In News
นิด้าโพลเปิดผลสำรวจมติการแก้ไขรธน. กว่า50%ผู้ใช้สิทธิเกินครึ่ง/แก้รายมาตรา
กรุงเทพฯ-ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “ประชามติและการแก้ไขรัฐธรรมนูญ” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 2-3 ธันวาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญผ่านกระบวนการประชามติ การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0
จากการสำรวจเมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับเกณฑ์การผ่านประชามติโดยต้องมีผู้ออกมาใช้สิทธิเกินกึ่งหนึ่ง (เกินกว่า 50%) ของผู้มีสิทธิ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 51.37 ระบุว่า เห็นด้วยมาก รองลงมา ร้อยละ 21.83 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 15.50 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย ร้อยละ 10.46 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย และร้อยละ 0.84 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
สำหรับความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการกำหนดเกณฑ์การผ่านประชามติ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 59.54 ระบุว่า เสียงเห็นชอบต้องเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิ (ต้องได้มากกว่า 50%) รองลงมา ร้อยละ 26.57 ระบุว่า เสียงเห็นชอบต้องเป็นเสียงส่วนใหญ่ (แต่ไม่จำเป็นต้องถึง 50%) ร้อยละ 12.52 ระบุว่า เสียงเห็นชอบต้องเป็นเสียงส่วนใหญ่ (ไม่จำเป็นต้องถึง 50%) แต่ต้องมากกว่าผู้ลงคะแนนช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน และร้อยละ 1.37 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ด้านความต้องการของประชาชนในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 27.63 ระบุว่า ต้องการมากรองลงมา ร้อยละ 27.02 ระบุว่า ไม่ต้องการเลย ร้อยละ 25.34 ระบุว่า ค่อนข้างต้องการ ร้อยละ 19.08 ระบุว่า ไม่ค่อยต้องการ และร้อยละ 0.93 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุดเมื่อสอบความคิดเห็นของผู้ที่ระบุว่าต้องการมากและค่อนข้างต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ (จำนวน 694 หน่วยตัวอย่าง) เกี่ยวกับรูปแบบการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ประชาชนต้องการ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 78.97 ระบุว่า ต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา รองลงมา ร้อยละ 19.16 ระบุว่า ต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ และร้อยละ 1.87 ระบุว่า ไม่ตอบ
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.55 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 18.63 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 17.86 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.35 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 13.82 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ และร้อยละ 7.79 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก ตัวอย่าง ร้อยละ 48.09 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.91 เป็นเพศหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 12.37 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 17.94 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 18.24 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 26.64 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 24.81 อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 95.80 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.21 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 0.99 นับถือศาสนาคริสต์ และศาสนาอื่น ๆ
ตัวอย่าง ร้อยละ 35.88 สถานภาพโสด ร้อยละ 61.98 สมรส และร้อยละ 2.14 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่างร้อยละ 0.38 ไม่ได้รับการศึกษา ร้อยละ 20.08 จบการศึกษาประถมศึกษา ร้อยละ 34.96 จบการศึกษามัธยมศึกษา หรือเทียบเท่า ร้อยละ 10.61 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 30.38 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 3.59 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 9.85 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 17.10 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 22.44 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 11.37 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 14.66 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 19.54 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และร้อยละ 5.04 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ตัวอย่าง ร้อยละ 21.15 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 3.51 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 5,000 บาท ร้อยละ 14.66 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 5,001-10,000 บาท ร้อยละ 30.76 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 11.22 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 4.35 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 2.60 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001-50,000 บาท ร้อยละ 1.45 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 50,001-60,000 บาท ร้อยละ 0.23 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 60,001-70,000 บาท ร้อยละ 0.07 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 70,001-80,000 บาท ร้อยละ 0.46 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 80,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 9.54 ไม่ระบุรายได้