Think In Truth
ยุคหลัง...'ท้าวคันธนาม' สงครามพี่น้อง โดย: ฟอนต์ สีดำ
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ได้นำเสนอการขยายอาณาจักรของเสียมกุก หรือสยามโคก ในยุคสมัยเมืองศรีสาเกตุนครหรือเมืองร้อยเอ็ดเรืองอำนาจ โดยท้าวคันธนาม ตามเว็บไซด์ประตูสู่อีสาน(คึดฮอดบ้านเฮา - IsanGate : ประตูสู่อีสานบ้านเฮา ) ผู้เขียนต้องขอขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้ ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลหนึ่งที่รวบรวมเรื่องราวต่างๆ ในภาคอีสานของประเทศไทย ซึ่งผู้เขียนก็ขอใช้ข้อมูลการรวบรวมของเว็บไซด์มาเป็นเนื้อหาของตำนานท้าวคันธนามในยุคหลังของการขยายอณาจักรเสียมกุก ที่มีเมืองศรีสาเกตุนครเป็นศูนย์กลางอำนาจ และจะขอใช้ข้อมูลสถานที่อ้างอิง ยืนยันในการขยายอาณาเขต จากเว็บไซด์ประตูสู่อีสาน เพื่อให้เห็นถึงการรับรู้การขยายอาณาจักรเสียมกุก ในยุคก่อนพุทธกาล ซึ่งจะได้เชื่อมโยงกับเนื้อหา การรุกรานทางอริยธรรมหลังพุทธกาล ในคราวต่อไป
หลังจากที่ท้าวคัธนามได้กลับมาปกครองศรีสาเกตุ ก็ขยายอาณาจักรขึ้นไปถึงเมืองแสนหวี เชียงแสน เชียงทองหรือหลวงพระบาง เมืองจันทร์(เวียงจันท์ปัจจุบัน) เมืองศรีโคตร ท่าแขก เมืองหนองหาญหลวง จึงพบพ่อ ที่ป่าหิมพานต์หรือภูพานในปัจจุบัน เมื่อพบพ่อแล้วจึงเดินทางกลับ โดยนัยของเรื่องเป็นการเดินทางตามหาบิดาซึ่งเป็นช้าง ระหว่างทางในการเดินทางกลับได้ผ่านเมืองตักสิลา โดยในเว็บดซด์ได้ระบุว่า เมืองตักสิลาคือจังหวัดขอนแก่น และมหาสารคาม เจ้าเมืองตักสิลาได้ทำทีขอเป็นศิษย์ และหลอกใช้ไม้เท้าวิเศษชี้ไปที่ท้าวคันธนาม กลายเป็นก้อนหินตั้งอยู่ที่เมืองตักสิลา หลักฐานที่ที่ท้าวคันธนามเป็นก้อนหินนั้นไม่ได้ปรากฏมีการเอ่ยถึงว่าอยู่ที่ได
ส่วนบุตรชายสองคน โตเป็นหนุ่ม คนแรกชื่อท้าวคัชเนก ซึ่งเป็นบุตรชายที่เกิดจากนางสีไล และท้าวคัชจันทร์ ซึ่งเกิดจากนางสีดา เกิดอยากได้ไม้ท้าววิเศษขึ้นมา จึงเกิดสงครามแย่งชิงไม้เท้าวิเศษ ซึ่งในเว็บไซด์ประตูสู่อีสานได้เล่าเรื่องนี้ไว้ดังนี้
“ฝ่ายเมืองจัมปากนคร บัดนี้พระโอรสของท้าวคันธนามที่เกิดจากนางสีไลชื่อว่า “คัชเนก” และ “คัชจันทร์” ซึ่งเป็นโอรสที่เกิดจากนางสีดา ได้โตเป็นหนุ่มทั้งคู่ ก็คิดถึงท้าวคันธนามพระบิดา จึงล่ำลาพระมารดาออกติดตามหาพระบิดา จนมาถึงเมืองตักสิลา จึงได้รบกับเจ้าเมืองและก็ชนะ แล้วก็ได้ไม้เท้าวิเศษกลับคืนมา จึงใช้ไม้เท้าชี้แท่งหินให้พระบิดาคันธนามฟื้นคืนมา แล้วก็ยกเมืองตักสิลาให้พระบิดาปกครอง พร้อมกับทูลเชิญพระมารดาของทั้งสองพระองค์มาอยู่ที่เมืองตักสิลานี้ด้วยกัน แล้วโอรสทั้งสองก็ขอลาพระบิดาและพระมารดาเดินทางกลับ เมืองจัมปากนคร ของตนเองต่อไป
เมื่อกลับมาถึงเมืองแล้ว โอรสทั้งสองก็เกิดทะเลาะกันเพื่อแย่งชิงไม้เท้าวิเศษนั้น ซึ่งพระโอรสทั้งสองนี้มีอิทธิฤทธิ์และปาฏิหาริย์มาก หากรบพุ่งกันจะบรรลัยวอดวายและสะเทือนไปถึงพรหมโลกเลยทีเดียว จนพระอินทร์ผู้เป็นปู่ได้สั่งให้พญาแถนส่ง “ลมกระดิงหลวง” ลงมาห้ามทัพ พระยาแถนเล็งเห็นว่า ท้าวคัชเนก สิ้นบุญแล้ว จึงบันดาลลมมีดแถ (มีดโกน) ไปยังกองทัพของสองพี่น้องนั้น ลมมีดแถฟันท้าวคัชเนกสิ้นชีวิตตกลงบนแผ่นดิน ร่างท้าวคัชเนกกลายเป็นภูเขาชื่อว่า “ภูจอมศรี” เป็นภูเขาอยู่กลางเมืองหลวงพระบาง ในประเทศลาวในปัจจุบัน ส่วนศีรษะตกลงดินกลายเป็นพระยานาค ส่วนเลือดที่ตกลงมาเป็นก้อนสีแดง เรียกว่า “ภูครั่ง” ร่างกายส่วนหนึ่งตกลงมากระทบแผ่นดินเป็นหลุมใหญ่ในหุบเขา ภายหลังกลายเป็นเมือง เรียกว่า “เมืองหล่ม” ซึ่งก็คือ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ในเขตประเทศไทย
ส่วน“ท้าวคัชจันทร์” ได้ทำการต่อสู้จนเอาชนะลมนั้นได้ จึงได้รับการอภิเษกขึ้นเป็น “พระเจ้าจักรพรรดิ” ขึ้นครองเมืองจัมปากนครอย่างสงบสุขจวบจนสิ้นอายุขัย"
ชาดกนอกณิบาตนี้ ถึงแม้ช่วงเวลาที่ยังไม่มีการบันทึก คือยุคก่อนพุทธกาล มาจนถึงยุคหลังพุทธกาลที่พบหลักฐานจากจากสมุดใบลานของวัดท่าลาด ตำบลท่าลาด อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นการจารึกด้วยอักษรธรรม และเป็นสำนวนธรรมเป็นเรื่องย่อ และฉบับที่สองพบสมุดใบลานวัดขุมคำ ตำบลแก้งเค็ง อำเภอกุดข้าวปุ้น จังหวัดอุบลราชธานี เป็นสำนวนวัดขุมคำ ซึ่งเป็นสำนวนที่คล้ายกับฉบับแรก แต่จะผูกเอาสถานที่ต่างๆ เข้าไปด้วย และหลักฐานอีกส่วนหนึ่งคือจารึกใบลานจำนวน 7 ผูกที่ปราสาทกู่คันธนามบ้านคันธนาม ตำบลยางคำ อำเภอโพนทราย จังหวัดร้อยเอ็ด (เรื่องยาวที่ถูกเล่าขานมากที่สุด ครอบคลุมอาณาเขตล้านช้างหรือ สปป.ลาว ภาคอีสาน และประเทศกัมพูชา) ชาดกนอกณิบาตเรื่องท้าวคันธนามนี้ได้รวบรวมไว้ในในหนังสือ "สารานุกรมวัฒนธรรมอีสาน เล่ม 5" โดย ธวัช ปุณโณทก, พ.ศ. 2542 หน้า 1616-1618
ว่ากันไปแล้ว การถ่ายทอดเรื่องราว วัฒนธรรม หลักการแนวคิด การเมือง การปกครอง รวมทั้งสภาพทางภูมิศาสตร์ สภาพแวดล้อม สภาพทางเศรษฐกิจ นั้น โดยส่วนใหญ่ จะถูกถ่ายทอดผ่านชาดกกันทั้งนั้น ชาดกที่มีการสืบทอดกันมาเป็นเวลานาน เป็นหลายชั่วอายุคนนั้น ต้องเป็นชาดกที่มีความสำคัญ ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ แนวคิด สถานการณ์ และสภาพต่างๆของดินแดนที่ประพันธ์ชาดกนั้นขึ้นมา
ก็เป็นที่น่าสังเกตุเกี่ยวกับชาดก ที่ถูกเรียบเรียงและบันทึกขึ้นมาในรูปจารึกใบลานก็ตาม หรือบันทึกในสมุดข่อย โดยทั่วไปแล้ว จะมีการบันทึกหลังจากที่มีเรื่องเล่าเหล่านั้นเกิดขึ้นมาแล้วอย่างยาวนาน บางเรื่องตามเค้าโครงเรื่องจะและบริบทในเรื่องจะพบว่า มีความห่างจากเรื่องราวและการบันทึกมากกว่าพันปี ดั่งเช่นเรื่องท้าวคันธนามนี้ เป็นเรื่องที่เล่าต่อๆ กันมาก่อนที่จะมีการจารึกในใบลาน น่าจะไม่น้อยกว่า 2000 ปี เพราะเรื่องที่เกิดขึ้น เป็นความเชื่อในพระอินทร์ ซึ่งเป็นเทพสูงสุดในความเชื่อของศาสนาผี ซึ่งยังไม่มีเรื่องความเชื่อในศาสนาพุทธเข้ามาเกี่ยวข้องเลย ถึงแม้นว่าปราสาทกู่ท้าวคันธนาม จะมีปราสาทหินในศาสนาฮินดู ไศวะนิกาย สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 นั่นเป็นการแผ่ความเชื่อทางศาสนาฮินดู หลังจากที่ศาสนาฮินดูสามาตรครอบปราสาทอังกอร์ได้แล้ว ประมาณพุทธศตวรรษที่ 17 จนพระเจ้าจิตเสนได้แผ่อิทธิพลกระจายไปทั่วทั้งภาคอีสานของไทย ซึ่งจะได้เขียนให้ท่านได้ติดตามในตอนต่อไป
ด้วยเงื่อนไขแห่งการศึกษาของนักวิชาการทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี มักจะยึดทฤษฎีการสืบค้นข้อมูล Methodology ทางตะวันตกเป็นสำคัญ อีกทั้งกรมศิลปกรของไทยก็มีนักโบราณคดีชาวฝรั่งเศสเข้ามาฝังตัวเป็นผู้เชี่ยวชาญอยู่ถึง 28 ปี ที่คอยชี้นำทิศทางการศึกษาทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี จึงละเลยการนำเอาชาดกนอกนิบาตมาร่วมเป็นข้อมูลพิจารณา การตีความเชิงประวัติศาสตร์และโบราณคดี จึงไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและตำนานของท้องถิ่นในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย โดยเฉพาะคิดเหยียดชาติพันธุ์จากส่วนกลาง จึงทำให้ศิลปะวัฒนธรรมท้องถิ่นถูกละเลยต่อการให้ความสำคัญเชิงประวัติศาสตร์ แต่ก็ยังถือว่าโชคดี ที่ประเทศไทยยังคงมีทีมงานได้จัดทำสารานุกรมศิลปวัฒนธรรมของแต่ละภูมิภาค เพื่อรวบรวมเรื่องราวต่างๆ ไว้ให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษา แต่ด้วยการถูกตราให้เป็นเพียงเรื่องเล่า นิทานปรัมปรา ศิลปะวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่ถูกบันทึกในสารานุกรม ก็จะกลายเป็นเพียงเรื่องเล่าที่หาหลักฐานอ้างอิงไม่ได้ ซึ่งขาดน้ำหนักและความสำคัญเชิงวิชาการทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีไป
หากเดินทางไปบ้านคันธนาม ตำบลยางคำ อำเภอโพนทราย จังหวัดร้อยเอ็ด จะพบสถานเคารพอยู่สามจุด คือ ปรางกู่คันธนาม ที่เป็นอนุสรณ์สถานท้าวคันธนาม ที่มีรูปปั้นที่เป็นศิลปอีสานซึ่งเป็นต้นแบบศิลปเทพพนมไทยสมัยใหม่ เป็นสถานเคารพที่เล่าเรื่องท้าวคันธนาม ปราสาทหินกู่คันธนาม เป็นปราสาทหินศิลปะขอม ที่มีรูปปั้นเคารพในศาสนาฮินดูและรูปปั้นของพระเจ้าชัยวรมันต์ที่ 7 และมีวัดบ้านคันธนาม ซึ่งเป็นศาสนาสถานที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชนบ้านคันธนาม ใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา
หากจะลำดับตามเหตุการณ์ ในช่วงเวลาของการเกิดเหตุการณ์ต่างๆ นั้นพอที่จะลำดับเหตุการณ์คร่าวๆ ได้ดังนี้
