Think In Truth
ทางสายกลางวิถีแห่งพุทธคือสังคมอริยะ แห่งความศิวิไลซ์ โดย: ฟอนต์ สีดำ
ทางสายกลาง เป็นหลักธรรมสำคัญในพระพุทธศาสนา หมายถึง การหลีกเลี่ยงทั้งการทำตนให้ตกต่ำเกินไป (กามสุขวิหารี) และการทำตนให้ลำบากเกินไป (อัตตกิลมถานุโยค) เป็นการดำเนินชีวิตที่สมดุล กลางๆ ไม่สุดโต่งในทั้งสองด้าน
ความเป็นกลางทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม หรือที่เรียกว่า ความยั่งยืน นั้นเป็นเป้าหมายสูงสุดของสังคมศิวิไลซ์ในปัจจุบัน หมายถึง การสร้างสมดุลระหว่างปัจจัยทั้งสามนี้ เพื่อให้สังคมสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในระยะยาว โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบเชิงลบต่อคนรุ่นหลัง
ความเป็นกลางทางเศรษฐกิจ: หมายถึง การกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้กับทุกคน ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ไม่เน้นแต่การเติบโตทางปริมาณ แต่ให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตของประชาชนด้วย ซึ่งแนวทางในการดำเนินการของรัฐบาลไทยที่มีความพยายามที่จะสร้างระบบเศรษฐกิจเสถียรภาพ นั่นคือความพยายามในการปรับโครงสร้างหนี้สินครัวเรือนและหนี้สินสาธารณะ เพื่อลดความตึงเครียดในการดำรงชีวิตและมีสภาพที่พร้อมในการสร้างผลผลิต เพื่อความมั่งคั่งให้กับประเทศชาติ โดยการใช้ระบบเงินดิจิตอล เพื่อลดปัญหาคอร์รัปชั่น ที่เป็นปัญหาในการถ่วงการพัฒนาประเทศ อีกทั้งยังส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งทุนเพื่อให้ง่ายต่อการใช้ทุนเพื่อการลงทุนในการสร้างผลผลิตมวลรวมของประเทศ โดยที่รัฐบาลพยายามที่จะนำระบบ Negative Income Tax มาใช้ในการกระตุ้นคนในสังคมได้หันกลับมาพัฒนาตนเอง พัฒนากระบวนการผลผลิต เพื่อให้ประเทศมีความมั่งคั่งท้างด้านผลผลิตและสิ่งแวดล้อมที่มีความอุดมสมบูรณ์ แทนความมั่งคั่งของจำนวนการสะสมของเงิน
ความเป็นกลางทางสังคม: หมายถึง การสร้างสังคมที่เท่าเทียมกันทุกคนได้รับโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรและบริการสาธารณะอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา สาธารณสุข หรือการมีส่วนร่วมทางการเมือง สิ่งที่มองเห็นภาพอย่างชัดเจนที่รัฐบาลพยายามให้เกิดความเป็นกลางทางการเมืองให้เกิดขึ้น เช่น ความอดทนต่อแรงกระแทกทางการเมืองที่ใช้สื่อเลือกข้าง สร้างประเด็นความขัดแย้งทางการเมืองเพื่อลดทอนความน่าเชื่อถือด้วยความนิ่งเฉยหรืออุเบกขา แต่พยายามสร้างความร่วมมือกับพรรคการเมืองต่างๆ ให้เข้ามาร่วมเป็นรัฐบาล เพื่อร่วมกันสร้างบรรทัดฐานทางการเมืองที่ดี และพยายามยืนอยู่คนละข้างกับพรรคการเมืองใหญ่อีกฝ่าย เพื่อให้เกิดการถ่วงดุลทางรัฐสภา เพื่อกลั่นความคิดเห็นของสมาชิกสภาออกมาเป็นแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดเพื่อประชาชนในประเทศ
