Authority & Harm
ปปช.สงขลาเป็นคนกลางประชุมปัญหา เครื่องมือโพงพางในทะเลสาบสงขลา
สงขลา-เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2567 สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดสงขลา เชิญกลุ่มชาวประมง ต. หัวเขา อ. สิงหนคร ร่วมการประชุมปัญหาการบังคับใช้กฎหมายกรณีการใช้เครื่องมือโพงพางทำการประมงดักจับสัตว์น้ำ ที่กีดขวางทางสัญจรในการเดินเรือทะเลสาบสงขลา ณ โรงแรมลีการเด้นท์ พลาซ่า อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยมี นายราม วสุธนภิญโญ ผู้อำนวยการสำนักงาน ประจำจังหวัดสงขลา เป็นประธานและได้ร่วมหารือ พูดคุยร่วมกับกลุ่มชาวประมง ต่อข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น รวมถึง แลกเปลี่ยนมุมมองต่อประเด็นปัญหาดังกล่าว ซึ่งปัจจุบันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ ทั้งในส่วนของการจับกุม และการบังคับใช้กฎหมายเพื่อรื้อถอนโพงพางในระยะร่องน้ำ ความยาว 5 กิโลเมตร ตามประกาศของสำนักงานเจ้าท่าจังหวัดสงขลา จนนำมาสู่ข้อขัดแย้งระหว่างรัฐและประชาชนในเวลาต่อมา
ข้อเท็จจริงจากกลุ่มประมงตำบลหัวเขา สะท้อนว่า การแก้ไขปัญหาดังกล่าว นอกเหนือจากการบังคับใช้กฎหมายจากภาครัฐแล้วนั้น การรับฟังปัญหาที่แท้จริงจากกลุ่มชาวประมงยังไม่เกิดขึ้น เพราะการประกอบอาชีพโพงพาง นั่นคือวิถีวิตของกลุ่มชุมชนบริเวณหัวเขา หากในครั้งนี้มีการรื้อถอน ก็จำเป็นที่จะต้องมีพูดคุยถึงการเยียวยาอย่างยั่งยืน ซึ่งไม่ได้หมายรวมถึงการมอบเงินเยียวยา และที่ดินทำกินเพียงเท่านั้น กล่าวคือ หากมีหน่วยงานภาครัฐที่สามารถหนุนเสริม ทั้งการมอบองค์ความรู้ สร้างอาชีพใหม่ และการพัฒนาอาชีพ เพื่อให้กลุ่มชาวประมงสามารถเปลี่ยนแปลงการทำกินได้อย่างแท้จริง สำนักงาน ปปช.ประจำจังหวัดสงขลา ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว โดยจะรวบรวมนำข้อเสนอแนะจากการพูดคุยทั้งสามฝ่าย กล่าวคือ กลุ่มประมงหัวเขา หน่วยงานราชการ และกลุ่มอนุรักษ์ เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืนต่อไป
ทางด้าน นายราม วสุธนภิญโญ ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช ประจำจังหวัดสงขลา เปิดเผยว่า ที่จริงในส่วนของกระบวนการเราต้องพูกถึงในเชิงสภาพปัจจุบันก่อนว่า ในเมื่อโพงพาง ถูกกำหนดว่าเป็นเครื่องมือผิดกฎหมาย ดังนั้นหน่วยงานของรัฐ ที่มีหน้าที่โดยตรงในการดูแลไม่ว่ากรมประมง หน่วยงานเจ้าท่าเองที่โพงพางเป็นสิ่งที่กีดขวางลำน้ำเค้าก็ต้องทำตามกฎหมายปัจจุบันที่มีอยู่ ถ้าไม่ทำมันก็เทียบเท่าการละเว้นปฎิบัติหน้าที่
