EDU Research & ESG

ไทยเตรียมเป็นเจ้าภาพจัดงานGlobal Sustainable Development Congress



กรุงเทพฯ, ประเทศไทย – 6 มิถุนายน 2567 - ในอาทิตย์หน้า ประเทศไทยกำลังจะเป็นเจ้าภาพในงานจัดงานอันยิ่งใหญ่ Global Sustainable Development Congress ประจำปี 2567 ซึ่งเป็นการผนึกกำลังในการจัดงานระหว่าง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และสถาบันจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก Times Higher Education (THE) โดยงานจะจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 10-13 มิถุนายน พ.ศ.2567 นี้ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

งานสุดยิ่งใหญ่ในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมงานกว่า 3,000 คนจากทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมต่าง ๆ อาทิ มหาวิทยาลัย หน่วยงานภาครัฐ ธุรกิจ องค์กรพัฒนาเอกชนและภาคประชาสังคม ที่ตบเท้าเข้าร่วมการประชุมเพื่อพัฒนาแนวทางในการแก้ไขวิกฤตด้านความยั่งยืนระดับโลกอย่างเร่งด่วนผ่านการส่งเสริมความร่วมมือและนวัตกรรม

ยิ่งไปกว่านั้นการประชุมครั้งนี้มีวิทยากรผู้มีชื่อเสียงมากกว่า 350 คนจากทั่วโลกมาร่วมให้ข้อมูลเชิงลึกที่เกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งวิทยากรที่มีชื่อเสียงที่ได้รับการยืนยันเข้าร่วมงานจากประเทศไทยประกอบด้วย

●  คุณ ศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

● คุณ พรพรหม ณ.ส. วิกิตเศรษฐ์ ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครฯ และผู้บริหารด้านความยั่งยืนกรุงเทพมหานครฯ

● คุณ มลิสา ศิระวิศิษฏ์พร Country Head of Human Resources, HSBC Thailand

● คุณรัชญา กุลณพงษ์ หัวหน้าฝ่ายความยั่งยืน บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น

● ดร.วราพงศ์ วงศ์วัชรา หัวหน้าสำนักงานความยั่งยืน กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร

● ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล

● ดร.พรชัย มงคลวนิช อธิการบดีมหาวิทยาลัยสยาม

ไฮไลท์สำคัญภายในการประชุมคือ Global Sustainability Leaders' Summit ซึ่งคือการประชุมสุดยอดผู้นำด้านความยั่งยืนระดับโลก ทัพนำผู้นำจากหลากหลายอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นด้าน ธุรกิจ รัฐบาล การศึกษาระดับอุดมศึกษา และภาคประชาสังคม กว่าจำนวน 150 คนมารวมตัวกันเพื่อคิดแนวทางการแก้ปัญหาที่รูปธรรมในด้านความยั่งยืนของโลก

นอกจากนี้ยังได้มีกิจกรรมอื่น ๆ ที่น่าสนใจไม่แพ้กัน ไม่ว่าจะเป็นการประชุม International Green Skills Summit และ THE’s DataLabs ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การเสริมสร้างความยั่งยืนในการศึกษาระดับอุดมศึกษาผ่านข้อมูลต่าง ๆ การวิเคราะห์โดยผู้เชี่ยวชาญ และแนวทางปฏิบัติที่เป็นที่ประจักษ์จากทั่วมุมโลก ซึ่งภายในงานพื้นที่งานนิทรรศการที่รวบรวมมหาวิทยาลัยและสมาคมชื่อดังมากมายจากประเทศไทยและทุกทั่วมุมโลกที่มาร่วมแสดงความมุ่งมั่นด้านความยั่งยืนของพวกเขา ทั้งนี้จะมีการเผยแพร่ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่มีการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals หรือ SDGs) หรือ THE Impact Rankings ของปีล่าสุดที่ได้รับความสนใจอย่างมากจากทั่วทุกมุมโลกโดยเฉพาะในประเทศไทย ซึ่งเป็นการจัดอันดับที่โดดเด่นที่ประเมินมหาวิทยาลัยโดยพิจารณาจากการมีส่วนร่วมขององค์กรต่าง ๆ ต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ

ผู้เข้าร่วมงานจะได้มีส่วนร่วมในการอภิปรายและร่วมดำเนินการเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยพูดคุยกับมหาวิทยาลัยเพื่อปรับโครงงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะด้านการศึกษา การวิจัย นวัตกรรม และการขยายงานให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (SDGs) ของสหประชาชาติ ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมจะมีโอกาสเสริมสร้างเครือข่ายและทำงานร่วมกันกับองค์กรต่างอุตสาหกรรม ซึ่งกำหนดการประกอบด้วยการดูกรณีศึกษา แนวปฏิบัติที่ดีที่สุด แผนงานที่ประสบความสำเร็จ และกลยุทธ์เชิงนวัตกรรม พร้อมนำเสนอโครงการที่ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเป็นรูปธรรม

กิจกรรมทั้งสี่วันจะมุ่งเน้นไปที่หกประเด็นสำคัญ:

1. การศึกษา เพศสภาพและความเหลื่อมล้ำ

2. สุขภาพ ความเป็นอยู่ที่ดี และประชากร

3. การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงานและอุตสาหกรรมที่ยั่งยืน

4. ระบบอาหาร ที่ดิน น้ำ และมหาสมุทรที่ยั่งยืน

5. เมืองและชุมชนยั่งยืน

6. การปฏิวัติเชิงดิจิทัลสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน

คุณ Phil Baty, Chief Global Affairs Officer ของ THE กล่าวว่า “ประเทศไทยถือว่าเป็นประเทศต้น ๆ ของโลกหรือเรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในมหาอำนาจทางด้านการศึกษาที่มีมหาวิทยาลัยชั้นนำที่ช่วยสนับสนุนโลกและประเทศในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติเป็นเรื่องน่ายินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่เราร่วมมือกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศไทย เพื่อเป็นเจ้าภาพการประชุม Global Sustainable Development Congress งานนี้รวมภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาสังคมเข้ากับมหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง ซึ่งแน่นอนว่าประเทศไทยถือว่าเป็นประเทศที่เหมาะสมในการจัดงาน ทั้งยังเป็นตัวอย่างในแง่ของกรณีศึกษาเกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่ดี”