EDU Research & ESG

มรภ.ชัยภูมิขานรับนโยบายอว.'ปั้นโอท็อป' ในชุมชนออกสู่ตลาดสร้างานสร้างชีพ



ชัยภูมิ-ม.ราชภัฎชัยภูมิขานรับนโยบาย อว. เดินหน้าส่งเสริมพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มต่างๆในชุมชนออกสู่ตลาดสร้างานสร้างชีพเพื่อแก้จนให้คนในชุมชนต่อไป

มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ตั้งอยู่บนโคกเขาสระหงส์ 4 ลูกที่อยู่ติดกันในละแวกตำบลนาฝาย อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ มีทัศนียภาพที่รายรอบด้วยขุนเขายาวเหยียดอยู่รอบด้าน สภาพพื้นที่เป็นเนินสูง ส่วนอากาศนั้นมีลมโชยสัมผัสได้ทุกหนทุกแห่ง มีต้นไม้ใบหญ้าอยู่เต็มไปหมด ด้านหลังมหาวิทยาลัยยังมีป่าโปร่ง ประกอบด้วยต้นไม้ใหญ่ยืนห่างเป็นระยะๆ พื้นที่ส่วนหนึ่ง ของด้านหลังจัดไว้เป็นสนามกอล์ฟ 9 หลุม เพื่อฝึกทักษะการกีฬาแก่นักศึกษา และให้บริการแก่บุคคลทั่วไป มหาวิทยาลัยได้ตัดแต่งผืนดินและป่าสร้างเป็นทางเดินและถนนอย่างเป็นระเบียบ พร้อมกับสร้างอาคารเป็นจุดๆ ตามผังที่วางไว้ ที่ดินผืนดังกล่าวนี้ มีเนื้อที่ 1,439 ไร่ ซึ่งเป็นที่สาธารณประโยชน์ที่สภาตำบลนาฝายมอบให้ และที่ต้องจารึกไว้ก็คือนอกจากเนื้อที่สาธารณประโยชน์ดังกล่าวแล้ว ยังมีชาวบ้านตำบลนาฝายและห้วยชันที่มีจิตใจเสียสละและเห็นแก่การศึกษา ของชาวจังหวัดชัยภูมิ ได้ร่วมบริจาคสมทบอีก 42 ไร่เศษ ทำให้มหาวิทยาลัยมีเนื้อที่รวม 1,482 ไร่เศษ

มหาวิทยาลัยราชภัฎชัยภูมิได้เริ่มเป็นโครงการจัดตั้งมาตั้งแต่ พ.ศ. 2537 ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2540 จำนวน 15 ล้านบาท สำนักงานโครงการจัดตั้งครั้งแรก อาศัยอยู่กับวิทยาลัยพลศึกษาชัยภูมิไปพลางก่อน ต่อมาเมื่อได้เริ่มสร้างมหาวิทยาลัยเป็นรูปร่างแล้วจึงได้ย้ายมาเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2541 นอกจากนั้นยังมีผู้ช่วยเหลืออื่น ๆ อีก อาทิ สมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพลบริจาคเงินให้ 1 ล้านบาท มูลนิธิการศึกษาภูเขียวบริจาคเงิน 5 แสนบาท และหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 55 ได้ช่วยก่อสร้างถนนลูกรังยาว 12 กิโลเมตรเศษต่อมาปี พ.ศ. 2541 และ พ.ศ. 2542 โครงการจัดตั้งได้รับงบประมาณอีก 3 ล้านบาท และ 2.4 ล้านบาท ตามลำดับ โดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2542 ได้งบประมาณก่อสร้างอาคารจากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา   10 ล้านบาท ปี พ.ศ. 2543 ได้งบประมาณ 2.4 ล้านบาท จนปี พ.ศ. 2544 จึงได้งบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน 6 ชั้นเป็นเงิน 72 ล้านบาท ในที่สุดจึงมีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเป็น “สถาบันราชภัฏชัยภูมิ” เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 ครั้นเมื่อปี พ.ศ. 2547 สถาบันราชภัฏทั่วประเทศได้รับการยกฐานะเป็น “มหาวิทยาลัยราชภัฏ” มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ จึงได้พัฒนาไปเป็นมหาวิทยาลัยไปด้วย และมีนักศึกษาจากทั่วสารทิศเดินทางมาศึกษที่มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ เป็นจำนวนมากจนถึงปัจจุบัน

