In News

ภาวะเศรษฐกิจการคลังภูมิภาคก.ค.ปี67 จับจ่ายใต้-ตต.กระตุ้นศก./เชื่อมั่นอุตฯพุ่ง



กรุงเทพฯ-เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนกรกฎาคม 2567 ขยายตัวได้ต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการจับจ่ายใช้สอยเพื่อการบริโภคที่ขยายตัวเกือบทุกภูมิภาคโดยเฉพาะภาคใต้ และภาคตะวันตก อีกทั้งความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้นในหลายภูมิภาค

นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนกรกฎาคม 2567 ว่า “เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนกรกฎาคม 2567 ขยายตัวได้ต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการจับจ่ายใช้สอยเพื่อการบริโภคที่ขยายตัวเกือบทุกภูมิภาคโดยเฉพาะภาคใต้ และภาคตะวันตก อีกทั้งความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้นในหลายภูมิภาค” โดยมีรายละเอียดดังนี้

เศรษฐกิจภาคใต้ในเดือนกรกฎาคม 2567 มีปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน และเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการที่ขยายตัวได้ โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ และรายได้เกษตรกรขยายตัวที่ร้อยละ 20.9 0.8 และ 25.3 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -5.7 ต่อปี แต่ขยายตัวที่ร้อยละ 21.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 55.2 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 56.3 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -27.5 ต่อปี แต่ขยายตัวที่ร้อยละ 15.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล อย่างไรก็ตาม จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -24.4 ต่อปี ทั้งนี้ เงินทุนโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวที่ร้อยละ 229.5 ต่อปี โดยเป็นการลงทุนในโรงงานห้องเย็นเก็บรักษาอาหารสำเร็จรูปในจังหวัดสงขลา เป็นสำคัญ ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 82.5 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 83.2 เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวที่ร้อยละ 20.1 และ 26.9 ต่อปี ตามลำดับ

เศรษฐกิจ กทม. และปริมณฑลในเดือนกรกฎาคม 2567 มีปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชนและเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการที่ขยายตัวได้ โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และรายได้เกษตรกรขยายตัวที่ร้อยละ 11.7 และ 3.4 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -5.1 และ -0.9 ต่อปี แต่ขยายตัวที่ร้อยละ 0.5 และ 15.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ตามลำดับ ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 56.9 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 58.3 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -23.2 และ -3.4 ต่อปี แต่ขยายตัวที่ร้อยละ 9.8 และ 20.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ตามลำดับ ทั้งนี้ เงินทุนโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวที่ร้อยละ 33.4 ต่อปี

โดยเป็นการลงทุนในโรงงานผลิตอะไหล่และอุปกรณ์ของยานพาหนะในจังหวัดปทุมธานี เป็นสำคัญ ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 94.8 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ซึ่งอยู่ที่ระดับ 90.1 เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวที่ร้อยละ 8.7 และ 14.7 ต่อปี ตามลำดับ

เศรษฐกิจภาคตะวันตกในเดือนกรกฎาคม 2567 มีปัจจัยสนับสนุนจากการจับจ่ายใช้สอยเพื่อบริโภค และรายได้เกษตรกรที่ขยายตัว อีกทั้งความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้น โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และรายได้เกษตรกรขยายตัวที่ร้อยละ 17.4 และ 12.9 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -22.4 และ -20.8 ต่อปี แต่ขยายตัวที่ร้อยละ 10.7 และ 10.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ตามลำดับ ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 56.6 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 57.8 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุก

จดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -21.9 และ -12.7 ต่อปี แต่ขยายตัวที่ร้อยละ 13.9 และ 0.6 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ตามลำดับ ทั้งนี้ เงินทุนโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการหดตัว ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 94.8 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 90.1 เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวที่ร้อยละ 8.5 และ 18.7 ต่อปี ตามลำดับ

