Digitel Tech & Innovation

วว.หารือสภาหอการค้าไทยเพื่อส่งเสริม นวัตกรรม/วิจัยชูโครงสร้างพื้นฐานวทน.



กรุงเทพฯ-ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมด้วยทีมที่ปรึกษาคณะกรรมการพัฒนาระบบการส่งเสริมธุรกิจทางการแพทย์ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม วว.ได้แก่ ดร.กมล ไชยสิทธิ์ และดร.วริทธิ์ ศรีสุขทวีรัตน์  ร่วมต้อนรับคณะผู้บริหารหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย นำโดย นางสาวปริมจิตจรุงพรกรรมการรองเลขาธิการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยและประธานคณะกรรมการส่งเสริมนวัตกรรมและวิจัย ในโอกาสร่วมประชุมหารือการพัฒนาความร่วมมือระหว่าง วว.กับสภาหอการค้าไทยในอนาคต และศึกษาดูงานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.)ที่มีศักยภาพในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและเป็นกลไกในการส่งเสริม สนับสนุนผู้ประกอบการให้เข้มแข็งประกอบด้วย การเยี่ยมชมโครงสร้างพื้นฐาน Scale up Plant facilities  ได้แก่ 1) การให้บริการและการวิจัยและพัฒนาของศูนย์นวัตกรรมผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์เพื่ออุตสาหกรรม (ICPIM 1)ซึ่งเป็นศูนย์เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีโพรไบโอติกและจุลินทรีย์ในอุตสาหกรรมอาหารแบบครบวงจร และ 2) การให้บริการของโรงงานบริการนวัตกรรมอาหาร (FISP)ที่ให้บริการแบบครบวงจร One-Stop-Service ด้วยมาตรฐาน GMP

โอกาสนี้ นางศิรินันท์  ทับทิมเทศ  นักบริหารพิเศษและรักษาการผู้อำนวยการศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมอาหารสุขภาพ ดร.พงศธร  ประภักรางกูลนักบริหารพิเศษและรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ ดร.โสภาพรรณ  สัญญาณเสนาะ ผู้อำนวยการ สำนักจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม นายจิรวัฒน์  วัฒนบุตร  ผู้อำนวยการ กองบริการธุรกิจนวัตกรรม  รวมทั้งนักวิจัยและบุคลากร วว. ที่เกี่ยวข้องร่วมต้อนรับและนำคณะฯ เยี่ยมชมด้วย  ในวันที่ 18 มิถุนายน 2567  ณ อาคาร 60 ปี วว. เทคโนธานี คลองห้า จังหวัดปทุมธานี

ผู้ว่าการ  วว.กล่าวว่า วว. มุ่งเน้นการสร้างระบบนิเวศนวัตกรรม (Innovation Ecosystem)และโครงสรางพื้นฐานเพื่อพัฒนาขีดความสามารถผู้ประกอบการ  โดยนำ วทน. เข้าไปแก้ปัญหาเบ็ดเสร็จครบวงจร (STI  for  Total  Solution)  มุ่งบริการด้านการวิจัยและพัฒนาแก่ผู้ประกอบการ ทั้งในระดับ SMEs  ผู้ผลิตสินค้า OTOP  วิสาหกิจชุมชน  ตลอดจนเกษตรกร ที่มีความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ต้องการเพิ่มมูลค่า หรือมีความต้องการแก้ไขปัญหา ซึ่งมีรูปแบบและขั้นตอนการดำเนินงานที่ครอบคลุมตั้งแต่ การรับฟังแนวความคิดของผู้ประกอบการ  (idea)  การวิจัยและพัฒนา การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบและแก้ไขปัญหา (prototype & solution) การบริการวิเคราะห์ ทดสอบ สอบเทียบ  การขยายขนาดการผลิตจากห้องทดลองสู่ระดับการผลิตจริง (scale up) การพัฒนาระบบบริหารจัดการการผลิตสินค้า (product & management system)  ตลอดจนการพัฒนาสู่เชิงพาณิชย์ (commercialization) ทั้งการส่งเสริมด้านการตลาดและเชื่อมโยงด้านการเงิน เป็นต้น

นางสาวปริมจิตจรุงพรกล่าวว่า หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย มุ่งเชื่อมโยงความร่วมมือเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศ ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนโดยสนับสนุนภาครัฐผลักดัน FTAAP และเร่งขยาย FTA กับต่างชาติให้มากขึ้น พร้อมเร่งดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศร่วมกับ BOI และ EECพร้อมผลักดัน Bangkok Goals (เป้าหมายกรุงเทพฯ) ว่าด้วยเศรษฐกิจ BCG โดยจะนำเอาแผนพัฒนาเศรษฐกิจภูมิภาค ภาคเอกชน ระยะ 5 ปี ที่จัดทำร่วมกับกระทรวง อว. เป็นแนวทางขยายผล BCG Model เพื่อช่วยลดความเหลื่อมล้ำของประเทศ ขับเคลื่อน BCG ให้เกิดผลเป็นรูปธรรรม