Digitel Tech & Innovation

วว.ผนึกพันธมิตรจัดเวิร์คช็อปเทคโนโลยี พลังงานทดแทนให้แก่ประเทศที่สาม



กรุงเทพฯ-วว. ผนึกกำลังพันธมิตร จัด Workshop เทคโนโลยีพลังงานทดแทนให้แก่ประเทศที่สาม มุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของอาเซียน

ดร.ประทีป วงศ์บัณฑิต รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านพัฒนาอย่างยั่งยืน สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวต้อนรับเครือข่ายพันธมิตรในพิธีเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหัวข้อ Renewable Energy Technologies and Knowledge Transfer for Strengthening and achieving ASEAN’s Sustainable Development Goals.  ในกรอบประเด็นเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนและการถ่ายทอดความรู้สำหรับการเสริมสร้างและบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของอาเซียน ภายใต้การดำเนินโครงการจัดหลักสูตรฝึกอบรมให้แก่ประเทศที่สาม The Third Country Training Programme (TCTP) ซึ่งเป็นความร่วมมือทางวิชาการไทย-ญี่ปุ่น โดย วว. และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้รับอนุมัติสนับสนุนงบประมาณจาก กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ (TICA) และองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (Japan International Cooperation Agency , JICA) มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลการดำเนินงานวิจัยแก่ประเทศในกลุ่มอาเซียนจำนวน 5 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา มาเลเซีย เมียนมาร์ เวียดนาม อินโดนีเซีย และไทย ในวันที่ 10มิถุนายน 2567 ณ ห้องบัวหลวง  ชั้น 10 โรงแรมเอเชียแอร์พอร์ต เซียร์รังสิต

ทั้งนี้มีการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน (AMS)จะเติบโตมากกว่า 5% ในช่วงปี 2557 – 2568ซึ่งจะส่งผลให้ความต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วโดย AMS เป็นส่วนหนึ่งของระบบพลังงานโลกที่มีพลวัตมากที่สุด ในช่วง 15 ปีที่ผ่านมามีความต้องกาพลังงานรเพิ่มขึ้น 60% ปัจจุบันคิดเป็น 5% ของความต้องการทั่วโลกทั้งหมด และจะเพิ่มขึ้นเป็น 7.5% ภายในปี 2568 การจัดหาพลังงานใน AMS ส่วนใหญ่เป็นเชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งในภูมิภาคนี้มีทรัพยากรเชื้อเพลิงฟอสซิลในท้องถิ่นไม่เพียงพอต่อความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้น และส่วนแบ่งของเชื้อเพลิงฟอสซิลที่นำเข้าจะเพิ่มขึ้น จึงมีผลกระทบด้านความมั่นคงทางพลังงานที่สำคัญ และความจากต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจากฟอสซิล จะเพิ่มผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ที่เกี่ยวข้องกับพลังงานจะเพิ่มขึ้น 61% และจะมีปริมาณมากกว่า 2.2 Gt ต่อปีในปี 2568

ดังนั้นในปัจจุบัน AMS จึงพยายามปรับสมดุลของพลังงาน รวมถึงการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การใช้พลังงานหมุนเวียน และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หลายๆประเทศได้เปิดตัวนโยบายและมาตรการเพื่อส่งเสริมพลังงานหมุนเวียนจากทรัพยากรในท้องถิ่น เพื่อลดการนำเข้าเชื้อเพลิงฟอสซิล ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และเพิ่มความมั่นคงด้านพลังงานในระดับชาติและระดับภูมิภาค แม้ว่าAMS จะมีทรัพยากรแต่ยังไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มศักยภาพ เนื่องจากขาดความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในบางประเทศ ดังนั้นการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการดังกล่าวจะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาให้เป็นรูปธรรมมากขึ้นทั้งในแง่เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม