Authority & Harm

เจ้าของโรงพิมพ์ดังโคราชโอด!ถูกยกเลิก งานหลังชนะการประมูลงานกสทช.



นครราชสีมา-เจ้าของโรงพิมพ์ดังโคราชโอด! ชนะการประมูลงาน กสทช. แต่ถูกยกเลิกไม่เป็นธรรม ร้องขอความเป็นธรรมต่อศาลปกครอง-ป.ป.ช.เรียกค่าเสียหาย 43 ล้านบาท 

นครราชสีมา วันที่ (10 ธันวาคม 2567) ที่ ห้องคาเฟ่กาแฟ สนามฟุตบอลหญ้าเทียม เลขที่ 989 หมู่ที่ 6 ตำบลจอหอ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา นายชนภัช ปิ่นปินันธ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท โปรมีเดีย แอนด์ แอดเวอร์ไทซิ่ง จำกัด ในเครือ  หจก. มิตรภาพการพิมพ์ 1995 พร้อมด้วยนางสาวกฤติญา ปิ่นปินันธ์ กรรมการบริษัทฯ พร้อมทั้งนายเกริกฤทธิ์โชติธาพิพัฒน์ ทนายความผู้ได้รับมอบอำนาจ ได้หอมเอกสารจำนวนมาก แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนกรณีที่บริษัทฯ ถูกสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช.ยกเลิกประกาศประกวดราคาจ้างงานโดยไม่เป็นธรรม 

นายชนภัช ปิ่นปินันธ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท โปรมีเดีย แอนด์ แอดเวอร์ไทซิ่ง จำกัด ในเครือหจก. มิตรภาพการพิมพ์ 1995 เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 21สิงหาคม 2566 สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคนาคมแห่งชาติ ได้มีประกาศ เรื่อง ประกวดราคาจ้างออกแบบ และจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ (ชุดปีใหม่ 2567) ด้วยวิธีการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) ราคากลางของงานจ้าง ในการประกวดราคาครั้งนี้ เป็นเงินทั้งสิ้น 19,999,191 บาท และต่อมา บริษัท โปรมีเดีย แอนด์ แอดเวอร์ไทซิ่ง จำกัด ได้ชนะการเสนอราคา และเป็นผู้ได้คะแนนรวมสูงสุด โดยได้เสนอราคาเป็นเงินทั้งสิ้น 12,947,000 บาท แต่ต่อมา หนึ่งในบริษัทผู้เข้าประกวดราคาร่วม ได้ทำการอุทธรณ์ผลการประกาศผู้ชนะการเสนอราคาต่อสำนักงาน กสทช. ซึ่งระหว่างนั้นตนได้ติดตามทวงถามการวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตลอดมา

นอกจากนี้ตนยังได้ประสานไปยังเจ้าของบริษัทที่ยื่นอุทธรณ์เพื่อสอบถามถามสาเหตุของการอุทธรณ์ดังกล่าว พร้อมกับได้อัดคลิปเสียงไว้เป็นหลักฐาน โดยทาง บริษัท ศ  ได้ต่อรองไม่ให้บริษัทของตนรับงานดังกล่าว จากนั้นเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2567 คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และข้อร้องเรียนได้พิจารณาคำอุทธรณ์ของผู้อุทธรณ์ และมีความเห็นว่า ให้สำนักงาน กสทช. สามารถดำเนินการจัดชื่อจัดจ้างในขั้นตอนต่อไป แต่ต่อมาเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2567 สำนักงาน กสทช. ได้แจ้งยกเลิกประกาศประกวดราคาจ้างงานดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่า การประกวดราคาจ้างในครั้งนี้ เป็นโครงการที่ตั้งบประมาณไว้ในปีงบประมาณ พ.ศ.2566 โดยมีวัตถุประสงค์จะดำเนินการในปีงบประมาณดังกล่าว แต่เมื่อไม่สามารถลงนามสัญญาจ้างได้ทันเวลา จึงทำให้เงินงบประมาณ และโครงการนี้เป็นอันพับไป