ตำนานชาดกนอกณิบาต ท้าวคันธนาม เป็นเหตุการณ์ที่เกิดก่อน เพราะเกิดก่อนยุคพุทธกาล เพราะในเรื่องของท้าวคันธนาม ไม่ได้มีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพระในพุทธศาสนาเลย และไม่เกี่ยวข้องกับพญาขอม หรือเทพในศาสนาฮินดูเลย อีกทั้งตลอดทั้งเรื่องถึงแม้ว่าจะมีส่วนที่เอ่ยถึงดินแดนอีสานใต้อยู่บ้าง แต่ก็ไม่ได้เอ่ยถึงศาสนาพราหมณ์หรือพระพรหมแต่อย่างอย่างได นั่นคือการขยายอาณาจักรศรีสาเกตุนคร จะเน้นขยายอาณาจักรกระจายจากเมืองร้อยเอ็ดออกไปโดยรอบ เมื่อถึงดินแดนขอมก็จะหยุดขยายออกไป หากจะดูการขยายตัวของอาณาจากรมาทางตวันตกเมืองร้อยเอ็ด ก็ลงมาถึงเพียงสระบุรี ไม่ถึงลพบุรีหรืออยุทธยา ผ่านนครราชสีมาโดยไม่เอ่ยถึงเมืองเสมา พิมาย ประโคนชัยบุรีรัมย์ แต่มีการเอ่บถึงหลวงพระบาง และหลายเมืองในประเทศ สปป.ลาว
ส่วนวัด เป็นศาสนาสถานที่บ่งบอกถึงศานาพุทธได้เกิดขึ้นในแผ่นดินของท้าวคันธนาม ซึ่งศาสนาพุทธหากยึดตามหลักทางวิทยาศาสตร์ ว่าด้วยทฤษฎีสัมพัทภาพของการเคลื่อนที่ทางดาราศาสตร์ โดยยึดเอาวันวิสาขบูชาตรงกับวันเพ็ญ เดือนหก ที่มีดวงจันทร์เต็มดวงที่ประเทศไทยแล้ว ก็จะสรุปได้ว่า ในประเทศอินเดียพระจันทร์จะไม่เต็มดวงในวันวิสาขบูชา จึงสรุปตามหลักวิทยาศาสตร์ว่า ศาสนาพุทธมีกำเนิดที่ประเทศไทย ดังนั้น ศาสนาพุทธจึงกำเนิดขึ้นที่ดินแดนท้าวคันธนาม เป็นลำดับถัดมา
ส่วนปราสาทหินกู่ท้าวคันธนาม นั้นเป็นการแผ่อิทธิพลของศาสนาฮินดูเข้ามาในดินแดนของท้าวคันธนาม ในพุทธศตวรรษที่ 18 หรือหลังยุคพุทธกาล 1700 ปี โดยศาสนาฮินดูได้เคลมศาสนาพราหมณ์สยาม หรือขอม เนื่องจากการแต่งงาน ตามตำนาน “พระทองนางนาค” นางนาคคือโสมาราชินี ซึ่งเป็นกษัตริย์หญิงองค์สุดท้ายของเมืองอนุราชหรือนครธม พระทองจึงสถาปนาตนเองเป็นกษัตริย์นามพระเจ้าโกณทิณญวรมันต์เทวะ จึงยึดเขาพระสุเมรุหรือนครวัดซึ่งเป็นศาสนสถานศาสนาพราหมณ์สยามหรือขอม ไปเป็นศาสนถสานฮินดู และพราหมณ์ขอมจึงมาสร้างปราสาทองค์ใหม่ คือปราสาทตราพรหม การที่พวกแขกทมิฬฮินดูไม่ฆ่าพราหมณ์หรือขอม เพราะเป็นพระญาติกับพระนางโสมาราชินี ดังนั้นฮินดูจึงเคลมเอามาร่วมด้วย โดยให้เป็นองค์เคารพต่ำสุด ถ้าสังเกตุจากศิวลึงค์ จะพบว่า ขึ้นไปจากแท่นโยนี จะเป็นสี่เหลี่ยม คือ พระพรหม ตรงกลางเป็นแปดเหลี่ยม คือพระวิณุ สูงสุดเป็นทรงกระบอกปลายทรงครึ่งวงกลม นั่นหมายถึงพระศิวะ ซึ่งนั่นคือที่มาของการต่อต้านฮินดูในภาคอีสาน ภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคใต้ของไทย ด้วยวรรณกรรมรามเกียรติ์ซึ่งเป็นวรรณกรรมที่ประพันธ์โดยพราหมณ์สยามเพื่อการต่อต้านฮินดู แล้วจึงฟื้นฟูพุทธศาสนาเถรวาทขึ้นมาใหม่ ด้วยพระมาลัยซึ่งเป็นพระจากเมืองกัมโพช ที่อยู่ในแคว้นลังกา ซึ่งจะได้เขียนถึงหลักฐานยักษ์คุชานุมาน ในลำดับต่อไป