Think In Truth

ย้อนรอยสงครามการค้าหรือTrade War 'สหรัฐฯ-จีน' โดย : ฅนข่าว 2499



สงครามการค้า (Trade War) ระหว่างสหรัฐฯ และจีนในห้วงที่ผ่านมา ได้กลายเป็นประเด็นร้อนที่ทั่วโลกต่างจับตามอง โดยเฉพาะที่ทั้ง 2 ประเทศ ได้ประกาศรายชื่อสินค้าที่จะถูกเรียกเก็บภาษีนำเข้า อย่างไม่มีใครยอมใคร

ในอดีตที่ผ่านมา สงครามการค้าได้สร้างความสูญเสียให้กับทุกฝ่าย ตัวอย่างที่ชัดเจน คือ กฎหมายของสหรัฐฯ ในปี 1930 (Smooth-Hawley Act) ที่เริ่มจากประธานาธิบดีเฮอร์เบิร์ตฮูเวอร์ (Herbert Hoover) ประกาศใช้กำแพงภาษีเพื่อปกป้องสินค้าเกษตรและสินค้าอื่น ๆ กว่า 900 รายการและตามด้วยการที่ทุกประเทศเข้าร่วมสงครามการค้า

บนสุดท้าย ก็คือ นำพาเศรษฐกิจโลกทรุดหนัก เข้าสู่วิกฤติเศรษฐกิจตลอดทศวรรษ 1930 (The Great Depression)

 

(ซ้าย) โดนัลด์ทรัมป์ประธานาธิบดีสหรัฐฯ (ขวา) สี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน

การค้าและเศรษฐกิจสหรัฐฯ

สหรัฐเป็นประเทศที่มีการพัฒนาสูง โดยมีเศรษฐกิจใหญ่สุดของโลกตามจีดีพีราคาตลาด อยู่ในอันดับต้น ๆ ในการวัดสมรรถภาพสังคมเศรษฐกิจหลายรายการ ซึ่งรวมถึงค่าจ้างเฉลี่ยการพัฒนามนุษย์ จีดีพีต่อหัวและผลิตภาพต่อคนขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐถือว่าเป็นหลังอุตสาหกรรม (post-industrial) ซึ่งมีลักษณะที่บริการและเศรษฐกิจความรู้ครอบงำ แต่ภาคการผลิตยังมีขนาดใหญ่สุดอันดับสองของโลก แม้มีประชากรรวมเพียง 4.3% ของโลก แต่สหรัฐคิดเป็นเกือบ 1 ใน 4 ของจีดีพีโลก และกว่า 1 ใน 3 ของรายจ่ายทางทหารโลกทำให้เป็นชาติเศรษฐกิจและการทหารแนวหน้า สหรัฐเป็นประเทศการเมืองและวัฒนธรรมโดดเด่น และผู้นำการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเทคโนโลยี

สหรัฐมีเศรษฐกิจแบบผสมทุนนิยม ซึ่งขับเคลื่อนโดยทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์และผลิตภาพที่สูงจากข้อมูลของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของสหรัฐอยู่ที่ 16.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 24% ของผลิตภัณฑ์รวมของโลกที่อัตราแลกเปลี่ยนตลาด และกว่า 19% ของผลิตภัณฑ์รวมของโลกที่อำนาจซื้อเสมอภาค (PPP)

จีดีพีตามตัวเลขของสหรัฐโดยประมาณอยู่ที่ 17.528 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2014 ตั้งแต่ปี 1983 ถึง 2008 การเติบโตของจีดีพีต่อปีแบบทบต้นแท้จริง (real compounded annual GDP growth) อยู่ที่ 3.3% เทียบกับค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก 2.3% สำหรับประเทศจี7 ที่เหลือจีดีพีต่อหัวสหรัฐจัดอยู่อันดับเก้าของโลกและมีจีดีพีต่อหัวที่พีพีพีอันดับหก ดอลลาร์สหรัฐเป็นเงินตราสำรองหลักของโลก

สหรัฐเป็นประเทศผู้นำเข้าสินค้ารายใหญ่สุดและเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่เป็นอันดับสอง แม้การส่งออกต่อหัวจะค่อนข้างต่ำ ในปี 2010 การขาดดุลการค้าทั้งหมดของสหรัฐอยู่ที่ 635,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐประเทศแคนาดา จีนเม็กซิโก ญี่ปุ่น และเยอรมนีเป็นคู่ค้ารายใหญ่สุดในปี 2010 น้ำมันเป็นโภคภัณฑ์นำเข้ามากที่สุด ขณะที่อุปกรณ์ขนส่งเป็นสินค้าออกใหญ่ที่สุดของประเทศประเทศญี่ปุ่นเป็นผู้ถือหนี้สาธารณะต่างชาติรายใหญ่สุดของสหรัฐผู้ถือหนี้สหรัฐสูงสุดเป็นองค์การของสหรัฐเอง รวมทั้งบัญชีของรัฐบาลกลางและระบบธนาคารกลางที่ถือหนี้ส่วนใหญ่

