Travel Sport & Soft Power

ชัยภูมิจัดใหญ่ 'บุญประเพณีแห่นาคโหด' พลังศรัทธาและแปลกดึงนทท.ร่วมคึกคัก



ชัยภูมิ-จังหวัดชัยภูมิรวมกับการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดชัยภูมิ รวมกับชาวบ้านโนนเสล่า ตำบลหนองตูม อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ จัดงานบุญที่ยิ่งใหญ่งานแห่งพลังศรัทธา "ประเพณีแห่นาคโหด ประจำปี 2567” แห่งเดียวในโลก ในวันที่ 10 พฤษภาคม 2567 ณ บ้านโนนเสลา ตำบลหนองตูม อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ

พิธีแห่นาคที่นี่…แปลก…ประหลาด…และโหดที่สุดในโลก!! ที่บ้านโนนเสลาแห่งนี้ถือเป็นประเพณีโบราณและปฏิบัติสืบทอดต่อกันมาหลายชั่วคนนับ100ปี ที่มีแห่งเดียวในโลก เพื่อที่ชาวบ้านจะได้มาร่วมกันจัดงานอุปสมบทหมู่ให้กับคนหนุ่มบุตรหลานในหมู่บ้านที่มีอายุครบ 20 ปี ถือเป็นวันขึ้น 1 ค่ำ แรม 15 ค่ำ ของเดือนหกเป็นประจำทุกปีเพื่อให้ลูกหลานได้บวชแทนคุณบิดามารดา ด้วยความตั้งใจของผู้ประสงค์จะบวชเอง ซึ่งจะมีการเตรียมตัวมาตั้งแต่เดือนสี่ ผู้เป็นบิดาจะพาบุตรชายไปฝากไว้กับเจ้าอาวาส ใน 2 วัดของหมู่บ้านโนนเสลา คือวัดบุญถนอมพัฒนาราม(วัดนอก) และวัดตาแขก(วัดใน) เพื่อถือขัน 5 ประกอบด้วยเทียน 5 คู่ ดอกไม้ 5 คู่ ไปฝากตัวเป็นนาคปฏิบัติธรรมถือศีล 8 อยู่ที่วัด เรียนรู้บทสวดที่จะบวช และเรียนรู้พระธรรมวินัยเบื้องต้น ก่อนถึงกำหนดวันบวชของประเพณีงานบุญเดือนหก ซึ่งถือว่าวันแห่นาคโหด จะเป็นวันสำคัญในการที่ประชาชนทุกคนในหมู่บ้านจะต้องออกมามีร่วมรวมแห่นาคเข้าวัด ที่เป็นตำนานของประเพณีแห่นาคแบบแปลกประหลาดและโหดที่สุด ที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาช้านาน

โดยจะใช้คนหนุ่มที่ยังไม่ได้บวชของแต่ละหมู่บ้านที่มีรุ่นพี่บวช มาช่วยกันหามแข้ไม้ไผ่ แห่นาคไปรอบหมู่บ้าน และเขย่า โยนนาค อย่างรุนแรง เพื่อความสนุกสนาน และถือเป็นการทดสอบความตั้งใจว่าผู้บวชจะมีความมุ่งมั่นอดทนจริงจังที่จะบวชแทนคุณบิดามารดา หรือไม่ ที่จะต้องประคองตัวเองคือผู้ที่จะบวชไม่ให้ตกลงมาจากแข้ไม้ไผ่หามให้ได้ เพราะถ้าใครตกลงมาถูกพื้นดินจะถือว่าขาดคุณสมบัติไม่ให้บวช โดยขบวนแห่ดังกล่าวจะมีพ่อแม่ญาติพี่น้องของนาคและชาวบ้านจากหมู่บ้านต่างๆทั่วสารทิศ เดินทางมาเข้ารวมขบวนนับหมื่นคน ไปตลอดระยะทางที่แห่ไปรอบๆหมู่บ้านกว่า 3 กิโลเมตร ซึ่งตั้งแต่มีการปฏิบัติสืบทอดกันมาใน พ.ศ. 2514 จนถึงปัจจุบัน แห่นาคโหดบ้านโนนเสล่าประเพณีสุดแปลกหนึ่งเดียวในโลกที่จัดขึ้นเป็นประจำในเดือนนี้ของทุกปี ซึ่งในปีนี้มีนาคเข้ารวมอุปสมบท จำนวน 8 นาค 