ซึ่งกรณีที่เกิดขึ้นทำให้ บริษัท โปรมีเดีย แอนด์ แอดเวอร์โทซิ่ง จำกัด ต้องเสียสิทธิ์ในฐานะผู้ชนะการประกวดราคา และการประกาศยกเลิกดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยหนึ่งในบริษัทที่เข้าร่วมประกวดราคาได้เจรจาต่อรองให้บริษัทของตนยกเลิกสัญญาเอง และต่อรองให้บริษัทตนยอมรับเงินจำนวนหลักล้านเพื่อให้ยกเลิกสัญญา โดยอ้างว่าผู้ใหญ่ข้างใน กสทช.ไม่ยินยอมให้บริษัทของตนเข้าทำสัญญาอย่างแน่นอน ซึ่งตนได้บันทึกเสียงการสนทนาไว้อย่างชัดเจน และได้นำข้อมูลหลักฐานทั้งหมดฟ้องร้องต่อศาลปกครอง โดยเรียกค่าเสียหายเป็นเงินจำนวน 43 ล้านบาท และยังได้ทำหนักงสื่อร้องเรียนเรื่องดังกล่าวไปยัง ป.ป.ช.เพื่อให้ดำเนินการตรวจสอบการร่วมกันทุจริตในการประกวดราคาจ้างในโครงการดังกล่าวด้วย 

ด้าน นายเกริกฤทธิ์โชติธาพิพัฒน์ ทนายความผู้ได้รับมอบอำนาจ เผยว่า กสทช.ไม่มีการแจ้งทางผู้ชนะการประมูลโดยด่วน เกี่ยวกับว่ามีบริษัทผู้ร่วมแข่งขันอุทธรณ์ การประกวดราคาพร้อมทั้งยังประวิงเวลาในการแจ้งผล ของการพิจารณาอุทธรณ์ หลังจากที่มีการแจ้งผลในเวลาต่อมายังบริษัทผู้รับจ้าง ทางเราจำเป็นจะต้องฟ้องเพิกถอนประกาศการยกเลิก ผู้ชนะการเสนอราคา ในปี 2566 และในปีปฏิทิน 2567

ในขณะเดียวกันที่ฟ้องเพิกถอนประกาศแล้ว ทางเรียกค่าเสียหาย ในการลงทุนอย่างเช่นกระดาษ อุปกรณ์การพิมพ์และอีกหลายอย่างมูลค่าหลายสิบล้าน ทำให้ทางโรงพิมพ์ไม่ได้รับงานของ กสทช.ความเสียหายที่เกิดขึ้นจำเป็นจะต้องฟ้องกับการปกครอง ศาลปกครองได้มีการประทับรับฟ้อง ไว้พิจารณาแล้ว ปัจจุบันศาลปกครองได้มีการไต่สวน หาข้อเท็จจริงและมีการส่งสำเนาคำฟ้องให้กับคณะกรรมการ กสทช.และเลขา กสทช.นอกจากนี้เรายังมองว่าการประกวดราคาของ กสทช.ยังมีข้อสังเกตุ หลายอย่าง

ต่อมาได้ทำหนังสือร้องไปยัง สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2567 อาจจะเข้าข่ายในการกระทำผิดของกสทช.1.เช่นการอุทธรณ์ ผลการประกวดราคา ในวันสุดท้าย ที่จะครบกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ 2. หลังจากที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์พิจารณามาแล้ว ส่งต่อมาให้กสทช.ไม่แจ้งต่อผู้ชนะ การประกวดราคา ท้ายที่สุดในปี 2567 ได้มีการประกาศ ผู้เข้าร่วมเสนอราคาใหม่ อยู่ในห้วงระยะเวลา ที่ชนะการประกวดราคาไปแล้ว และยังมีการประกาศให้บริษัทเดิม ที่เคยรับจ้างตั้งแต่ปี 65-66 และแพ้ในปี 67 ที่ทางเราชนะการประกวด และในปี 68 เขาก็กลับมาชนะ จึงมองว่าเป็นการเอื้อประโยชน์กับบริษัท ให้ได้รับการชนะการประมูลหรือไม่ จึงได้ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการปปช.ให้มีการตรวจสอบ

ในส่วนของคดีการปกครองได้ฟ้องคณะกรรมการกสทช.และฟ้องเลขา กสทช หลังจากที่ทางเราชนะการประกวดราคาและมีผู้ยื่นอุทธรณ์ จึงได้มีการพูดคุยกับผู้ยื่นอุทธรณ์ ระหว่างการพูดคุยได้มีการเสนอค่าใช้จ่ายให้ทางผู้ชนะการประกวดถอนเรื่อง ผู้ชนะการประกวดราคา เพื่อให้บริษัทผู้ร่วมประมูลได้ทำ จึงได้มีการบันทึกเสียงไว้ตลอดการสนทนา จึงได้ยื่นหลักฐานให้กับคณะปปช.ว่าจะมีการโยงใจถึงใครบ้าง และจะดำเนินคดีให้ถึงที่สุด

ณัฐพงศ์ อรชร/ข่าวนครราชสีมา