ความเป็นกลางทางสิ่งแวดล้อม: หมายถึง การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด ลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ถ้าหากเราจะนำเอาเรื่องของสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา มาพิจารณาแล้ว เราจะพบว่า ในทางศาสนาพุทธได้สอนที่แฝงปรัชญาแห่งความเป็นกลางทางสิ่งแวดล้อมที่เป็นธรรมหรือ “กฏแห่งธรรมชาติ” เพื่อให้คนในสังคมได้ตระหนักถึงการรักษาสวรรค์ในชั้นจาตุมหาราชิกาหรือชั้นโลกไว้ให้สมดุล เพื่อการดำรงชีวิตที่ยั่งยืน โดย สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาได้แบ่งความรู้ที่สำคัญไว้ 4 หมวด คือ
- หมวดธตรฐมหาราชา โดยความหมายที่แฝงอยู่ขององค์ประกอบในหมวดนี้ คือราชาแห่งธาตุ ประกอบด้วย 4 ชาตุ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ซึ่งเป็นการจำแนกตามสถานะของธาตุต่างๆ คือสสารที่เป็นของแข็ง สสารที่เป็นของเหลว สสารที่เป็นก๊าซ และสสารที่เป็นพลังงาน
- วิรูปกมหาราช โดยความหมายที่แฝงอยู่นั้นหมายถึงสสารให้หมวดธตรัฐมหาราช สามารถที่มีรูปอย่างหลากหลาย และจะเปลี่ยนรู้ไปตามสภาพ โอกาส และความเหมาะสมแห่งสภาพแวดล้อม ณ เวลานั้น ดังนั้น สสารในหมวดธตรฐมหราช สามารถที่รวมตัวกันเปลี่นรูปเป็นพืช สัตว์ สิ่งมีชาติ แและไม่มีชีวิตได้หลากหลายไม่จำกัดรูปแบบของรูปตามความเหมาะสม
- วิรุฬหกมหาราช โดยหมายถึงรูปต่างๆ ในหมวดวิรุฬหกมหาราชซึ่งเกิดจากการรวมตัวหรือผสมสสารในหมวดธตรฐมหาราช จะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันไป ไม่ว่า พืช สัตว์ สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งพลังงาน ในแต่ละรูปในแต่ละอย่างก็จะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป แม้แต่สิ่งที่มีชีวิตไม่ว่าพืชหรือสัตว์ในแต่ละรูปก็มีความแตกต่างกัน เช่น คนแต่ละคนก็มีความแตกต่างกันแม้กระทั่งลูกแฝด หรือมะม่วงแต่ละสายพันธุ์ก็มีความแตกต่างกัน หรือมะม่วงเขียวเสวยซึ่งเป็นสายพันธุ์เดียวกัน เมื่อนำไปปลูกในแต่ละที่ก็มีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน
- เวสสุวรรณมหาราช โดยหมายถึงการเคลื่อนย้ายแลกเปลี่ยนกันไปมาของสสารในหมวดธตรฐมหาราช ที่เกิดเป็นรูปต่างๆ ในหมวดวิรูปกมหาราช ที่มีคุณสมบัติต่างๆ ในหมวดวิรฬหกมหาราช เมื่อต้องผสมให้เกิดสิ่งใหม่ ในหมวดวิรูปกมหาราชหรือตายไปย่อยสลายกลับเป็นสสารในหมวดธตรฐมหาราชใหม่ ก็จะเกิดการเคลื่อนย้ายสสารไปผสมกับองค์ประกอบใหม่ ให้เกิดวิรูปกใหม่ เกิดวิรุฬหกใหม่ นั่นเอง
โดยทั้งสี่องค์ประกอบ จะควบคุมความสมดุลโดย ท้าวกุมพัน ซึ่งคำว่า กุมพัน แปลว่า สีเขียว นั่นหมายถึงป่า เพราะป่าเป็นแหล่งที่สร้างอาหารของวิรูปกมหาราช โดยการรวบรวมเอาสสารในรูปแบบต่างๆ แม้แต่พลังงานเข้ามารวมเป็นอาหาร ที่มีองค์ประกอบที่เหมาะสมต่อการเกิดสิ่งให้ ที่หมวดเวสสุวรรณจะผสมให้เกิดสิ่งใหม่