ในปี 2009 ประมาณว่าภาคเอกชนประกอบเป็น 86.4% ของเศรษฐกิจ โดยกิจกรรมของรัฐบาลกลางคิดเป็น 4.3% และกิจกรรมของรัฐและรัฐบาลท้องถิ่น (รวมเงินโอนของรัฐบาลกลาง) เป็น 9.3% ที่เหลือ จำนวนลูกจ้างของรัฐบาลทุกระดับมากกว่าลูกจ้างในส่วนการผลิต 1.7 ต่อ 1 ขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐถึงระดับการพัฒนาหลังอุตสาหกรรม (postindustrial) แล้วโดยภาคบริการประกอบเป็น 67.8% ของจีดีพี แต่สหรัฐยังเป็นประเทศอุตสาหกรรม สาขาธุรกิจชั้นนำตามรายการรับ (gross business receipt) ได้แก่การค้าส่งและปลีก ส่วนภาคการผลิตเป็นภาคที่มีรายรับสุทธิสูงสุด ในแบบธุรกิจแฟรนไชส์ แมคโดนัลด์และซับเวย์เป็นยี่ห้อที่รู้จักกันแพร่หลายที่สุดในโลกสองยี่ห้อ โคคา-โคล่าเป็นบริษัทน้ำอัดลมที่คนทั่วโลกรู้จักกันดีที่สุด

เคมีภัณฑ์เป็นสาขาการผลิตชั้นนำ สหรัฐเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่สุดของโลก และเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่สุดอันดับสองสหรัฐเป็นผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้าและนิวเคลียร์อันดับหนึ่ง ตลอดจนแก๊สธรรมชาติเหลว กำมะถัน ฟอสเฟต และเกลือ

แม้ว่าภาคเกษตรกรรมมีสัดส่วนน้อยกว่า 1% ของจีดีพีแต่สหรัฐเป็นผู้ผลิตข้าวโพดและถั่วเหลืองรายใหญ่สุดของโลกสหรัฐเป็นผู้ผลิตและปลูกอาหารดัดแปรพันธุกรรมหลัก โดยคิดเป็นกึ่งหนึ่งของพืชไบโอเทคของโลก

การใช้จ่ายของผู้บริโภคมีสัดส่วนเป็น 68% ของเศรษฐกิจสหรัฐในปี 2015 ในเดือนสิงหาคม 2010 มีแรงงานอเมริกัน 154.1 ล้านคน สาขาการจ้างงานใหญ่สุด คือ ภาครัฐบาล 21.2 ล้านคน การจ้างงานภาคเอกชนใหญ่สุดคือ สาธารณสุขและการสังคมสงเคราะห์ จำนวน 16.4 ล้านคน คนงานประมาณ 12% อยู่ในสหภาพ เทียบกับ 30% ในยุโรปตะวันตก ธนาคารโลกจัดสหรัฐอยู่อันดับหนึ่งในด้านความง่ายในการจ้างและไล่คนงาน สหรัฐจัดอยู่อันดับต้นหนึ่งในสามในรายงานความสามารถการแข่งขันโลก (Global Competitiveness Report) เช่นกัน สหรัฐมีรัฐสวัสดิการขนาดเล็กและกระจายรายได้ผ่านการกระทำของรัฐบาลน้อยกว่าชาติยุโรป

สหรัฐเป็นประเทศเศรษฐกิจก้าวหน้าประเทศเดียวที่ไม่รับประกันการหยุดงานโดยจ่ายค่าจ้าง (paid vacation) แก่คนงาน และเป็นเพียงไม่กี่ประเทศในโลกที่ไม่มีการหยุดงานเลี้ยงบุตรโดยจ่ายค่าจ้าง (family leave) เป็นสิทธิตามกฎหมาย โดยมีประเทศอื่น เช่น ปาปัวนิวกินี ซูรินาม ไลบีเรียแม้ปัจจุบันกฎหมายกลางไม่รับประกันการลาป่วย แต่เป็นผลประโยชน์ทั่วไปของคนงานของรัฐบาลและพนักงานเต็มเวลาของบริษัท ตามข้อมูลของกรมสถิติแรงงาน คนงานอเมริกันเต็มเวลา 74% ลาหยุดงานโดยได้รับค่าจ้าง แม้คนงานไม่เต็มเวลาเพียง 24% ได้รับผลประโยชน์เดียวกัน ในปี 2009 สหรัฐมีผลิตภาพกำลังแรงงานต่อบุคคลสูงสุดเป็นอันดับสามในโลก รองจากลักเซมเบิร์กและนอร์เวย์ สหรัฐมีผลิตภาพต่อชั่วโมงสูงสุดเป็นอันดับสี่ รองจากสองประเทศดังกล่าวและเนเธอร์แลนด์

ภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกปี 2008–2012 มีผลกระทบต่อสหรัฐย่างสำคัญ โดยมีผลผลิตต่ำกว่าศักยะตามข้อมูลของสำนักงบประมาณของรัฐสภาภาวะดังกล่าวนำมาซึ่งการว่างงานสูง (ซึ่งลดลงแล้วแต่ยังสูงกว่าระดับก่อนภาวะเศรษฐกิจถดถอย) ร่วมกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่ำ การเสื่อมของมูลค่าบ้านอย่างต่อเนื่อง และการเพิ่มการบังคับเอาทรัพย์จำนองหลุดและการล้มละลายของบุคคล วิกฤตหนี้รัฐบาลกลางบานปลาย ภาวะเงินเฟ้อ และราคาปิโตรเลียมและอาหารเพิ่มขึ้น ปัจจุบันยังมีสัดส่วนผู้ว่างงานระยะยาวเป็นสถิติ รายได้ครัวเรือนลดลงอย่างต่อเนื่องและภาษีและงบประมาณรัฐบาลกลางเพิ่มขึ้น