โดยวันที่ 10 พฤษจิกายน 2567  เริ่มจากพิธีโกนผมนาคในช่วงเช้า ต่อด้วยการขอขมาบิดามารดาตลอดจนญาติผู้ใหญ่ ก่อนเข้าพิธีทำขวัญนาค ซึ่งทั้งหมดจะต้องพากันเดินออกจากวัดเพื่อไปกราบศาลปู่ตาประจำหมู่บ้าน ซึ่งเป็นศาลศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อประจำหมู่บ้าน  

จากนั้นนายอนันต์ นาคนิยม ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ  ได้เดินทางมารวมพิธีเรียกขวัญนาคและรวมกับส่วนราชการต่างๆทำพิธีเปิดงานประเพณี”แห่นาคโหด” จ.ชัยภูมิ ปี2567  ที่บริเวณภายวัดตาแขก บ้านโนนเสลา ตำบลหนองตูม อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ก่อนชาวบ้านจะรวมกันทำพิธีตั้งขบวนแห่ โดยการนำนาคขึ้นแห่บนแคร่ไม้ไผ่ โดยจะใช้คนหนุ่มที่ยังไม่ได้บวชของแต่ละหมู่บ้าน มาช่วยกันหามแคร่ พร้อมกันเดินแห่นาคไปรอบๆหมู่บ้าน โดยตามความเชื่อบอกไว้ว่า ให้เขย่าโยนนาคอย่างรุนแรง ถือเป็นการทดสอบความตั้งใจว่า ผู้บวชจะมีความมุ่งมั่นอดทนมากน้อยแค่ไหนที่จะบวชแทนคุณ

โดยนาค จะต้องประคองร่างกาย ไม่ให้ตกลงมาจากแคร่ หากใครตกลงมาถูกพื้นดินจะถือว่าขาดคุณสมบัติไม่ให้บวช ส่วนนาคที่ได้ผ่านการแห่นาคโหดและได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เข้าสู่ร่มกาสาวพักตร์ได้  โดยจะเป็นเช่นนี้ตลอดระยะทางที่แห่รอบหมู่บ้านกว่า 3 กิโลเมตร ซึ่งตั้งแต่มีการปฏิบัติสืบทอดกันมาใน พ.ศ. 2514 จนถึงปัจจุบัน ยังไม่มีผู้ใดตกลงมาถูกดินเลยสักรายเดียว ถึงแม้จะได้รับบาดเจ็บรุนแรงที่สุด คือ ศีรษะแตกและแขนหลุดก็ตาม ศรัทธามหามงคลยังดำเนินต่อไปตามความเชื่อและความรู้สึกในเส้นทางศาสนา และนี่คือที่มาของคำว่า "ประเพณีแห่นาคโหด" 

ด้านนายอนันต์  นาคนิยม ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิเปิดเผยว่า การส่งเสริมอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามแห่นาคโหด จังหวัดชัยภูมิ ได้ตั้งบประมาณไว้ส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่องอย่างเต็มที่ทุกปี ซึ่งถือว่าเป็นประเพณีเก่าแก่แต่โบราณของคนที่นี่ และถือว่าจะเป็นจุดส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดชัยภูมิ ที่มีแห่งเดียวในโลกก็ว่าได้ ซึ่งเรามีหน้าที่บำรุงพระพุทธศาสนา และการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ทั้งหมดช่วยกันเตรียมงานมาต่อเนื่องนับเดือนเป็นประจำทุกปี เพื่อให้ลูกหลานคนในชุมชนได้ปฏิบัติตนในสิ่งงามก่อนเข้าวัด และการแห่นาคโหดที่ชาวบ้านจะพากันเขย่าหามนาคอย่างแรงนั้น เพื่อที่จะทำให้นาคนึกถึงความอดทน เข้มแข็ง และในปีนี้สามารถบวชสืบทอดพระพุทธศาสนาโดยผ่านอุปศักดิ์ไปด้วยดีได้

ชาติชาย สงวนรัมย์/ชัยภูมิ