In Thailand
เกษตรกรสะบ้าย้อยชูต้นทุนทางธรรมชาติ ปลูกพืชศก.ต่อยอดเป็นแหล่งท่องเที่ยว
สงขลา-เกษตรกร อ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา อาศัยต้นทุนทางธรรมชาติที่ สมบูรณ์ ปลูกพืชเศรษฐกิจ พืชทางเลือก สร้างรายได้งาม ตั้งเป้าต่อยอดเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรในอนาคต
อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา เป็นพื้นที่ที่มีความได้เปรียบทางด้านทรัพยากร ธรรมชาติ โดยเฉพาะดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การทำการเกษตร มีผลผลิตทางการเกษตรขึ้นชื่อ อาทิ จำปาดะเมล็ดลีบ หรือจำปาดะไร้เมล็ด กาแฟสายพันธุ์โรบัสต้า และลำไยคริสตัล สินค้าเกษตรทางเลือกใหม่ที่กำลังได้ ความรับสนใจจากผู้บริโภค
นายบือราเฮง ยะพา หรือแบเฮง เกษตรกรเจ้าของสวน “มาตัวไทยแลนด์” บ้านนาจะแหน ต.จะแหน อ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา เปิดเผยว่า เกษตรกร ในพื้นที่มีความโชคดีเนื่องจากสภาพดิน และสภาพอากาศเหมาะแก่การทำ การเกษตรเป็นอย่างมาก ตนเองได้ปลูกทั้งกาแฟสายพันธุ์โรบัสต้า จำปาดะเมล็ดลีบ ซึ่งถือเป็นผลไม้อัตลักษณ์พื้นถิ่นของอำเภอสะบ้าย้อย ที่ผู้บริโภคมี ความมั่นใจในรสชาติ และคุณภาพเป็นอย่างมากอยู่แล้ว สามารถจำหน่ายได้ทั้ง เมล็ดสด และต้นพันธุ์คุณภาพให้แก่เกษตรกรในพื้นที่อื่น ๆ ที่มารับซื้อถึงหน้าสวน หรือสั่งผ่านช่องทางออนไลน์
นอกจากนี้ ปัจจุบันเกษตรกรเริ่มหันมาปลูก “ลำไยคริสตัล” หรือที่ ชาวบ้านในพื้นเรียกว่า “มาตัว หรือ กาซัน” กันมากยิ่งขึ้น เนื่องจากยังไม่มีการปลูกอย่างแพร่หลายในพื้นที่อื่น และผู้บริโภคสนใจสั่งซื้อกันมาก เนื่องจากมีรสชาติหวานอร่อย ทานง่าย และถูกปากคนไทย / ลำไยคริสตัล เป็นผลไม้ป่าของประเทศอินโดนีเซีย ได้ขออนุญาตนำเข้ามาปลูกในไทยเมื่อปี 2561 มีรสชาติเฉพาะตัวเหมือนรับประทานเงาะ ลิ้นจี่ และลำไยไปพร้อมกัน และมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ คล้ายกลิ่นทุเรียน / จึงเป็นผลไม้ที่มีอัตลักษณ์เฉพาะตัวที่ น่าสนใจ สามารถสร้างรายได้ทั้งจากการขายผลสดผ่านหน้าสวน ตลอดจน ช่องทางออนไลน์ในราคา กว่า 500 บาทต่อกิโลกรัม และการขายพันธุ์ต้นกล้าที่ สามารถจัดส่งได้ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ โดยล่าสุุดเกษตรกรใน สปป.ลาว ติดต่อซื้อต้นพันธุ์ไปกว่า 20,000 ต้น
อย่างไรก็ตาม แบเฮง มีแนวทางในการจะพัฒนาให้สวน มาตัวไทยแลนด์ เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวเข้า มาเยี่ยมชมผลไม้ และการบริหารจัดการสวน โดยเฉพาะลำไยคริสตัล และ จำปาดะเมล็ดลีบ เชื่อมโยงไปยังจุดชมต้นจำปาดะเมล็ดลีบต้นแรกในประเทศไทยที่อายุมากกว่า 100 ปี พร้อมเรื่องเล่าเกี่ยวกับต้นกำเนิดที่ น่าสนใจ ดึงชาวบ้านมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิง เกษตรที่สำคัญอีกจุดหนึ่งของจังหวัดสงขลา ดึงเม็ดเงินสู่ชุมชนในอนาคต
ปรีชา สถิตย์เรืองศักดิ์ / หาดใหญ่ จ.สงขลา