สถาบันวิจัยสันติภาพระหว่างประเทศสตอกโฮล์ม (SIPRI) พบว่า อุตสาหกรรมอาวุธของสหรัฐเป็นผู้ส่งออกอาวุธสำคัญรายใหญ่สุดของโลกตั้งแต่ปี 2005 ถึง 2009 และยังเป็นผู้ส่งออกอาวุธสำคัญรายใหญ่สุดในช่วงระหว่างปี 2010 ถึง 2014 นำหน้าประเทศรัสเซีย จีนและเยอรมนี

กลยุทธ์การค้าสหรัฐฯ

กล่าวได้ว่า ไม่มีประเทศใดในโลกนี้จะได้ประโยชน์จากการทำสงคราม สงครามการค้าก็เช่นกัน แต่มีคำถามว่า หากไม่เคยมีใครได้ประโยชน์จากการทำสงคราม ทำไมเรายังอาจได้เห็นสงครามการค้าอุบัติขึ้นในโลกยุคปัจจุบัน ทฤษฎีเกม (Game Theory) สามารถให้คำตอบในเรื่องนี้ได้

หนึ่งในกลยุทธ์ที่สหรัฐฯนำมาใช้ก็คือ “ทฤษฎีเกม”ซึ่งถือกำเนิดจากเจ้าของรางวัลโนเบล อย่าง จอห์น แนช (John Nash) ที่คนส่วนใหญ่อาจรู้จักผ่านอัตชีวประวัติในหนังรางวัลออสการ์ อย่าง เรื่อง Beautiful Mind ตัวอย่างคลาสสิกหนึ่งที่จะช่วยให้เราเข้าใจทฤษฎีเกมได้ดี คือ Prisoner’s Dilemma ซึ่งจำลองเหตุการณ์ที่ 2 คนร้าย ถูกตำรวจจับ โดยนักโทษทั้ง 2 ถูกแยกกันสอบสวน ในเกมนี้ นักโทษ 2 คน เป็นผู้เล่นเกม (Players) และมีกลยุทธ์หรือทางเลือก (Strategy) อยู่ 2 ทาง คือ ร่วมมือกันปฏิเสธข้อหา (Cooperate) หรือ ทรยศและซัดทอดอีกฝ่าย (Defect) โดยมีทางเลือกและผลลัพท์ (Payoff) จำนวนปีต้องโทษจำคุกของนักโทษตามลำดับหากนักโทษคนใดคนหนึ่งเลือกที่จะร่วมมือ แต่อีกฝ่ายกลับทรยศ ฝ่ายที่ทรยศจะพ้นผิด แต่ฝ่ายที่ร่วมมือจะได้รับโทษติดคุกนาน 10 ปี แต่หากทั้งคู่ทรยศ ก็จะได้รับโทษติดคุกนาน 8 ปี (ตำแหน่งล่างขวา) ในขณะที่ หากทั้งคู่เลือกที่จะร่วมมือ ทั้ง 2 จะได้รับโทษสถานเบาเท่ากัน คือ ติดคุกเพียงปีเดียว

จะเห็นได้ว่า ไม่ว่าอีกฝ่ายจะเลือกกลยุทธ์แบบใด การเลือกที่จะทรยศถือเป็นกลยุทธ์ที่ดีที่สุด (Dominant Strategy) ที่จะทำให้นักโทษติดคุกน้อยกว่า หรือ อาจไม่ติดเลย แต่เนื่องด้วยกลัวว่า อีกฝ่ายจะทรยศ ทำให้ทั้งคู่เลือกที่จะทรยศแทนที่จะร่วมมือกัน และจบลงด้วยการได้รับโทษติดคุกนานสูงสุดคนละ 8 ปี โดยจุดนี้ เป็นจุดดุลยภาพแนช (Nash Equilibrium) ที่ผู้เล่นแต่ละฝ่ายเลือกกลยุทธ์ที่ดีที่สุด ภายใต้กลยุทธ์ที่คู่แข่งเลือก

จากตัวอย่างดังกล่าวสามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่ออธิบายปรากฏการณ์สงครามการค้าได้อย่างไร หากเรามองภาพว่า ในเกมนี้ ผู้เล่น คือ สหรัฐฯ และจีน และกลยุทธ์หรืออาวุธที่ใช้ในการทำสงคราม ก็คือ มาตรการภาษีนำเข้าหรือการทำการค้าแบบเสรี โดยผลกระทบ ก็คือ สวัสดิการทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปจากมาตรการการค้าแบบต่าง ๆ

การเก็บภาษีนำเข้าจะส่งผลให้ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น เป็นผลให้ผู้บริโภคในประเทศลดปริมาณการบริโภคลง ผู้ผลิตได้รับประโยชน์จากการผลิตสินค้าทดแทนการนำเข้า และรัฐบาลได้ประโยชน์จากรายได้ภาษีที่เพิ่มขึ้น แต่เนื่องจากภาษีนำเข้าก่อให้เกิดการบิดเบือนการจัดสรรทรัพยากรการผลิตโลก จึงทำให้เกิดความสูญเปล่าทางเศรษฐกิจ ที่เรียกว่า Deadweight Loss