เศรษฐกิจภาคตะวันออกในเดือนกรกฎาคม 2567 มีปัจจัยสนับสนุนจากการจับจ่ายใช้สอยเพื่อบริโภค รายได้เกษตรกร และเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการที่ขยายตัวได้ โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และรายได้เกษตรกรขยายตัวที่ร้อยละ 14.2 และ 10.1 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -25.1 และ -6.2 ต่อปี แต่ขยายตัวที่ร้อยละ 10.6 และ 9.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ตามลำดับ ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 60.1 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 61.3 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -26.3 ต่อปี แต่ขยายตัวที่ร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล อย่างไรก็ตาม จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -6.5 ต่อปี

ทั้งนี้ เงินทุนโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวที่ร้อยละ 68.5 ต่อปี โดยเป็นการลงทุนในโรงงานผลิตชิ้นส่วนเครื่องปรับอากาศในจังหวัดระยอง เป็นสำคัญ ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 90.3 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 91.1 เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวที่ร้อยละ 17.7 และ 28.3 ต่อปี ตามลำดับ

เศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือในเดือนกรกฎาคม 2567 มีปัจจัยสนับสนุนจากการจับจ่ายใช้สอยเพื่อบริโภค และเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการที่ขยายตัวได้ โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ขยายตัวที่ร้อยละ 19.2 ต่อปี ขณะที่จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -17.2 และ -8.1 ต่อปี ตามลำดับ แต่ขยายตัวที่ร้อยละ 7.7 และ 6.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม รายได้เกษตรกรหดตัวที่ร้อยละ -0.2 ต่อปี ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 60.4 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 61.5 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -27.3 ต่อปี แต่ขยายตัวที่ร้อยละ 13.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล อย่างไรก็ตาม จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -19.8 ต่อปี ทั้งนี้ เงินทุนโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวที่ร้อยละ 35.7 ต่อปี โดยเป็นการลงทุนในโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลังดัดแปลงในจังหวัดมุกดาหาร เป็นสำคัญ ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 73.6 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 70.7 เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวที่ร้อยละ 23.3 และ 23.1 ต่อปี ตามลำดับ

เศรษฐกิจภาคกลางในเดือนกรกฎาคม 2567 มีปัจจัยสนับสนุนจากเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการที่ขยายตัวได้ดี อีกทั้งความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้น โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ และรายได้เกษตรกรขยายตัวที่ร้อยละ 2.8 0.3 และ 1.9 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -20.1 ต่อปี แต่ขยายตัวที่ร้อยละ 12.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 56.6 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 57.8 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -35.2

และ -11.1 ต่อปี แต่ขยายตัวที่ร้อยละ 9.2 และ 0.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ตามลำดับ ทั้งนี้ เงินทุนโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวในระดับสูง โดยเป็นการลงทุนในโรงงานผลิตและจัดจำหน่ายสารเคมี ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นสำคัญ ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 94.8 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 90.1 เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวที่ร้อยละ 8.8 และ 11.4 ต่อปี ตามลำดับ

เศรษฐกิจภาคเหนือในเดือนกรกฎาคม 2567 การบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนภาคเอกชนชะลอตัว อย่างไรก็ตาม ความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้น โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวที่ร้อยละ 1.8 ต่อปี ขณะที่การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -1.8 และ -9.0 ต่อปี แต่ขยายตัวที่ร้อยละ 0.7 และ 15.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม รายได้เกษตรกรหดตัวที่ร้อยละ -3.1 ต่อปี ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 58.6 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 59.7 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -18.6 ต่อปี แต่ขยายตัวที่ร้อยละ 14.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล

อย่างไรก็ตาม จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -27.8 ต่อปี ทั้งนี้ เงินทุนโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวที่ร้อยละ 28.3 ต่อปี โดยเป็นการลงทุนในโรงงานผลิตภาชนะบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากเยื่อกระดาษชานอ้อยในจังหวัดนครสวรรค์ เป็นสำคัญ ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 92.3 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 89.0 เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวที่ร้อยละ 5.8 และ 13.2 ต่อปี ตามลำดับ