินอยู่ในหมู่บ้านแห่งนี้ สาวนางนี้มีที่นาอยู่กลางนาของชาวบ้าน ต่อมาถึงเวลาที่เทวดา ผู้เป็นพระโพธิสัตว์จะลงมาเกิดในมนุษยโลก พอถึงเวลาเกี่ยวข้าวพระอินทร์ได้แปลงกายมาเป็นช้างใหญ่พญาฉัททันต์ ไปเหยียบย่ำนาข้าวในนาของนางจนเละจมโคลนหมดแล้วก็หนีไปทางทิศหรดี(ทิศตะวันตกเฉียงใต้) ช้างนั้นได้ทิ้งรอยเท้าไว้ให้รู้ว่าเดินไปทางไหน พอนางตื่นเช้ามานางมาพบนาเสียหายเลยเสียอกเสียใจ และโกรธมาก เลยเดินตามรอบช้างที่เข้ามาเหยียบข้าวตัวเอง ระหว่างทางนั้นนางเหนื่อยล้าและกระหายน้ำเลยกล้มลงดื่มน้ำในรอยเท้าช้าง พอหายเหนื่อยนางก็หายโกรธและเดินทางกลับ หลายวันต่อมานางก็เกิดมีท้องขึ้นมา และได้คลอดลูกออกมาเป็นลูกชาย ที่มีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง และยังมีดาบพระขรรชัยศรีติดตัวมาด้วย นางเลยตั้งชื่อลูกชายว่า “คันธนาม” ลูกชายเมื่อโตขึ้นก็ได้ช่วยงานน้อยใหญ่แม่อย่างเต็มเรี่ยวแรงและความสามารถ พออายุได้ 7 ขวบ ท้าวคันธนามก็ถามถึงพ่อ แม่ก็ได้เล่าเรื่องให้ฟัง และพาไปดูรอยช้างที่แม่ดื่มน้ำและท้องเป็นท้าวคันธนามในขณะที่กำลังพูคุยกันอยู่นั้นก็มียักษ์นตหนึ่งได้ออกมาจากป่าจับจับนางกินเป็นอาหาร ท้าวตันธนามก็ได้ใช้ดาบพระขรรชัยศรีสต่อสู้กับยักษ์ ยักษ์ยอมแพ้เลยมอบน้ำเต้าวิเศษให้ และบอกซ่อนทองให้รู้ ทั้งสองแม่ลูกได้ขุดทองนั้นขึ้มา ทำให้สองแม่ลูกมีฐานะดีขึ้นแล้วก็แบ่งทองคำที่ได้มาให้กับชาวบ้านในหมู่บ้านทุกคน

พอท้าวคันนามอายุอานามได้ 16 ปี ข่าวก็ล่ำลือว่าท้าวคันนามผู้นี้สามารถปราบยักษ์ได้  เรื่องก็รู้ไปถึงหูขอเจ้าเมืองศรีสาเกตุ พระองค์ได้สั่งให้ไปเอาตัวท้าวคันธนามมาเข้าเฝ้า แล้วสั่งให้ทดลองถอนต้นตาล 2 ต้น ที่มันขวางทางเสด็จอยู่ ท้าวคันนามใช้มือสองข้างจับต้นตาลถอนขึ้นมาได้โดยง่าย แถมยังเหาะขึ้นบนท้องฟ้ากวัดแกว่งตาลอย่างเต็มแรง พระยาศรีสาเกตุเห็นดังนั้นจึงแต่งตั้งให้ท้าวคันนามเป็นอุปราช พร้อมทั้งสร้างปราสาทให้เป็นเป็นที่อยู่ในอาศัยเมือง ท้าวคันนามได้พาพาแม่มาอยู่นำ วันหนึ่งท้าวคันธนามได้เอาน้ำเต้าวิเศษน้ำในน้ำเต้าลงในร่างกายแม่ แม่ของท้าวคันธนามนั้นกลายเป็นสาวงามจนเจ้าเมืองศรีสาเกตุมาขอไปเป็นมเหสี