ขณะเดียวกัน เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2567  ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สานนท์ ด่านภักดี รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ พร้อมคณะรวมถึงนักศึกษาได้เป็นแม่งานในการจัดเตรียมสถานที่และนำกลุ่มอาชีพต่างเข้าร่วมออกบูชแสดงสินค้าต่างๆ เพื่อให้ นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการการะทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)ได้ชมและศึกษาในระหว่าง ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานของ อว. ในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ ณ วัดบางอำพันธ์ อ.บำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ ก่อนการประชุม ครม. สัญจร กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 (นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์) พร้อมกับ พญ.เพชรดาว โต๊ะมีนา ที่ปรึกษา รมว.อว. น.ส.สุชาดา แทนทรัพย์ เลขานุการ รมว.อว. ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัด อว.และผู้บริหารกระทรวง อว. เข้าร่วม โดยมีนายอนันต์ นาคนิยม ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ กล่าวต้อนรับ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สานนท์ ด่านภักดี รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ กล่าวรายงานผลการดำเนินงานการขับเคลื่อนงานด้าน อววน. เพื่อพัฒนาด้านเกษตรและแปรรูปผลิตภัณฑ์ พร้อมด้วยนายสัมฤทธิ์ แทนทรัพย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.ชัยภูมิ เขต 3 ผู้นำชุมชน ผู้นำเกษตรกร และประชาชนให้การต้อนรับและเข้าร่วมรับฟังนโยบายการนำงานวิจัย วิทยาศาสตร์และนวัตกรรมมาแก้จน

โดยบรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก มีหน่วยงาน และชุมชน ออกร้านแสดงสินค้า นิทรรศการ ที่ได้รับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ และได้รับความสนใจจากประชาชนที่เข้าร่วมมากมาย และ ยังได้รับการสนับสนุนจากกระทรวง อว. ได้นำหน่วยแพทย์ อว. เคลื่อนที่ โดยโรงพยาบาล ศรีนครินทร์ ม.ขอนแก่น มาให้บริการตรวจสุขภาพประชาชนจำนวนมากกว่า 1,250 คน โดยเน้นการตรวจคัดกรองในโรคที่มีความเสี่ยง ที่พบบ่อยในภาคอีสาน เช่น ตรวจพยาธิใบไม้ในตับ ตรวจมะเร็งท่อน้ำดี และตรวจโรคไต รวมถึงหน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่ ตรวจฟันและขูดหินปูน โดยมุ่งหวังให้ประชาชนในพื้นที่มีโอกาสได้เข้าถึงบริการสุขภาพ และมีสุขภาพที่ดีด้วย

ซึ่งหลังจาก ที่ทาง ม.ราชภัฎชัยภูมิได้ขานรับนโยบาย อว. พร้อมเดินหน้าส่งเสริมพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มชีพต่างๆในชุมชนของพื้นที่ จ.ชัยภูมิ เพื่อพัฒนาตัวสินค้า และเป็นแหล่งเรียนรู้ของชาวบ้านและนักเรียนนักศึกษาทั้งนอกและในพื้นที่ โดยเฉพาะ การส่งเสริม การแปรรูปผ้าไหมให้มีลวดลายเป็นเอกลักษณ์ผลิตภัณฑ์ของชุมชน รวมถึงการส่งเสริมการผลิตข้าวกระยาสารท ไอครีมดอกกระเจียว การสร้างเครื่องทางการเกษตร และอื่นๆที่ทาง อว.และมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการส่งเสริมออกแบบในการสร้างแบรนหรือตัวสินค้าซึ่งจากนี้ต่อไปจะได้มีการผลักดินผลิตภัณฑ์ของกลุ่มต่างๆออกสู่ตลาดทั้งนอกและในพื้นที่รวมถึงส่งเสริมการส่งออกสู่ตลาดนอกประเทศต่อไปเพื่อเป็นการสร้างานสร้างชีพเพื่อแก้จนให้คนในชุมชนของพื้นที่จ.ชัยภูมิต่อไป

วิรัตน์ ดวงแก้ว ผู้สื่อข่าว จ.ชัยภูมิ