In Bangkok

กทม.ติดCCTVเพิ่มความปลอดภัยจุดเชื่อม การเดินทางมีเทคโนฯจับผิดบุคคล



กรุงเทพฯ-กทม. ติดตั้ง CCTV เพิ่มความปลอดภัยจุดเชื่อมต่อการเดินทาง พร้อมเทคโนโลยีจับผิดบุคคลและวัตถุต้องสงสัย

(12 มิ.ย.67) นายเอกวรัญญู อัมระปาล ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และโฆษกของกรุงเทพมหานคร เปิดเผยถึงโครงการกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) บริเวณจุดเปลี่ยนถ่ายการเดินทาง (ล้อ-ราง-เรือ) ว่า ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์) เล็งเห็นความสำคัญและความจำเป็นในการเพิ่มความสะดวกสบายด้านการจราจรและเพิ่มความปลอดภัยให้กับประชาชน ตามนโยบายด้าน “เดินทางดี” กรุงเทพมหานคร โดยสำนักการจราจรและขนส่ง จึงดำเนินโครงการกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) บริเวณจุดเปลี่ยนถ่ายการเดินทาง (ล้อ-ราง-เรือ) ซึ่งจะติดตั้งระบบบริการจุดรับส่งปลอดภัย บริเวณจุดเปลี่ยนถ่ายการเดินทาง (ล้อ-ราง-เรือ) ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 48 จุดที่สำคัญและมีประชาชนใช้เป็นจุดเปลี่ยนถ่ายในการเดินทาง โดยติดตั้งกล้อง CCTV จำนวน 48 จุด รวม 192 กล้อง บริเวณสถานีรถไฟฟ้า จุดจอดรถแท็กซี่ชั่วคราว ท่าเรือ ป้ายรถประจำทาง พร้อมเชื่อมโยงสัญญาณภาพเข้าสู่ศูนย์ควบคุมกลาง ที่ศูนย์ควบคุมระบบจราจร กรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า) เพื่อบันทึกภาพจากกล้อง CCTV โดยสามารถบันทึกภาพได้สูงสุด 30 วัน 

สำหรับข้อมูลที่ได้จากกล้อง CCTV บริเวณจุดเปลี่ยนถ่ายในการเดินทาง สามารถใช้ Software (LPR) ตรวจสอบรายละเอียดลักษณะทางกายภาพของบุคคล เช่น เพศ สีผิว รูปร่าง เสื้อผ้าที่สวมใส่ เป็นต้น พร้อมสามารถวิเคราะห์พฤติกรรมการวางวัตถุต้องสงสัยและรายละเอียดลักษณะทางกายภาพของวัตถุได้ และสามารถตรวจสอบแผ่นป้ายทะเบียนยานพาหนะ กรณีที่มีการจอดรับ-ส่งผู้โดยสารหรือประชาชน รวมทั้งติดตั้งระบบเรียกรถบริการสาธารณะอัจฉริยะ โดยระบบสามารถบันทึกภาพของผู้ใช้บริการและทะเบียน รถบริการสาธารณะที่ให้บริการ ซึ่งหากเกิดเหตุอันไม่พึงประสงค์ของผู้โดยสารหรือผู้ให้บริการ ระบบสามารถติดตามผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดีได้ หรือกรณีลืมสัมภาระ สิ่งของบนรถบริการสาธารณะ ก็สามารถติดตามคืนได้ ซึ่งขณะนี้โครงการได้ทำการติดตั้งกล้อง CCTV ครบแล้วและสามารถใช้งานได้โดยสมบูรณ์ครบทุกจุด

“เชื่อว่าโครงการดังกล่าวฯ จะอำนวยความสะดวกและเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการที่มีการรับ-ส่งผู้โดยสารบริเวณจุดรับส่งปลอดภัย มีความมั่นใจในความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน โดยในระยะต่อไปในเฟสที่ 2 กรุงเทพมหานครจะทำการติดตั้งกลัอง CCTV เพิ่มเติมอีก 50 จุดทั่วพื้นที่กรุงเทพมหานคร เพื่อยกระดับความปลอดภัยและเพิ่มคุณภาพชีวิตคนกรุงเทพขึ้นไปอีกขั้น” โฆษก กทม. กล่าว

