In Global
จีนส่งเสริมการพัฒนาสีเขียวของโลกด้วย ปฏิบัติการที่เป็นรูปธรรมอย่างจริงจัง
ช่วงหลายปีที่ผ่านมา จีนส่งเสริมการพัฒนาสีเขียวของโลกอย่างแข็งขันด้วยปฏิบัติการที่เป็นรูปธรรมอย่างต่อเนื่อง ในระหว่างการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 29 (COP29) ซึ่งจัดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ ความสำเร็จในการพัฒนาสีเขียวของจีนได้รับการยอมรับอย่างสูงจากประชาชนประเทศต่าง ๆ
ภายใต้บริบทความเป็นกลางทางคาร์บอน จีนมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในปฏิบัติการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนทั่วโลก ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา จีนได้กลายเป็นหนึ่งในประเทศที่ลดการใช้พลังงานได้เร็วที่สุดในโลก โดยสามารถประหยัดการใช้พลังงานถ่านหินมาตรฐานรวมแล้วประมาณ 1,400 ล้านตัน จีนสามารถสนับสนุนให้เศรษฐกิจเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 6 ต่อปีด้วยอัตราการใช้พลังงานเติบโตเฉลี่ยต่อปีร้อยละ 3.2 จีนมีขนาดกำลังการผลิตติดตั้งของพลังงานใหม่คิดเป็นสัดส่วนมากกว่าหนึ่งในสามของโลก มีการลงทุนสะสมด้านพลังงานหมุนเวียนมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก และเป็นประเทศหลักที่ส่งมอบอุปกรณ์พลังงานลม แผงโซลาร์เซลล์และแบตเตอรี่ จีนมีจำนวนรถยนต์พลังงานใหม่คิดเป็นสัดส่วนมากกว่าครึ่งหนึ่งของโลก ในปี ค.ศ. 2023 การลงทุนของจีนด้านการเปลี่ยนแปลงพลังงานสูงถึง 676,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มากเป็นอันดับหนึ่งของโลก ซึ่งกำลังเป็นแรงผลักดันที่สำคัญสำหรับการเปลี่ยนผ่านสู่สีเขียวของโลก
ในฐานะผู้เดินหน้าส่งเสริมการบริหารจัดการสภาพภูมิอากาศโลกอย่างแท้จริง จีนไม่เพียงแต่ก้าวขึ้นมาเป็นแนวหน้าด้านการพัฒนาสีเขียวเท่านั้น แต่ยังมุ่งมั่นแบ่งปันประสบการณ์การเปลี่ยนแปลงพลังงาน เพื่อช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด ประเทศกำลังพัฒนาที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล และประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะเล็กๆ ในด้านการเพิ่มขีดความสามารถเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2016 จีนได้จัดหาและระดมเงินทุนพัฒนาโครงการต่างๆมากกว่า 177,000 ล้านหยวน เพื่อสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนาในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าต่อหน่วยปรับเฉลี่ย(Levelized Cost of Energy: LCOE)ของโครงการพลังงานลมลดลงมากกว่าร้อยละ 60 และพลังงานแสงอาทิตย์ทั่วโลกลดลงมากกว่า ร้อยละ 80 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลมาจากนวัตกรรมของจีน การผลิตของจีน และวิศวกรรมของจีน
ข้อมูลล่าสุดจากกระทรวงนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อมของจีน ประเทศจีนได้ลงนามบันทึกความร่วมมือ 54 ฉบับกับ 42 ประเทศกำลังพัฒนา นับตั้งแต่ประกาศดำเนินโครงการ ”แถบแสงสว่างอาฟริกา” เมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว จีนได้ลงนามข้อตกลงความร่วมมือกับประเทศในแอฟริกา เช่น บุรุนดี ชาด เป็นต้น เพื่อใช้ข้อได้เปรียบของอุตสาหกรรมเซลล์แสงอาทิตย์ของจีนมาช่วยเหลือครัวเรือนชาวแอฟริกันหลายหมื่นครัวเรือนแก้ไขปัญหาความยากลำบากในการใช้ไฟฟ้า และช่วยให้พวกเขาบรรลุการพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและคาร์บอนต่ำ
ในฐานะประเทศกำลังพัฒนาที่ใหญ่ที่สุดในโลกและเป็นประเทศใหญ่ที่มีความรับผิดชอบ จีนได้ปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้อย่างจริงจังในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งเสริมการปฏิบัติตาม “ข้อตกลงปารีส” และ “วาระการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ ค.ศ. 2030” อย่างครอบคลุมและเชิงลึก ได้ขยายบทบาทการเป็นผู้นำประชาคมระหว่างประเทศ หลังจากบรรลุ “เป้าหมายการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ ค.ศ. 2020” ก่อนเวลาและดำเนินภารกิจได้สูงกว่าเป้าหมายกำหนดไว้เมื่อปลายปี 2019 จีนได้ปรับและสร้างเป้าหมายการมีส่วนร่วมระดับชาติด้วยความสมัครใจในปี 2020 โดยมุ่งมั่นที่จะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้ถึงจุดสูงสุดก่อน ค.ศ.2030 และบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนก่อนปี ค.ศ.2060
ปัจจุบัน ปฏิบัติการด้านสภาพภูมิอากาศของโลกเผชิญกับความยากลำบากและความท้าทายมากมาย มีช่องว่างมหาศาลระหว่างการดำเนินการจริงกับเป้าหมายและพันธกรณีที่กำหนดไว้ใน “ข้อตกลงปารีส” จีนยึดมั่นในหลักการความรับผิดชอบร่วมกันแต่มีความแตกต่างกัน จีนเรียกร้องให้ประเทศพัฒนาปฏิบัติตามความรับผิดชอบและพันธกรณี เพิ่มการสนับสนุนทางการเงินและการถ่ายทอดเทคโนโลยีไปยังประเทศกำลังพัฒนา เพื่อร่วมกันรับมือกับวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่กำลังจะเกิดขึ้น
เขียนโดย ภาคภาษาไทย ศูนย์เอเชียแอฟริกา สถานีวิทยุและโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน (CMG)