ความสมดุลแห่งภาคเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม จึงเป็นอุดมการณ์แห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่ต้องสร้างคุณลักษณะของคนในสังคมให้มีพฤติกรรม และวิธีคิดในการดำเนินชีวิตในทางสายกลาง เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน และอยู่ในสังคมศิวไลซ์ อย่างนิรันดร์ ซึ่งคนในสังคมโลกจำเป็นต้องปรับตัวและเรียนรู้ที่จะอยู่ในทางสายกลาง ดังนี้
1. ความสมดุลและความยั่งยืน:
- การบริโภค: ทางสายกลางสอนให้รู้จักพอเพียง ไม่ฟุ่มเฟือย แต่ก็ไม่ขัดสนเกินไป ซึ่งเป็นแนวคิดที่สอดคล้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืน
- การทำงาน: การทำงานหนักเกินไปอาจนำไปสู่ความเครียดและสุขภาพที่ไม่ดี ในขณะที่การไม่ทำงานเลยก็อาจนำไปสู่ความขัดสน ทางสายกลางจึงส่งเสริมให้ทำงานพอเหมาะพอดี
- ความสัมพันธ์: การรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นเป็นสิ่งสำคัญ แต่การยึดติดกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากเกินไปก็อาจนำไปสู่ความทุกข์ ทางสายกลางจึงสอนให้รู้จักปล่อยวางและรักษาความสมดุลในความสัมพันธ์
2. การพัฒนาตนเอง:
- สติปัฏฐาน 4: การฝึกสติตามความเป็นจริง เป็นวิธีการพัฒนาตนเองที่สากลและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในทุกสถานการณ์
- ปัญญา: การพัฒนาปัญญาช่วยให้เราเข้าใจธรรมชาติของสิ่งต่างๆ และสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. สันติสุข:
- เมตตาและกรุณา: การมีเมตตาและกรุณาต่อผู้อื่นเป็นพื้นฐานของการสร้างสันติสุขในสังคม
- การให้อภัย: การให้อภัยเป็นการปลดปล่อยตนเองจากความโกรธแค้นและความทุกข์ใจ
ทางสายกลาง เป็นหลักธรรมที่เหมาะสมกับสังคมศิวิไลซ์อย่างยิ่ง เพราะเป็นแนวคิดที่ส่งเสริมความสมดุล ความยั่งยืน การพัฒนาตนเอง และสันติสุข ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างสังคมที่ดีงาม
ก่อนจบในบทความนี้ ขอฝากบทกลอนหนึ่งซึ่งผมเก็บมาจากเพื่อน ในสังคมโซเชียลมิเดียร์ ได้แชร์ต่อๆ กันมาให้ได้อ่าน ซึ่งผมไม่ทราบว่าใครเป็นผู้แต่ แต่ก็ของให้เครดิตกับผู้แต่งบทนี้มา ณ โอกาสนี้นะครับ เพราะผมอ่านครั้งใด ผมก็รู้สึกว่ามันเป็นจริงในทุกครั้ง ผมขอตั้งชื่อบทกลอนบทนี้ว่า “ทางสายกลาง”
▪︎น้ำใส เกินไป ก็ไร้ปลา
▪︎ตรงไป ตรงมา ก็ไร้เพื่อน
▪︎ฟ้าแจ้ง เกินไป ก็ไร้เดือน
▪︎ซับซ้อน ซ่อนเงื่อน ก็ไร้ใจ
▪︎มีพร้อม เกินไป ก็ไม่ดี
▪︎บกพร่อง กว่านี้ ก็ไม่ไหว
▪︎ลุ่มหลง เกินรัก ก็หนักใจ
▪︎คิดมาก เกินไป ก็หนักตน
▪︎อ่อนน้อม ถ่อมไป ก็เสียเชิง
▪︎ตะเพิด เปิดเปิง ก็เสียผล
▪︎เข้มงวด เกินไป ก็เสียคน
▪︎ยอมให้ ทุกหน ก็เสียการ
▪︎พอให้ ได้พอ ก็พอดี
▪︎หยวนหยวน ถ้วนถี่ ให้พอผ่าน
▪︎เงี่ยหู หรี่ตา พอประมาณ
▪︎สงบคำ รออ่าน ผลงานจริง