อย่างไรก็ตาม ในเหตุการณ์นี้ สหรัฐฯ เป็นประเทศใหญ่ การจัดเก็บภาษีนำเข้าอาจทำให้อุปสงค์ต่อสินค้าที่ถูกเก็บภาษีในตลาดโลกลดลงมาก เป็นผลให้ประเทศผู้ส่งออกต้องลดราคาเพื่อขจัดอุปทานส่วนเกินและทำให้ตลาดกลับเข้าสู่ดุลยภาพ เป็นผลให้อัตราการค้า (Terms of Trade) ของสหรัฐฯ เปลี่ยนไปในทิศทางที่ดีขึ้น

ดังนั้น หากประโยชน์จากอัตราการค้าที่ดีขึ้นมีมากกว่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจ สวัสดิการทางเศรษฐกิจสุทธิ (Net Welfare) ของประเทศที่เรียกเก็บภาษีนำเข้า ก็จะเพิ่มขึ้นได้ ภายใต้ข้อแม้ว่า อัตราภาษีนำเข้าจะต้องอยู่ในระดับที่เหมาะสม (Optimum Tariff) ด้วยเหตุนี้ การเก็บภาษีนำเข้าจึงกลายเป็นกลยุทธ์ที่ดีที่สุดของสหรัฐฯ เช่นเดียวกันกับนักโทษคนที่ 1 ที่เลือกที่จะทรยศ

การค้าและเศรษฐกิจของจีน

เศรษฐกิจจีนเป็นเศรษฐกิจแบบตลาดสังคมนิยม เป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดอันดับ 2 ของโลกตามจีดีพีราคาตลาด และเศรษฐกิจใหญ่สุดของโลกตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ (PPP) จากข้อมูลของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ประเทศจีนเป็นเศรษฐกิจใหญ่เติบโตเร็วสุดของโลกก่อนปี 2558 โดยมีอัตราการเติบโตโดยเฉลี่ย 10% ในช่วงกว่า 30 ปี เนื่องจากข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์และการเมืองของเศรษฐกิจกำลังพัฒนาของจีน ภาครัฐของจีนจึงมีสัดส่วนเศรษฐกิจของประเทศมากกว่าภาคเอกชนที่กำลังเฟื่องฟู สำหรับรายได้ต่อหัวนั้น ประเทศจีนอยู่ในอันดับที่ 71 ตามจีดีพี (ราคาตลาด) และที่ 78 ตามจีดีพี (PPP) ในปี 2559 จากข้อมูลของ IMF ประเทศจีนมีทรัพยากรธรรมชาติประเมินมูลค่า 23 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจำนวนนี้กว่า 90% เป็นถ่านหินและโลหะหายาก

ประเทศจีนเป็นเศรษฐกิจการผลิตและผู้ส่งสินค้าออกรายใหญ่สุดของโลก มักได้รับขนานนามเป็น "โรงงานของโลก" ประเทศจีนยังเป็นตลาดผู้บริโภคเติบโตเร็วสุดของโลก และผู้นำสินค้าเข้ารายใหญ่สุดอันดับสองของโลก ประเทศจีนเป็นผู้นำเข้าสุทธิซึ่งผลิตภัณฑ์บริการ ในปี 2559 ประเทศจีนเป็นประเทศการค้าใหญ่สุดอันดับสองของโลกและมีบทบาทเด่นในการค้าระหว่างประเทศ และเข้าร่วมองค์การและสนธิสัญญาการค้าเพิ่มขึ้นในปีหลัง ๆ ประเทศจีนเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกในปี 2544

นอกจากนี้แล้วประเทศจีนยังมีความตกลงการค้าเสรีกับหลายชาติ รวมทั้งอาเซียนออสเตรเลียนิวซีแลนด์ ปากีสถาน เกาหลีใต้และสวิสเซอร์แลนด์ มณฑลในแถบชายฝั่งของจีนมีแนวโน้มกลายเป็นอุตสาหกรรมมากขึ้น ส่วนบริเวณในแผ่นดินยังด้อยพัฒนากว่าเพื่อเลี่ยงค่าใช้จ่ายทางสังคมและเศรษฐกิจระยะยาวของมลภาวะสิ่งแวดล้อมในประเทศจีน

นิโคลัสสเทิร์นและเฟอร์กัสกรีนแห่งสถาบันวิจัยแกรนแธมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม (Grantham Research Institute on Climate Change and the Environment) แนะนำว่า เศรษฐกิจจีนควรเปลี่ยนเป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมก้าวหน้าที่มีการปลดปล่อยคาร์บอนต่ำไฮเท็คที่มีการจัดสรรทรัพยากรของชาติไปยังนวัตกรรมและการวิจัยและพัฒนาสำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนให้ดีขึ้นเพื่อผลกระทบของอุตสาหกรรมหนักของจีน ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการวางแผนของรัฐบาลกลางฝันจีนของสี จิ้นผิงอธิบายว่าบรรลุ “สองร้อย” คือ เป้าหมายของจีนทางวัตถุให้กลายเป็น “สังคมกินดีอยู่ดีปานกลาง” ภายในปี 2564 ซึ่งปีครบรอบ 100 ปีพรรคคอมมิวนิสต์จีน และเป้าหมายการทำให้จีนทันสมัยเป็นประเทศพัฒนาแล้วอย่างสมบูรณ์ในปี 2592 ซึ่งเป็นปีที่ 100 ของการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชน

สี จิ้นผิง

สากลวิวัฒน์ของเศรษฐกิจจีนยังมีผลกระทบต่อการพยากรณ์เศรษฐกิจปรับเป็นมาตรฐานซึ่งดัชนีผู้จัดการซื้อออกในประเทศจีนอย่างเป็นทางการในปี 2543 ต่อมาในปี 2549 ประเทศจีนเป็นประเทศในทวีปเอเชียประเทศเดียวที่มีจีดีพี (PPP) เกิน 10 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ร่วมกับสหรัฐและสหภาพยุโรป) ในปี 2558 ประเทศจีนเป็นประเทศแรกที่มีจีดีพี (PPP) เกิน 20 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเศรษฐกิจจีนเติบโต เงินตราเหรินหมินปี้ของจีนก็เติบโตด้วย ซึ่งผ่านกระบวนการที่จำเป็นสำหรับสากลวิวัฒน์ ประเทศจีนริเริ่มการก่อตั้งธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเอเชียในปี 2558 การพัฒนาเศรษฐกิจของเซินเจิ้นถูกเรียกว่าเป็นซิลิคอนแวลลีย์แห่งถัดไปของโลก

การปฏิรูปเศรษฐกิจจีน

การปฏิรูปเศรษฐกิจจีน หมายถึง นโยบายการปฏิรูปเศรษฐกิจให้เป็น สังคมนิยมในแบบจีน ในสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเริ่มขึ้นในเดือนธันวาคม ค.ศ.1978 โดยนักปฏิรูปภายในพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่นำโดยเติ้ง เสี่ยวผิงในช่วงก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 19 ประเทศจีนมีระบบเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดและก้าวหน้ามากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 

อดัมสมิธ (บิดาแห่งเศรษฐศาสตร์) อ้างว่าจีนคือหนึ่งในชาติที่ร่ำรวยที่สุดมาช้านาน และเป็นหนึ่งในชาติที่อุดมสมบูรณ์ เจริญรุ่งเรือง มีความเป็นเมือง และมีอุตสาหกรรมมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก แต่เศรษฐกิจจีนเริ่มซบเซาลงในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 และถดถอยลงในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20 แม้ว่าจะมีช่วงฟื้นตัวสั้น ๆ ในคริสต์ทศวรรษ 1930 ก็ตาม

การปฏิรูปเศรษฐกิจที่ใช้หลักการตลาดเริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ. 1978 ซึ่งแบ่งออกเป็นสองระยะ คือระยะแรกในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 ถึงต้นคริสต์ทศวรรษ 1980 ได้ถ่ายโอนภาคเกษตรกรรมกลับคืนสู่ประชาชนแต่ละปัจเจกบุคคล เปิดประเทศรับการลงทุนจากต่างชาติ และอนุญาตให้ผู้ประกอบการสามารถเริ่มต้นและเป็นเจ้าของธุรกิจได้ อย่างไรก็ตามรัฐบาลยังคงเป็นเจ้าของอุตสาหกรรมส่วนมากในประเทศอยู่เช่นเดิม ส่วนระยะที่สองในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1980 ถึงคริสต์ทศวรรษ 1990 ได้เริ่มโอนกิจการของรัฐไปเป็นของเอกชน ทำสัญญาให้เอกชนเข้ามาดำเนินการในอุตสาหกรรมที่รัฐเป็นเจ้าของ รวมทั้งยกเลิกมาตรการควบคุมราคาสินค้า นโยบายปกป้องธุรกิจ และกฎระเบียบหลายอย่างลง แต่ยังคงมาตรการเหล่านี้ไว้ในธุรกิจภาคธนาคารและปิโตรเลียมไว้เช่นเดิม ส่งผลให้ธุรกิจภาคเอกชนเติบโตขึ้นอย่างมากจนมีระดับมากถึงร้อยละ 70 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศในปี ค.ศ. 2005 โดยตั้งแต่ ค.ศ. 1978 จนถึง ค.ศ. 2013 เศรษฐกิจจีนเติบโตในแบบที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน หรือโดยเฉลี่ยเติบโตร้อยละ 9.5 ต่อปี แต่หลังจากปี ค.ศ. 2005 รัฐบาลของนายหู จิ่นเทา และนายเวินเจียเป่า หันกลับมากำกับและควบคุมระบบเศรษฐกิจมากขึ้นกว่าเดิม ทำให้มีผลลบล้างต่อการปฏิรูปดังกล่าวบางส่วน

ความสำเร็จจากนโยบายและความริเริ่มทางเศรษฐกิจส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ต่อสังคมจีน ทั้งนี้โครงการขนาดใหญ่ที่วางแผนโดยรัฐบาลบวกกับลักษณะตลาดที่เปิดกว้างขึ้นช่วยให้จีนสามารถลดภาวะความยากจนลงได้มาก แต่ในขณะเดียวกันกลับทำให้ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและรายได้ขยายตัวมากกว่าเดิม จนถูกนำไปใช้เป็นเหตุผลให้ฝ่ายซ้ายใหม่ของจีนกล่าวโจมตีและวิจารณ์รัฐบาล ส่วนนักวิชาการในแวดวงหลายคนต่างพากันโต้เถียงถึงสาเหตุความสำเร็จจากนโยบายเศรษฐกิจแบบ "คู่ขนาน" นี้ของจีน และนำไปใช้เป็นกรณีเปรียบเทียบกับความพยายามปฏิรูประบบสังคมนิยมในประเทศยุโรปตะวันออกและสหภาพโซเวียต รวมถึงเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน

การค้าระหว่างประเทศเติบโตอย่างมาก

เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2561 กรมศุลกากรแห่งชาติจีนได้เผยสถิติการค้าระหว่างประเทศของจีนในปี 2560 โดยระบุว่าในปี 2560 มูลค่าการค้าระหว่างประเทศของจีนเท่ากับ 27.79 ล้านล้านหยวน เติบโตร้อยละ 14.2 จากปีก่อน ฟื้นตัวสู่ระดับ 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐอีกครั้งหลังจากมีแนวโน้มชะลอตัวใน 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นอัตราเติบโตที่สูงที่สุดตั้งแต่ปี 2555 ภายในจำนวนนี้ มูลค่าการส่งออกเท่ากับ 15.33 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8 มูลค่าการนำเข้าเท่ากับ 12.46 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.7 นายจง ซาน รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์จีนระบุว่า ผลงานการค้าระหว่างประเทศของจีนในปีนี้ดีกว่าที่คาดการณ์

จีนมีคู่ค้าที่หลากหลายมากขึ้น มูลค่าการค้าระหว่างจีนกับคู่ค้า 3 อันดับแรก ได้แก่ ยุโรป สหรัฐ และอาเซี่ยน เติบโตร้อยละ 15.5 ร้อยละ 15.2 และร้อยละ 16.6 ตามลำดับ ในขณะเดียวกัน มูลค่าการค้าระหว่างจีนกับตลาดเศรษฐกิจใหม่เติบโตอย่างรวดเร็ว อาทิ ในตลาดลาตินอเมริกาและตลาดอาฟริกาเพิ่มขึ้นร้อยละ 22 และร้อยละ 17.3 ตามลำดับ ตามแผนการของรัฐบาลจีน ในปี 2561 จีนจะส่งเสริมการเจรจาเขตการค้าอีก 10 เขตในขณะที่ได้สำเร็จข้อตกลงเขตการค้าเสรี 16 เขตแล้ว

มูลค่าการค้าระหว่างจีนกับประเทศตามเส้นทาง One Belt One Road เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีมูลค่าอยู่ที่ 7.37 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.8 เมื่อเทียบกับปี 2559 ภายในจำนวนนี้ จีนส่งออกมูลค่า 4.3 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.1 จากปีก่อนและจีนนำเข้ามูลค่า 3.07 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.8 จากปีก่อน การค้าระหว่างจีนกับประเทศตามเส้นทาง One Belt One Road ยังจะเป็นจุดเด่นและแรงขับเคลื่อนการค้าระหว่างประเทศของจีนในอนาคต

คุณภาพสินค้าการนำเข้าส่งออกพัฒนาดีขึ้น ในปี 2560 การค้าทั่วไปครองสัดส่วนมากกว่าปีก่อน ซึ่งแสดงว่าการส่งออกของสินค้าแบรนด์ของจีนเองกำลังเติบโต นอกจากนี้ การส่งออกเครื่องจักรและเครื่องไฟฟ้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงกับสินค้าอุปกรณ์ก็เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด อาทิ การส่งออกรถยนต์ คอมพิวเตอร์ เครื่องมือทางการแพทย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.2 ร้อยละ 16.6 และร้อยละ 10.3 ตามลำดับ ศักยภาพทางนวัตกรรมใหม่ของจีนกำลังแข็งแกร่งมากขึ้น ในขณะเดียวกัน สินค้าการนำเข้าก็มุ่งสูงระดับสูงมากขึ้น การนำเข้าอุปกรณ์และชิ้นส่วนสำคัญ สินค้าบริโภคที่มีคุณภาพดีจำนวนมากขึ้น ทั้งนี้ จีนได้นำเข้าแผนวงจรไฟฟ้า เครื่องยนต์และผลิตภัณฑ์ทางน้ำและทางทะเลเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.3 ร้อยละ 17.6 และร้อยละ 20 ตามลำดับ

ในการประชุมงานเศรษฐกิจของรัฐบาลกลางที่พึ่งจัดไม่นาน จีนได้ย้ำว่าจะให้ความสำคัญกับการยกระดับคุณภาพและมูลค่าเพิ่มสินค้าการส่งออก เพื่อขยายการส่งออกต่อไป ทั้งนี้ ทางการจีนจะดำเนินมาตรการการยกระดับคุณภาพสินค้าการส่งออกอะไรบ้าง ก็จะเป็นประเด็นที่น่าติดตาม

แหล่งที่มาข้อมูล: http://paper.people.com.cn/rmrbhwb/html/2018-01/16/content_1830445.htm /ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน ณ กรุงปักกิ่ง

ทั่วโลกระส่ำหลังเปิดฉากสงครามค้า

ย้อนไปเมื่อ โดนัลด์ ทรัมป์ (Donald Trump)เป็นประ ธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ปรามจีน จำกัดลงทุนเทคโนโลยีในสหรัฐ กับผลกระทบที่จะเกิดขึ้น