หลังจากที่ฟังเสียงชาวบ้านตนเข้าใจนะว่าชาวบ้านเข้าใจและทราบปัญหาตรงนี้ ชาวบ้านยินดีพร้อมที่จะถอยไปตามแนวร่องน้ำที่มีเครื่องมือโพงพาง แต่ชาวบ้านก็มีคำถามต่อว่า ดังนั้นรัฐจะดูแลกระบวนการเยียวยาชาวบ้านต่อไปอย่างไรได้บ้าง เพราะว่าชาวบ้านมองว่าวิถีชีวิตความเป็นอยู่ตั้งแต่ดั้งเดิม ย้อนกลับไปตั้งแต่อดีตว่า โพงพางครั้งนึงไม่ได้ผิดกฎหมาย แต่ปัจจุบันผิดกฎหมาย เพราะว่าโพงพางเป็นส่วนหนึ่งที่เค้าใช้ประกอบอาชีพ เมื่อเทียบกับกลุ่มอื่นๆ เค้ามีพื้นที่ใช้ประกอบอาชีพ แต่ชาวบ้านโซนในกลุ่มนี้ไม่มีพื้นที่ทำกินในการประกอบอาชีพจริงๆ จึงเป็นส่วนหนึ่งเหตุผลที่ชาวบ้านพยายามยื้อไม่ให้มีการรื้อโพงพาง ถ้าหากไม่มีโพงพางชาวบ้านก็รับได้ แต่รัฐควรจะมีอะไรหรือมีกระบรวนการแก้ไขปัญหาที่ชาวบ้านจับต้องได้เป็นรูปธรรม
ซึ่งเท่าที่ฟังปัญหาของชาวบ้านนั้น โพงพางมันเป็นสิ่งจำเป็นที่ประกอบอาชีพยกตัวอย่างของชาวบ้านนึงได้บอกว่า 'ถึงแม้ตนจะโดนจับ ตนก็ยังจะกลับมาประกอบอาชีพโพงพางเหมือนเดิม' ซึ่งตรงนี้มันเป็นวิถีของชาวบ้านจริงๆ ดังนั้นควรหาทางออกมากกว่าการบังคับใช้กระบวนการตามกฎหมายอย่างเดียว เพราะว่า กระบวนการแก้ไขปัญหาตามกฎหมายเป็นการแก้ปัญหากระบรวนการนึง ถ้าหากรัฐมีกรอบหรือแนวทางการแก้ปัญหาที่ดีชาวบ้านก็รับได้นะ เช่น ชาวบ้านได้พูดถึงที่ดินทำกิน สมมุติว่า 'ที่ดินสวนปาล์มที่รัฐมี ให้ชาวบ้านไปสัมปทานได้ไหม ให้ชาวบ้านไปดูแลต่อและก็แบ่งกันระหว่างรัฐกับชาวบ้าน เค้ารับในส่วนอื่นด้วย ซึ่งตรงนี้มันอาจจะหลากหลาย บางส่วนอาจจะรับเป็นตัวเงินเพราะว่าตัวเงินบางคนที่บริหารจัดการเงินไม่เป็นมันอาจจะหมดได้อย่างรวดเร็ว แต่ถ้ามีอย่างอื่นที่มันมากกว่านั้นอย่างเช่นที่ดินมันอาจจะอยู่ได้อย่างยั้งยืนมากกว่า ซึ่งโพงพาง เป็นส่วนหนึ่งที่สามารถทำให้เกิดรายได้ค่อนข้างที่จับต้องได้
ยกตัวอย่างเช่นโมเดลทางภาคเหนือของกระบวนการแก้ไขปัญหายาเสพติดที่ในหลวง ร.9 ท่านทรงแก้ไขปัญหา ซึ่งมันเป็นปัญหาที่ตนมองว่ามันเป็นการแก้ไขปัญหาที่ยาก แต่ท่านทรงแก้ไขปัญหาได้ อันนี้ก็เช่นเดียวกัน ชาวบ้านก็มองว่า รัฐให้ความสำคัญกับเค้าจริงๆ มันก็สามารถแก้ไขปัญหาได้ ซึ่งตนมองว่าตอนนี้ชาวบ้านเปิดใจนะไม่ใช่ว่าไม่ยอมรับฟังอะไรเลย ชาวบ้านยอมรับ ฉะนั้น ตนเชื่อว่าทุกฝ่ายหน่วยงานภาครัฐ เข็มแข็ง ตั้งใจ ในเรื่องทำตามข้อกฎหมายที่กำหนด ชาวบ้านเองยินดีที่จะทำตามกฎหมาย อันไหนที่ผิดก็ถอยออกไปและเรื่องกระบรวนการของรัฐที่จะมาดูแลในเรื่องของการเยียวยาชาวบ้าน ก็จะสามารถแก้ไขปัญหาโพงพางแบบยั่งยืน ไม่ต้องมีผลกระทบของการรื้อถอนแล้วชาวบ้านต้องออกมาประท้วงต่างๆ ซึ่งมันจะมีผลกระทบต่อพื้นที่จังหวัดสงขลา
ซัมซูดิน///รายงาน