สำหรับจุดติดตั้งกล้อง CCTV บริเวณจุดเปลี่ยนถ่ายการเดินทาง (ล้อ-ราง-เรือ) จำนวน 48 จุด ประกอบด้วย 1.สถานีรถไฟฟ้า BTS เอกมัย บริเวณป้ายรถประจำทางหน้าท้องฟ้าจำลอง 2.สถานีรถไฟฟ้า BTS พระโขนง บริเวณป้ายรถประจำทาง 3.ท่าเรือเป๊ปชี่ (ตากสิน) บริเวณป้ายรถประจำทาง 4.สถานีรถไฟฟ้า BTS หมอชิต 1 บริเวณจุดจอด TAXI ชั่วคราว 5.สถานีรถไฟฟ้า BTS หมอชิต 2 บริเวณจุดจอดรถตู้ 6.สถานีรถไฟฟ้า BTS ม.เกษตรศาสตร์ บริเวณป้ายรถประจำทางหน้า ม.เกษตร 7.สถานีรถไฟฟ้า BTS ห้าแยกลาดพร้าว บริเวณป้ายรถประจำทางหน้า เช็นทรัลลาดพร้าว 8.สถานีรถไฟฟ้า BTS บางบัว บริเวณป้ายรถประจำทางหน้า ม.ศรีปทุม 9.สถานีรถไฟฟ้า BTS พหลโยธิน 24 บริเวณป้ายรถประจำทาง 10.สถานีรถไฟฟ้า BTS เสนานิคม บริเวณป้ายรถประจำทาง 11.สถานีเดินรถโดยสารขนาดเล็ก (จตุจักร) บริเวณช่องเว้า จอดส่งผู้โดยสารออก 12.ป้ายรถประจำทางหน้าซอยเสือใหญ่ (รัชดาภิเษก 36) บริเวณก่อนถึง ม.ราชภัฏ จันทรเกษม 13.ป้ายรถประจำทางวัดดอนเมือง บริเวณป้ายรถประจำทางวัดดอนเมือง 14.สถานีรถไฟฟ้า MRT ห้วยขวาง บริเวณป้ายรถประจำทางหน้า Veranda 15.สถานีรถไฟฟ้า MRT ศูนย์วัฒนธรรมบริเวณป้ายรถประจำทางหน้า Esplanade 16.ป้ายรถประจำทางตลาดห้วยขวาง บริเวณหน้าโรงเรียนสามเสนนอก 17.ป้ายรถประจำทางห้างเอดิสัน ศรีย่าน ถ.สามเสน บริเวณฝั่งหน้าห้าง มุ่งหน้าร.พ.วชิรพยาบาล18.สถานีรถไฟฟ้า BTS สะพานใหม่ บริเวณป้ายรถประจำทางตลาดยิ่งเจริญ 19.ป้ายรถประจำทางอู่รถเมล์บางเขน บริเวณป้ายอู่รถเมล์บางเขน

20.สถานีรถไฟฟ้า MRT หลักสอง บริเวณป้ายรถประจำทางหน้าตลาดหลักสอง

21.สถานีรถไฟฟ้า MRT อิสรภาพ บริเวณป้ายรถประจำทาง 22.ท่าเรือสะพานพระปิ่นเกล้า ขาออก บริเวณป้ายรถประจำทาง 23.ท่าเรือวัดศรีบุญเรือง บริเวณตรงข้ามวัดศรีบุญเรือง  24.ท่าเรือวัดเทพลีลา บริเวณวินมอเตอร์ไซต์ตรงข้ามวัดเทพลีลา 25.ท่าเรือวัดราชสิงขร บริเวณป้ายรถประจำทางหน้าวัดราช 26.ท่าเรือวัดสร้อยทอง บริเวณป้ายถเมล์หน้าวัดสร้อยทอง 27.สถานีรถไฟฟ้า BTS อุดมสุข บริเวณป้ายรถประจำทางขาออก 28.ท่าเรือสะพานพระปิ่นเกล้า ขาเข้า บริเวณป้ายรถประจำทาง 29.สถานีรถไฟฟ้า MRT ลุมพินี บริเวณป้ายรถประจำทางสวนลุมพินี 30.ป้ายรถประจำทางตรงข้าม Paradise บริเวณป้ายรถประจำทางตรงข้าม Paradise 31.ป้ายรถประจำทางหน้าตลาดรถไฟ บริเวณป้ายรถประจำทางหน้าตลาดรถไฟ 32.สถานีรถไฟฟ้า BTS อารีย์ บริเวณป้ายรถประจำทางหน้าสหกรณ์ 33.ท่าเรือสะพานพุทธ บริเวณท่ารถสาย 73ก 34.สถานีรถไฟฟ้า BTS บางหว้า บริเวณจุดรับส่ง มุ่งหน้าราชพฤกษ์ 35.สถานีรถไฟฟ้า MRT ภาษีเจริญ บริเวณป้ายรถประจำทางหน้า Seacon 36.สถานีรถไฟฟ้า MRT บางไผ่ บริเวณป้ายรถประจำทาง 37.สถานีรถไฟฟ้า MRT เพชรเกษม 48  บริเวณป้ายรถประจำทาง 38.สถานีรถไฟฟ้า BTS อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ บริเวณป้ายรถประจำทางหน้า Century 39.สถานีรถไฟฟ้า BTS พญาไท บริเวณป้ายรถประจำทางหน้า ธ.กรุงศรีอยุธยา 40.สถานีรถไฟฟ้า MRT เพชรบุรี บริเวณทางออกรถไฟฟ้าใต้ดิน 

41.ท่าเรือหัวช้าง บริเวณป้ายรถประจำทาง BTS ราชเทวี 42.ป้ายรถประจำทางหน้าแพลทตินัม บริเวณป้ายรถประจำทางหน้าแพลทตินัม 43.สถานีรถไฟฟ้า BTS นานา บริเวณป้ายรถประจำทาง (ทางออก 1) 44.สถานีรถไฟฟ้า BTS อโศก บริเวณป้ายรถประจำทางหน้า Interchange 45.สถานีรถไฟฟ้า BTS ทองหล่อ บริเวณป้ายรถประจำทาง (ทางออก 1) 46.ป้ายรถประจำทางตลาดเอี่ยมสมบัติ บริเวณฝั่งตลาด บริเวณปากซอยศรีนครินทร์ 26 47.ป้ายรถประจำทางแยกพัฒนาการ บริเวณป้ายรถประจำทางแยกพัฒนา และ48.สถานีรถไฟฟ้า MRT สุทธิสาร บริเวณป้ายรถประจำทางหน้าเมืองไทยประกันชีวิต