อยู่มาวันหนึ่งท้าวคันนามเลยขอลาแม่ไปตามหาพ่อ ท้าวคันนามเดินตามรอยช้างไปจนถึงเมืองอินทปัดถา ระหว่างทางก็พบชยร้อยเล่มเกวียนกำลังลากเกวียน 500 เล่ม ท้าวคันธนามนึกสนุกได้ไปดึงเกวียนเล่มสุดท้ายไว้ ชยร้อยเล่มเกวียนดึงเกวียนไม่ไป รู้ว่าท้าวคันธนามดึงอยู่ด้านหลัง จึงโกรธและได้ต่อสู้กัน สุดท้ายชายร้อยเล่มเกวียนสู้ไม่ได้เลยขอติดตามเป็นเพื่อนรับใช้ ต่อมาก็ไปพบกับชายไม้ร้อยกอ ท้าวคันนามได้ลองกำลังต่อสู้กัน ทั้าวคันนามเป็นผู้ชะนะ ชายไม้ร้อยกอเลยยอมเป็นเพิ่อนรับใช้ ทั้งสามคนออกเดินทางไปตามหาพ่อของท้าวคันนาม ไปถึงป่าหิมพานต์ ทั้งสามหิวข้าว พอดีมองเห็นเห็นตัวจินายโม้(จิ้งโกร่ง)ยักษ์กำลังขุดรู ดินกระเด็นจากการดีดของเท้าจินายโม้ตัวนั้นข้ามน้ำน้ำโขงไปตกใกล้เมืองเวียงจันทร์ปัจจุบันเป็นเขาที่มีหินกระจัดกระจายอยู่และถูใช้เป็นค่ายทหารเรียกว่าค่าจินายโม้ ท้าวคันนามเลยลงไปจับได้ขาจินาโม้ยักษ์ดีดท้าวคันธนามขาขาด ท้าวคันนามจึงได้แต่ขาจินายโม้ยักษ์มาย่างไฟกินกับเพื่อนอีกสองคน แต่ไม่มีไฟขึงไปขอไฟจากกระท่อมที่มีแสงไฟข้างหน้า ปรากฏว่ากระท่อมนั้นเป็นที่อยู่ของยักษ์ เพื่อทั้งสองคนถูกยักษ์จับผูกขาไว้ในกรง ท้าวคันนามจึงใช้ดายพระขรรชัยศรีต่อสู้กับยักษ์จนชะนะ ยักษ์ได้มอบไม้เท้าวิเศษ กกซี้ตาย ปลายซี้เป็น และพิณวิเศษ ให้แก่ท้าวคันนาม ท้าวคันนามได้ใช้นำเต้ารดไปยังร่างของเพื่อนทั้งสองแล้วพากันเดินทางต่อไปได้

ทั้งสามคนเดินทางมาถึงเมืองขวางทะบุรี ได้พบเป็นเมืองร้างไม่มีคนอยู่อาศัยอยู เดินไปกลางเมืองได้พบกับกลองใบใหญ่ใบหนึ่ง จึงลองตีดูปรากฏว่ามีเสียงร้องของผู้หญิงดังออกมาแต่ในกลอง จึงใช้มีดปาดหน้ากลองออกและพบสาวงามซื่อว่านางกองสี เป็นลูกาวเจ้าเมือง ที่เจ้าเมืองเอามาช่อนไว้ ให้อดพ้นภัยจากงูซวง ส่วนเจ้าเมืองและไพร่พลชาวบ้านชาวเมืองถูกกงูซวงกินหมดแล้ว เพราะว่าเจ้าเมืองแลซาวเมืองประพฤติผิดฮีตครองธรรม นางกองสีบอกว่า ก่อไฟขึ้นงูซวงเห็นแล้วก็จะลงมาอีก ท้าวคันนามเลยก่อไฟกองใหญ่ให้ลุกสว่างไปถึงแถน งูซวงเห็นแสงไฟก็พากันลงมา  ท้าวคันนามกับเพื่อนทั้งสองคนเลยซ่ยกันฆ่างูซวงตายหมด ท้าวคันนามเลยเอาไม้เท้าวิเศษซุบซีวิตชาวบ้านชาวเมือง ตลอดจนพระราชากลับมามีซีวิตเหมือนเดิม พระราชาดีใจ ยกเมืองขวางทะบุรีแลนางกองสีในแก่ท้าวคันนาม ท้าวคันนามได้ให้ซายไม้ร้อยกอเป็นอุปราช ให้นายเกวียนร้อยเล่มเป็นนายแสนเมือง

อยู่ต่อมาได้ไม่นาน ท้าวคันนามก็ต้องออกตามหาพ่อต่อไป จึงฝากเมืองขวางทะบุรีไว้กับเพื่อนทั้งสอง แล้วเดินทางไปถึงเมืองจำปานคร ได้นางสีไส ลูกสาวมหาเศรษฐีของเมืองนั้นเป็นเมีย ได้ลูกชายด้วยกันผู้หนึ่งซื่อว่า คันธเนตร วันหนึ่งเจ้าเมืองจำปานครได้เสด็จประพาป่าไม้ ได้ไปพบกับยักษ์ ยักษ์จับได้จะกินเป็นอาหาร พระยาจำปาจึงขอซีวิตไว้ แล้วจะให้มนุษย์กินวันละคน เจ้าเมืองได้เอานักโทษไปไว้หอผีให้ยักษ์จับกินวันละคน พอหมดนักโทษเจ้าเมืองเลยคิดว่าสิยอมให้ยักษ์กินตนเองเสีย ถ้าเอาคนไม่มีความผิดมาไปให้ยักษ์กินก็จะไม่หมดเวรหมดกรรม นางสีดาได้ยินดังนั้นจึงยอมอาสาไปให้ยักษ์กินแทน ด้วยความกตัญญู ด้วยการอ้อนวอนของนางสีดาพระราชาผู้เป็นบิดาก็ต้องยอม ก่อนไปอยู่หอผีเป็นอาหารยักษ์ นางสีดาได้ขอทำบุญแจกทานให้แก่ชาวบ้านชาวเมืองก่อน ท้าวคันทะนามเห็นชาวบ้านชาวเมืองพากันร้องห่มร้องไห้ จึงสงสัยและถามเรื่องราวจากแม่ยายเลยรู้เรื่องทั้งหมด ถึงยาวดึก ท้าวคันนามได้เหาะไปหานางสีดาอยู่หอผีกลางเมือง แล้วปลอบนางสีดาว่าไม่ต้องกลัว พอยักษ์มาถึงท้าวคันนามจึงได้ฆ่ายักษ์ตาย แล้วเอาซากยักษ์ไปทิ้งอยู่หนองน้ำ หนองน้ำตรงนั้นจึงเรียกว่า “หนองแช่” จนถึงปัจจุบัน กระดูกยักษ์ กลายเป็นพญานาค 5 ตัวในลำน้ำโขง กระดูกเล็กกระดูกน้อย กลายเป็นปลาบึก และปลาเลิม ส่วนเลือดยักษ์ที่สาดกระเด็นถึงด่านซ้าย ดินเกิดปูดเป็นเนินตะปุ่มตะปั่ม เป็น “ภูครั่ง” จนปัจจุบันนี้ เมื่อฆายักษ์เสร็จแล้วจึงกลับมาหานางสีดาอยู่หอผีกลสงเมือง นางเลยขอให้พานางไปส่งที่ตำหนัก ท้าวคันนามบกว่ามันไม่ดี เกรงง่วาชาวบ้านชาวเมืองจะนินทาว่านางทำมารยาคบซู้ ท้าวคันทะนามเลยลากลับ ด้วยความความอาลัย ก่อนจากกันท้าวคันนามเลยตัดผ้าแสนคำ ไว้ให้นางสีดา ไว้ดูต่างหน้า นางสีดาได้มอบแหวนให้ตอบแทน ทั้งสองจึงได้ลาจากกัน

ฝ่ายพระยาเมืองนครจำปารู้เรื่อง ก็แสนจะดีใจ รู้ว่าท้าวคันนามเป็นผู้มีบุญวาสนาดี มีฤทธิ์มาก มีบุญญาธิการมาช่วยบ้านเมืองจำปานครไว้ได้ เลยยกบ้านเมืองให้ปกครอง ให้นางสีดา ลูกสาวตนให้เป็นมเหสีเบื้องขวา ให้นางสีไล ลูกสาวมหาเศรษฐี เป็นมเหสีเบื้องซ้าย พระยาจำปานครจึงได้จัดงานเฉลิมฉลองขึ้นครองเมืองของท้าวคันทะนาม