โดยก่อนหน้านี้ โดนัลด์ ทรัมป์  ประกาศว่า จะเพิ่มภาษีสินค้าจีนที่นำเข้าไปในสหรัฐ ซึ่งทำให้หลายฝ่ายกังวลว่าบรรยากาศการค้าระหว่างวอชิงตันและปักกิ่งจะตึงเครียดมากขึ้น  ส่วนคลื่นใต้น้ำที่กำลังมา คือสหรัฐเตรียมออกมาตรการจำกัดการลงทุนเทคโนโลยีของบริษัทจีนในสหรัฐ

AI :Artificial Intelligence หรือในภาษาไทยเราก็คือปัญญาประดิษฐ์ ถือเป็นเรื่องที่กำลังได้รับความสนใจสูงมากจากผู้คนทั่วโลก โดยเฉพาะบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ไม่ว่าจะเป็น Microsoft, Google, Facebook, Amazon หรือ Apple ต่างก็ให้ความสนใจนำปัญญาประดิษฐ์นี้มาใช้ในกลยุทธ์การขายและการตลาดกันอย่างดุเดือด

ใน Silicon Valley ที่มีความเชื่อว่า “ถ้าคุณเป็นนักลอกเลียนแบบ คุณก็จะเป็นแบบนั้นตลอดไป ไม่มีทางเป็นได้ดีกว่านี้” ซึ่งจีนก็ได้ทำให้เห็นแล้วว่าความเชื่อนั้นมันผิด เพราะการลอกเลียนแบบนั้นเป็นบทเรียนที่ดีที่สุดเท่าที่เคยมีมา

เปรียบเทียบกับการสร้างปิรามิด ถ้าคุณจะเลียนแบบเฉพาะขั้นตอนของการทำยอดปิรามิดก่อนย่อมไม่มีทางประสบความสำเร็จ แต่ถ้าคุณคัดลอกตั้งแต่วิธีสร้างฐานแล้วเรียนรู้จากประสบการณ์ แน่นอนว่าการสร้างครั้งต่อไปของคุณดีขึ้น และที่น่ากลัวคือมันมีทางที่จะออกมาดีกว่าต้นแบบ

บทบาทที่สำคัญที่สุดของรัฐบาลจีนคือ นโยบายด้านเทคโนโลยีที่ยอมให้มีการพยายามใช้เทคโนโลยีที่ยังไม่เป็นที่ยอมรับแล้วดูว่าเกิดอะไรขึ้น เหมือนปล่อยให้ Alibabaและ Tencentทำเรื่องระบบชำระเงิน ทุกวันนี้บริการของ Alipayและ WeChatทำให้ไม่มีที่ว่างสำหรับบัตรเครดิตแล้ว นี่คือความได้เปรียบของผู้ประกอบการในประเทศจีน

สำหรับเรื่อง AI สหรัฐอเมริกามีข้อดีอย่างการมีมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดอยู่จำนวนมาก ส่วนจีนมีข้อดีเรื่องนโยบายรัฐบาลที่สนับสนุนผู้ประกอบการที่ดีมาก แต่ประเด็นสำคัญที่มนุษยชาติกำลังจะเผชิญหน้าไม่ใช่ประเด็นที่ว่าสหรัฐฯ อยู่ข้างหน้า หรือจีนกำลังก้าวไปข้างหน้า

ปัญหาที่แท้จริงคือ AI จะสร้างความมั่งคั่ง และความท้าทายมากมายให้กับเรื่องของ การเปลี่ยนงาน ความเป็นส่วนตัว และความปลอดภัย ซึ่งเราควรจะทำงานร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นนี้ หากเราไม่หาทางรับมือเรื่องเหล่านี้ อาจจะเป็นการนำไปสู่ภัยพิบัติขนาดใหญ่ที่รุนแรงกว่าภัยพิบัติอื่นๆ ในประวัติศาสตร์ของมนุษย์เลยทีเดียว

จากบทสัมภาษณ์บางส่วนของ Dr. Kai-Fu Lee ผู้เป็น CEO ของ Sinovation Ventures บริษัทด้านการลงทุนด้านเทคโนโลยีที่เชี่ยวชาญของจีนซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2009 มีสาขาอยู่ที่ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ เซินเจิ้น ซีแอตเทิล และซิลิคอนแวลลีย์ บริหารจัดการเงินทุนจำนวน 2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ

ผลกระทบจะเป็นอย่างไรบ้าง

มาตรการของรัฐบาล โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐคือออกกฏใหม่เพื่อจำกัดการลงทุนของบริษัทจีน ในเรื่องอุตสาหกรรมเทคโนโลยีที่สำคัญ (industrially significant technology)

สาเหตุหลักคาดว่าทางสหรัฐอเมริกากังวลเกี่ยวกับ นโยบายรุกนวัตกรรมของจีนในชื่อ “Made in China 2025 ที่ปักกิ่งเริ่มวางแผนพัฒนาอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น หุ่นยนต์ (Robotics) รถยนต์ไฟฟ้า การบินและอวกาศ (aerospace) ซึ่งมีเป้าหมายที่จะเป็นผู้นำของโลกในอุตสาหกรรมนี้ และจากรายงานของ Wall Street Journal ในวันอาทิตย์ที่ผ่านมา มีข่าวว่า ทางทำเนียบขาวกำลังวางกฏเกณฑ์ให้บริษัทของจีนสามารถลงทุนในบริษัทซึ่งเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ในสัดส่วนประมาณ 25% ของทั้งบริษัท ซึ่งแน่นอนว่าทำให้จีนสามารถเป็นเจ้าของธุรกิจต่างๆ ได้น้อยลง