ต่อมาท้าวคันนามได้ลาเจ้าเมือง เลยออกเดินทางพร้อมกับมเหสีทั้งสองและชาวเมืองจำนวนหนึ่งตามหาพญาช้างฉัททันต์พ่อของตน ไปจนฮอดเขตป่าหิมพานต์ ก็ได้ได้พบกับพ่อพญาซ้างฉัททันต์สมใจ พญาช้าได้สั่งสอนลูกซายหลายสิ่งหลายอย่าง พร้อมทั้งยกงาให้คู่หนึ่ง พอแต่ช้างพญาฉัททันต์ผู้พ่อหมดอายุขัย ท้าวคันนามได้เก็บกระดูกและฝังกระดูกพ่อของตนแล้วจึงเดินทางกลับบ้านเมืองของตน”

จากตำนานท้าวคันธนาม สามารถวิเคราะห์และตีความได้ว่า ในยุคก่อนพุทธกาล คนในดินแดนล่มแม่น้ำโขง หรือสุวรรณภูมิ ไม่มีเขตพรหมแดนที่ชัดเจน แต่จะเคารพนับถือกันตามความสามารถในการต่อสู้ การขยายอาณาเขต หรือขยายอิทธิพลของอาณาจักรนั้น ขึ้นอยู่กับกำลังพล ความกล้าหาญ และมีเชื้อสาย บารมี ในการนำทางเพื่อการขยายอาณาจักร เรื่องกำเนิดที่เมืองศรีสาเกตุ หรือสาเกตุนคร ซึ่งตามตำนานโบราณได้ระบุไว้ว่า เมืองสาเกตุร้อยเอ็ดประตู คือจังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งเดิมมีความสำคัญทางการค้าเมืองหนึ่ง ที่ถือว่าเป็นทวาวรวดีแห่งอีสาน หรือจะเรียกว่าเป็นเมืองหลวงของเสียมกุก หรือสยามโคกก็ว่าได้

ท้าวคันธนามเป็นลูกพระอินทร์ที่แปลงตัวเป็นช้างฉัททันต์ นั้นหมายความว่า ท้าวคันธนามเป็นราชบุตรของเจ้าเมือง ผู้มีบุญญาธิการ ด้วยบารมีแห่งชาติกำเนิด จึงสามารถสร้างพันธมิตรในการเดินทางตามหาช้างผู้เป็นพ่อ ซึ่งหมายถึงอำนาจเหนือแผ่นต่างๆ ที่เอ่ยถึงในเรื่อง การเมืองการปกครองในอาณาจักรบนผืนแผ่นดินอีสาน จะปกครองด้วยครรลองครองธรรม ถึงแม้จะเอาชนะด้วยการรบก็ตาม ความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ยังคงใช้ผู้หญิงเป็นเครื่องมือในการเชื่อมความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ซึ่งแนวทางของการเมืองการปกครองในสมัยโบราณ ยังคงมีแนวคิดเชิงการเมืองการปกครองที่คล้ายครึงกับปัจจุบันอยู่

หากจะวิเคราะห์กันลึกๆ แล้ว บ้านเมืองของเรา ถึงปกครองมาด้วยระบอบกษัตริย์ มาโดยตลอด แต่กษัตริย์พระองค์นั้นจะต้องเป็นผู้มีบุญญาธิการ มีความสามารถในการแก้ปัญหาบ้านเมือง มีความสามารถในการสร้างพันธมิตรเพื่อรักษาไว้ซึ่งอำนาจ มีความสามรรถในการรักษาไว้ซึ่งคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งเป็นผู้ที่จะปกครองบ้านเมืองให้อยู่ในธรรมนองคลองธรรม อีกทั้งยังเป็นผู้ที่เสียสละ ในการแสวงหาเพื่อเลี้ยงดูกองกำลัง และประชาชนให้อยู่ดีมีสุข มีความเอื้อเฟื้อ ประหนึ่งกับธรรมในการปกครองที่เรียกว่า ทศพิธราชธรรมหรือราชธรรม 10คือจริยวัตร 10 ประการที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติเป็นหลักธรรมประจำพระองค์ หรือเป็นคุณธรรมประจำตนของผู้ปกครองบ้านเมือง ให้มีความเป็นไปโดยธรรมและยังประโยชน์สุขให้เกิดแก่ประชาชนจนเกิดความชื่นชมยินดี