แต่เรื่องที่ทุกฝ่ายจับตามองคือ industrially significant technology ของสหรัฐจะครอบคลุมถึงอะไรบ้าง แต่ทางกระทรวงการคลังของสหรัฐ ยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องนี้ ส่วนทางทำเนียบขาวมีข่าวว่าจะออกข้อสรุปกฏการลงทุนของบริษัทจีนภายในวันที่ 30 มิ.ย.2018 นี้

สหรัฐฯต้องการเพิ่มมาตรการสกัดจีน

ทางรัฐบาลสหรัฐฯบอกว่า เป็นการตอบโต้จีนกรณีการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐ ซึ่งมาตรการจำกัดการลงทุนด้านเทคโนโลยีของจีนในสหรัฐ จะกดดันบริษัทสหรัฐที่มีการส่งมอบเทคโนโลยีให้จีนที่ยังทำธุรกิจในสหรัฐ ขณะเดียวกันมาตรการนี้ออกมาต่อเนื่องจาก การเพิ่มภาษีสินค้านำเข้าของจีนกว่า200,000 ล้านเหรียญสหรัฐ  

แม้ว่าทางปักกิ่งก็ออกมาตอบโต้มาตรการทางภาษีของสหรัฐ โดยจะตอบโต้ผ่านมาตรการทางภาษีซึ่งจะมีผลวันที่ 6 ก.ค.2018 แต่ GengShuang โฆษกของกระทรวงการต่างประเทศของจีน บอกว่าที่ผ่านมาทางรัฐบาลสนับสนุนให้บริษัทจีนทำตามกฏหมายท้องถิ่น ทำตามหลักการของตลาดอย่างมีมาตรฐานสากล ทำให้เกิดการจ้างงานมากขึ้น การจ่ายภาษีเพิ่มขึ้น ซึ่งก็สร้างผลดีต่อธุรกิจในสหรัฐให้เติบโตขึ้น

เราหวังว่าสหรัฐจะมองเห็นกิจกรรมการค้าของบริษัท และสร้างสรรค์เรื่องดีๆ ที่มีความยุติธรรมและมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับบริษัทจีนที่จะเข้ามาลงทุน

การจำกัดการลงทุนเทคโนโลยีในสหรัฐ ไม่ทำให้จีนเรียนรู้ได้น้อยลงจากรายงานของ Wall Street Journal  ระบุว่า มาตรการจำกัดการลงทุนเทคโนโลยีของจีนในสหรัฐ แม้ว่าจะทำให้สัดส่วนการเป็นเจ้าของบริษัทลดลง แต่ทางนักลงทุนจียังสามารถเรียนรู้เรื่องเทคโนโลยี ผ่านการมีที่นั่งในบอร์ดบริหาร ผ่านการทำข้อตกลงในใบอนุญาต และมาตรการอื่นๆ

อย่างไรก็ตาม ภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐยังมีโอกาสที่จะเสนอแนะความคิดเห็น ก่อนที่มาตรการจะเริ่มใช้จริง

รายงานยังกล่าวต่อว่า อุตสาหกรรมของสหรัฐมีโอกาสที่จะพิจารณาเพิ่มเติมก่อนกฏจะเริ่มมีผลกระทรวงพาณิชย์ของจีน และกระทรวงต่างประเทศ ไม่ได้ตอบสนองในทันที

 

ทรัมป์ชอบใช้กฏหมายฉุกเฉิน

กลายเป็นเรื่องปกติที่ ทรัมป์ จะใช้กฏหมายฉุกเฉินหรือเร่งด่วนเสมอๆ ซึ่งล่าสุดสามารถออกมาตรการจำกัดการลงทุนของจีนได้ ก็เพราะกฏหมายเมื่อปี 1977  International Emergency Economic Powers Act ให้อำนาจประธานาธิบดีในการออกมาตรการเพื่อใช้กับประเทศอื่นๆ และให้ถือเป็นเรื่องฉุกเฉินระดับประเทศ

Phil Levy นักวิชาการอาวุโสด้านเศรษฐกิจระดับโลก the Chicago Council on Global Affairs (สภาชิคาโกว่าด้วยกิจการโลก) บอกว่า “สหรัฐได้ประโยชน์อย่างมหาศาลจากการเปิดการลงทุน”

อย่างไรก็ตามรายงานจาก Rhodium Group ซึ่งเป็นผู้วิจัยข้อมูลจากการลงทุนต่างชาติของจีน บอกว่า ช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา (ม.ค.-พ.ค. 2018) บริษัทจีนลงทุนเทคโนโลยีในไทยน้อยลงกว่า 90% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน แล้วสหรัฐจะยังจำกัดการลงทุนของจีนต่อไปไหม

หมายเหตุ :โปรดติดตามบทสรุปย้อนรอยสงครามการค้า “สหรัฐฯ VS จีน”ในบทต่อไป.